300 likes | 544 Views
AEC 466: เศรษฐศาสตร์การพัฒนาการเกษตร Economics of Agricultural Development. รายชื่อหนังสืออ่านประกอบเพิ่มเติม : ทับทิม วงศ์ประยูร. เศรษฐศาสตร์การพัฒนาเบื้องต้น. ธรรมสารการพิมพ์. 2542. อะไรคือเศรษฐศาสตร์การพัฒนาการเกษตร. 1 ความหมายการพัฒนา. Michael Todaro in “ Economic Development ”.
E N D
AEC 466: เศรษฐศาสตร์การพัฒนาการเกษตร Economics of Agricultural Development รายชื่อหนังสืออ่านประกอบเพิ่มเติม: ทับทิม วงศ์ประยูร. เศรษฐศาสตร์การพัฒนาเบื้องต้น. ธรรมสารการพิมพ์. 2542. • อะไรคือเศรษฐศาสตร์การพัฒนาการเกษตร
1 ความหมายการพัฒนา • Michael Todaro in “Economic Development” • การพัฒนาเป็นการยกระดับของสังคมให้สูงขึ้น เพื่อสภาพชีวิตที่ดีกว่า • เป้าหมายพื้นฐานของการพัฒนา มี 3 อย่าง คือ • มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ (Basic Needs) • มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าในตัวเอง เคารพและหยิ่งในตนเอง (Self-Esteem) • มีอิสรภาพในการเลือก (Freedom of Choice) • การพัฒนาคือ สภาพที่ประชากรดีขึ้นทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ
1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) • A.H.Maslow:เอาความต้องการของมนุษย์เป็นตัวเริ่มต้นของการพัฒนา ความต้องการของมนุษย์มีลำดับก่อนหลัง ดังนี้ • 1. คตก.พื้นฐานในการประทังชีวิต (Physiological needs) • 2. คตก.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (Safety needs) • 3. คตก.ความรักและความรู้สึกมีส่วนในสังคม (Love and belongingness needs) • 4. คตก.ทางด้านเกียรติและศักดิ์ศรี (Self-esteem needs) • 5. คตก.บรรลุถึงศักยภาพหรือเป้าหมายของตัวเอง (Self-actualization or self-fulfillment)
1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) • S.C.Dube:การพัฒนาควรสอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์ 1. คตก.มีชีวิตรอด (Survival needs) • 2. คตก.ด้านสังคม (Societal needs) • 3. คตก.ทางวัฒนธรรมและจิตใจ (Cultural and Psychological needs) • 4. คตก.สวัสดิการ (Welfare needs) • 5. คตก.การปรับเปลี่ยน (Self-actualization/self-fulfillment/Adaptive needs) • 6. คตก.ความก้าวหน้า (Progressive Needs)
1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) • สมบรูณ์ สุขสำราญ จาก “การพัฒนาตามแนวพุทธศาสนา” วัตถุประสงค์ของการพัฒนา คือ “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางสังคมทั้งด้านวัตถุและจิตใจของชุมชนให้ดีขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น โดยคำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์” การพัฒนา => ความกินดีอยู่ดี และ สวัสดิการทางสังคม
การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development ) กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? • 1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) • ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) หมายถึงอะไร • การขยายตัวในความสามารถของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของประชาชน • การเพิ่มขึ้นของรายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (Real income per capita) • ไม่ได้รวมถึง สวัสดิการทางเศรษฐกิจ (Economic Welfare)
การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึงอะไร ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนการเมือง สังคม การบริการและการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่จะส่งผลให้สวัสดิการของประชาชนดีขึ้น รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มขึ้นในระยะยาว • 1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development ) กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
การพัฒนาเศรษฐกิจกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการพัฒนาเศรษฐกิจกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจจำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่ • 1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) ไม่จำเป็นอาจมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ไม่มีการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ สรุป: การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง “กระบวนการที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นในระดับรายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล ตลอดระยะเวลายาวนาน เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่สูงขึ้นกว่าเดิม”
1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) การพัฒนาการเกษตร คืออะไร • การมีความเจริญเติบโตทางผลผลิตทางการเกษตร และ • การเปลี่ยนแปลงทางการผลิต การตลาดและการจัดการ ในอันที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้และมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรในภาคเกษตร ติดต่อกันเป็นช่วงระยะเวลายาวนาน
1 ความหมายการพัฒนา (ต่อ) • อะไรคือเศรษฐศาสตร์การพัฒนาการเกษตร เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร ตลอดจนตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปแบบของสังคมเกษตร เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อเกิดช่องว่างมากขึ้นระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
2 ตัววัดการพัฒนา • ตัวชี้วัดการพัฒนาที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง ทางด้านเศรษฐกิจ อาทิเช่น • รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (real income per capita) • GDP หรือ GNPในหน่วยPurchasing Power Parities (PPPs) • อัตราการว่างงาน (unemployment rate) • สัดส่วนของคนยากจนต่อประชากรทั้งหมด
2 ตัววัดการพัฒนา (ต่อ) ทางด้านสังคม เช่น • ระดับการอ่านออกเขียนได้ • อัตราการตายของเด็กแรกเกิด • อายุขัยเฉลี่ยของประชากร • การเข้าถึงบริการสาธารณสุข • การขาดสารอาหารในเด็ก • จำนวนประชากรที่มีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ • สถานที่พักผ่อนหย่อนใจสาธารณะ • การมีไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ (การเข้าถึงบริการโครงสร้างพื้นฐาน)
2 ตัววัดการพัฒนา (ต่อ) Human Development Index (HDI) ของ UNDP • การมีชีวิตที่ยืนยาว => อายุ (life expectancyat birth) • ความรู้ => อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ (Adult literacy rate) กับจำนวนปีเฉลี่ยที่อยู่ในโรงเรียน (Year of Enrolment) • มาตรฐานความเป็นอยู่ => GDP และ GNP per capita
ตาราง Human Development Index ประจำปี 2003
2 ตัววัดการพัฒนา (ต่อ) ทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น • ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ดินทั้งหมด • สัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • ความเข้มข้นของมลพิษในอากาศในเขตเมือง • ปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตร อ่านเพิ่มเติม: รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย จาก Website ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2 ตัววัดการพัฒนา (ต่อ) ตัววัดการพัฒนาในภาคการเกษตร: เช่น • ผลผลิตรวม • อัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตทางการเกษตร • ผลผลิตเฉลี่ยต่อปัจจัยการผลิต เช่น ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยแรงงาน (man-day) • รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อครัวเรือนเกษตร • การใช้ปัจจัยการผลิตต่อหน่วยที่ดิน
2 ตัววัดการพัฒนา(ต่อ) • สัดส่วนของอาหารนำเข้า • สัดส่วนของการส่งออกสินค้าเกษตร • การขาดแคลนหรือความมั่นคงทางอาหาร • การโภชนาการของประชากร
2 ตัววัดการพัฒนา(ต่อ) ตัววัดด้านอื่นๆที่นอกเหนือความเจริญเติบโต • Green GNP: มีปรับค่า GNP ให้คำนึงถึงความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม • อัตราการอพยพแรงงานออกจากภาคการเกษตร
2 ตัววัดการพัฒนา(ต่อ) ตัววัดทางสังคมเกษตรหรือคุณภาพชีวิต เช่น • จำนวนคนป่วยจากสารเคมีทางการเกษตร • จำนวนเกษตรกรที่เป็นหนี้สินเรื้อรังกับ ธกส. • จำนวนเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน
การบ้านครั้งที่ 1 รวบรวมข้อมูลตัววัดการพัฒนาทางด้านการเกษตร ดังต่อไปนี้ แล้วจัดทำในรูปของตารางและกราฟ พร้อมทำอธิบายสถานภาพของการพัฒนาจากตัววัดที่เลือก • GDPและอัตราการขยายตัว 10 ปี แบ่งเป็น GDP รวม และ GDP ภาคเกษตร (1) • ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของพืชสำคัญๆ เช่น ข้าว 10 ปี โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกอย่างน้อย 2 ประเทศที่มีการปลูกพืชชนิดนั้น (5 คน ตามชนิดของพืช) • มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ 10 ปี อย่างน้อย @3 ชนิด (2) • มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรสำคัญๆ 10 ปีอย่างน้อย @3 ชนิด (2) • รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเกษตร 10 ปี (1) • จำนวนแรงงานในภาคเกษตรของไทย 10 ปี (1) • จำนวนครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้และขนาดของหนี้ 10 ปี (1) • การใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ การใช้ที่ดิน สารเคมี ปุ๋ย 10 ปี (3 คนๆละ 1 ชนิด)
การบ้านครั้งที่ 1 • คะแนน 5% • ส่งในวันพุธที่ 17พ.ย. 2547 ทาง E-mail ที่ jirawank@chiangmai.ac.th • มีคะแนนความเรียบร้อยด้วย อ่านงานของตนเองก่อนส่ง