1.76k likes | 3.87k Views
วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน . Mixed Method Research and Evaluation. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน . วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน . Mixed Methodology. วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน. กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง.
E N D
วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน Mixed MethodResearch and Evaluation
วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน Mixed Methodology วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน
วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน The Beginning of Mixed Method ความหมายและลักษณะสำคัญ ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการเชิงผสมผสาน
วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน แบบแผนวิจัยเชิงผสมผสาน วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน Mixed Method research ความหมาย ลักษณะเทคนิควิธีการ จุดแข็งและประเด็นโต้แย้ง
วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน แบบแผนประเมินเชิงผสมผสาน วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน Mixed Method Evaluation ความหมาย ลักษณะเทคนิควิธีการ จุดแข็งและประเด็นโต้แย้ง
ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มแรก • กลุ่มสายเลือดบริสุทธิ์ (Purist) • กลุ่มของ Guba and Lincoln (1989) และ Smith (1983) • ไม่มีความเป็นไปได้ และไม่สมเหตุสมผลที่จะนำเอาวิธีการหาความรู้ความจริงที่มีกระบวนทัศน์ในการมองความจริงต่างกันมาร่วมหาความจริงด้วยกัน
ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มสอง • กลุ่มรุดสู่การปฏิบัติ (Pragmatic) • กลุ่มของ Reichardt and Cook (1979) Miles and Huberman (1994) และ Patton (1988) • ควรที่จะใช้เทคนิควิธีการวิจัยหรือประเมินที่มีพื้นฐานทางปรัชญาต่างกัน มาร่วมทำการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ด้วยกัน เพื่อจะทำให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นแทนที่จะใช้วิธีการใด ๆ เพียงวิธีเดียว ซึ่งมีข้อจำกัดในการหาคำตอบ
กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้งกลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง • สนับสนุนให้ใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัย ในเรื่องเดียวกัน และในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัย หรือ ปฏิเสธความคิดหรือการดำเนินงานที่ไม่สมบูรณ์เลือกข้างวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว • ให้ความสำคัญกับปัญหาหรือคำถามของการวิจัย และการประเมินมากกว่าวิธีการ หรือกระบวนทัศน์ของปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังวิธีการแสวงหาคำตอบนั้น • ปฏิเสธตัวเลือกถูกระหว่างปรากฏการณ์นิยม และปฏิฐานนิยม ไม่ว่าจะเป็นด้านตรรกะ ญาณวิทยา หรืออื่น ๆ นั่นคือ ไม่เลือกจุดยืนใดจุดยืนหนึ่ง กลุ่ม 2: แนวคิด
กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้งกลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง • การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการผสมผสาน (หรือวิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) ขึ้นอยู่กับปัญหา หรือคำถามการวิจัยและประเมิน หรือขึ้นอยู่กับขั้นตอนใด ๆ ในการดำเนินงานวิจัยและประเมินในขณะนั้นเป็นสำคัญ • หลีกเลี่ยงที่จะใช้มโนทัศน์หรือคำสำคัญ ๆ ทางปรัชญาบางคำ อาทิ คำว่า ความจริง และสิ่งที่เป็นจริง (“truth” or “reality”) ที่เป็นสาเหตุของการอภิปรายถกเถียงกันในเชิงปรัชญา • นำเสนอวิธีการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการประยุกต์ปรัชญาทางการวิจัยและประเมิน กลุ่ม 2: แนวคิด
ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มสาม • กลุ่มสร้างภาพชัดของการศึกษา (Dialectical or Situationalist) • กลุ่มของ Kidder and Fire (1987) ; Solomon (1991) และ Krantz (1995) • ไม่ควรมีการหลอมรวมผสมผสานระหว่างปรัชญาทั้งสองคือปรากฏการณ์นิยมและปฏิฐานนิยม เพราะเห็นว่าปรัชญาทั้งสองนี้ยังมีความสำคัญจำเป็นต่อการมองและค้นหาความจริง แต่ควรนำวิธีวิทยาการเชิงปริมาณและคุณภาพมาทำการศึกษาหาคำตอบในลักษณะเป็นการส่งเสริมเติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ชัดเจนของปรากฏการณ์หรือสิ่งที่ทำการศึกษานั้น
ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มสาม การศึกษาภายในเรื่องเดียวกันและแยกศึกษาต่างจากกัน แล้วนำความรู้ข้อค้นพบที่ได้มาตรวจสอบวิเคราะห์วิพากษ์ (dialectic) ซึ่งกันและกันว่ามีส่วนใดที่เหมือนและแตกต่างกันอันจะทำให้งานที่สมบูรณ์ครบถ้วนของปัญหาที่ทำการศึกษา การศึกษาข้ามกัน (across studies) นั่นคือ ศึกษาปัญหาวิจัยหรือประเด็นเรื่องเดียวกันแต่ต่างกันก็แยกทำการศึกษา แล้วนำผลที่ได้รับจากวิธีวิทยาการทั้งสองมาหลอมรวมอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะกระทำในลักษณะที่เริ่มด้วยวิธีวิทยาการเชิงคุณภาพก่อนแล้วตามด้วยวิธีวิทยาการเชิงปริมาณหรือกลับกัน และกระทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้ (กรณีที่เป็นทีมวิจัย)
ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มสร้างภาพชัดของการศึกษา (Dialectical or Situationalist) กลุ่มรุดสู่การปฏิบัติ (Pragmatic) แนวทางการประเมินผล การปฏิบัติงาน วิธีการเชิงผสมผสานการวิจัยและประเมิน
วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน
วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน
วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน
วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน
ความหมาย “วิธีการเชิงผสมผสาน: Mixed Method” การวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน การผสมผสานในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งหรือระหว่างขั้นตอนภายในเรื่องเดียวกัน ในงานวิจัยและประเมินเรื่องหนึ่ง ๆ อาจใช้เทคนิควิธีการ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันดำเนินงานในขั้นตอนขั้นตอนหนึ่ง ๆ เช่น ขั้นตอนการเก็บข้อมูลต่างก็ใช้วิธีการและเครื่องมือเก็บข้อมูลที่เป็นแบบสอบถาม แบบทดสอบ (ซึ่งเป็นเครื่องมือเชิงปริมาณและใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ (ซึ่งเป็นวิธีการเชิงคุณภาพ) หรือใช้เทคนิควิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพร่วมกันดำเนินงาน ในระหว่างขั้นตอน เช่น ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลอาจเก็บข้อมูลมาด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ เมื่อถึงขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลก็ทำการจัดกลุ่มจำแนกข้อมูล แจงนับเป็นความถี่ แล้วใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางสถิติ
ความหมาย “วิธีการเชิงผสมผสาน: Mixed Method” การวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน การผสมผสานในเรื่องเดียวกันแต่กระทำในลักษณะต่อเนื่อง แยกจากกัน ในการดำเนินงานวิจัยหรือประเมินเรื่องหนึ่ง ๆ อาจจะใช้วิธีการเชิงปริมาณดำเนินงานก่อนจนกระทั่งแล้วเสร็จจึงใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานภายหลัง เพื่อเป็นการศึกษาหาคำตอบในกรณีเฉพาะ หรืออาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานก่อน เพื่อหาคำตอบจากกรณีเฉพาะ หลังจากนั้นจึงใช้วิธีการเชิงปริมาณทำการศึกษาหาคำตอบในภาพกว้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลขนาดใหญ่ ถ้ากระทำลักษณะดังกล่าวนี้ก็เป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่องกันระหว่างวิธีการทั้งสอง แต่ถ้ากระทำในลักษณะคู่ขนานแยกจากกันก็คือ เริ่มต้นศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันระหว่างวิธีการทั้งสอง แล้วนำผลคำตอบที่ค้นหาได้มาสรุปตีความร่วมกัน
ทฤษฎี / กฎ วิเคราะห์สรุป เครื่องมือเก็บข้อมูล วิธีการเชิงปริมาณ นิยามตัวแปร สร้างสมมุติฐาน สร้างทฤษฎีฐานราก สร้างข้อสรุปอธิบายปรากฏการณ์ วิธีการเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล สังเกตปรากฏการณ์ ลักษณะกระบวนการเชิงผสมผสาน
ลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัยลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัย
ลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัยลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัย (ที่มา : Johnson and Christensen. 2004 : 31)
การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสานการกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน สัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลักหรือวิธีการเด่น 1.QUAL วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักหรือวิธีการเด่น 2.QUAN วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรอง 3.qual วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการรอง 4.quan การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ดำเนินการตามลำดับต่อเนื่องกัน 5. การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน 6.+
ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันทั้งสองกรณีโดยที่มีกรณีหนึ่งเป็นกรณีหลักหรือเป็นวิธีที่ใช้ศึกษาในภาพรวมทั้งหมดแต่เมื่อเจาะลึกศึกษาบางประเด็นก็ใช้วิธีการเชิงคุณภาพทำการศึกษาด้วยเช่นกัน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่องตามลำดับทั้งสองกรณี โดยที่มีวิธีการเชิงคุณภาพใช้ศึกษาหาคำตอบในกรณีแรกเป็นวิธีการหลัก และใช้วิธีการเชิงคุณภาพศึกษาหาคำตอบในกรณีหลังต่อเนื่องจากผลการศึกษาจากกรณีแรกซึ่งวิธีการเชิงคุณภาพที่ใช้ศึกษากรณีหลังจัดเป็นกรณีรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 1.QUAL+ qual 2.QUALqual
ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับวิธีการเชิงปริมาณแต่มีวิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลักในการสรุปค้นหาคำตอบ ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบก่อนแล้วจึงใช้วิธีการเชิงปริมาณศึกษาหาคำตอบต่อเนื่องภายหลัง โดยที่มีวิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลัก และใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 3. QUAL + quan 4. QUALquan
ใช้วิธีการเชิงปริมาณดำเนินงานศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันทั้งสองกรณีโดยมีการใช้วิธีการเชิงปริมาณที่ทำการวิจัยหรือประเมินในกรณีหนึ่งเป็นวิธีการหลักและการใช้วิธีการเชิงปริมาณที่ทำการวิจัยหรือประเมินอีกกรณีหนึ่งเป็นวิธีการรอง ใช้วิธีการเชิงปริมาณดำเนินงานศึกษาหาคำตอบหรือดำเนินงานวิจัยหรือประเมินสองกรณีต่อเนื่องกันตามลำดับ โดยในกรณีแรกใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักในการดำเนินงาน เมื่อได้คำตอบแล้วก็ทำการศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณอีกเช่นกันแต่จัดให้เป็นวิธีการรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 5.QUAN+ quan 6.QUANquan
การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพกระทำไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักในการศึกษาหาคำตอบและใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรองในการศึกษาหาคำตอบเสริมจากวิธีการเชิงปริมาณ การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพทำการศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลัก และใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 7.QUAN+ qual 8.QUANqual
ข้อดี • ทำให้ได้คำตอบหรือสามารถที่จะตอบคำถามของการวิจัยหรือประเมินที่วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพไม่สามารถตอบได้อย่างครอบคลุม • ทำให้ได้คำตอบที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษาอย่างกว้างขวางและลุ่มลึก • ทำให้นักวิจัยหรือนักประเมินมีโลกทัศน์ทางวิชาการกว้างขวางสอดคล้องกับความเป็นจริงของศาสตร์ทางสังคมหรือการศึกษามากกว่าการที่จะยึดมั่นถือมั่นเพียงโลกทัศน์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพียงค่ายเดียว • ช่วยให้นักวิจัยหรือนักประเมินตั้งคำถามและวัตถุประสงค์ของการศึกษาหาคำตอบได้อย่างหลากหลายและยังสามารถใช้เทคนิควิธีการอย่างหลากหลาย ในการหาคำตอบให้กับคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัยข้อนั้น ๆ อีกด้วย ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการเชิงผสมผสาน
ข้อจำกัด 1.ยากในการดำเนินงานวิจัยโดยเฉพาะนักวิจัยที่ถูกฝึกฝนมาในกระแสเดี่ยว 2. สิ้นเปลืองทรัพยากรในการดำเนินงานมากไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาและงบประมาณในการวิจัย 3.การเขียนรายงานไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ว่าควรจะเขียนอย่างไร 4.ผลการศึกษาหรือข้อค้นพบขัดแย้งกันทำให้ยากแก่การนำไปใช้และสร้างความเข้าใจต่อผู้อ่าน ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการเชิงผสมผสาน
1. วัตถุประสงค์ 2. กรอบความคิดการวิจัย 3. คำถามการวิจัย วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน องค์ประกอบหลักของการออกแบบแผนการวิจัย เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษาวิจัยครั้งนั้น ๆ คืออะไร ทฤษฎีหรือความเชื่อเกี่ยวกับการศึกษาปรากฏการณ์ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งนั้น ๆ คืออะไร ต้องการสร้างความเข้าใจในประเด็นข้อสงสัยใด และอะไรคือคำถามสำคัญที่นักวิจัยมุ่งพยายามหาคำตอบ
4. วิธีการ 5. ความตรง วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน องค์ประกอบหลักของการออกแบบแผนการวิจัย ลักษณะความสัมพันธ์ของนักวิจัยที่จำเป็นต้องมีกับผู้ให้ข้อมูลหรือผู้เข้าร่วมการวิจัย การเลือกสถานการณ์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ระยะเวลา สถานที่การเก็บรวบรวมข้อมูล และแหล่งข้อมูลอื่น เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจะเลือกตีความสรุปอธิบายผลการวิจัยอย่างไร และถ้าหากสรุปตีความ เช่นนั้นแล้ว ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้คืออะไร ความตรงที่เกิดขึ้นนั้นมากน้อยเพียงไร
วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักในการออกแบบแผนการวิจัย วัตถุประสงค์ กรอบความคิดการวิจัย คำถาม การวิจัย ความตรง วิธีการ
วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ลักษณะสำคัญ ๆ ในแต่ละองค์ประกอบของวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่ทำให้เกิดขึ้นในวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน
วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน
วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน
วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ที่มา : ปรับปรุงจาก Maxwell and Loomis , 2003 : 252
แบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสานแบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสาน Mixed Methods Design Triangulation Design : แบบแผนสามเส้า Embedded Design : แบบแผนรองรับภายใน Explanatory Design : แบบแผนอธิบายความ Exploratory Design : แบบแผนสำรวจบุกเบิก (Creswell , Clark, 2007 : 58-88)
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า Triangulation Design : แบบแผนสามเส้า เป็นแบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสานที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณในการดำเนินงานวิจัย หรือศึกษาหาคำตอบในเรื่องใด ๆ ในระยะเวลาเดียวกันเพียงระยะเดียว (one phase) และให้น้ำหนักความสำคัญเท่า ๆ กัน เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันแต่ส่งเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกันแล้วนำคำตอบ ข้อค้นพบที่ได้มาสรุปตีความร่วมกันและถือว่าสิ้นสุดในการดำเนินงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบลู่เข้า (Triangulation Design: Convergence Model) QUAN Compare and contrast results Interpret QUAN + QUAL + QUAL ทำการศึกษาปัญหาและหรือปรากฏการณ์เดียวกันแต่แยกวิธีการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลต่างกัน นำผลที่ได้จากการศึกษาทั้งสองวิธีการมาเปรียบเทียบและ เปรียบต่างร่วมตีความปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้น ใช้สำหรับต้องการตรวจสอบยืนยันความตรงหรือเพิ่มเติมเสริมแต่ง ผลการวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบการแปลงข้อมูล (แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพสู่ข้อมูลเชิงปริมาณ)Triangulation Design: Data Transformation Model Transforming QUAL data into QUAN QUAN Transform QUAL into QUAN data and analysis Compare interrelate two QUAN data sets Interpret QUAN +QUAL + QUAL • ทำการศึกษาปัญหาและหรือปรากฏการณ์เดียวกันแต่แยกกันเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล • หลังจากวิเคราะห์ข้อมูล(ขั้นแรก) แล้วก็นำข้อมูลที่ได้จากวิธีหนึ่งแปลงไปสู่ลักษณะ ข้อมูลจากอีกวิธีหนึ่ง (ในที่นี้แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพไปสู่ข้อมูลเชิงปริมาณ) • เปรียบเทียบและตีความข้อมูลที่แปลงแล้วร่วมกับข้อมูลเดิม • ตีความผลการวิจัยเชิงวิธีการทั้งสองร่วมกัน
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบการตรวจสอบความตรงของข้อมูลเชิงปริมาณ Triangulation Design: Validating Quantitative DataModel QUAN Close-ended survey Validate QUAN results with QUAL results Interpret QUAN +QUAL + QUAL Close-ended survey • ใช้เมื่อต้องการตรวจสอบความถูกต้องและขยายผลวิจัย • ทำการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามฉบับเดียวกันแต่เพิ่มส่วนที่เป็นปลายเปิด • เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองส่วน • นำผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ(ปลายเปิด)มาเพิ่มเติมหรือตรวจสอบ ความถูกต้องของผลเชิงปริมาณ • ตีความผลการวิจัยทั้งสองส่วน
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบพหุระดับ (Triangulation Design : MultilevelModel ) • ใช้วิธีการต่างกันศึกษาปรากฏการณ์/ข้อมูลเดียวกันไปพร้อมๆกัน • ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นบุคคลที่อยู่หรือเกี่ยวข้องในหน่วยงานหรือองค์กรลดหลั่นไปตามระดับต่าง ๆ ของการปฏิบัติงาน นำผลที่ได้รับในแต่ละระดับรวมเข้าด้วยกันแล้วตีความ
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน The Embedded Design : แบบแผนรองรับภายใน เป็นแบบแผนทั้งที่เป็นการศึกษาระยะเดียว (one-phase study)และสองระยะ (two-phase study) ต่อเนื่องกัน ที่มีการจัดให้วิธีการวิจัยแบบหนึ่งทำหน้าที่เป็นวิธีการ หลักและให้วิธีการวิจัยอีกแบบหนึ่งทำหน้าที่เป็นวิธีการรองและ ทำการศึกษาหาคำตอบต่างประเด็นกันในระยะเวลาเดียวกัน โดย หวังว่าคำตอบที่ได้จากการศึกษาด้วยวิธีการรองสามารถนำไปช่วย เพิ่มเติมความสมบูรณ์ของผลที่ได้จากวิธีการหลักอีกด้วย
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน Embedded Design : Traditional Model QUAN + Interpret. results base on QUAL(quan) Interpret. results base on QUAN(qual) QUAL + or (qual) (quan) a b • ในรูป a ทำการศึกษาคำตอบโดยมีวิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักและวิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรอง • ในรูป b เป็นตรงกันข้างกับรูป a (วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลักและวิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการรอง) • ทั้งรูป a และ b จะตีความผลวิจัยโดยใช้ผลที่ได้จากวิธีการวิจัยทั้งสองวิธี
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองระยะเดียว วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก (One-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant) qual QUAN QUAN qual Interpret result base on QUAN(qual) treatment qual
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน One-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant • เป็นแบบแผนวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยเชิงทดลอง • ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลัก • ทำการทดสอบข้อมูลตัวแปรตามที่ต้องการศึกษาก่อน (ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ/ทดลอง) • ให้เงื่อนไขการทดลองแก่กลุ่มเป้าหมาย • สังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย(โดยใช้วิธีการ เชิงคุณภาพเป็นรอง) • ทำการทดสอบหลังการทดลอง (ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ) • นำข้อมูลทดสอบก่อนและหลังมาวิเคราะห์เปรียบเทียบผล • ตีความผลการวิจัยที่เกิดขึ้นโดยใช้ผลที่ได้จากการสังเกตขณะทำการทดลองร่วมสรุปด้วย
QUAL Interpret result base on QUAL (quan) quan treatment quan QUAL QUAL วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะ วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Qualitative Dominant)
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะ วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Qualitative Dominant) • สังเกตซักถามกลุ่มเป้าหมายการทดลองเป็นรายบุคคลอย่างลุ่มลึกโดยวิธีการเชิงคุณภาพ • ใช้เครื่องมือทำการทดสอบวัดเก็บข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่ได้เก็บโดยวิธีการเชิงคุณภาพ(การเก็บข้อมูลในลักษณะของวิธีการเชิงปริมาณ) • ให้เงื่อนไขการทดลองแก่กลุ่มเป้าหมาย • ในขณะที่ทำการทดลองนี้ก็จะทำการสังเกตซักถามกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล • สิ้นสุดการทดลองตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วก็ทำการทดสอบวัดเก็บข้อมูลส่วนเดียวกับการสอบวัดก่อน • ติดตามศึกษากลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลอีกระยะหนึ่งเพื่อพิจารณาความคงทนของพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลง • สรุปผลการวิจัยโดยใช้ผลจากวิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลักในการพรรณนานำเสนอตามหลักของวิธีการเชิงคุณภาพ และอาศัยผลในเชิงปริมาณมาร่วมอธิบายตีความสรุปผลการวิจัย
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะวิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant) Interpret Results Base On QUAN (quan) QUAN Follow up qual QUAN pretest treatment QUAN posttest qual
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะวิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant) • สังเกตปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายการทดลองเพื่อจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเป้าหมาย • ทำการสอบวัดพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาโดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการเชิงปริมาณ (อาทิแบบทดสอบชนิดต่างๆ) • ให้เงื่อนไขการทดลองตามที่กำหนด และในขณะให้เงื่อนไขการทดลอง สังเกตพฤติกรรมต่างๆของกลุ่มเป้าหมายที่เกิดขึ้น • สิ้นสุดระยะเวลาการให้เงื่อนไขการทดลองแล้วจึงสอบวัดพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์เดิมกับที่สอบวัดก่อนอีกครั้ง • ทิ้งช่วงระยะเวลาไว้ระยะหนึ่ง (ประมาณ 1-3 สัปดาห์) สอบวัดพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์เดิมอีกครั้ง • วิเคราะห์สรุปตีความผลการดำเนินงานวิจัยก็นำข้อมูลที่ได้จากการสอบวัดก่อน สอบวัดหลังและสอบวัดติดตามมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไรบ้าง โดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพที่สังเกตได้ ก่อนให้เงื่อนไขการทดลองและขณะให้เงื่อนไขการทดลองมาร่วมเสริมการสรุปตีความด้วย
วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบสหสัมพันธ์ (Embedded Design : Embedded Correlational Model) QUAN Predictor 1 QUAN (predicted) Interpret. based on QUAN (qual) results QUAN Predictor 2 QUAN Predictor 3 qual process