330 likes | 744 Views
การประชุมวิชาการ เรื่อง จับกระแส : การรักษาและยาใหม่ 3. จัดโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ( วช. ) วันที่ 24-25 เมษายน 2551 โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร. Natural Sources & Active Compound Discovery. กำหนดการบรรยาย. วันที่ 24 เมษายน 2551
E N D
การประชุมวิชาการ เรื่อง จับกระแส : การรักษาและยาใหม่ 3 จัดโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 24-25 เมษายน 2551 โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร Natural Sources & Active Compound Discovery
กำหนดการบรรยาย • วันที่ 24 เมษายน 2551 * ความหลากหลายทางชีวภาพพืชในภูมิภาคต่างๆและภูมิปัญญาสมุนไพรชาติไทย ศ. ดร. วงศ์สถิต ฉั่วกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ภญ. ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร ร.พ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร * จารึกตำรายา : เส้นทางการค้นพบสารออกฤทธิ์ใหม่ๆ ภญ. ผศ. ดร. วันดี ญาณไพศาล คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * การแยกและทดสอบทางเคมีและชีวภาพเพื่อค้นพบสารออกฤทธิ์ต่างๆ ภญ. รศ. ดร. ชุติมา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
กำหนดการบรรยาย(ต่อ) * การศึกษาสารออกฤทธิ์จากธรรมชาติโดยการทดสอบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากสัตว์ทดลอง ภญ. ผศ. ดร. มนฤดี สุขมา คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * การใช้เซลล์ในการทดสอบเบื้องต้นเพื่อหาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารธรรมชาติ ภญ. ผศ. ดร. จุรีย์ เจริญธีระบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * การทดสอบระดับจีโนมหรือโมเลกุลเพื่อเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ ภก. ผศ. ดร. วิสิฐ ตั้งเคียงศิริสิน คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * ประสบการณ์การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์สารสกัดและตำรายาจากสมุนไพร คุณธีระวุธ ปิ่นทอง กองสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กำหนดการบรรยาย(ต่อ) • วันที่ 25 เมษายน 2551 * บูรณาการการวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์และตำรับยาจากสมุนไพร ภญ. ผศ. ดร. สุชาดา ชุติมาวรพันธ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย * สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดโพลีแซคคาไรด์ ภญ. ผศ. ดร. อมรรัตน์ ไชยเดชกำจร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * การพัฒนาสารออกฤทธิ์จากธรรมชาติเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ดร. โศรดา กนกพานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการบรรยาย(ต่อ) • วันที่ 25 เมษายน 2551 (ต่อ) * การเตรียมสารสกัดสมุนไพร ภก. รศ. ดร. อุทัย โสธนะพันธุ์ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ : มุมมองจากภาคอุตสาหกรรม คุณศุภชัย สายบัว บ.บางกอกแลปแอนด์คอสเมติกส์ * เทคโนโลยีเภสัชกรรมใหม่ในการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ ภก. รศ. ดร. ธวัชชัย แพชมัด ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
กำหนดการบรรยาย(ต่อ) • วันที่ 25 เมษายน 2551 (ต่อ) * สารมาตรฐานอ้างอิงเพื่อการควบคุมคุณภาพสารสกัดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ ภญ. รศ. ลาวัลย์ ศรีพงษ์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในสารสกัดและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ภญ. ผศ. จันทนา เวสพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร * โลหะหนักในสมุนไพร ภญ. รศ. ดร. ชุติมา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติเทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ Novel technology in development of herbal medicine and cosmetic from natural products สายดนีย์ หวังพัฒนพาณิชย์ กลุ่มวิจัยมาตรฐานสมุนไพร
เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติเทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ Novel technology in development of herbal medicine and cosmetic from natural products วิทยากรผู้บรรยาย ภก. รศ. ดร. ธวัชชัย แพชมัด ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
Overview แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) แผนงานวิจัยแบบบูรณาการระยะปานกลาง (พ.ศ. 2548-2550) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5 ปี (พ.ศ. 2548-2552) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพเอเชีย
แผนกลยุทธ์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ของประเทศไทย (พ.ศ. 2550-2556) กลุ่มผลิตภัณฑ์ในระบบนำส่งยาและสารสกัดสมุนไพร ตัวอย่างเช่น พาหนะนำส่งยา (drug delivery vehicle) ยารักษาโรคเฉพาะจุด (targeting drug) สารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้ในเครื่องสำอาง
โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสกัดสมุนไพรโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสกัดสมุนไพร การพัฒนาเครื่องสำอางชะลอความแก่จากสารสกัดพืชที่เตรียมจากเทคโนโลยีชีวภาพให้อยู่ในรูปแบบโซลิดลิปิดนาโนปาร์ติเคิล การพัฒนาตำรับพื้นบ้านนำส่งเฉพาะจุดด้วยวัสดุนาโน การพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนนำส่งสารสกัดสับปะรดเพื่อใช้ รักษาแผลในมนุษย์และสัตว์
โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสกัดสมุนไพร (ต่อ) การพัฒนาไลโคปีนนาโนปาร์ติเคิลเพื่อนำส่งทางผิวหนัง การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสารสกัดจากบัวบก การพัฒนาเพื่อนำส่งสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์สมานแผลด้วยนาโนไฟเบอร์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ neutraceuticalsจากข้าว การพัฒนา cosmeceuticalsด้วย nanotech
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5 ปี (พ.ศ. 2548-2552) มุ่งเน้น พัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้มีศักยภาพแข่งขันในตลาดโลก
ตำราและจารึกโบราณ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค ภูมิปัญญาพื้นบ้าน การศึกษาฤทธิ์ชีวภาพเพื่อคัดเลือกตำรับ การพัฒนาส่วนของสารสกัดหรือสารออกฤทธิ์
เทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอางเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำรับยาและเครื่องสำอาง การเพิ่มการละลาย เจล - อิมัลชั่น Liposome Solid lipid nanoparticle (SLN) Polymeric micelle (PM) Nanofiber ระบบฝังใต้ผิวหนัง
การเพิ่มการละลาย การเตรียมสารในรูป solid dispersionเป็นเทคนิคที่กระจายยาในตัวพาที่เหมาะสมใช้เพิ่มหรือลดการละลายของตัวยาขึ้นอยู่กับชนิดของตัวพาที่เลือกใช้ ต.ย.เช่นquercitinและ rutinนำมาเตรียมในรูป solid dispersionโดยตัวพาชนิดต่างๆ เช่น PEG, PVP, hydroxy propyl -cyclodextrin เพื่อเพิ่มการละลาย
การเพิ่มการละลาย (ต่อ) ต.ย.เช่นcurcuminoid สารกลุ่มนี้มีการดูดซึมที่ไม่ดี รูปสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะเช่น aluminium หรือ เพิ่มการละลายด้วยสารลดแรงตึงผิว เช่น polyoxyethylene sorbitan monolaurate
การเพิ่มการละลาย (ต่อ) ต.ย.เช่นsericoside เป็นtriterpenoid มีฤทธิ์ต้านการอักเสบพบในพืชกลุ่ม Terminaliaสารนี้มีการละลายน้ำไม่ดี แต่ละลายในแอลกอฮอล์ดี เพิ่มการละลายโดยใช้อนุพันธ์cyclodextrin (CD) ในกลุ่ม-cyclodextrin
Liposome เป็นการนำส่งสารผ่านทางผิวหนังด้วย lipid visicleแต่พบว่าส่วนใหญ่ liposomeไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการช่วยนำส่งสารผ่านทางผิวหนัง มีการตกค้างบนชั้น stratum corneum
Liposome (ต่อ) Lipid visicleชนิดใหม่ Deformable liposome หรือultraflexible liposome (Transfersome®) ประกอบด้วยphospholipidsกับedgeactivator(สารลดแรงตึงผิวชนิดสายโซ่เดียว)ทำให้liposomeมีความยืดหยุ่นสูงเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังเมื่อliposomeเข้าสู่ชั้นstratum corneum
Liposome (ต่อ) Lipid visicleชนิดใหม่ (ต่อ) Ethosome เป็นliposome ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาประกอบด้วยphospholipids, ethanolและน้ำการมี ethanolส่งผลให้ผลิต liposomeขนาดเล็ก ส่งผลให้เพิ่มการยอมซึมผ่านของ membraneและethanolทำให้ liposomeมีความยืดหยุ่น ทำให้แทรกซึมได้ลึกในชั้นผิวหนัง
Solid lipid nanoparticles (SLN) Solid lipid nanoparticles (SLN)หรือเรียกว่าliposphereหรือnanospheresมีขนาดอนุภาค 1- 1000nmเตรียมโดยการเปลี่ยน liquid lipid (oil)ของระบบ emulsionมาเป็น solidlipid โดย lipidถูกกระจายในสารลดแรงตึงผิวที่ทำหน้าที่ stabilizer ข้อดี ปกป้องสารออกฤทธิ์ต่อการทำลายด้วยสารเคมีและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลดปล่อยยาได้ง่ายกว่า
A B C รูป: ลักษณะการกระจายตัวของสารออกฤทธิ์ที่ต้องการบรรจุในSLN A.กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในmatrix B.กระจายตัวบริเวณขอบ C.กระจายตัวบริเวณแกนกลาง
Solid lipid nanoparticles (SLN) (ต่อ) ประโยชน์และการประยุกต์ใช้SLNทางเครื่องสำอาง ป้องกันการสลายตัวทางเคมีของสารสำคัญเช่นretinolและcoenzyme Q10 ในรูป SLN สามารถควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำหอม เพิ่มความในการปกคลุมผิวหนัง(occlusive)สำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่นcosmetic day creamผลิตภัณฑ์รักษาสิว
Polymeric micelle (PM) เป็นระบบนำส่งสารออกฤทธิ์ โดยการก่อตัวเป็นไมเซลล์จากโคพอลิเมอร์ ซึ่งมีส่วนที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำอยู่ในโมเลกุล เป็นระบบพายาที่มีการละลายน้ำไม่ดี เนื่องจากระบบดังกล่าวสามารถละลายยาเหล่านี้ไว้ในส่วนแกนและระบบมีขนาดเล็ก คือ <100 nmซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการจับและทำลายโดย mononuclear phagocyte system (MPS)
Polymeric micelle (PM) (ต่อ) การบรรจุยาที่ไม่ละลายน้ำเข้าสู่ไมเซลล์อาศัยกลไกดังนี้ 1. การเชื่อมด้วยปฏิกิริยาทางเคมี 2. การจับทางกายภาพ 1 2
Polymeric micelle (PM) (ต่อ) ต.ย.เช่นการฉีด Madecassol®ได้จากสารสกัดบัวบกซึ่งประกอบด้วยasiaticoside, asiatic acid และmadecassic acid ซึ่งมีการละลายน้ำไม่ดีจะทำให้เกิดอาการบวม เจ็บปวด และมีเนื้อแข็งบริเวณที่มีการฉีด พัฒนาระบบไมเซลล์ที่เหมาะสมขึ้น ซึ่งมีความคงตัว และมีขนาด< 40 nmซึ่งเป็นขนาดที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายได้
Nanofiber เป็นเส้นใยเกิดจากการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิต (electrospinning)เริ่มจากการให้ศักดิ์ไฟฟ้ากำลังสูงแก่พอลิเมอร์เหลว เส้นพอลิเมอร์จะถูกฉีดออกมาและจะเปลี่ยนเป็นเส้นใย โดยการระเหยออกของตัวทำละลาย การเลือกใช้พอลิเมอร์ในระบบปลดปล่อยยานั้นมีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ความสามารถในการละลายในตัวทำละลายเพราะว่าระบบนี้จะต้องละลายยาให้ผสมกับสารละลายพอลิเมอร์
ระบบฝังใต้ผิวหนัง ต.ย.เช่นมีการนำสารtanshinone IIAได้จากDanshen(Radix salviae)ซึ่งสารเป็นสารที่ชอบไขมันเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์ในการสมานแผล นำสารสกัดจากพืชนี้มาเตรียมเป็นยาฝังใต้ผิวหนัง โดยใช้ ไคโตแซนเป็นพอลิเมอร์ในระบบนำส่ง และใช้สารtanshinone IIAเป็น markerในการศึกษาการปลดปล่อยสารจากยาฝังใต้ผิวหนัง
เอกสารอ้างอิง • ธวัชชัย แพชมัด และคณะ 2551 การประชุมวิชาการเรื่องจับกระแส การรักษาและยาใหม่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 187-206.