890 likes | 1.28k Views
Electronic Commerce. อาจารย์ช นิดา เรืองศิริวัฒน กุล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. Electronic Commerce Law กฏหมาย พา นิชย์ อิเล็กทรอนิกส์. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร
E N D
Electronic Commerce อาจารย์ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการจัดทำ “โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ” ดำเนินการโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange Law- EDI) 2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์( Electronic Signatures Law) 3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Funds Transfer Law) 4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล( Data Protection Law) 5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law) 6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange Law- EDI) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษอันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆโดยเฉพาะในวงการค้าการ ขนส่งระหว่างประเทศทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่ โดยการใช้มาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปในรูปแบบ(format) และโครงสร้างข้อมูลที่ส่งถึงกัน
สาระสำคัญของกฏหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สาระสำคัญของกฏหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายต้นฉบับของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติดังนี้ • หมวดที่1 บททั่วไป • ขอบเขต คำนิยาม การตีความ และการกำหนดโดย ข้อตกลง • หมวดที่2 ข้อกำหนดทางกฎหมายต่อรูปแบบของข้อมูล • การรับรองรูปแบบข้อมูล ลายเซ็น ลายลักษณ์อักษร ต้นฉบับ พยานหลักฐาน การเก็บรักษาข้อมูล • หมวดที่ 3 การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • การเกิดและความสมบูรณ์ของสัญญา การรับรองของคู่สัญญา การรับข้อมูล เวลาสถานในการรับส่งข้อมูล
การรับรองสถานะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์การรับรองสถานะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7, 9 และ 11) 1. สามารถเข้าถึงได้ด้วยการอ่าน 2. สามารถแปลงกลับมาเป็นข้อความที่นํามาใช้อ้างอิงในภายหลังได้
ประโยชน์ของกฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประโยชน์กำลังคน และ เวลา • ลดความผิดพลาด • เพิ่มประสิทธิภาพในธุรกรรม • ขยายโอกาสทางธุรกิจ
ปัญหากฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ปัญหากฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ความสมบูรณ์ของเนื้อหาทางกฎหมาย • ลายเซ็น • ลายลักษณ์อักษร จะรวมถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่ • ยากแก่การระบุเอกสารต้นฉบับ • พยานหลักฐาน เนื่องจากข้อมูลมาจากหลายส่วน เช่น จานบันทึก หรือพิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ • การเกิดขึ้นของสัญญา ที่ไหน เมื่อไร
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. กฏหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดาอันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 1. การติดต่อทางคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบเครือข่าย เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอีดีไอ (EDI) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-mail) การสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล เช่น iCQ การสนทนาโต้ตอบระหว่างกลุ่มบุคคลบนเครือข่าย เช่น chat/IRC การใช้เทคโนโลยี WAP ใน Mobile phone อื่นๆ
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. การติดต่อผ่านทางเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สาระสำคัญขอบเขตกฏหมายลายเซ็นทางอิเล็กทรอนิกส์สาระสำคัญขอบเขตกฏหมายลายเซ็นทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของเอกสารที่จำเป็นต้องลงลายชื่อดิจิตอล • การรับรองความถูกต้อง และการยกเลิกการรับรองความถูกต้อง • การรับรองความถูกต้องของหน่วยงานที่รับผิดชอบ • การลงลายมือชื่อของนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา • การจดแจ้งทะเบียน • ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่รับรองความถูกต้อง • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และหน่วยงานที่รับรองความถูกต้อง
ประเทศที่มีกฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ประเทศที่มีกฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ • แคนาดา • เดนมาร์ก • ฝรั่งเศส • เยอรมัน • อิตาลี • ญี่ปุ่น • มาเลเชีย • สหราชอาณาจักร
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
พัฒนาการของ เงิน • การแลกเปลี่ยนสินค้า (Trade by Barter) • เงินตรา (Chattel money) --> เหรียญ ธนบัตร • เงินพลาสติก (Plastic Money) • เงินอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Money)
สาระสำคัญของกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สาระสำคัญของกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ • รูปแบบและการพิสูจน์ ถึงการแสดงเจตนาและในการชำระเงิน • สิทธิของ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ ที่ไม่สามารถชำระเงินได้ • ระยะเวลาในการใช้คำสั่งให้ ชำระ ยกเลิกการชำระเงิน • ความรับผิดชอบในความเสียหายจากการโอนเงิน • การใช้การโอนเงินโดยมิชอบ • ข้อกำหนดการโอนเงินระหว่างประเทศ
ประเทศที่มีกฎหมายการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ประเทศที่มีกฎหมายการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ • สหรัฐอเมริกา • ออสเตรเลีย • เยอรมัน • สหราชอาณาจักร
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( Data Protection Law) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยีจนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูลทั้งนี้โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัวเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารและความมั่นคงของรัฐ
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบข้อมูลและระบบเครือข่ายซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดกำหนดว่าเป็นความผิดทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
ตัวอย่างคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ตัวอย่างคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรม การขโมยโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งไม่มีรูปร่าง การตัดต่อภาพ หมิ่นประมาท
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย • การแอบเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ ผู้รับเงินโฆษณา แบนเนอร์ • การแอบใช้ Internet Account • เว็บของ ISP แห่งหนึ่ง ถูกพนักงานที่ไล่ออกไป แก้ไขเป็นเว็บโป๊ และส่ง e-mail ในนามของผู้บริหาร ไปด่าผู้อื่น • พนักงาน แอบติดตั้งโปรแกรม Cain มา scan หา User / Password ของผู้บริหาร และพนักงานในองค์กร • พนักงานใช้ e-mail ขององค์กร ไปในทางเสียชื่อเสียง
ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ปัญหาด้านพยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหารวมทั้งยังสูญหายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) นั้น หากระหว่างการเคลื่อนย้ายได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดการกระแทก หรือเคลื่อนย้ายผ่านจุดที่เป็นสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่บันทึกใน Hard Disk ดังกล่าวก็อาจสูญหายได้
ปัญหาด้านอำนาจในการออกหมายค้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน เพราะการค้นหาพยานหลักฐานใน Hard Disk นั้นต้องกำหนดให้ศาลมีอำนาจบังคับให้ผู้ต้องสงสัยบอกรหัสผ่านแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนเพื่อให้ทำการค้นหาหลักฐานใน Hard Disk ได้ด้วย ปัญหาด้าน ขอบเขตพื้นที่ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้น กฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม่ ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัญหาประเด็นเรื่องอายุของผู้กระทำความผิด เพราะผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนมาก โดยเฉพาะ Hacker และ Cracker นั้น มักจะเป็นเด็กและเยาวชน และอาจกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะความคึกคะนองหรือความซุกซนก็เป็นได้ ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544 ภูมิพลอดุลยเดชป.ร. ให้ไว้ณวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2545โดยคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นผู้ดูแลการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายดังนี้
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1. มาตรา 7ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง กฏหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” 2. มาตรา 9ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้วถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน”
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3. มาตรา 10 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์และ(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้ความถูกต้องของข้อความตาม (1) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความเว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม… ”
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 4. มาตรา 23ระบุไว้ว่า “การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลหากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้นแต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูลซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น”
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 5. มาตรา 25ระบุถึงบทบาทของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจหน่วยงานรัฐบาลสามารถสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ในการให้บริการประชาชนได้ โดยต้องออกประกาศ หรือกฎกระทรวงเพิ่มเติม
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 6. มาตรา 27ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ “(1)ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต (2) แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทราบโดยมิชักช้าเมื่อ(ก) เจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นสูญหายถูกทำลายถูกแก้ไขถูกเปิดเผยโดยมิชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (ข) เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สูญหายถูกทำลายถูกแก้ไขถูกเปิดเผยโดยมิชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์...”
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่มา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ • ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง • เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นการสื่อสารทางหนึ่ง ในทางกฎหมายก็ต้องรับรองสิ่งที่ได้ติดต่อกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เหมือนสิ่งที่พูด สิ่งที่เขียน เหมือนที่เวลาด่าใครแล้วมีความผิด การใช้คอมพิวเตอร์ด่าก็มีความผิดเช่นกัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 • “ประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550” ที่ออกมาเป็นกฎหมายเสริมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อันจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2550 • ประกาศฯ เขียนไว้ว่า กรณีเว็บบอร์ดและเว็บบล็อกนั้น ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลไอพีแอดเดรส และวันเวลาที่ผู้ใช้บริการเข้าถึงเท่านั้น ในกรณีเว็บไซต์ทางการค้านั้น ให้กรอกหมายเลขบัตรเครดิต