340 likes | 602 Views
Data Communication and Network. Modulation Technique Part 2. 2.Analog-to-Analog Modulation.
E N D
Data Communication and Network Modulation Technique Part 2
2.Analog-to-Analog Modulation • การเข้ารหัสแบบแบบอนาล็อกเป็นอนาล็อก หมายถึง การแทนข้อมูลที่อยู่ในรูปอนาล็อกไปเป็น สัญญาณอนาล็อก ตัวอย่างของการเข้ารหัสแบบนี้ที่เราคุ้นเคย คือ ระบบวิทยุกระจายเสียงเพราะ เสียงเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก เมื่อเข้าเครื่องส่งของสถานีซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณ อนาล็อกก่อนแพร่สัญญาณออกไป • วิธีการเข้ารหัสสัญญาณอนาล็อกเพื่อส่งผ่านไปในช่องทางสื่อสารอนาล็อกนั้นมี3 วิธี ด้วยกันคือ 1. การเข้ารหัสแบบแอมปลิจูด (Amplitude Modulation, AM) 2. การเข้ารหัสแบบความถี่ (Frequency Modulation, FM) 3. การเข้ารหัสแบบเฟส (Phase Modulation, PM)
การเข้ารหัสแบบแอมปลิจูด (Amplitude Modulation, AM) • การเข้ารหัสแบบ AM เป็นวิธีการที่ดั้งเดิมที่สุดและสะดวกที่สุด • ตามรูปจะเห็นว่าความถี่ ของ สัญญาณ คลื่นพาห์จะคงที่และสูงกว่าความถี่ของสัญญาณข้อมูล เพื่อให้สามารถพาสัญญาณข้อมูลไปได้ระยะทางไกล ๆ • จะเห็นว่าสัญญาณ AM ที่เข้ารหัสแล้วจะมีความถี่เท่ากับ ความถี่ของสัญญาณคลื่นพาห์ โดยมีขนาดหรือแอมปลิจูดของสัญญาณเปลี่ยนแปลงไป ตามแอมปลิจูดของสัญญาณข้อมูล
การเข้ารหัสแบบแอมปลิจูด (Amplitude Modulation, AM)
การเข้ารหัสแบบแอมปลิจูด (Amplitude Modulation, AM) • แบนด์วิดท์ของการเข้ารหัสแบบ AM ขนาดของแบนด์วิดท์ของคลื่นแบบ AM เท่ากับ 2 เท่าของแบนด์วิดท์ของคลื่นต้นทาง (เสียง) และมีความถี่ของคลื่นพาห์เป็นจุดศูนย์กลางของแบนด์วิทด์ทั้งหมด • แบนด์วิดท์ของคลื่นเสียง เช่น คำพูดหรือเสียงดนตรีมีขนาดประมาณ 5 KHz ดังนั้น สถานีวิทยุเอเอ็มต้องใช้แบนด์วิทด์อย่างน้อย 10 KHz คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการ สื่อสารจึงอนุญาตให้สถานีวิทยุใช้แบนด์วิทด์เป็น 10 KHz ด้วยเช่นกัน • สถานีวิทยุ AM ใช้ คลื่นพาห์ที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 530 และ 1700 KHz แต่ละสถานีจึงต้องตัดความถี่คลื่นพาห์ออกข้างละอย่างน้อย 10 KHz เพื่อใช้ป้องกันการรบกวนของสัญญาณอื่น
การเข้ารหัสแบบความถี่ (Frequency Modulation, FM) • ตรงกันข้ามกับการเข้ารหัสแบบ AM สัญญาณเข้ารหัสแบบ FM จะมีแอมปลิจูดคงที่ แต่ความถี่ของสัญญาณจะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปตามความถี่ของสัญญาณข้อมูล • ข้อเสียของการเข้ารหัสแบบ FM คือ ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่ ดังนั้นจึง ต้องหาวัสดุที่เป็นสายสื่อสารที่มีขนาดของแบนด์วิดท์กว้าง ทำให้ราคาของสายสื่อสารสูงขึ้นตามไปด้วย
การเข้ารหัสแบบความถี่ (Frequency Modulation, FM)
การเข้ารหัสแบบความถี่ (Frequency Modulation, FM) • คุณภาพของสัญญาณที่ได้จากการเข้ารหัสแบบ FM นี้จะดีกว่าแบบ AM แต่ระบบการทำงานจะซับซ้อนกว่า • ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงวิธีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ FM โดยการเพิ่มวงจร Phase-Lock-Loop เข้าไปในระบบ เพื่อปรับความถี่และเฟสของสัญญาณ ทำให้สัญญาณมีคุณภาพและถูกต้องยิ่งขึ้น
การเข้ารหัสแบบเฟส (Phase Modulation, PM) • ในขณะที่การเข้ารหัสแบบ AM และ FM เป็นที่นิยมใช้ในการกระจายเสียงทางวิทยุ แต่วิธีการเข้ารหัสแบบ PM กลับนิยมใช้กันในการแพร่ภาพสีทางทีวี • วิธีการเข้ารหัสแบบ PM ใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงเฟสของสัญญาณ ซึ่งจริง ๆ แล้วทำได้ง่ายกว่าวิธีเข้ารหัสแบบ FM เสียอีก แม้จะเป็น วิธีที่ดีแต่วงจรค่อนข้างจะซับซ้อนกว่าจึงไม่นิยมใช้ส่งสัญญาณข้อมูลอนาล็อก
การเข้ารหัสแบบเฟส (Phase Modulation, PM)
การเข้ารหัสแบบเฟส (Phase Modulation, PM) • การเข้ารหัสมักจะนำมาใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลมีการเปลี่ยนแปล ง เฟส 2 ระดับสัญญาณ แบบ ทันทีทันใด( คือจาก +5 Vdc เป็น -5 Vdc) ซึ่งจะคล้องกับวิธีเข้ารหัสทางเฟสที่จะกลับเฟส สัญญาณ แบบทันทีทันใด เช่นกัน • ตัวอย่างเช่น การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบโทรศัพท์ อนาล็อกโดย ใช้โมเด็ม ที่การเข้ารหัสสัญญาณทางเฟสเป็นอุปกรณ์ส่งข้อมูล
3. Digital-to-Analog Modulation • ในปัจจุบันการส่งสัญญาณข้อมูลดิจิตอลโดยผ่านช่องทางสื่อสารแบบอนาล็อกที่เราคุ้นเคยกัน ได้แก่ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ เครือข่ายโทรศัพท์ ถูกออกแบบมา เพื่อทำการสลับสวิตซ์และส่งสัญญาณอนาล็อกซึ่งเป็นย่านความถี่ของเสียงหรือประมาณ 300 – 3400 เฮิรตซ์ • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกย่านความถี่เสียงเราเรียกว่า โมเด็ม (MODEM) • สำหรับเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ 1. การเข้ารหัสเชิงเลขทางแอมปลิจูด (Amplitude – Shift Keying หรือ ASK) 2. การเข้ารหัสเชิงเลขทางความถี่ (Frequency – Shift Keying หรือ FSK) 3. การเข้ารหัสเชิงเลขทางเฟส (Phase – Shift Keying หรือ PSK)
Amplitude Shift Keying (ASK) • ความถี่ของคลื่นพาห์ (Carrier Wave) ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณแบบอนาล็อก ผ่านตัวกลางสื่อสารนั้นจะคงที่ • ลักษณะของสัญญาณเข้ารหัสนั้น เมื่อค่าของบิตของสัญญาณข้อมูลดิจิตอลมีค่าเป็น “ 1 ” ขนาดของคลื่นพาห์ (Amplitude) จะสูงขึ้นกว่าตอนปกติ และเมื่อบิตมีค่าเป็น “ 0 ” ขนาดของคลื่นพาห์จะตกลงกว่าตอนปกติ • การเข้ารหัสแบบ ASK มักจะไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะจะถูกรบกวน จากสัญญาณ อื่นได้ง่าย
Frequency Shift Keying (FSK) • ในการเข้ารหัสแบบ FSK ขนาดของคลื่นพาห์จะไม่เปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนแปลงคือ ความถี่ของ คลื่นพาห์ นั้นคือ • เมื่อบิตมีค่าเป็น “ 1 ” ความถี่ของคลื่นพาห์จะสูงกว่าตอนปกติ • เมื่อบิตมีค่าเป็น “ 0 ” ความถี่ของคลื่นพาห์ก็จะต่ำกว่าปกติ
Phase Shift Keying (PSK) • หลักการของ Phase Shift Keying (PSK) คือ ค่าของขนาดและ ความถี่ของคลื่นพาห์ จะไม่มี การเปลี่ยนแปลง แต่ที่จะเปลี่ยนคือเฟสของสัญญาณ กล่าวคือ • เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง สภาวะของ บิตจาก “ 1 ” ไปเป็น “ 0 ” หรือเปลี่ยนจาก “ 0 ” ไปเป็น “ 1 ” เฟสของคลื่นจะเปลี่ยน (Shift) ไป 180 องศาด้วย • ในการเข้ารหัสเพื่อเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกทั้ง 3 แบบ วิธีการแบบ PSK จะมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นน้อยที่สุด ได้สัญญาณที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่วงจรการทำงานจะซับซ้อนกว่าและราคาอุปกรณ์ก็แพงกว่า โดยปกติจะ PSK จะนำมาใช้กับโมเด็ม ความ เร็วปานกลาง เช่น 2,400 หรือ 4,800 bps
Phase Shift Keying (PSK) 90° 0 180° 0° 1 270°
Quandrature PSK (QPSK) 10 01
Quadrature Amplitude Modulation(QAM) • วิธี PSK ต้องอาศัยการเปลี่ยนแพลงเฟสแทนค่าบิต ถ้าต้องการส่งข้อมูลให้เร็วขึ้น ต้องแบ่งเฟสออกเป็นองศาขนาดเล็กลงซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ที่สามารถแยกความแตกต่างของสัญญาณที่มีเฟสต่างให้ได้ • การเปลี่ยนแปลงคลื่นซายน์เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เปลี่ยนแอมพลิจูดหรือเปลี่ยนความถี่หรือเฟสเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว • ถ้าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 อย่างมารวมกัน จะสามารถส่งข้อมูล ได้เร็วขึ้น • แต่ถ้าผสมผสานแบบ FSK กับแบบอื่นๆ แบนด์วิทด์จะถูกจำกัดเช่นเดิม
90° 010 011 001 000 180° 0° 100 101 111 110 270° Quadrature Amplitude Modulation(QAM) • ASK + PSK วาดรูป sine wave
4. Analog-to-Digital Modulation • ในบางครั้งต้องแปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital เช่น เสียงคนที่ต้องส่งในระยะทางไกลจะต้องแปลงเสียงเป็น Digital เสียก่อน เช่นนี้เรียกว่า analog - to - digital เป็นการแปลงสัญญาณอนาล๊อกไปเป็นสัญญาณดิจิตอล โดยผ่านวิธีการ Codec ( Coder -Decoder )
Analog-to-Digital Modulation • ในกรณีถ้าระบบเครือข่ายของเราเป็นแบบดิจิตอล คือสามารถส่งผ่านสัญญาณ ดิจิตอล สู่ช่องทาง สื่อสารดิจิตอลได้โดยตรง เช่น การส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ผ่านเครือข่าย โทรศัพท์ดิจิตอลสาธารณะ (ISDN) เราสามารถส่งสัญญาณดิจิตอลที่ออกจาก คอมพิวเตอร์สู่ เครือข่ายได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโมเด็ม • และในทำนองเดียวกันก็สามารถจะส่งสัญญาณอนาล็อกผ่านเข้าไปในระบบเครือข่ายดิจิตอล ได้โดยการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเสียก่อนโดยใช้อุปกรณ์ที่ทำงานตรงกันข้ามกับโมเด็มคือ โคเดก (CODEC หรือ COder / DECoder) • เทคนิคการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1. การเข้ารหัสทางแอมปลิจูดของพัลส์ หรือ PAM (Pulse AmplitudeModulation) 2. การมอดูเลตแบบรหัสพัลส์ หรือ PCM (Pulse Code Modulation)
Pulse Amplitude Modulation (PAM) • โดยอาศัยหลักการ “ แซมปิง ” หรือการชักตัวอย่าง (Sampling) ของสัญญาณที่เป็น อนาล็อก( ต่อเนื่อง) ตามช่วงเวลาให้สัญญาณนั้นขาดจากกันเป็นพัลส์ ๆ โดยขนาดของ แต่ละพัลส์จะเท่า กับขนาดของสัญญาณเดิมในช่วงเวลานั้น ๆ • ทางทฤษฎีการแซมปิงจะทำด้วยอัตราสองเท่าของแบนด์วิดท์ของสัญญาณอนาล็อก เป็นจำนวน ครั้งต่อวินาที ( อัตราแซมปิง = 2 BW เฮิรตซ์ ) ยิ่งถ้าแซมปิงสัญญาณด้วยอัตราน้อยเท่าไร เรา ก็จะได้สัญญาณพัลส์ที่ใกล้เคียงกับสัญญาณเดิมมากที่สุด แต่ถ้าอัตราน้อยเกิน ไปสัญญาณ ก็จะ กลับไปเป็นสัญญาณอนาล็อกเหมือนเดิม
Pulse Amplitude Modulation (PAM) • ขั้นแรกของการ PCM จะต้องทำ PAM ก่อน คือการเอาข้อมูลที่เป็น analog มาทำการ Sampling
Pulse-Code Modulation (PCM) • เนื่องจากขนาดของพัลส์ในแบบ PAM ยังคงเป็นแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณแบบ PAM จึงไม่ได้ ต่างอะไรกับการส่งสัญญาณอนาล็อกเลย ดังนั้นในวิธีการส่งแบบ PCM จึงมีขั้นตอนการทำให้ขนาดของสัญญาณข้อมูลเป็นแบบไม่ต่อเนื่องก่อนด้วยวิธีการตัดตอนสัญญาณ ที่เรียกว่า “ การควอนไทซ์ ” (Quantize) ขั้นตอนการแปลงสัญญาณอนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยวิธี PCM
Pulse-Code Modulation (PCM) • เมื่อสัญญาณ PCM ถูกส่งไปถึงปลายทางก็จะถูกเปลี่ยนกับมาเป็นสัญญาณ PAM แล้วจึงแปลงกลับมาเป็นสัญญาณอนาล็อกอย่างเดิมอีกทีการทำ “ ควอนไทซ์ ” จะทำให้สัญญาณ ที่ปลายทาง ไม่เหมือนทางต้นทางทีเดียว อีกทั้งในช่วงระหว่างการ “ แซมปิง ” แต่ละครั้งสัญญาณรบกวนจากแหล่งอื่นสามารถแทรกเข้ามาได้ แต่อย่างไรก็ตามการเข้ารหัสแบบ PCM ก็ให้ประสิทธิภาพดี กว่าแบบ PAM และได้สัญญาณข้อมูลเป็นดิจิตอลจริง ๆ