1.03k likes | 2.44k Views
ขั้นตอนและวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม e-mail: fforsmp@ku.ac.th ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ Tel. 02-5790172 ext 104 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Mobile: 085-1200063. 1. โครงการพัฒนาและศักย์การสร้างผลกระทบ. 1) หลักการและเหตุผล.
E N D
ขั้นตอนและวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นตอนและวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม e-mail: fforsmp@ku.ac.th ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ Tel. 02-5790172 ext 104 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Mobile: 085-1200063
1. โครงการพัฒนาและศักย์การสร้างผลกระทบ 1) หลักการและเหตุผล • ไม่มีโครงการพัฒนาใด ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ • หาทางป้องกันผลกระทบไม่ให้เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นในระดับที่ยอมรับได้ • ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ ที่มีประสิทธิภาพ 100% • หาทางแก้ไขหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้น้อยลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
2) รายละเอียดโครงการพัฒนา :- ต้องคำนึงถึง/ทราบเกี่ยวกับ • สถานที่ตั้ง (Location/Site) • ขนาดโครงการ (Size) • ลักษณะโครงการ (Characteristic) • ของเสีย/มลพิษ (Waste/Pollution) ที่จะเกิดขึ้น • ผลกำไรและประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit and Positive Impact) • แหล่งกำเนิดผลกระทบ (Point Source) • แหล่งที่ได้รับผลกระทบ (Point Effect)
3) การแยกย่อยโครงการและการสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการ/Project วัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรม/Activities กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การปฏิบัติ/Action สิ่งที่ต้องทำในแต่ละกิจกรรม/ปฏิบัติการ งาน/Tasks งานที่ต้องทำในแต่ละปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ Impact on Environment สิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากงานของ แต่ละกิจกรรม เช่น ป่าไม้ ดิน เป็นต้น เก็บตัวอย่าง/วิเคราะห์/ประเมินสถานภาพ หาปัญหา/เหตุของปัญหา/สร้างมาตรการ ป้องกันและแผนแก้ไข/สร้างระบบติดตามตรวจสอบ ดำเนินการตาม กระบวนการ EIA
- ตัดต้นไม้ในอ่าง - ปรับพื้นที่ - ก่อสร้างอาคาร - กักเก็บน้ำ ตัวอย่าง :- • โครงการสร้างเขื่อนเก็บน้ำ ระบบสิ่งแวดล้อม โครงการ การสร้างเขื่อนเก็บน้ำ - ตัดต้นไม้ในแนวถนน - ตัดถนน - สร้างสำนักงาน - ขนส่งวัสดุ/อุปกรณ์ - สร้างเขื่อน กิจกรรม สิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ ปฏิบัติการ/งาน - ป่าไม้/สัตว์ป่า - ดินพังทลาย - น้ำ/คุณภาพน้ำ - ฝุ่นละออง/อากาศ - สังคม/คุณภาพชีวิต
ขั้นตอนการดำเนินการศึกษา EIA 1) การสำรวจเบื้องต้น (presurvey):- ต้องเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ - แผนที่ภูมิประเทศ - แผนที่การใช้ที่ดิน - แผนที่โครงการ - แผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ - ข้อมูลทุติยภูมิของพื้นที่ - แผนที่จำแนกประเภทการใช้ที่ดินป่าไม้ 2) การกลั่นกรองโครงการและกำหนดขอบเขตการศึกษา - รายละเอียดโครงการ (Project document) - ข้อกำหนด/ขอบเขตการศึกษา (Term of Reference : TOR) - กำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา - กำหนดบุคลากร
3) วางแผนเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อกำหนด:- - ดัชนี (Indicator) ทีจะใช้วัด - จุดเก็บตัวอย่าง/จำนวนตัวอย่าง - เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล - จำนวนครั้ง/ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูล - วิธีการเก็บและรักษาข้อมูล/ตัวอย่าง - สร้างระบบการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (integrated survey) 4) การเก็บข้อมูลภาคสนาม - เก็บข้อมูลตามดัชนี และจุดเก็บข้อมูลที่ได้กำหนดไว้ - ตรวจวัดข้อมูลบางตัวในพื้นที่ - เก็บตัวอย่างข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
5) การวิเคราะห์ข้อมูล - จัดกลุ่ม/ประเภทของข้อมูลตัวอย่าง - วิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละดัชนี ตามวิธีวิเคราะห์ - วิเคราะห์สถานภาพของแต่ละสิ่งแวดล้อม * สมดุลธรรมชาติ * เตือนภัย * ระวังภัย(เสี่ยงภัย) * วิกฤต 6) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแต่ละสิ่งแวดล้อม (1) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Standard) * คุณภาพน้ำ * คุณภาพอากาศ * คมนาคมขนส่ง
(2) เปรียบเทียบกับงานวิจัย/เอกสารในอดีต * การใช้ประโยชน์ที่ดิน * ป่าไม้ * คมนาคมขนส่ง * เศรษฐสังคม (3) เปรียบเทียบกับพื้นที่ธรรมชาติข้างเคียง (Reference Site) * ป่าไม้ * สัตว์ป่า (4) ประยุกต์แบบจำลอง (Modeling) * อากาศ * เสียง
7) การประเมินผลกระทบโดยรวม (1) วิธีการบรรยาย (descriptive) (2) กรรมการชั่วคราว (adhoc committee) (3) แผนภาพเชิงซ้อน (overlay/ GIS Method) (4) เช็คลิสต์ (checklist) (5) เมตริกซ์ (matrix) (6) แบบจำลอง (modeling) 7) การจัดทำรายงาน (1) รายงานหลัก (main report) (2) รายงานฉบับย่อ (Executive summary)
วิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • ประชุมปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการ (Ad Hock) • ตรวจสอบรายการ (Check List) • เปรียบเทียบผลกระทบกับตัวแปรต่างๆ (Metrix) • การซ้อนทับข้อมูล (Overlay) • การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย • การใช้วิธีประเมิน (Assessment) • การสร้างรูปแบบสมมติ (Modelling) • การปรับเปลี่ยนการจัดการให้เข้ากับผลการประเมิน • การมุ่งประเมินประเด็นเฉพาะ รองศาสตราจารย์ ดร. เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตัวอย่าง: การประเมินผลกระทบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย matrix method • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านสภาพสังคม และความคิดเห็น ระหว่างการก่อสร้าง • โครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ลำตะคอง เชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ • สระบุรี 2 -นครราชสีมา 2 (ส่วนที่เหลือ) • กิจกรรม ระดับผลกระทบด้านสภาพสังคมและความคิดเห็น • ประชากร สังคม สุขภาพนามัย เศรษฐกิจ ความคิดเห็น เฉลี่ย • 1. การรื้อย้ายสิ่งกีดขวาง 0 -1 -1 -1 -1 -0.8 • 2. การตัดต้นไม้ตลอดแนว 0 -1 -1 -1 -1 -0.8 • 3. การก่อสร้างฐานราก 0 -1 -1 -1 -1 -0.8 • 4. การติดตั้งเสาไฟฟ้า 0 -1 -1 -1 -1 -0.8 • 5. การติดตั้งส่วนประกอบ 0 -1 -1 -1 -1 -0.8 • ต่างๆ ของเสาไฟฟ้า • 6. การขึงสายไฟฟ้า 0 -1 -1 -1 -1 -0.8 • 7. การปรับแต่งพื้นที่บริเวณ 0 1 1 1 1 0.8 • ที่สายส่งพาดผ่าน • เฉลี่ย 0 -0.7 -0.7 -0.7 -0.7 -0.6
แบบฟอร์มการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ระดับผลกระทบ สิ่งแวดล้อม สร้างอ่างเก็บ การสร้างโรง การสร้างสถานี การก่อสร้าง การดำเนิน รวม เฉลี่ย น้ำตอนบน ไฟฟ้าใต้ดิน ไฟฟ้าย่อย สายส่งไฟฟ้า การจ่ายไฟฟ้า กายภาพ 1. ทรัพยากรดิน 2. น้ำผิวดิน - คุณภาพน้ำ - ปริมาณน้ำ 3.อากาศ - ฝุ่นละออง 4.แผ่นดินไหว/สั่น สะเทือน ชีวภาพ 1.ป่าไม้ 2.สัตว์ป่า 3.นิเวศทางน้ำ 4.ประมง
แบบฟอร์มการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (ต่อ) ระดับผลกระทบ สิ่งแวดล้อม สร้างอ่างเก็บ การสร้างโรง การสร้างสถานี การก่อสร้าง การดำเนิน รวม เฉลี่ย น้ำตอนบน ไฟฟ้าใต้ดิน ไฟฟ้าย่อย สายส่งไฟฟ้า การจ่ายไฟฟ้า คุณค่าการใช้ประโยชน์ 1.การใช้ที่ดิน 2.การเกษตร 3.อุตสาหกรรม 4.พลังงาน 5.การคมนาคม คุณค่าทางคุณภาพชีวิต 1.เศรษฐกิจ 2.สังคม 3.ทัศนียภาพ 4.สุขอนามัย 5.แหล่งท่องเที่ยว รวม เฉลี่ย
การกำหนดขอบเขตการศึกษา (Scope of the Study) เป็นกระบวนการกำหนดและเลือกกิจกรรมที่จำเป็นในการศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจาก :- 1) ข้อกำหนดของงาน (Term of Reference : TOR) กำหนดโดย :- - เจ้าของโครงการ - ข้อกำหนดที่กำหนดขึ้นโดย สผ. กำหนดสิ่งแวดล้อมที่ศึกษา เป็น 4 กลุ่ม คิอ (1) ทรัพยากรทางกายภาพ (2) ทรัพยากรทางชีวภาพ (3) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (4) คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
2) ลักษณะและรายละเอียดของโครงการ ซึ่งแยกย่อยออกเป็น • - กิจกรรม (activities) และงานที่ต้องปฏิบัติ (action) • - ขนาดของพื้นที่โครงการ • - ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น • การกำหนดขอบเขตการศึกษา:- แบ่งได้ 2 กรณี คือ • (1) ขอบเขตการศึกษาโดยพื้นที่ :- • ต้องกำหนดขอบเขตการศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่โครงการทั้งหมดโดยรอบ เช่น ในรัศมี 1 กม. หรือเป็นแนวกว้าง 1 กม. เป็นต้น • (2) ขอบเขตการศึกษาทางวิชาการ :- • - กำหนดดัชนีที่ใช้ในการศึกษา - วิธีการศึกษา • - จำนวนครั้ง/ตัวอย่าง - ระยะเวลา ฯลฯ
การเก็บข้อมูลแบบผสมผสานการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน 1) หลักการ :- - ผสมผสานด้านจุดเก็บตัวอย่าง (พื้นที่) - ผสมผสานด้านเวลาการเก็บข้อมูล - ผสมผสานดัชนีที่ใช้ 2) ขั้นตอน/วิธีการ :- - พิจารณาแต่ละกลุ่มสิ่งแวดล้อม - พิจารณาดัชนีที่ได้รับผลกระทบ - กำหนดจุดเก็บตัวอย่าง/จำนวนตัวอย่าง/เวลาการเก็บ - รวมกลุ่มดัชนีที่สามารถเก็บข้อมูลในจุดเก็บเดียวกัน/เวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง :- • การผสมผสานด้านจุดเก็บตัวอย่าง • ระหว่างการเก็บข้อมูลดิน & ลุ่มน้ำ • ผสมผสานระหว่างดัชนี ในแต่จุดเก็บ ตัวอย่าง เช่น จุดเก็บตัวอย่างน้ำ สามารถวิเคราะห์ถึง คุณภาพน้ำ และนิเวศทางน้ำ จุดเก็บดิน / ป่าไม้ จุดเก็บน้ำ จุดเก็บเศรษฐสังคม 3) ประโยชน์ของการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (1) ประหยัดงบประมาณ/เวลา (2) ตรวจสอบหาแหล่งเกิดปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ความละเอียดของการประเมินผลกระทบความละเอียดของการประเมินผลกระทบ 1) ระดับการศึกษาเบื้องต้น (Primary study) เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ว่าโครงการนั้น ๆ ควรดำเนินการหรือไม่ โดยพิจารณาจาก :- (1) การกลั่นกรองพื้นที่โครงการ (Site screening) (2) การกลั่นกรองโครงการ (Project screening)
การเลือกพื้นที่โครงการ (Site Screening) • หลักการ:- • 1) รายละเอียดโครงการเหมือนกัน (Project Fixed) • 2) มีหลายพื้นที่ให้เลือก (More Site Proposed) • 3) ประเมินผลกระทบในแต่ละพื้นที่ทางเลือกเปรียบเทียบกัน • ระหว่างพื้นที่ • - เก็บข้อมูลในสนาม และรวบรวมจากเอกสาร • - ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) • 4) เลือกพื้นที่ ๆ มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
การเลือกโครงการ (Project Screening) • หลักการ:- • 1) ใช้พื้นที่ดำเนินโครงการเดียว (Site Fixed) • 2) มีหลายโครงการให้เลือก (More Project Proposed) • 3) ประเมินผลกระทบในแต่ละโครงการ โดยการเปรียบ • เทียบระหว่างโครงการ • - เก็บข้อมูลในสนาม และรวบรวมเอกสาร • - ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) • 4) เลือกโครงการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
2) ระดับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE : Initial Environmental Examination) (1) เป็นระดับการศึกษาที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของงานบางโครงการ แต่ยังมิได้กำหนดขอบเขต รายละเอียดของโครงการอย่างชัดเจน (2) เป็นการเก็บข้อมูลภาคสนามมากกว่าค้นคว้าจากเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบว่า - โครงการนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการหรือไม่ ร่วมกับการศึกษาด้านวิศวกรรม (Engineer) และด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic) - จะต้องทำรายงาน EIA หรือไม่
3) ระดับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) * เป็นการศึกษาสถานภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันก่อนดำเนินโครงการ * ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดจากการมี โครงการ การทำ EIA ถูกกำหนดโดย:- * ประเภทและขนาดของโครงการ (ตามประกาศกระทรวงฯ) * พื้นที่ดำเนินโครงการ (ตาม พรบ./มาตรการการใช้ที่ดิน)
กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1) เกณฑ์การประเมินผลกระทบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ การเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและทิศทางของโครงสร้าง (Structure) และการทำงาน (Function) ของระบบสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจเป็นการเปลี่ยนทางบวก (+) หรือทางลบ (-)ก็ได้ * เกณฑ์ในการประเมินผลกระทบ :- พิจารณาจาก (1) โครงสร้าง (Structure) (2) หน้าที่ (Function)
2) การกำหนดระดับผลกระทบ :-แบ่งออกเป็น 4 ระดับ (1) ไม่มีผลกระทบ (0):- สภาวะที่โครงสร้าง (ชนิด ปริมาณ สัดส่วน การกระจาย) และการทำงานของระบบ สิ่งแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลง (2) ผลกระทบระดับน้อย (+1) :- สภาวะที่ระบบสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบางส่วน แต่คงยังทำงานเป็นปกติหรือเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือยอมรับได้ สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมในช่วงเวลาสั้น ๆ (3) ผลกระทบปานกลาง (+2) :- สภาวะที่ระบบสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและหน้าที่ เกินค่ามาตรฐานหรือเกินจุดที่ยอมรับได้เล็กน้อยและต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นสภาพธรรมชาติเดิมได้ (4) ผลกระทบมาก (+3) สภาวะที่โครงสร้างและหน้าที่ของระบบสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพธรรมชาติมาก ไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้ หรืออาจต้องใช้เวลานานมากและต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
แบบฟอร์มการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการพัฒนาและ จัดการแหล่งพลอย จังหวัดแพร่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยวิธี matrix ระดับผลกระทบ สิ่งแวดล้อม การสำรวจและ พัฒนาเหมืองสาธิต การสำรวจพลอย การท่องเที่ยว กายภาพ 1. สภาพภูมิอากาศ 2. คุณภาพอากาศ 3. เสียงและการ สั่นสะเทือน 4. ทรัพยากรดิน 5. ทรัพยากรน้ำและ คุณภาพน้ำ 6. ทรัพยากรธรณี และแหล่งแร่ ชีวภาพ 1. ทรัพยากรป่าไม้ 2. ทรัพยากรสัตว์ป่า 3. นิเวศทางน้ำ
แบบฟอร์มการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการพัฒนาและ จัดการแหล่งพลอย จังหวัดแพร่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยวิธี matrix ระดับผลกระทบ สิ่งแวดล้อม การสำรวจและ พัฒนาเหมืองสาธิต การสำรวจพลอย การท่องเที่ยว คุณค่าการใช้ ประโยชน์ 1. การใช้ที่ดิน 2. อุทกวิทยาลุ่มน้ำ 3. การคมนาคมขนส่ง 4. ขยะมูลฝอย 5. น้ำดื่ม/น้ำใช้ 6. การระบายน้ำ/ น้ำเสีย/ท่วม 7. พลังงาน 8. การเกษตรกรรม/ อุตสาหกรรม 9. การทำเหมืองแร่ 10. นันทนาการ
แบบฟอร์มการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการพัฒนาและ จัดการแหล่งพลอย จังหวัดแพร่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยวิธี matrix ระดับผลกระทบ สิ่งแวดล้อม การสำรวจและ พัฒนาเหมืองสาธิต การสำรวจพลอย การท่องเที่ยว คุณค่าทางคุณภาพ ชีวิต 1. เศรษฐกิจและ สังคม 2. คุณค่าทาง สิ่งแวดล้อม 3. อาชีวอนามัย
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยรวมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยรวม นำผลการประเมินแต่ละทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม มาพิจารณาผลกระทบโดยรวม ทำได้โดยใช้วิธีการ • ให้น้ำหนักแต่ละทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน • ตามลำดับความสำคัญ (weighting scale) • ทำตารางแมทริก (matrix) • หาค่าเฉลี่ย • ประเมินผลโดยรวม
การจัดทำมาตรการป้องกันหรือแผนแก้ไขผลกระทบการจัดทำมาตรการป้องกันหรือแผนแก้ไขผลกระทบ 1. หลักการและเหตุผล มาตรการ :เป็นแนวทางการดำเนินการที่ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือลดระดับผลกระทบลงได้ ในบางอย่าง บางเวลาและบางสถานที่ แผนงาน : เป็นแนวทางการดำเนินการที่กำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน เพื่อบรรเทา/ลดระดับผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ลด น้อยลง โดยกำหนด ระยะเวลา สถานที่ หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิธีการดำเนินการและ งบประมาณในการดำเนินการ
การสร้างมาตรการและแผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่สำคัญมากสำหรับการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยทุกสิ่งแวดล้อมที่ประเมินแล้วว่ามีผลกระทบทางลบทุกระดับ จะต้องมีมาตรการป้องกันหรือมีแผนแก้ไขผลกระทบเสมอ • ผลกระทบของหลายๆ สิ่งแวดล้อมอาจใช้มาตรการ/แผนแก้ไข • ร่วมกันได้ • ผลกระทบทางลบของสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ อาจต้องใช้หลาย มาตรการ/แผนแก้ไข
ในพื้นที่โครงการมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดำเนินการตามแผนงาน • ประจำปีอยู่แล้ว • เป็นข้อกำหนดที่ระบุอยู่ในสัญญาการก่อสร้างโครงการอยู่แล้ว • เป็นงานของเจ้าของโครงการที่ต้องทำอยู่แล้ว • เป็นงานที่ต้องทำเพิ่มเติม ของหน่วยงานที่รับผิดชอบจากแผนงาน • ประจำปี • เป็นงานใหม่ที่เดิมไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบ 2. ข้อพิจารณาในการกำหนดมาตรการหรือแผนงาน 1) การกำหนดมาตรการ : พิจารณาจาก 2) การกำหนดแผนงาน : พิจารณาจาก
3. การเขียนแผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากแผนงานเป็นกระบวนการ (process) การดำเนินงาน อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหัวข้อและรายละเอียด ดังนี้ 1) หลักการ/เหตุผล • ชี้ประเด็นเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีแผนงานนี้ • (ทราบปัญหาและเหตุของปัญหา) • ความสำคัญของแผนงานนี้ 2) วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของแผนงานต้อง SMART S - Specific (เฉพาะเจาะจง/ชัดเจน) M - Measurable (ตรวจวัดได้) A - Attainable (สามารถทำให้บรรลุผลได้) R - Realistic (เป็นข้อเท็จจริง) T - Time bounding (กำหนดเวลาชัดเจน)
3) วิธีการ • ระบุวิธีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน ตามลำดับก่อนหลัง • สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 4) พื้นที่ดำเนินการ • ระบุสถานที่ ควรเป็นจังหวัดที่ดำเนินโครงการ • ขนาดของพื้นที่ที่ดำเนินการ ควรให้ครอบคลุมพื้นที่โครงการ • หรือใหญ่กว่า 5) หน่วยงานที่รับผิดชอบ • ควรเป็นหน่วยงานที่ชำนาญการ/รับผิดชอบในกิจกรรมที่ระบุไว้ • ในวิธีการ • อาจเป็นหน่วยงานระดับกรม หรือระดับท้องถิ่นในพื้นที่ก็ได้
6) ระยะเวลา • กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับงานที่ระบุไว้ในวิธีการ • ระบุระยะเวลาเริ่มต้นจนสิ้นสุด 7) งบประมาณ • แจงรายละเอียดตามกิจกรรมที่ระบุไว้ในวิธีการ • แจงรายละเอียดในแต่ละปี (ถ้ามีระยะเวลาหลายปี) 8) การประเมินผล • ทำรายงานประจำปี เสนอหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบ
1) หลักการ/เหตุผล • ความจำเป็นที่ต้องมีแผนติดตามตรวจสอบ 2) วัตถุประสงค์ • ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการตรวจสอบอะไร 4. การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม การติดตามตรวจสอบเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องติดตามตรวจสอบว่า ทาง โครงการพัฒนาได้ดำเนินการตามแผนป้องกัน/มาตรการแก้ไขผลกระทบ หรือไม่ หรือมาตรการ/แผนแก้ไขที่ได้ดำเนินการมีประสิทธิภาพช่วยลดผล กระทบให้น้อยลงได้จริงไหม แผนติดตามตรวจสอบ ที่เป็นรูปธรรมควรมีหัวข้อ และรายละเอียดดังนี้
3) ดัชนีสิ่งแวดล้อม • ระบุให้ชัดเจนว่าใช้ดัชนีอะไรบ้างในการตรวจสอบ 4) พื้นที่ดำเนินการ • ระบุพื้นที่ที่จะตรวจสอบ เช่น จุดวัดน้ำ พื้นที่ป่าปลูก 5) วิธีการ • ระบุงานที่ต้องการตรวจสอบ 6) ระยะเวลา • ระบุความถี่ในการติดตามตรวจสอบ • ระบุระยะเวลาเริ่มต้นจนสิ้นสุด
7) หน่วยงานรับผิดชอบ • ควรเป็นหน่วยงานกลาง ไม่ใช่เจ้าของโครงการพัฒนา • หรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบแผนแก้ไข 8) งบประมาณ • แจงรายละเอียดตามงาน • แจงรายละเอียดแต่ละปี 9) การประเมินผล • ทำรายงานส่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สผ. สศช.
ขอขอบพระคุณ รศ.ดร.สามัคคี บุณยะวัฒน์ ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การจัดทำและพิจารณา EIA ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ • 1. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination หรือ IEE) จะเป็นการศึกษา/สำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูลเบื้องต้น เพื่อพิจารณาว่าโครงการจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่และเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษา EIA • 2. การกำหนดขอบเขตในการศึกษา EIA (Terms of Reference : TOR) หรือข้อกำหนดในการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบเป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดและขอบเขตของการศึกษา EIA ที่เจ้าของโครงการจะว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำ • 3. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การคาดการณ์ผลกระทบ การจัดทำมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม • 4. การพิจารณารายงาน EIA อยู่ในความรับผิดชอบของ สผ. กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เมื่อรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว หน่วยงานผู้มีอำนาจอนุญาตจะเป็นผู้พิจารณาเช่น โครงการที่จะต้องต่อใบอนุญาตดำเนินการ โครงการขอตั้งโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นผู้พิจารณา ในกรณีโครงการที่จะต้องขออนุมัติจากคณะฐมนตรี คณะรัฐมนตรีก็จะเป็นผู้พิจารณา
การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) การริเริ่มโครงการ การจัดทำรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) การศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ (FS) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการลดผลกระทบ หน่วยงานเสนอโครงการขออนุมัติ จากหน่วยงานที่มีอำนาจอนุมัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ดำเนินการก่อสร้าง
รายงาน EIA จัดทำในขึ้นตอนใดของการดำเนินโครงการ • รายงาน EIA จัดทำในขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหรือขั้น FS (Feasibility Study) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสม/การออกแบบ/ต้นทุน-กำไร-จุดคุ้มทุน ของโครงการ เป็นต้น และผลที่ได้จากการศึกษาความเป็นไปได้เช่น ทางเลือกของโครงการจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • หน่วยงานใดที่มีหน้าที่จัดทำ EIA • หน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งเจ้าของโครงการจะว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่จดทะเบียนไว้กับ ส.ผ. ให้เป็นผู้จัดทำรายงาน • หน่วยงานใดที่มีหน้าที่พิจารณา EIA • โครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชนกองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส.ผ. เป็นผู้พิจารณารายงานขึ้นต้น โดยจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้เป็นผู้พิจารณาพร้อมกับเสนอรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจในโครงการ • โครงการของเอกชน กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส.ผ. เป็นผู้พิจารณารายงาน โดยจัดทำเป็นรายงานความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานฯ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ/ให้แก้ไขรายงาน
บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องใน กระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1. ขั้นเตรียมการ เจ้าของโครงการ จัดเตรียมรายงาน EIA โดยติดต่อผู้มีสิทธิทำรายงาน EIA ในการจัดทำรายงาน ในขั้นตอนนี้เจ้าของโครงการต้องวางแผนการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าก่อนกำหนดการก่อสร้างโครงการ เนื่องจากการศึกษา EIA ต้องใช้เวลาในการศึกษา ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ส.ผ.พิจารณาอนุญาตนิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงาน EIA และให้ข้อมูล คำแนะนำแก่เจ้าของโครงการเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน EIA นิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ประสานงานกับเจ้าของโครงการและศึกษาจัดทำรายงาน EIA ให้แก่เจ้าของโครงการ ในการจัดเตรียมรายงานที่ปรึกษาและเจ้าของโครงการต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการจัดทำรายงาน ในขั้นตอนนี้ ที่ปรึกษาต้องทำงานร่วมกับเจ้าของโครงการ ซึ่งเจ้าของโครงการจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวในเบื้องต้นในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ รวมทั้งพิจารณาผลการศึกษาของที่ปรึกษา โดยเฉพาะในส่วนของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เจ้าของโครงการจะต้องนำไปปฏิบัติหลังจากที่รายงานได้รับความเห็นชอบแล้ว ประชาชน มีบทบาทในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหรือมีคุณค่าในพื้นที่ รวมทั้งความคิดเห็น ความเป็นห่วงใยต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ที่มา: www.onep.go.th
2. ขั้นพิจารณารายงาน เจ้าของโครงการ เมื่อที่ปรึกษาจัดทำรายงาน EIA แล้ว เจ้าของโครงการเป็นผู้มีหน้าที่เสนอรายงานให้ ส.ผ. พิจารณาตามขั้นตอน ทั้งนี้อาจมอบอำนาจที่ปรึกษาหรือผู้อื่นเสนอรายงานแทนได้ ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณารายงาน เจ้าของโครงการอาจได้รับเชิญมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน ซี่งเจ้าของโครงการอาจประสานที่ปรีกษามาให้ข้อมูลที่เสนอก็ได้ ส.ผ. เป็นผู้ตรวจสอบรายงานและพิจารณาเสนอความเห็นเบื้องต้นต่อรายงาน โดยขั้นตอนการพิจารณารายงานตามที่ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กำหนดแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) กรณีโครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สผ. จะตรวจสอบรายงานภายในระยะเวลา 15 วัน กรณีที่รายงานไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง สผ. จะแจ้งแก้ไขรายงาน หากรายงานดังกล่าวครบถ้วนและถูกต้อง สผ. จะสรุปความเห็นเสนอต่อ คชก. ภายในระยะเวลา 15 วัน และคชก. จะใช้เวลาพิจารณาอีก 45 วัน หากเห็นชอบ สผ. จะแจ้งให้หน่วยงานอนุญาตทราบ เพื่อนำผลไปประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไป แต่หาก คชก. ไม่เห็นชอบ ส.ผ. จะแจ้งให้เจ้าของโครงการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบและแก้ไขรายงานต่อไปเมื่อเจ้าของโครงการเสนอรายงานฉบับแก้ไข สผ. จะนำเสนอ คชก. พิจารณาภายใน 30 วัน ที่มา: www.onep.go.th
2) กรณีโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชนที่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สผ. จะเป็นผู้พิจารณารายงานในขั้นต้น และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน จากนั้นคณะกรรมการผู้ชำนาญการจะเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีทั้งนี้การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ตามกฎหมาย ประชาชนในกรณีที่มีประชาชนเสนอข้อคิดเห็นในระหว่างการพิจารณารายงาน คณะกรรมการผู้ชำนาญการจะนำความเห็นดังกล่าวมาพิจารณาด้วย นอกจากนี้ในคณะกรรมการผู้ชำนาญการจะประกอบด้วยผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชน ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย ที่มา: www.onep.go.th
3. ขั้นการดำเนินงานและการติดตามผล เจ้าของโครงการ มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA รวมทั้งส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการต่อ สผ. และหน่วยงานอนุญาต หน่วยงานอนุญาต มีหน้าที่นำมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในใบอนุญาตซึ่งหน่วยงานอนุญาตมีอำนาจควบคุมให้เจ้าของโครงการปฏิบัติตามเงื่อนไข ส.ผ. จะพิจารณารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการของโครงการที่ส่งให้พิจารณาทุกๆ 6 เดือน ในกรณีที่พบว่ามีปัญหาจะแจ้งให้เจ้าของโครงการและหน่วยงานอนุญาตทราบและดำเนินการในส่วนของโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดให้ต้องรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปีละ 1 ครั้ง ประชาชนควรได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในพื้นที่มากขึ้น ในปัจจุบันได้เริ่มมีการใช้กลไกไตรภาคี คือภาครัฐ เอกชน ประชาชน ในการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ที่มา: www.onep.go.th