790 likes | 1.49k Views
สิทธิบัตร. วิวัฒนาการ. กฎหมายสิทธิบัตรบัญญัติขึ้นครั้งแรกที่รัฐเวนิซ ในค.ศ. 1474 แต่จากหลักฐานที่มีปรากฎว่า ระบบการใช้สิทธิผูกขาดเพื่อตอบแทนการประดิษฐ์คิดค้นและการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาในประเทศเกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล
E N D
วิวัฒนาการ • กฎหมายสิทธิบัตรบัญญัติขึ้นครั้งแรกที่รัฐเวนิซ ในค.ศ.1474 แต่จากหลักฐานที่มีปรากฎว่า ระบบการใช้สิทธิผูกขาดเพื่อตอบแทนการประดิษฐ์คิดค้นและการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาในประเทศเกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล • ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ริเริ่มระบบของสิทธิบัตรสมัยใหม่ โดยมีการให้สิทธิบัตรมาตั้งแต่ ค.ศ.1331 • กษัตริย์อังกฤษจะออกเอกสารปิดผนึกที่ให้สิทธิผูกขาดในการจำหน่ายสินค้าที่มีกำหนดเวลาอันจำกัดให้แก่บุคคลที่ได้นำเอาการประดิษฐ์เข้ามาใช้งานภายในประเทศ ดังนั้น จึงถือได้ว่าการให้สิทธิดังกล่าวมีลักษณะเป็นสิทธิบัตรในการนำเข้า
วิวัฒนาการในประเทศไทยวิวัฒนาการในประเทศไทย • เกิดขึ้นจากการเรียกร้องและความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการตอบสนองความต้องการที่จะส่งเสริมนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของรัฐ • กฎหมายสิทธิบัตรฉบับแรกของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2522 • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542
เจตนารมณ์และแนวความคิดเจตนารมณ์และแนวความคิด • เจตนารมณ์ • เพื่อคุ้มครองสิทธิตามธรรมชาติของผู้ประดิษฐ์ • เพื่อเป็นการตอบแทนต่อการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาจากต่างประเทศ • เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้มีการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น • เพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้และรายละเอียดของการประดิษฐ์แก่สาธารณชน
แนวความคิด • ทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ ได้รับอิทธิพลมาจากการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส มีความเชื่อพื้นฐานที่ว่า การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรเป็นการรับรู้ถึงสิทธิทางศีลธรรมของผู้ประดิษฐ์ที่มีอยู่เหนือการประดิษฐ์ของตน เมื่อบุคคลใดได้สร้างสรรค์งานหรือทำการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใดขึ้นมา ผลผลิตทางความคิดดังกล่าวก็ควรจะตกเป็นทรัพย์สินของบุคคลนั้น • ทฤษฎีว่าด้วยเศรษฐกิจ มีความเชื่อว่า ระบบสิทธิบัตรเป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ ส่งเสริมความเจริญทางอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่องดังกล่าวต้องอาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมาก การให้ความคุ้มครองตามสิทธิบัตรนั้นจะทำให้ผู้ประดิษฐ์เชื่อมั่นว่าค่าใช้จ่ายและระยะเวลาทีสูญเสียไปในการวิจัยและพัฒนาจะได้รับการชดเชยคืนมาในรูปของสิทธิเด็ดขาด เพื่อนำไปแสวงหาประโยชน์ทางพาณิชย์
พระราชบัญญัติสิทธิบัตรพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
ความหมาย • สิทธิบัตร มีความหมาย 2 ประการ คือ 1. พ.ร.บ. สิทธิบัตร มาตรา 3 บัญญัติว่า “สิทธิบัตร” หมายความว่า “หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดในหมวด 2 และหมวด 3 แห่งพระราชบัญญัตินี้” • หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ 2. สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายให้แก่เจ้าของสิทธิบัตรให้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือสิทธิเด็ดขาดในการแสวงหาประโยชน์จากสิทธิบัตรในระยะเวลาที่จำกัด ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
วัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิบัตรวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิบัตร 1. เพื่อคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ [ควรถือว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติ(national rights)] 2. เพื่อให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ 3. เพื่อจูงใจให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ 4. เพื่อกระตุ้นให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์ที่คิดค้นใหม่ 5. เพื่อจูงใจให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ
สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรได้สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรได้ • สิ่งที่ขอรับได้มี 2 ประเภท คือ 1. การประดิษฐ์ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ • การได้มาซึ่งสิทธิในสิทธิบัตร จะต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรโดยจะต้องเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ว่าครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
สิ่งที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองสิ่งที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครอง • การประดิษฐ์(inventions) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม • การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product designs) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลติภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม • บางประเทศยังให้การคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มียังไม่ถึงขั้นขอรับสิทธิบัตร ที่เรียกว่า “แบบผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์” (utility models) คล้ายคลึงกับอนุสิทธิบัตร (petty patent)
การประดิษฐ์ (inventions)
การประดิษฐ์ (inventions) • พ.ร.บ. สิทธิบัตร บัญญัติว่า “ การประดิษฐ์” หมายความว่า การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี (ม.3 วรรคสอง) • “กรรมวิธี” หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการรักษาให้คงสภาพ หรือให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้นๆ ด้วย (ม. 3 วรรคสาม)
การประดิษฐ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ และ/หรือ กรรมวิธี
การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น ต้องมีลักษณะเป็นการใช้สติปัญญาในการคิดค้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีจนประสบผลสำเร็จ อาจเรียกว่า “การคิดค้นจนสำเร็จ (conception) หมายความว่า สิ่งที่ได้คิดค้นนี้สามารถนำไปทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ • ข้อสังเกต : 1. สิ่งที่ได้รับการคุ้มครอง คือ ความคิด (ideas) ไม่ใช่ตัววัตถุที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์นั้น 2. จะต้องเป็นการความคิดสร้างสรรค์ที่มีผลเกิดขึ้น คือ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือ เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์
ประเภทของการประดิษฐ์ (ม.3 วรรคสาม) 1. ผลิตภัณฑ์ 2. กรรมวิธี 3. การทำให้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดีขึ้น
สิทธิบัตรที่ออกให้แก่ผลิตภัณฑ์ เรียกว่า สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ (product patent) • สิทธิบัตรที่ออกให้แก่กรรมวิธี เรียกว่า สิทธิบัตรกรรมวิธี (process patent) • ม. 36 วรรคหนึ่งได้บัญญัติสิทธิของผู้ทรงสิทธิที่แตกต่างกันระหว่างสิทธิบัตรทั้งสอง • สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์จะได้รับการคุ้มครองมากกว่าหรือสูงกว่าสิทธิบัตรกรรมวิธี
เงื่อนไขของการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เงื่อนไขของการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ • มาตรา 5 กำหนดว่า การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (novelty) 2. มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น (inventive step) และ 3. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอตุสาหกรรม (capable of industrial application)
1. การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (Novelty) • มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว” • วรรคสอง ได้กล่าวถึง งานที่ปรากฏอยู่แล้ว • การพิจารณาความใหม่นั้น การประดิษฐ์นั้นต้องไม่เป็น งานที่ปรากฏอยู่แล้ว (prior art หรือ state of art)
ความใหม่ (Novelty) • เป็นงานที่ไม่มีปรากฏอยู่หรือไม่ได้ใช้แพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (ทั่วโลก) • ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้จดสิทธิบัตรไว้ทุกแห่งในโลก (การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร)
ความใหม่ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องมีลักษณะดังนี้ความใหม่ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่มีหรือไม่ใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (prior art or prior use) 2. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (prior publication) การเปิดเผยนั้นไม่ว่ากระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใดๆ
3. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตร 4. เป็นการประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วที่ต่างประเทศเป็นเวลาไม่เกิน 18 เดือนก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังไม่ได้ออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรให้ 5. เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วไม่ว่าในหรือนอกประเทศ และยังไม่ได้ประกาศโฆษณาก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย
ม. 6 วรรคสุดท้าย บัญญัติว่า “การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ รวมทั้งการแสดงผลงานของผู้ประดิษฐ์ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ หรือในงานแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการและการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดดังกล่าวได้กระทำภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตร มิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2)”
ข้อยกเว้น 3 ประการคือ 1. การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการะกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย 2. การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ (grace period) 3. การแสดงผลงานของผู้ประดิษฐ์ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือในงานแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการ การเปิดเผยดังกล่าวไม่ทำให้การประดิษฐ์ตกเป็น งานที่ปรากฏอยู่แล้ว แต่ผู้ต้องทำการขอรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน
ขั้นตอนการปฏิบัติในการพิจารณาความใหม่ขั้นตอนการปฏิบัติในการพิจารณาความใหม่ การตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน • การตรวจค้น (search)เป็นการค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ปรกติจะเป็นการตรวจค้นเอกสาร เช่น เอกสารสิทธิบัตรที่จดทะเบียนทั้งในและต่างประเทศ เอกสารทางวิชาการ หรือเอกสารที่แสดงสาระสำคัญของการประดิษฐ์ต่างๆ • การตรวจสอบ (examination)เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการประดิษฐ์ที่มีอยู่กับที่ขอรับสิทธิบัตร
2. ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (inventive step) • ม. 7 บัญญัติว่า “การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น ได้แก่ การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น” • ต้องไม่เป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีที่สามารถคิดค้นหรือทำได้ง่าย (obvious) • กฎหมายถือเอาความรู้ความสามารถของบุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น (person having ordinary skill in the pertinent art) เป็นเครื่องวัด
ขอบเขตการพิจารณาขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น โดยดูจากลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่ระบุในข้อถือสิทธิ (claims ) และพิจารณาเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วในประเภทต่างๆ ตามมาตรา 6 • การวินิจฉัย นอกจากดูว่า การประดิษฐ์มีลักษณะทางโครงสร้าง (structural differences) แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงลักษณะการทำงาน (function) และผลที่ได้รับ (results or utilities) ว่าแตกต่างหรือไม่
การนำส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วมาประกอบเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (combination of old elements) จะเป็นขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นต่อเมื่อทำให้มีหน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นกว่าเดิม ( เรียกว่า “combination patent” ในสาขาเคมี เรียกว่า “selection patent”)
3. การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม (industrial applicability) • ม.8 บัญญัติว่า “การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ได้แก่ การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม” • ต้องสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติได้จริง โดยจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง (reproducibility) และเป็นสิ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม (practicality)
ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 20 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (มาตรา 35) x x x 11 มกราคม 2560 11 มกราคม 2540 11 กันยายน 2545 ตกเป็นของสาธารณะ ได้รับจดสิทธิบัตร วันยื่นคำขอ
การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ (ม. 9) การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ • ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน
1. จุลชีพ สัตว์ และพืช • ไม่คุ้มครองสัตว์และพืช เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่เกษตรกร • เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถึงแม้มนุษย์จะช่วยต่างก็อาศัยธรรมชาติทั้งสิ้น และพันธุ์สัตว์และพืชมีลักษณะไม่คงที่ • สัตว์และพืชไม่ว่าเกิดขึ้นเองหรือคิดค้นขึ้นก็ตามไม่ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิบัตร • ส่วนสารสกัดจากสัตว์และพืชไม่สามารถขอรับการคุ้มครองได้ แต่ถ้านำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์จะได้รับการคุ้มครอง • แต่กรรมวิธีในการผลิตสามารถขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในกรรมวิธีนั้นได้
สิทธิบัตรไม่คุ้มครองพันธ์พืชและสารสกัดจากพืช แต่มี พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่คุ้มครองการปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นการเฉพาะ • จุลชีพ (microorganisms) เช่น แบ็คเทเรีย ไวรัสถ้ามีอยู่แล้วตามธรรมชาติไม่ได้รับการคุ้มครอง • แต่ถ้าเป็นจุลชีพที่มนุษย์คิดค้นขึ้นสามารถขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้
2. กฎเกณฑ์และทฤษฎี • กฎเกณฑ์และทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มิใช่การประดิษฐ์คิดค้น แต่เป็นการค้นพบกฎเกณฑ์และหลักการที่มีอยู่ตามธรรมชาติ • ควรเปิดกว้างให้ผู้อื่นสามารถใช้ได้โดยเสรี • แต่ถ้านำกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีเพื่อประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีสามารถขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตรได้
3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ • สิทธิบัตรไม่คุ้มครองระบบข้อมูลสำหรับการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program or computer software) • เนื่องจากมีลักษณะเป็นเพียงการใช้ผลิตภัณฑ์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงมิใช่การประดิษฐ์และไม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โดยตรง • ดังนั้นเทียบได้กับวิธีการใช้เครื่องกลหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ • แต่อย่างไรก็ตามได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ • ถ้าให้สิทธิผูกขาดแล้วจะกระทบต่อชีวิต สุขภาพและอนามัยของประชาชนส่วนรวม • นอกจากนี้วิธีการวินิจฉัยฯ มิใช่การประดิษฐ์ แต่ถ้าเป็นการผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยฯ เช่น เครื่องมือวัดความดันโลหิต เข็มฉีดยา หรือ ยารักษาโรค ถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถขอรับการคุ้มครองตามสิทธิบัตรได้ • TRIPs Agreement Art. 27.3 กำหนดให้ประเทศสมาชิกยกเว้นไม่คุ้มครองกรรมวิธีทางการแพทย์ได้
5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน • กฎหมายไม่สนับสนุนการประดิษฐ์ที่ไม่มีประโยชน์และสร้างแต่โทษให้กับประชาชนส่วนร่วม • กฎหมายคุ้มครองเฉพาะงานที่สร้างสรรค์เท่านั้น ต้องไม่ขัดต่อนโยบายสาธารณะ (public policy) หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (morality)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design)
ความหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์ความหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์ • ม. 3 วรรค 4 • ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอก (ornamental aspect) ของผลิตภัณฑ์ สิ่งภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่สามารถมองเห็นได้ • การใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่ามากขึ้นในทางพาณิชย์ ต้องสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมได้จริง
ประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ • แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • รูปร่าง (shape or configuration) เช่น รูปทรงและแบบโคมไฟ ออกแบบสร้อยคอคอมพิวเตอร์ • องค์ประกอบของลวดลายหรือสี (composition of lines or colors) เช่น ลวดลายผ้า สีรองเท้า
การออกแบบผลิตภัณฑ์ • แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • สองมิติ ได้แก่ ลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ เช่น ลวดลายผ้า สีรองเท้า • สามมิติ ได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ เช่น รูปทรงและแบบโคมไฟออกแบบสร้อยคอ คอมพิวเตอร์
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การออกแบบที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมในการผลิตเป็นจำนวนมาก • ลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ (ม.56 และ 57) • ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ • เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรม
วิธีการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความใหม่วิธีการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความใหม่ • วิธีการพิจารณาจะเปรียบเทียบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรมีความแตกต่างกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ • ผ่านการตรวจค้น (search) และการตรวจสอบ (examination)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ • ม. 58 บัญญัติว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ คือ 1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 2. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร (มาตรา 62) x x x 11 กันยายน 2545 11 มกราคม 2550 11 มกราคม 2540 ได้รับจดสิทธิบัตร ตกเป็นของสาธารณะ วันยื่นคำขอ
ลักษณะการประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตร (ม. 65 ทวิ) • ให้คุ้มครองการประดิษฐ์เท่านั้น • ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่ใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ • แต่ไม่ต้องมีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น • อายุการคุ้มครอง 6 ปีนับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมได้ 10 ปี ดังนั้นระยะเวลาการคุ้มครองน้อยกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครอง 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร
ระยะเวลาการคุ้มครองอนุสิทธิบัตรระยะเวลาการคุ้มครองอนุสิทธิบัตร - 6 ปีนับตั้งแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร • สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี รวม 10 ปี (มาตรา 65 สัตต) 11 มกราคม 2546 11 มกราคม 2548 - ตกเป็นของสาธารณะ - ต่ออายุ # 1 - ตกเป็นของสาธารณะ - ต่ออายุ # 2 x x x x x 11 มกราคม 2550 11 มกราคม 2540 11 กันยายน 2543 ตกเป็นของสาธารณะ ได้รับจดอนุสิทธิบัตร วันยื่นคำขอ
สิทธิบัตร vs. อนุสิทธิบัตร 1. ประเภทของความคุ้มครอง - สิทธิบัตร: ให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ - อนุสิทธิบัตร: ให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์อย่างเดียว 2. องค์ประกอบการขอรับความคุ้มครอง - การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรต้องมีความใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมได้ - การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรต้องมีความใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรม
สิทธิบัตร vs. อนุสิทธิบัตร 3. ระยะเวลาคุ้มครอง - สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปีและขอขยายเวลาคุ้มครองไม่ได้ - อนุสิทธิบัตร ระยะเวลาคุ้มครอง 6 ปี และขอขยายเวลาคุ้มครองได้อีก 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี หรือจะไม่ขยายเวลาก็ได้
สิทธิและหน้าที่ของผู้ทรงสิทธิบัตรสิทธิและหน้าที่ของผู้ทรงสิทธิบัตร • เกิดขึ้นเมื่อได้รับการจดทะเบียน • เปลี่ยนสถานะจากผู้ขอรับสิทธิบัตร เป็น ผู้ทรงสิทธิบัตร มีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด • ผู้รับโอนสิทธิบัตร มีฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร