461 likes | 794 Views
POWER POINT ประกอบการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1. ร่องรอยปทุมธานีในอดีต. เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. โดย นายสุนทร พุกสุข สพป ปทุมธานี เขต 1. ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. หลักฐานประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น. วิธีการทางประวัติศาสตร์. ร่องรอยปทุมธานี ในอดีต.
E N D
POWER POINTประกอบการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่องรอยปทุมธานีในอดีต เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย นายสุนทร พุกสุข สพป ปทุมธานี เขต 1
ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 • หลักฐานประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น • วิธีการทางประวัติศาสตร์ • ร่องรอยปทุมธานี • ในอดีต • แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
ให้นักเรียนดูภาพหนังสือ • 8-9 ภาพ
หนังสือประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นหนังสือประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น
ประวัติศาสตร์-โบราณคดีประวัติศาสตร์-โบราณคดี
หนังสือภูมิสังคมปทุมธานีหนังสือภูมิสังคมปทุมธานี
พาเที่ยวเมืองปทุมธานีพาเที่ยวเมืองปทุมธานี
นักเรียนช่วยกันตอบคำถามเหล่านี้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามเหล่านี้ • 1. การเขียนหนังสือประวัติศาสตร์แตกต่างกับนวนิยายอย่างไร • การเขียนเอกสาร ตำราทางประวัติศาสตร์มีวิธีการเขียนอย่างไร • การศึกษาประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นมีขั้นตอนอะไรบ้าง
นักเรียนตอบได้ไหม • หากคิดคำตอบไม่ได้ไม่เป็นไร • เดี๋ยวเราไปศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ของคุณหมอบัญชา พงษ์พานิชกันหน่อยเป็นไร
นักเรียนแต่ละกลุ่มหากยังคิดคำตอบไม่ได้นักเรียนแต่ละกลุ่มหากยังคิดคำตอบไม่ได้ • ให้ศึกษาใบความรู้เรื่อง ตามรอยลูกปัด • โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ (คิดเดี่ยว-คิดคู่-ร่วมกันคิด)
นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามลงในใบกิจกรรมที่ 2.1 • ตามประเด็น.. • การกำหนดปัญหา • วิธีการรวบรวมข้อมูล • วิธีการตรวจสอบประเมินหลักฐาน(ลูกปัด) • การวิเคราะห์/ตีความสิ่งที่พบ (หลักฐาน) • วิธีการนำเสนอผลการศึกษา
จากตามรอยลูกปัด • ของคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช • นักเรียนพอจะทราบบ้างใช่ไหม • ว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร… • ไม่ยากใช่ไหม สนุกด้วย • มีอะไรให้ท้าทายมากมาย
ต่อไปนี้เรามาสรุปความรู้กันซิว่า • วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง • มาดูกันซิ...
วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์
บทนำ • ประวัติศาสตร์ • เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตของมนุษย์โดยมีนักประวัติศาสตร์เป็นผู้ทำหน้าที่สืบสวนค้นคว้าหาข้อเท็จจริงต่างๆ • จากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ เราสามารถนำความรู้ทางประวัติศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือแก้ปัญหาสภาพสังคมปัจจุบันได้
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • วิธีการทางประวัติศาสตร์ • หมายถึง • ขั้นตอนหรือวิธีการ ที่นักประวัติศาสตร์ใช้ในการศึกษา ค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต • เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุด
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นกำหนดปัญหา • ขั้นรวบรวมข้อมูล • ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน • ขั้นวิเคราะห์และตีความ • ขั้นเรียบเรียงและนำเสนอ
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือเรื่องที่จะศึกษา • เป็นเรื่องที่ผู้สนใจอยากรู้ สงสัย จึงตั้งประเด็นปัญหาเรื่องที่จะศึกษา เช่น • เกิดอะไรขึ้น (WHAT) • เมื่อไร(WHEN) • ที่ไหน (WHERE) • กับใคร (WHO) • เกิดขึ้นอย่างไร (HOW) • ทำไมจึงเกิดขึ้น (WHY)
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมหลักฐานข้อมูล • ผู้ศึกษารวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษา จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ • เช่น ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญ แหล่งโบราณคดี เอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง ฯลฯ
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน • แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • การประเมินคุณค่าหลักฐานภายนอก • การประเมินคุณค่าหลักฐานภายใน
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน • การประเมินคุณค่าหลักฐานภายนอก • เป็นการประเมินที่มุ่งพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริง หรือปลอมโดยอาศัยการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ซึ่งจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน • การประเมินคุณค่าหลักฐานภายใน • เป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานโดยพิจารณาความถูกต้องและคุณค่าของเนื้อหาจากความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ ศักยภาพและคุณธรรมของผู้ศึกษา
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • ผู้ศึกษาต้องตีความหลักฐานอย่างมีระเบียบแบบแผน • พยายามค้นหาความหมายและความสำคัญที่แท้จริง ที่ปรากฏ การวิพากษ์วิจารณ์ และการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ยุติธรรม • โดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลังที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • การตีความแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ • การตีความขั้นต้น หรือ การตีความในแนวราบ • การตีความขั้นลึก หรือ การตีความในแนวดิ่ง
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • การตีความขั้นต้น(การตีความในแนวราบ) • ถ้าเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ตีความจะต้องบอกได้ว่าชิ้นส่วนวัตถุหรือซากที่พบเป็นส่วนหนึ่งของอะไร มีลวดลายหรือลักษณะสำคัญอย่างไร
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • การตีความขั้นต้น(การตีความในแนวราบ) • คุณลักษณะพิเศษของผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อผู้เขียน หรือผู้สร้างหลักฐาน • เช่น จารีตประเพณี ทัศนคติ ค่านิยมของยุคสมัยนั้นๆ
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • การตีความขั้นลึก(การตีความในแนวดิ่ง) • เป็นการตีความเพื่อหาความหมายที่ผู้เขียนหรือผู้สร้างหลักฐานมิได้บอกไว้อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา • เช่น ทัศนคติและเจตนา หรือจุดมุ่งหมายของผู้เขียนหรือผู้สร้าง ข้อเท็จจริงบางประการที่แฝงอยู่
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • ตัวอย่างการตีความขั้นต้น • จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 18-21 ซึ่งเขียนเป็นคำอ่านปัจจุบันว่า
....เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า....
เมื่อตีความขั้นต้นแล้วจะได้สาระสรุปว่าเมื่อตีความขั้นต้นแล้วจะได้สาระสรุปว่า • ....เมืองสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความอุดมสมบูรณ์ การค้าขายได้โดยสะดวก ไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ราษฎรค้าขายได้ตามชอบ....
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน • ตัวอย่างการตีความขั้นลึก • ....เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า....
เมื่อตีความในขั้นลึกแล้ว จะได้ความหมายอื่นๆ ที่ไม่ได้บอกไว้ตรงๆ อีกหลายความหมาย เช่น • ผู้จารึกยกย่องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีทัศนคติที่มีต่อสุโขทัย จึงสรรเสริญสุโขทัยว่า อุดมสมบูรณ์ถึงขนาด ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว • ในขณะนั้นเมืองหรือแคว้นอื่นๆ อาจมีการเก็บภาษีผ่านด่าน แต่สุโขทัยไม่เก็บ จึงดีกว่าเมืองและแคว้นอื่นๆ • สุโขทัยเก็บภาษีหลายประเภท การยกเว้นภาษีผ่านด่านคงไม่กระทบกระเทือนรายได้ของรัฐมากนัก
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงและการนำเสนอ • คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการตีความแล้วมาสังเคราะห์ คือการนำมารวมเข้าด้วยกัน • หรือนำมาเชื่อมโยงปะติดปะต่อเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่ออธิบายหรือตอบปัญหาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 • แล้วนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความ หนังสือ การบรรยาย การอภิปรายเป็นต้น
ลองฝึกตีความกันหน่อยซิ (1) • “ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี • ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว • โอ้พระคุณสูญลับไม่กลับหลัง แต่ชื่อตั้งก็ยังอยู่เขารู้ทั่ว • โอ้เรานี้ที่สุนทรประทานตัว ไม่รอดชั่วเช่นสามโคกยิ่งโศกใจ”
ลองฝึกตีความกันหน่อยซิ (2) • “จากเรือมาร่อนท้ง พญาเมือง • เมืองเปล่าปลิวใจหาย น่าน้อง • จากมาเยียมาเปลือง อกเปล่า • อกเปล่าว่ายฟ้าร้อง ร่ำหารนภา”
ควรตีความขั้นต้นอย่างไรควรตีความขั้นต้นอย่างไร • ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รอยลูกปัด • ตัวอย่างหนังสือ • ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
บรรณานุกรมภาพ http://www.rangsit.org/rangsit_travel/index.php http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/pathumthani4.htm http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/pathumthani9.htm http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/pathumthani10.htm http://www.baanmai.go.th/H_P_Lum.html http://www2.pathumthani.go.th/ http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/ptt/implace.html