460 likes | 1.06k Views
รายวิชา 739344 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย สำหรับนิสิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ. บทที่ 6: สตรีมมิ่งมีเดีย ( Streaming Media technology). ผู้สอน อ.ปัญญาพร ปรางจโรจน์. Stream Media. เป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเหมือนการไหลของกระแสน้ำ
E N D
รายวิชา 739344 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย สำหรับนิสิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 6: สตรีมมิ่งมีเดีย(Streaming Media technology) ผู้สอน อ.ปัญญาพร ปรางจโรจน์
Stream Media • เป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเหมือนการไหลของกระแสน้ำ • พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสารเพื่อเผยแพร่ แพร่ภาพ หรือแสดงผลผ่านทางระบบเครือข่ายต่างๆ และอินเทอร์เน็ต • ปัจจุบันส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบ ที่เป็นสตรีมมิ่งมีเดียทั้งสิ้น เช่น • การพังวิทยุ • การโปรโมทภาพยนตร์ • การเรียนทางไกล • การค้าขายสินค้า
หัวข้อ • ที่มาและความสำคัญ • คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับstreaming media • What Is Streaming Media? • องค์ประกอบของการส่งข้อมูลแบบstream • ความแตกต่างระหว่าง streaming with web serverกับ streaming with streaming media server • ข้อดี-ข้อเสียของการใช้streaming • ตัวอย่างโปรโตคอลสำหรับstreaming media • บทสรุป
ที่มาและความสำคัญของหัวข้อที่จะนำเสนอที่มาและความสำคัญของหัวข้อที่จะนำเสนอ ปัจจุบันการดาวน์โหลดไฟล์ที่เป็นภาพและมีเสียงประกอบเป็น Videoหรือ audioจากอินเตอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนจะต้องใช้เวลานานมากในการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์แล้วจึงทำการ playได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ รู้สึกเบื่อที่จะดาวน์โหลดไฟล์นั้น ๆ จึงได้มีเทคโนโลยีของ Streamingเกิดขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเตอร์เน็ตมารับฟัง/ชม
บทนำ ในอดีต การนำเสนอสื่อ Audio/Video บน Web จำเป็นต้องใช้วิธีการ download-and-play ซึ่งการที่จะรับชมสื่อนั้นๆได้นั้น จะต้องทำการ download ข้อมูลทั้งหมดมาก่อนจึงจะสามารถเล่นได้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นสื่อขนาดเล็กเพียง 30 วินาทีก็ตาม ก็อาจจะต้องใช้เวลาDownload ถึง 20 นาทีก่อนที่จะสามารถนำมาใช้ฟัง/ชมได้ แต่ในปัจจุบันสื่อผสม(Multimedia) สามารถนำเสนอผ่าน web browser ในระบบ intranet และ internet อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทนำ [2] โดยที่วิธีการส่งข้อมูล Audio และ Video ผ่าน web browser มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การใช้ Web Server ในการนำข้อมูลส่งไปยัง โปรแกรมที่ใช้นำเสนอสื่อนั้นๆ และอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Streaming Media Server ซึ่งจะใช้ Server โดยเฉพาะในการให้บริการข้อมูล Audio/Video โดยที่ Streaming Media file จะเริ่มเกือบจะในทันทีที่เล่น ระหว่างที่ข้อมูลกำลังถูกส่ง ผู้ชมสามารถรับฟัง/ชม สื่อนั้นๆได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ download ข้อมูลทั้งหมดก่อน โดยมี Buffer เป็นตัวช่วย
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับstreaming media • Bandwidth : ปริมาณการส่งข้อมูลที่สามารถส่งได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในระบบเครือข่าย bandwidth ที่สูงจะแสดงถึงการส่งผ่านข้อมูลที่เร็วกว่า bandwidth ต่ำ ค่าของ bandwidth จะแสดงในรูป bits per second (bps) • Broadcast : อธิบายถึงการส่งสัญญาณกระจายไปยังเครื่องผู้รับ ในการรับสัญญาณ ทางฝั่งผู้รับจะไม่สามารถควบคุมสื่อที่ทำการส่งสัญญาณขณะนั้นได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งสัญญาณแบบ on-demand เครื่องผู้รับจะสามารถทำการควบคุมการเปิด ปิด หรือเล่นสื่อนั้นๆได้
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับstreaming media[2] • Broadcast Unicast : เป็นการรับสัญญาณซึ่งการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ จะเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง และการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีการติดต่อกันตลอดเวลาระหว่างการส่งข้อมูล • Broadcast Multicast : ทำการส่งสัญญาณจากเครื่องให้บริการ(server)หนึ่งสายสัญญาณไปยังผู้รับ(client)จำนวนมาก โดยที่ผู้รับจะรอทำการตรวจสอบจาก IP ของเครื่องให้บริการ
วิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียวิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดีย ที่มาจาก http://tv.ku.ac.th/tech.html • Unicast – เป็นวิธีการส่งผ่านไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียแบบOn-Demand ไปยังเครื่องของผู้ชมในลักษณะจุดต่อจุด (Point-to-Point)
วิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียวิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดีย ที่มาจาก http://tv.ku.ac.th/tech.html • Multicast –เป็นวิธีการส่งไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียไปยังเครื่องผู้ชมที่ได้ทำการติดต่อหรือเชื่อมโยงกับสตรีมมิ่งเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
วิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียวิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดีย ที่มาจาก http://www.msit.mut.ac.th/ • Broadcast – เป็นวิธีการส่งไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียแบบถ่ายทอดสด(LiveBroadcasting) ไปยังเครื่องของผู้ชมหลายๆ จุดพร้อมๆ กัน
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับstreaming media[3] • On-Demanded : อธิบายถึงการส่งสัญญาณไปยังเครื่องผู้รับ โดยที่ผู้รับสามารถควบคุมสื่อนั้นๆ ได้ เช่นในกรณีของสื่อวิดีโอ ผู้รับสามารถ play , pause , forwarded ได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในการส่งสัญญาณแบบ broadcast • On-Demanded Unicast : เป็นการติดต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับ ซึ่งผู้ส่งจะสร้างเส้นทางเชื่อมต่อสัญญาณ สำหรับผู้รับแต่ละราย
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับstreaming media[4] • Codec : เป็นคำย่อของ Compressor/Decompressor วิธีการของซอฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์ของการบีบอัดและแตกไฟล์ ส่วนมากจะใช้กับวีดีโอ และเสียงบนอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะกับ streaming media • Buffer - กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลเพียงไม่กี่วินาทีก่อนที่ไฟล์สตรีมมิ่งจะเล่นจริง
What Is Streaming Media? Streaming media เป็นเทคโนโลยีที่สามารถ เล่น เพลง วีดีโอ และ ข้อมูลแบบแอนนิเมชั่น โดยส่งผ่านอินเตอร์เน็ตในเวลาแบบ real timeคือไม่ต้องรอการดาวน์ โหลดข้อมูลทั้งหมดมาก่อน Client หรือผู้เล่นจะสามารถเล่นไฟล์ ได้ในทันทีที่ยังมีกระบวนการของการส่งอยู่
องค์ประกอบของการส่งข้อมูลแบบ stream
ลักษณะของ Streaming Media การส่งข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ (Retime) ผู้ชมสามารถรับชมและฟังสตรีมมิ่งมีเดียได้โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์ โหลดข้อมูลจนเสร็จ สามารถควบคุมการแสดงผลได้ด้วยโปรแกรมแสดงผลทั่วไป เช่น – เล่นเพลงก่อนหน้า (Previous) – เล่นซ้ำ (Repeat) ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
ลักษณะการส่ง Streaming Media • ไฟล์ออนดีมานด์ (On-Demand) – เป็นไฟล์ที่สามารถเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ – ไฟล์เหล่านี้จะถูกเข้ารหัสในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการแสดงผลแบบสตรีมมิ่งแล้วนำไฟล์จัดเก็บไว้เซอร์ฟเวอร์ – ทุกคนสามารถเรียกใช้งานได้พร้อมกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน – แต่ละคนสามารถควบคุมฟังก์ชั่นการทำงานได้อย่างอิสระ • หยุดการแสดงผล (Pause) • แสดงผลย้อนกลับ (Rewind) • แสดงผลซ้ำ (Replay) – ระบบการศึกษาทางไกลผ่านเว็บ (Web-Base TrainingSystem :WBTS)
ลักษณะการส่ง Streaming Media • การถ่ายทอดสด (Live Broadcasting) – เป็นการถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกดขึ้น ณ เวลานั้น โดยผู้ชมได้รับชมเหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นปัจจุบันและทันท่วงที – ด้วยวีธีการแปลงสัญญาณจากกล้องวิดีโอเป็นข้อมูลดิจิตอล – เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะทำการถ่ายทอดไปยังเครื่องผู้ชมปลายทาง – สามารถเรียกใช้งานได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมากๆ ได้
ความแตกต่างระหว่าง streaming with web serverกับ streaming with streaming media server • Streaming With Web Server การใช้งาน : เริ่มจากทำการแปลง Audio/Video ให้อยู่ในรูปแบบสื่อที่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลบน internet โดยพิจารณาจาก bandwidth และทำการ upload แฟ้มมัลติมีเดียไปยัง web server และสร้างเว็บเพจที่ระบุ URL ของแฟ้มมัลติมีเดียนั้น ๆ เมื่อมีการเรียกใช้งานแฟ้มมัลติมีเดีย client-side player จะทำงานและเริ่ม download แฟ้มมัลติมีเดีย เมื่อแฟ้มทั้งหมด download เสร็จสิ้นแล้วจึงทำการ play ไฟล์นั้น ๆ
ความแตกต่างระหว่าง streaming with web server กับ streaming with streaming media server [2] การส่งข้อมูล : Web Server ใช้การติดต่อผ่าน HyperText Transport Protocol (HTTP) ในการติดต่อระหว่าง server และ client ซึ่ง HTTP จะควบคุม Transmission Control Protocol (TCP) ซึ่งจะจัดการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทั้งหมด
ความแตกต่างระหว่าง streaming with web serverกับ streaming with streaming media server[3] • Streaming With Streaming Media Server การใช้งาน : แฟ้มที่ได้จะ upload ไปยัง Streaming Media Server เมื่อแฟ้มมัลติมีเดียถูกเรียกใช้งาน Web Browser จะส่งไฟล์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Meta File ไปยัง Client Player
ความแตกต่างระหว่าง streaming with web server กับ streaming with streaming media server [4] การส่งข้อมูล : จะใช้ protocol User Datagram Protocol (UDP) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความเร็ว ขนาดเล็ก และไม่มีการทำงานเกี่ยวกับการส่งข้อมูลซ้ำหรือคำนวณอัตราการส่งข้อมูล ซึ่งจะเหมาะกับการส่งข้อมูลแบบ realtime ซึ่งข้อมูลที่สูญหายบางส่วนหรือข้อมูลที่เกิด delay จะถูกละความสนใจไป นอกจากนี้ อาจมีการใช้งาน Protocol เฉพาะสำหรับการ streaming media เลยก็ได้เช่น Realtime Streaming Protocol (RTSP)
ข้อดี-ข้อเสียของการใช้ streaming ข้อดี - ผู้ชมจะสามารถรับชมได้ทันที และสามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการชมได้ โดยไม่ต้องรอให้ download จนเสร็จก่อน - รายการที่เลือกชม ไม่ได้ถูกเก็บไว้ในเครื่อง ทำให้ประหยัด พื้นที่ใน Hard Disk เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ใน Hard disk จำกัด ข้อเสีย - สำหรับผู้ที่มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่มีความเร็วไม่คงที่ จะพบปัญหาการ buffering บ่อยครั้ง
ตัวอย่างโปรโตคอลสำหรับstreaming media • User Datagram Protocol (UDP) : UDP protocol จะเป็นการส่งข้อมูลทิศทางเดียว คือ ข้อมูลจะส่งจาก server ไปยัง client โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่า TCP protocol จึงได้ถูกนำมาใช้ในการส่งข้อมูลมัลติมีเดีย
ตัวอย่างโปรโตคอลสำหรับ streaming media[2] • Real Time Streaming Protocol (RTSP) คือโปรโตคอลที่ใช้ในการควบคุมสตรีมมิ่งข้อมูล RTSP มีสองโครงสร้าง คือ หน่วยควบคุม และการเชื่อมต่อข้อมูลRTSP เป็นโปรโตคอลที่ใช้รูปแบบ client/server ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแสดงสื่อมัลติมีเดีย
ลักษณะการส่ง Streaming Media • โปรเกรสซีฟดาวน์โหลด (Progressive Download) – เป็นการผสมผสานการส่งข้อมูลแบบสตรีมมิ่งและการดาวน์โหลดเข้าด้วยกัน – โดยอาศัยพื้นที่บางส่วนภายในหน่วยความจำชั่วคราวของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า บัฟเฟอร์ (Buffer) มาใช้เก็บพักข้อมูล – ในระหว่างการดาวน์โหลดอยู่นั้นผู้ชมสามารถที่จะเล่นหรือแสดงผลไฟล์ได้ก่อนที่การดาวน์โหลดจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ – มักใช้กับไฟล์มัลติมีเดียที่ไม่ใหญ่มากนัก
องค์ประกอบพื้นฐานระบบสตรีมมิ่งมีเดียองค์ประกอบพื้นฐานระบบสตรีมมิ่งมีเดีย • เครื่องเข้ารหัส (Encoder) – เป็นเครื่องมัลติมีเดียพีชี (Multimedia PC) ที่ได้ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมไว้สำหรับใช้แปลงไฟล์เสียงและวีดีโอ ให้อยู่ในรูปของสตรีมมิ่ง เช่น MPEG, WMF • เครื่องเซร์ฟเวอร์ (Servers) – เป็นเครื่องที่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำหรับใช้บริการจัดการกับสตรีมมิ่งมีเดีย • เครื่องผู้ชม (Player) – เป็นเครื่องที่ได้รับการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการแสดงผล (Decode) – RealPlayer, Windows Media Player,Quick Time
เทคโนโลยีการส่งไฟล์ข้อมูลเทคโนโลยีการส่งไฟล์ข้อมูล • โพรโตคอล (Protocol) – เป็นข้อกำหนดสำหรับควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเครือข่าย – ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันของแต่ละส่วนประกอบด้วยมาตรฐานเดียวกัน เช่น RTSP, MMS • ไฟล์ฟอร์แมต (File Format) – ใช้สำหรับการกำหนดรูปแบบมาตรฐานของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน • โคเด็ด (Codec) – ใช้สำหรับการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลข่าวสารที่บรรจุอยู่ภายในไฟล์ฟอร์แมท
องค์ประกอบพื้นฐานระบบสตรีมมิ่งมีเดียองค์ประกอบพื้นฐานระบบสตรีมมิ่งมีเดีย
บทสรุป การนำเสนอข้อมูล Audio/Video ผ่านระบบ internet มีวิธีการส่ง 2 แบบ แบบแรกคือการใช้ Web Server ในการให้บริการ และแบบที่สองคือ การใช้ Streaming Media Server ในการให้บริการ โดยระบบเครือข่ายได้ ถูกนำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลเช่นเดียวกัน เนื่องจากประสิทธิภาพการเข้าถึง ผู้รับชมจำนวนมากได้ในการนำเสนอเพียงครั้งเดียว และการใช้สื่อผสม ประเภท Video เพื่อใช้ในการนำเสนอผ่าน web browser ในระบบ intranet และ internet ซึ่งเป็นระบบ network ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้มากที่สุดอย่าง หนึ่งในปัจจุบัน