280 likes | 368 Views
Java Program. - ก่อนที่จะมาเป็นภาษา java นั้นเดิมทีเป็นภาษาที่ชื่อว่า ภาษา Oak ซึ่งทีมงานของบริษัทได้ทำขึ้นมาเพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก -1990s เป็นภาษาถูกพัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems
E N D
Java Program - ก่อนที่จะมาเป็นภาษา java นั้นเดิมทีเป็นภาษาที่ชื่อว่า ภาษา Oak ซึ่งทีมงานของบริษัทได้ทำขึ้นมาเพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก -1990s เป็นภาษาถูกพัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems - 1994 หลังจากที่ Internet เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น Oak จึงถูกปรับปรุงให้สามารถนำไปพัฒนา Application ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในเว็บเพจมากขึ้น
-1995 ได้ถูกกำหนดชื่อใหม่เป็น java และในปีเดียวกัน Sun ได้ออกชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนา Java เริ่มแรกขึ้นมาชื่อว่า Java Development Kit (JDK) ซึ่งสามารถ Download ได้ฟรีทาง Internet -1998Sun จึงได้ออก JDK รูปแบบใหม่เรียกว่า Java 2 Platform และใช้ชื่อที่เป็นทางการว่า Java 2 SDK, Standard Edition (J2SDK)
ลักษณะคุณสมบัติของ Java 1. สามารถใช้โปรแกรม Java ได้อย่างคุ้นเคย สำหรับผู้ที่เคยใช้โปรแกรม C, C++ 2. สามารถทำงานติดต่อกับเว็บเพจได้ 3. สามารถรองรับการทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่นได้ 4. Java ใช้หลักการของ Object Orientation
5. เขียนโปรแกรมน้อยลง เนื่องจาก Java สนับสนุนคุณสมบัติของการนำกลับมาใช้ใหม่ 6. เขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียวสามารถนำไปใช้ได้กับทุก Platform 7.Java เป็นภาษาที่ใช้งานได้ฟรี และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
Compilation และ Interpretation Compilation - เป็นตัวแปลภาษาสำหรับการสร้าง Executer Code ทำหน้าที่วิเคราะห์ Source Code - วิธีนี้เกิดจากการที่คอม Compiler จะทำการแปลโปรแกรมทีเดียวทั้งโปรแกรม ซึ่งจะได้ Executable Code หรือ .exe ขึ้นมา - Compiler จะเป็นการวิเคราะห์ทั้งโปรแกรม ทำให้การแปลภาษามีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป - ข้อเสียคือ ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากการแปลภาษาด้วยวิธีการแปลเพียงครั้งเดียวนี้จะได้ผลผลิตออกมาเป็นไฟล์ .exe ของโปรแกรมทั้งโปรแกรม ดังนั้นในระหว่างที่โปรแกรมกำลังทำงานจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงส่วนใดของโค้ดได้เลย
Compilation และ Interpretation(2) Interpretation - เป็นตัวแปลภาษาที่เรียกว่า Interpreter ทำหน้าที่อ่าน Source Code ที่ละบรรทัด - เมื่อแปลงบรรทัดหนึ่งเสร็จแล้วจึงค่อยกลับมาอ่านบรรทัดต่อไปและแปลง Code ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนจบโปรแกรม - ข้อดีคือ ทำได้ง่ายกว่าการ Compile ทีเดียวทั้งโปรแกรม และมีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมมากกว่าวิธีการ Compiler เนื่องจากขณะแปลถ้าเกิด Error ที่จุดใด ตัวแปลภาษาก็จะฟ้อง และอนุญาตให้ผู้พัฒนาสามารถทำการแก้ไขได้ทันที จากนั้นจึงทำงานในบรรทัดต่อไป - ข้อเสียคือ เนื่องจากต้องทำทีละบรรทัด จึงส่งผลให้ทำงานได้ช้ากว่าแบบ Compiler
การแปลโปรแกรมของ Java ในการโปรแกรมภาษา Java หลังจากที่เราเขียน source code ขึ้นมาแล้วจะทำการรันโปรแกรมเพื่อดูผล Java จะมีวิธีการทำงานดังนี้
เมื่อเราเขียน code ของโปรแกรมขึ้นมาแล้ว Java จะทำการ compile จาก Source Code นั้นมาเป็น Byte codes ก่อน ทำให้ได้ไฟล์ .class • นำ Byte codes (.class) นั้นไปแปลเพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษาของ Java เรียกว่า Java Interpreter ก็จะได้ผลของการกระทำที่ได้เขียนไว้
สถาปตยกรรมของ Java สถาปตยกรรมของ Java ประกอบดวย 4 สวนหลักคือ 1. Java programming language 2. Java class file 3. Java API (Application Programming Interface) 4. Java VM (Java Virtual Machine) โดยที่ Java API และ Java VM รวมกันเรียกวา Java platform
สถาปตยกรรมของ Java (2) Java programming languageคือ โปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นโดยใชภาษา Java เรียกวา source code ซึ่งมีนามสกุลไฟลคือ .javaซึ่งจะถูก compile เปน Java class file (.class) หรือ bytecode อันเปนรูปของคําสั่งที่Java Virtual Machine เขาใจ Java Application Programming Interface (API)คือ โค้ดที่คอมไพล์แล้ว (compiled code) ซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถดำเนินงานในส่วนของ system services ของระบบปฏิบัติการโดยรวบรวมเปน library ของคลาส และอินเตอรเฟส (interface) ที่สัมพันธกันในรูปของ package ที่สามารถนํามาใชในโปรแกรมของเราโดยที่ไมตองเขียนขึ้นเอง เช่น การสร้าง GUI เปนตน
สถาปตยกรรมของ Java (3) Java Virtual Machine (JVM)เป็นกลไกเสมือน ซึ่งสร้างขึ้นโดยตัวแปลภาษา (Interpreter) ของ Java โดยมีขั้นตอนการทำงานคือ เริ่มแรกนำ Source Code ของโปรแกรม Java มาผ่านการคอมไพล์และได้ผลลัพธ์ที่โปรแกรมที่ JVM สามารถเข้าใจได้ จากนั้นทำการเรียกใช้ตัวภาษา (Interpreter) เพื่อสั่งให้โปรแกรมทำงาน ในระหว่างแปลภาษานี้ตัว Interpreter ก็จะสร้าง JVM ขึ้นมาเพื่อนำโค้ดที่ได้จากการคอมไพล์มาเข้ากระบวนการที่สร้างขึ้น ในการใช้งานจะสามารถนำตัว Interpreter ไปติดตั้งไว้ที่เครื่องที่ต้องการได้ทันทีโดยไม่ขึ้นกับชนิดของเครื่องหรือระบบปฏิบัติการใดๆ
Java Platform • เนื่องจากจาวาถูกพัฒนามาเพื่อให้รันได้โดยไม่ขึ้นกับระบบที่เป็นระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ • แต่เนื่องจากระบบต่างๆ เหล่านี้มีจุดประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน จึงได้ถูกออกแบบมาไม่เหมือนกัน • ทางบริษัทซันไมโครซิสเต็มจึงแบ่งจาวาแพล็ดฟอร์มออกเป็น 3 รุ่นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานโปรแกรมจาวาในแต่ละอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพที่สุด นั่นคือ • Java 2 Platform Standard Edition(J2SE) • Java 2 Platform Enterprise Edition (J2EE) • Java 2 Platform Micro Edition (J2ME)
การแบ่งประเภทของ Java ในปัจจุบัน 1. Java 2 Standard Edition (J2SE)ใช้พัฒนา Application บนเครื่อง PC ทั่วไป ซึ่งทำงานเป็น client J2SE นี้ถูกสร้างขึ้นมาจากพื้นฐานของการทำงานที่สำคัญในแง่ของความเร็ว ความปลอดภัย 2. Java 2 Enterprise Edition (J2EE)ใช้พัฒนา Application แบบ Multitier ซึ่งเป็นรูปแบบของ Applicationประเภทเครื่อข่ายบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 3. Java 2 Micro Edition (J2ME)ใช้พัฒนา Applicationบนเทคโนโลยีแบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ
Java compile และ Java interpreter ปัจจุบัน • Java Developer Kit (JDK) ของบริษัท JavaSoft • Visual Café ของบริษัท Symantec • J Builder ของบริษัท Borland • JDeveloper ของบริษัท Oracle • Visual Age for Java ของบริษัท IBM • Visual J++ ของบริษัท Microsoft
ข้อกำหนดเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรมข้อกำหนดเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรม 1. ประโยคแต่ละประโยคในภาษา Java จะต้องจบด้วยเครื่องหมาย Semicolon (;), วงเล็บเปิด / ปิด ( (,) ) สำหรับใช้แยกลำดับในการประมวลผล วงเล็บปีกกา ({}) ใช้สำหรับแยกชุดคำสั่ง 2. การตั้งชื่อตัวแปรต่างๆ (Variables) ชื่อของ Class ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร เครื่องหมาย Underscore (_) หรือ เครื่องหมาย Dollar sign ($)อักษรที่ตามมาจะเป็นตัวอักษร หรือ ตัวเลข หรือ เครื่องหมาย Underscore, Dollar sign ก็ได้ แต่ต้องไม่ตรงกับคำสงวน
ข้อกำหนดเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรมข้อกำหนดเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรม การตั้งชื่อโดยทั่วไปจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ และตามด้วยอักษรตัวเล็ก กรณีที่เป็นคำประสมคำที่ตามมามักนิยมขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน 3. คำสงวนในภาษา Java มีชุดของคำสงวนอยู่ประมาณ เป็นคำที่ห้ามนำมาใช้ในการตั้งชื่อให้กับ Variable, Method และ Class ใดๆ ใน Java เนื่องจากเป็น Reserved words หรือเป็นคำที่โปรแกรมจองไว้เพื่อใช้งานล่วงหน้าแล้ว ซึ่งคำเหล่านี้มีทั้งหมด 50 คำ
ข้อกำหนดเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรมข้อกำหนดเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรม 4. การเขียนคำสั่งหมายเหตุ (Comment) มีได้ 2 รูปแบบคือ 1. ใช้ // เหมาะสำหรับหมายเหตุข้อความเพียงสั้นๆ ถ้า Compiler พบเครื่องหมาย //Compiler จะถือว่าข้อความที่อยู่หลังเครื่องหมาย // เป็นหมายเหตุทันที และจะข้ามไปทำบรรทัดใหม่ 2. ใช้ /* และ */ เหมาะสำหรับหมายเหตุข้อความที่มีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด โดย Compiler จะถือว่าข้อความที่ตามหลัง /* จะเป็นหมายเหตุไปจนกว่าจะพบเครื่องหมาย */
โครงสร้างของ Application for Java • โปรแกรมจะแบ่งออกเป็น Class • ในแต่ละ Class จะประกอบด้วย MethodVariable และStatement ต่างๆ ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการทำงาน • ภายในโปรแกรมหนึ่งอาจจะประกอบด้วย Class มากกว่า 1Class ก็ได้ • เมื่อต้องการใช้งาน Class ที่สร้างขึ้นมาจะต้องสร้าง Object จาก Class ดังกล่าวขึ้นมาก่อนแล้วค่อยนำ Object ที่สร้างขึ้นมาใช้งานตามที่ต้องการ
บรรทัดที่ 1 เป็นการประกาศว่า Class นี้ชื่ออะไร มี ชนิด Accessibility เป็นอะไร - class นี้มี Accessibility เป็น public ซึ่งใน โปรแกรมหนึ่งจะมี public class ได้เพียง public เดียวเท่านั้น - ชื่อ class คือ Hello และชื่อไฟล์ของโปรแกรมจะต้องเป็นชื่อเดียวกับ ชื่อ class เสมอ (เหมือนทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก) บรรทัดที่ 2เป็นจุดเริ่มต้นของ class Hello
บรรทัดที่ 3 public static void main(String args[]) - เป็น Method ชื่อ main ซึ่งเป็น method หลัก - 1 โปรแกรมจะมี main Method ได้ เพียง 1main Method เท่านั้น - main Method หลักนี้ จะเป็นส่วนที่ใช้ในการเรียก Method อื่นมาใช้งานด้วย • จะต้องมี Accessibility เป็น public เสมอ • เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องผ่าน Object จะต้องระบุ “static” ได้ด้วย - parameter list จะต้องเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง คือ (String args[]) หรือ (String[] args)
บรรทัดที่ 4 เป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของ Method main บรรทัดที่ 5System.out.println เป็นคำสั่งที่ให้พิมพ์ข้อความ “Hello java” ออกทางจอภาพ บรรทัดที่ 6 เป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของ Method main บรรทัดที่ 7เป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของ class Hello
การ Compile และการ Run โปรแกรม • - ให้ save ไฟล์เป็นชื่อเดียวกัน ชื่อ class คือ ชื่อ Hello.java • - ให้ compile จาก DOS โดยใช้คำสั่ง คือ javac Hello.java
- ให้ Run โปรแกรม โดยใช้คำสั่ง คือ java Hello ผลการ Run
กำหนดเส้นทางของคำสั่งในชุดพัฒนาภาษาจาวากำหนดเส้นทางของคำสั่งในชุดพัฒนาภาษาจาวา • คลิกขวาที่ไอคอน My computer • เลือก properties จากเมนูบ๊อบอัพ • จะปรากฏหน้าต่างดังด้านขวา • คลิก Environment variable
กำหนดเส้นทางของคำสั่งในชุดพัฒนาภาษาจาวากำหนดเส้นทางของคำสั่งในชุดพัฒนาภาษาจาวา • เลือก path จาก System variable • คลิก Edit • เพิ่มข้อความในส่วนแถบสีฟ้า ;C:\j2sdk1.4.1_02\bin;.
การสร้าง config ใน EditPlus • ทำการสร้าง configเพื่อให้โปรแกรม EditPlusสามารถคอมไพล์และรันโปรแกรมภาษาจาวาได้
การสร้าง config ใน EditPlus คลิก add tool/Program แล้วเติมข้อความดังในภาพด้านล่างทั้งสอง ขวา set interpreter ซ้าย set compiler