610 likes | 795 Views
Southeast Asia University. Student-based Blended Learning Using In-Class Approach and Internet Application, Projected-based Approach.
E N D
Southeast Asia University Student-based Blended Learning Using In-Class Approach andInternet Application, Projected-based Approach การเรียนการสอนแบบผสมผสานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ในชั้นเรียนร่วมกับ กระบวนการการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ด้วยอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ (NuthOtanasap) nuto@sau.ac.th มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, กรุงเทพ Southeast Asia University, Bangkok
1) บทนำ ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ • มนุษย์ค้นพบสิ่งใหม่ทุกวัน • ความรู้ พัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา • ข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก การเรียนรู้ไม่จำกัดเพียงในชั้นเรียนอีกต่อไป • ปรับตัวในการดำรงชีวิต กับสภาพแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนไป
1) บทนำ • IT มีผลต่อวิธีการเรียนรู้ แหล่งความรู้ วิธีเข้าถึงแหล่งความรู้ • เกิดการหมุนเวียน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว • เกิดลักษณะของระบบนิเวศน์การเรียนรู้ที่สลับซับซ้อน • กลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกันรวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • เกิดสัมพันธ์เชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันโดยมีอินเตอร์เน็ตและเว็บ เป็นเครื่องมือสำคัญ (Lertkulvanich, et al , 2008)
1) บทนำ • การเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบนิเวศน์การเรียนรู้หนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบกับระบบนิเวศน์การเรียนรู้อื่นอย่างรวดเร็วเช่นกัน แหล่งข้อมูลความรู้ที่สำคัญในปัจจุบัน (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2554) • ผีเสื้อกระพือปีก กระทบถึงดวงดาว • มนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ที่ ต้องสามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต (Life Long Learning) (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2542)
1) บทนำ • อินเตอร์เน็ต สนับสนุนเครื่องมือและซอฟต์แวร์ออนไลน์ต่างๆ (Online Tools and Software) ให้เลือกใช้อย่างมากมาย (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2554) • ฟรีและไม่ฟรี ทำให้โอกาสในการใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง
2)วัตถุประสงค์ ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน ร่วมกับกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ด้วยอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ 5 ด้าน
3) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.1) กระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-based Learning) แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) 3.2) อินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 (Blended Learning 2.0) 3.3) มาตรฐานผลการเรียนรู้ของคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ, 2552)
3.1) กระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-based Learning) แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) การจัดการเรียนการสอนยึดหลัก • ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง • ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด • ส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ • มุ่งพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตและทักษะสังคม (สกอ, 2551)
3.1) กระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-based Learning) แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) • การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (ทิศนา แขมมณี, 2547) • การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับหลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบ constructivism และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) • ต่อยอดจากทฤษฎีการสร้างความรู้ของ เพียเจต์ (Piaget & Inhelder, 1967) โดยศาสตราจารย์เซมัวร์ เพพเพิร์ต (Papert & Harel, 1991)
3.1) กระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-based Learning) แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) • ศาสตราจารย์เซมัวร์ เพพเพิร์ต (Papert & Harel, 1991) ใช้เทคโนโลยีสื่อช่วยสอนเพื่อสร้างความรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน • อาศัยพลังความรู้ของตัวผู้เรียนเอง • ผู้เรียนสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาก็จะเสมือนเป็นการสร้างความรู้ขึ้นในตัวเอง • มีความหมายต่อผู้เรียนมาก • เป็นความรู้ที่อยู่คงทน ไม่ลืมง่าย สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตัวเองได้ดี เป็นฐาน • ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3.1) กระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-based Learning) แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) • การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) • สามารถนำความรู้เดิมมาปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอก ทำให้เกิดเป็นวงจรเช่นนี้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง • สามารถเชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่ จนสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้น • “การเรียนรู้ที่ดีไม่ได้มาจากการหาวิธีการสอนที่ดีแก่ผู้สอน แต่มาจากการให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนในการสร้าง” (วัชรินทร์ โพธิ์เงิน และคณะ, ม.ป.ป.)
3.2) อินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 (Blended Learning 2.0) • เทคโนโลยีเว็บ 2.0 มุ่งเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สามารถเข้าถึงได้โดยทัดเทียมกัน สามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบ 2.0 (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2554) • สนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี (Vate-U-Lan, 2009) • การแบ่งปัน การร่วมมือการทำงานร่วมกัน การบริการ ความรวดเร็ว การทำงานแบบหลายงานพร้อมกัน สื่อผสม สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ เนื้อหาแบบเปิด เทคโนโลยีเปิด โอเพ่นซอร์ส(Open Source) และ การเรียนรู้ร่วมกัน
3.2) อินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 (Blended Learning 2.0) • ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาที่ตนเองสร้างขึ้นรวมทั้งนำเนื้อหาอื่นๆ จากอินเตอร์เน็ตมาผสมผสานเข้าด้วยกัน แล้วนำเสนอผ่านเว็บ (Wangpipatwong & Piamsakkamol, 2009) • เดิมผู้สอนทำหน้าที่สร้างและถ่ายทอดเนื้อหา ปรับเปลี่ยน สู่การเรียนรู้เชิงผสมผสาน เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยผู้สอนทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ดูแล สนับสนุน • ซอฟต์แวร์บริการ (SaaS: Software as a Service) แบบเว็บ 2.0 (Anyone Anytime Anywhere) ฟรี มุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกัน (IPA, 2009)
3.2) อินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 (Blended Learning 2.0) • ผู้เรียนและผู้สอน > เครื่องมือการเรียนรู้ 2.0 • ผู้เรียนมีส่วนร่วม รูปแบบงานบริการครบวงจร (One Stop Services) หรือ LMS เกิดเป็นรูปแบบการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 (Grimaldi & Smiraglia, 2009) • ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ สร้างสรรค์พัฒนาชิ้นงานร่วมกัน การแบ่งปัน การเข้าถึง รวมทั้งการนำเสนอองค์ความรู้ระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์, 2554) • ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานจริง เกิดชิ้นงานใหม่ ทำให้เกิดกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี (Grimaldi & Smiraglia, 2009)
3.3) มาตรฐานผลการเรียนรู้ของคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย • สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ, 2552) • การเรียนรู้: การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นในตนเอง จากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษา • มาตรฐานคุณวุฒิที่คาดหวังให้บัณฑิตมีอย่างน้อย 5 ด้าน ประกอบด้วย • คุณธรรม จริยธรรม • ความรู้ • ทักษะทางปัญญา • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
4) ระเบียบวิธีวิจัย 4.1) ประชากร 4.2) ขั้นตอนการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ 4.3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4.4) การสร้างและพิจารณาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4.5) การทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล 4.6) ตัวแปรในการวิจัย 4.7) การวิเคราะห์ข้อมูล
4.1) ประชากร • นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ปีการศึกษา 2555 • ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 118 คน • ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 54 คน
4.2) ขั้นตอนการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ • นำอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นมาประยุกต์เข้ากับกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในรูปแบบการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 • ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ สร้างความร่วมมือระหว่างผู้เรียน ก่อให้เกิดทักษะในการสื่อสาร สรุป วิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำเสนอผลงานสู่สาธารณะอันเป็นพื้นฐานของทักษะทางการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4.2) ขั้นตอนการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ
4.2.1) การปฐมนิเทศผู้เรียน (Orientation) • เพื่อทำการตกลง และสร้างความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน (Learning Contracts) • เนื้อหาการเรียน เวลา เกณฑ์การประเมิน กระบวนการการเรียนการสอนแบบคู่ขนาน การเรียนรู้ในชั้นเรียน (In-Class, Face to Face) กับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) ด้วยอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น • เทคนิคกระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบสรรคนิยม และเทคนิคการบริหารจัดการโครงการแบบ PDCA (Plan, Do, Check, Act) (IPA, 2009)
4.2.2) การเรียนรู้ในชั้นเรียน (In Class) • กรอบความรู้, องค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์รายวิชาทดสอบย่อย • กูเกิ้ลฟอร์ม (Google Forms) รับผลการทดสอบออนไลน์ วิเคราะห์ผลทดสอบ • ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง • ค้นคว้าและแสวงหาความรู้ • สืบค้น ผ่านเครื่องมือออนไลน์ที่เหมาะสมกับงานที่ตนเองได้รับ • ส่งงานแบบออนไลน์ • ผู้สอนทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลระหว่างเรียน • ทดสอบย่อยแบบออนไลน์
4.2.3) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน>iApps 1) เทคนิคกระบวนการกลุ่ม 2) แผนโครงงาน (Plan) 3) นำเสนอแผนโครงงาน 4) ดำเนินการตามแผน (Do) 5) ประเมินผล (Check) 6) นำเสนอผลงาน (Act) 7) สรุปผลและเผยแพร่ผลงาน
1) เทคนิคกระบวนการกลุ่ม • เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดซึ่งกันและกัน สามารถแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วง และบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ อาทิ กูเกิ้ลพลัส (Google Plus)
2) การจัดทำแผนโครงงาน (Plan) • จัดทำแผนโครงงานกลุ่ม เพื่อฝึกฝนการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ด้วยกูเกิ้ลเอกสาร (Google Docs) ซึ่งสามารถแบ่งปันเอกสารที่สร้างขึ้น ให้กับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม รวมทั้งผู้สอน เพื่อทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ได้ตลอดเวลา
3) การนำเสนอแผนโครงงาน • เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการนำเสนอ การวิพากษ์ และวิเคราะห์แผนงานร่วมกัน • หลังจากทำแผนโครงงานเบื้องต้นแล้ว จะนำเสนอแผนงานตนเองผ่าน กูเกิ้ลไซต์ (Google Sites) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลร่วมกัน
4) การประเมินผลการดำเนินการ (Check) • ผลงานกลุ่ม จากการตกผลึกทางปัญญา • เมื่อทราบผลการประเมินแล้ว แต่ละกลุ่มจะทำการปรับแผนการดำเนินงานโครงงานของตนเอง รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และวิพากษ์แผนงานของกลุ่มอื่นๆ ร่วมกัน
5) การดำเนินการตามแผน (Do) • เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะจากการปฏิบัติโดยสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา • แต่ละกลุ่มจะดำเนินการพัฒนาโครงงานตามแผนที่เขียนขึ้น อาทิ การจัดสร้างเว็บไซต์ ด้วยกูเกิ้ลไซต์ (Google Sites) และด้วยอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นอื่นๆ
6) การนำเสนอผลงาน (Act) • เพื่อส่งเสริมทักษะการนำเสนอ การสื่อสารระหว่างบุคคล ในการทดลอง แต่ละกลุ่มจะนำเสนอแผนและผลงานของกลุ่มตนเองในชั้นเรียนแบบออนไลน์ เพื่อผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นทำการประเมินผลร่วมกัน
7) สรุปผลและเผยแพร่ผลงาน • หลังจากนำเสนอผลงานแล้ว แต่ละกลุ่มจะทำการสรุปผลและเผยแพร่ผลงานของตนเองผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook เพื่อแบ่งปันให้ผู้สนใจทั่วไปรวมทั้งผู้เรียนในรุ่นต่อไปสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในอนาคต
4.3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • 1) แผนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2555 มคอ.3 รายวิชา 332302 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ • 2) แบบสอบถามที่มีโครงสร้างชัดเจน (Undisguised Structured Questionnaire)ซึ่งออกแบบให้ครอบคลุมตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ 5 ด้าน
4.4) การสร้างและพิจารณาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) จัดทําแผนการสอนรายวิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) ออกแบบและจัดทํา แบบประเมินการเรียนการสอน ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างชัดเจน แบบปลายปิด ลิเคิร์ท 5 ระดับมาตรา 3) การคำนวณหาค่าความห่างแต่ละช่วงเท่ากับ 0.8 4) เปรียบเทียบกับแผนที่แสดงการกระจาย ความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
4.5) การทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล • นําแผนการสอนรายวิชาฯ ไปใช้ในการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ • ตรวจสอบและบันทึกการเข้าชั้นเรียนในการเรียนภาคทฤษฎี • ตรวจสอบและติดตามพัฒนาการของโครงงาน แบบ PDCA • ทดสอบผลการเรียน ด้วยแบบทดสอบผลการเรียนรู้ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ • แบบประเมินออนไลน์การเรียนการสอน หลังการเรียนการสอน • สุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling) ด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณ (Judgment Sampling)
4.6) ตัวแปรในการวิจัย 4.6.1) ตัวแปรต้น > รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ รายวิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ 4.6.2) ตัวแปรตาม>เจตคติต่อการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ ในรายวิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์
4.7) การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของผู้เรียนจากการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ • ค่าเฉลี่ย (Mean) • ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) • ค่าร้อยละ (Percentage)
5) ผลการดำเนินการวิจัย • 5.1) การแบ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย • นักศึกษามีพื้นฐานการเรียนที่แตกต่างกัน • แบ่งกลุ่มประชากรเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับเกรดเฉลี่ยVygotsky (1978) ตารางที่ 2: แสดงประชากรจำแนกตามการแบ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย
5.2) ผลการประเมิน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ()ระดับความพึงพอใจหรือเห็นด้วย ระหว่างกลุ่ม A B และ C ของภาคการศึกษาที่ 1/55 และ 2/55
5.2) ผลการประเมิน • การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจหรือเห็นด้วยในแต่ละข้อ ระหว่างกลุ่ม A B และ C ในสองภาคการศึกษา (1/255 และ 2/2555) ทั้งสามกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน • กลุ่ม A มีระดับค่าเฉลี่ย () 4.05 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ () 0.18 • กลุ่ม B มีระดับค่าเฉลี่ย () 3.86 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ () 0.21 • กลุ่ม C มีระดับค่าเฉลี่ย () 3.86 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ () 0.14 • ทั้งสามกลุ่มมีระดับความพึงพอใจหรือเห็นด้วยอยู่ในระดับมากเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5.2) ผลการประเมิน ()= 3.93 ()= 0.17 = เห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ย ()ระดับความพึงพอใจ/เห็นด้วยในแต่ละข้อรวมทั้ง 3 กลุ่ม (A BC) (ภาคการศึกษาที่ 1/55 และ 2/55)
5.2) ผลการประเมิน เปรียบเทียบค่าร้อยละ ความพึงพอใจหรือเห็นด้วย ระหว่างภาคการศึกษา 1 และ 2 ปีการศึกษา 2555
5.2) ผลการประเมิน ค่าร้อยละรวม ระดับความพึงพอใจหรือเห็นด้วยของทั้ง 2 ภาคการศึกษา ปีการศึกษา 2555
6.1) สรุปผลการวิจัย • การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจหรือเห็นด้วยในระดับ มากที่สุด • ข้อที่เหลือทั้งหมดอยู่ในระดับมาก • สอดคล้องกับสมมติฐาน นอกจากนี้ประชากรทั้งสามกลุ่ม
6.1) สรุปผลการวิจัย สรุปได้ว่าทั้งสามกลุ่มมีระดับพึงพอใจ/เห็นด้วย กับผลการเรียนรู้ที่ได้ จากรูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานฯ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี จำนวน 5ด้าน • ค่าร้อยละ ระดับพึงพอใจ/เห็นด้วย • รวมทั้ง 2 ภาคการศึกษา • ระดับมากจำนวนร้อยละ 46.09 • ระดับปานกลาง จำนวนร้อยละ 28.40 • ระดับมากที่สุดจำนวนร้อยละ 22.28 • ค่าเฉลี่ยรวมสองภาคการศึกษา =3.93 • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.17 • ระดับความพึงพอใจ/เห็นด้วย = มาก
6.2)อภิปรายผล • ผู้เรียนมีความพึงพอใจหรือเห็นด้วยในระดับมาก กับการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ • การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่คืออินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน สอดคล้องกับลักษณะรายวิชา ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และทำงานร่วมกันได้จากทุกที่ ทุกเวลา
6.2)อภิปรายผล • สอดคล้องกับหลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบ constructivism และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) • ผู้เรียนสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจะมีความหมายต่อผู้เรียนมาก เป็นความรู้ที่อยู่คงทน ไม่ลืมง่าย สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตัวเองได้ดี เป็นฐานให้สามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สามารถเก็บข้อมูลของสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของ สมองตนเอง สามารถนำความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดวงจรการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ซึ่งอยู่ภายใต้ประสบการณ์และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ ทั้ง 5 ด้าน
6.3) ข้อเสนอแนะ • นำไปใช้กับรายวิชาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับการทดลอง • ผู้สนใจในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ กับรายวิชาอื่นๆ ที่มีลักษณะวิชาแตกต่าง กับรายวิชาที่ใช้ในการวิจัยนี้ • ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผสมผสานแบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น
www.auisuke.com • เว็บไซต์ผู้วิจัย และรายวิชา