1 / 68

คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน

ยินดีต้อนรับ. คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน. ด้วยความยินดียิ่ง. ผลการดำเนินงาน. สำนักคอมพิวเตอร์. ประจำปีการศึกษา 2553. ปรัชญา ปณิธาน. ปรัชญา : สั่งสมความรู้ มุ่งสู่ปัญญา พัฒนาสังคม ด้วย คุณธรรม ปณิธาน : สำนักคอมพิวเตอร์ มุ่งพัฒนาระบบ

dinos
Download Presentation

คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ด้วยความยินดียิ่ง

  2. ผลการดำเนินงาน สำนักคอมพิวเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2553

  3. ปรัชญาปณิธาน ปรัชญา:สั่งสมความรู้ มุ่งสู่ปัญญา พัฒนาสังคม ด้วยคุณธรรม ปณิธาน:สำนักคอมพิวเตอร์ มุ่งพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการวิชาการ และถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

  4. วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ และนำมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นองค์กร สารสนเทศที่ทันสมัย

  5. พันธกิจ • 1. เป็นหน่วยงานกลาง ในการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ • การเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ • 2. เป็นหน่วยงานกลางในการสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคมผ่าน • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย • 3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่างๆ เพื่อการบริหาร • มหาวิทยาลัย • 4. พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเชื่อมโยงกันได้ • ทุกวิทยาเขต • 5. เป็นหน่วยงานที่แสวงหารายได้

  6. นโยบายการดำเนินงานของสำนักคอมพิวเตอร์นโยบายการดำเนินงานของสำนักคอมพิวเตอร์ 1. นโยบายด้านการพัฒนาระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ให้ทันสมัย และเพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรและนิสิต ทั้งสงขลาและพัทลุง 2. นโยบายด้านการพัฒนาระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้ทันสมัย ทั้งสงขลาและพัทลุง 3. นโยบายด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ให้มี ระบบไอทีใช้งานเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ ระบบไร้กระดาษ (Paperless) 4. นโยบายด้านการพัฒนาระบบการประชุมทางไกล(Video Conference)เพื่อทำการถ่ายทอดการเรียนการสอนจากพัทลุงและสงขลา

  7. นโยบายการดำเนินงานของสำนักคอมพิวเตอร์นโยบายการดำเนินงานของสำนักคอมพิวเตอร์ 5. นโยบายด้านการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แก่นิสิตและบุคลากร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัย 6. นโยบายด้านการให้บริการชุมชน 7. นโยบายด้านการจัดหารายได้ 8. นโยบายด้านการบริหารจัดการ 9. นโยบายด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา 10. นโยบายด้านการพัฒนาบุคลากร

  8. โครงสร้างการบริหารงาน สำนักคอมพิวเตอร์ ผู้อำนวยการ คณะกรรมการประจำสำนักคอมพิวเตอร์ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนักงาน กลุ่มภารกิจ บริหารงานทั่วไป กลุ่มภารกิจ พัฒนาระบบสารสนเทศ และเครือข่าย กลุ่มภารกิจ บริการและพัฒนา สื่อการเรียนการสอน

  9. โครงสร้างองค์กรของสำนักคอมพิวเตอร์โครงสร้างองค์กรของสำนักคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ กลุ่มภารกิจบริการและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบสารสนเทศและเครือข่าย กลุ่มภารกิจ บริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและบริการ งานบริการเครื่องคอมพิวเตอร์ งานบุคคล งานพัฒนา การเรียนการสอน งานพัฒนาโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งานงบประมาณการเงินและบัญชี งานบริการวิชาการและฝึกอบรม งานพัสดุและครุภัณฑ์ งานอาคารสถานที่ งานประกันคุณภาพ

  10. บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2553 สำนักคอมพิวเตอร์ มีบุคลากรปฏิบัติงานประจำ จำนวน 43 คน ลาศึกษาต่อ จำนวน 1 คน ลาออก จำนวน 1 คน ปฏิบัติงาน จำนวน 41 คน

  11. บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวนบุคลากรจำแนกตามตำแหน่งและวุฒิการศึกษา *** หมายเหตุวุฒิการศึกษา ตามที่สำเร็จการศึกษา

  12. ระบบเครือข่าย 1 . พัฒนาระบบเครือข่าย 1.1 พัฒนาระบบเครือข่ายภายใน - การให้บริการระบบอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายแกนหลักและแกนรอง (Network Device) - การให้บริการโครงข่ายสัญญาณเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมหาวิทยาลัย (Intranet Link) ภายนอกมหาวิทยาลัย (Internet Link) - การให้บริการระบบโครงข่ายไร้สายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์แกนหลัก (Wireless LAN)

  13. ระบบเครือข่าย 1.2 พัฒนาระบบเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย (Internet Link) เพื่อใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ติดต่อสื่อสาร และสืบค้นข้อมูลในการสนับสนุนด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการศึกษา พัฒนาและติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม ดังนี้ เส้นทางที่ 1 ระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ไปยัง สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ Uninet ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ 1 Gbps เส้นทางที่ 2 ระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ไปยัง Uninet ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ 30 Mbps เส้นทางที่ 3ระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ไปยัง บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูล แบบ ADSL 6 Mbps/512Kbpsเส้นทางที่ 4 ระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ไปยัง บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ แบบ Lease Line Internet 2/512 Mbps

  14. ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตสงขลา มีการพัฒนาระบบเครือข่ายให้ทันสมัยและรองรับตามมาตรฐานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันไวรัสที่ทันสมัย การเข้าใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางด้านคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบ Authentication ของ Clean Access Agent เพื่อตรวจสอบผู้ใข้บริการโดยระบุ User Name และ Password ทุกครั้ง

  15. ระบบเครือข่าย

  16. ระบบเครือข่าย ส่วนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตพัทลุง ปัจจุบันถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ทันสมัยโดยระบบสายสัญญาณแกนหลักใช้สายสัญญาณ Fiber Optics แบบ Single Mode สามารถสื่อสารได้ที่ความเร็ว 10 Gbps (Gigabit per second) และได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณหลัก (Core Switch) ณ อาคารที่เป็นจุดศูนย์กลางที่สามารถกระจายสัญญาณไปยังอาคารต่าง ๆ ทั่วพื้นที่วิทยาเขตพัทลุง เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถใช้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมได้ เส้นทางการเชื่อมต่อสายสัญญาณ

  17. ระบบเครือข่าย

  18. ระบบเครือข่าย ปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้มีการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 2 เส้นทาง คือ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)ซึ่งสามารถเข้าใช้บริการทั้ง 2 เส้นทางพร้อม ๆ กัน โดยได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ Load Balancing and Management switch เพื่อทำการกำหนดสัดส่วนของการเข้าใช้บริการทั้ง 2 เส้นทางให้สมดุล และในกรณีที่เส้นทางใดเส้นทางหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้ ระบบจะทำการเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางที่ยังใช้งานได้โดยอัตโนมัติ เส้นทางการเชื่อมต่อและความเร็วในการรับส่งข้อมูล

  19. ระบบเครือข่าย บริการระบบอินทราเน็ตระหว่างวิทยาเขต นอกเหนือจากการให้บริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ระบบสารสนเทศ (MIS) ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะพัฒนาให้สามารถใช้งานผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งระบบสารสนเทศทั้งหมดของมหาวิทยาลัยได้ทำการติดตั้ง ณ วิทยาเขตสงขลา จึงทำให้ต้องมีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ตระหว่างวิทยาเขตสงขลาและวิทยาพัทลุง เพื่อให้บุคลากรและนิสิตสามารถเข้าใช้บริการระบบสารสนเทศที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบการเงินและบัญชี ระบบลงทะเบียน ระบบรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเว็บเพจของหน่วยงานภายใน รวมไปถึงระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันระบบอินทราเน็ตระหว่างวิทยาเขต ได้มีการเช่าวงจรสื่อสารเชื่อมต่อระหว่างวิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง จำนวน 2 วงจร โดยทำการเช่าวงจรสื่อสารของผู้ให้บริการ 2 ราย คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

  20. ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายไร้สาย โครงการเครือข่ายไร้สาย มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เรียกว่า TSUwireless และวิทยาเขตพัทลุง เรียกว่า TSU-WIFI ได้เปิดให้บริการแก่ นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยผ่านทางจุดติดตั้ง Access Point ทั่วบริเวณมหาวิทยาลัยจำนวนทั้งสิ้น 143 จุด ด้วยมาตรฐาน IEEE 802.11g ซึ่งรองรับความเร็วสูงสุด 54 Mbps และมีมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือสูง ดังนั้นผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตจากบริเวณที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายครอบคลุมพื้นที่ซึ่งออกแบบให้นิสิตสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น บริเวณใต้อาคารเรียนของคณะ ลานกิจกรรม หอพัก บ้านพักบุคลากร และโรงอาหาร เป็นต้น

  21. ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Lan) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของวิทยาเขตสงขลา ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่าย ไร้สาย วิทยาเขตพัทลุง

  22. ระบบเครือข่าย 2 . พัฒนาระบบโทรศัพท์ภายในมหาวิทยาลัยผ่านระบบเครือข่าย การให้บริการระบบโทรศัพท์ ภายในวิทยาเขต และระหว่างวิทยาเขต ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการลดค่าใช้จ่ายทางไกล

  23. ระบบสารสนเทศ 1 . ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล 2. ระบบฐานข้อมูลลงทะเบียน 3 . ระบบรับนิสิตใหม่ 4. ระบบการเข้าใช้บริการสำนักคอมพิวเตอร์ด้วยลายนิ้วมือ 5. ระบบบันทึกเวลาทำงานด้วยลายนิ้วมือ 6. ระบบตรวจสอบการใช้งานโทรศัพท์ 7. ระบบจองหอพักนิสิต

  24. ระบบสารสนเทศ 8. ระบบหลักสูตรพัฒนานิสิต (นอกชั้นเรียน) 9. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 10. ระบบจองยานพาหนะ 11. ระบบประเมินการเรียนการสอน 12. ระบบประกันคุณภาพ TSU-QAIS 13. ระบบยืม-คืน Notebook 14. ระบบการแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์

  25. ระบบสารสนเทศ 15. ระบบ e-Mail 16.ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย 17.ระบบสินทรัพย์ 18.ระบบบัญชี 3 มิติ 19.ระบบเงินเดือน 20. ระบบจองห้องประชุมวิทยาเขตสงขลา 21. ระบบจองห้องประชุมประจำอาคารบริหารและสำนักงานกลางวิทยาเขตพัทลุง 22. ระบบจองห้องพักรับรองวิทยาเขตพัทลุง

  26. ระบบสารสนเทศ 23.ระบบงานเว็บไซต์ซึ่งเว็บไซต์ที่พัฒนามีดังนี้ - เว็บไซต์หน้าหลักมหาวิทยาลัย - เว็บไซต์คณะต่าง ๆ ภายใน มหาวิทยาลัยทักษิณ - เว็บไซต์หน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รูปแสดง เว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัย

  27. ระบบสารสนเทศ 24. ระบบสายตรงอธิการบดี 25. ระบบการจัดการความรู้เผยแพร่ข้อมูล

  28. ระบบการเรียนการสอน 1. การเรียนการสอน1.1 งานการเรียนการสอนทางไกลภายในวิทยาเขตสงขลา และระหว่าง วิทยาเขตพัทลุง รูปแสดง แผนผังการเชื่อมต่อระบบการเรียนการสอนทางไกล

  29. ระบบการเรียนการสอน 1.2 งานพัฒนา e - Learning 1.2.1 งานด้านการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (TSU Learning Management System : TSU Learning ) เป็นระบบที่นำ Moodleมาปรับเพิ่มความสามารถให้เข้ากับระบบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยระบบดังกล่าวจะรวบรวมเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน และผู้ดูแลระบบ รูปแสดง แสดงหน้าจอระบบ TSU Learning

  30. ระบบการเรียนการสอน 1.2.2 งานด้านสื่อการเรียนการสอนความคืบหน้าในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนซึ่งขณะนี้ มีสื่อการเรียนการสอนที่บุคลากรของสำนักคอมพิวเตอร์ เป็นผู้พัฒนา ทั้งหมดจำนวน 177เรื่อง รูปแสดง รายวิชาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รูปแสดง รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน 1

  31. ระบบการเรียนการสอน 2. ระบบการประชุมทางไกล มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นสถาบันอุดมศึกษา จัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณมีการจัดการศึกษา 2 พื้นที่ คือ วิทยาเขตสงขลาและพัทลุง ดังนั้นเพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้มีการริเริ่มนำระบบการประชุมทางไกลมาใช้ในการบริหารจัดการและการประสานงานของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ใน ลักษณะต่างพื้นที่ รูปแสดง การประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง

  32. บริการคอมพิวเตอร์ 1. ระบบการบริการเครื่องคอมพิวเตอร์แก่นิสิตและบุคลากรเพื่อสนับสนุน การเรียนการสอนและการวิจัย 3.1 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ณ สำนักคอมพิวเตอร์วิทยาเขตสงขลา จำนวน 370 เครื่อง 3.2 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ณ อาคารอื่น ๆ วิทยาเขตพัทลุง จำนวน 162เครื่อง 3.3 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ณ สำนักคอมพิวเตอร์วิทยาเขตพัทลุง จำนวน 287เครื่อง 3.4 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ณ อาคารอื่น ๆ วิทยาเขตพัทลุง จำนวน 272เครื่อง รวมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จำนวน 1,091เครื่อง

  33. บริการคอมพิวเตอร์ 3.1 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ ณ สำนักคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตสงขลา

  34. บริการคอมพิวเตอร์ 3.2 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ ณ สำนักคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตพัทลุง

  35. บริการคอมพิวเตอร์ 3.3 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการบริเวณหน่วยงานต่างๆ ณ วิทยาเขตสงขลา

  36. บริการคอมพิวเตอร์ 3.4 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการบริเวณหน่วยงานต่างๆ ณ วิทยาเขตพัทลุงคณะวิทยาศาสตร์

  37. บริการคอมพิวเตอร์ 3.2 ระยะเวลาให้บริการ สำนักคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตสงขลา ช่วงเปิดภาคเรียน จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 22.00 น. เสาร์ 09.00 – 20.00 น. อาทิตย์ 09.00 – 16.30 น. ช่วงปิดภาคเรียน จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น. สำนักคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตพัทลุง ช่วงเปิดภาคเรียน จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 20.30 น. เสาร์ - อาทิตย์ 09.00 – 19.00 น. ช่วงปิดภาคเรียน จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น. ภาคเรียนฤดูร้อน จันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 19.30 น.

  38. ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ การบริการทางวิชาการแก่ชุมชน 1. งานฝึกอบรมนิสิตและบุคลากร 2. งานฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา 3. งานฝึกอบรมเยาวชน 4. การแข่งขันทักษะทางด้าน IT 5. โครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เช่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพัทลุง และหน่วยงานอื่นๆ

  39. การประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักคอมพิวเตอร์การประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักคอมพิวเตอร์

  40. การประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา จากการดำเนินตามยุทธศาสตร์สำนักคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการจัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2553 สำนักคอมพิวเตอร์ใช้เกณฑ์การประเมินตามคู่มือประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ

  41. การประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา ผลการประเมิน

  42. อภิปรายผลการดำเนินงานอภิปรายผลการดำเนินงาน

  43. จุดแข็ง องค์ประกอบคุณภาพของมหาวิทยาลัย องค์ประกอบที่ 1 1. มีแผนพัฒนาสำนักคอมพิวเตอร์ และแผนการปฏิบัติงานสำนักคอมพิวเตอร์ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ ระยะยาว (15 ปี) และนำแผนไปสู่การปฏิบัติในเชิงประจักษ์ องค์ประกอบที่ 2 1. มีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และนำแผนไปสู่การปฏิบัติในเชิงประจักษ์ 2. มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการอบรม สัมมนา มาใช้ในการปฏิบัติงาน 3. มีการทำข้อตกลงร่วมก่อนการปฏิบัติงาน 4. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาบุคลากร

  44. จุดแข็ง องค์ประกอบคุณภาพของมหาวิทยาลัย องค์ประกอบที่ 5 1. มีโครงการบริการวิชาการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม 2. มีความร่วมมือในการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอก องค์ประกอบที่ 7 1. ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2. บุคลากรให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบุคลากรสามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน 3. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารใช้ในการตัดสินใจ

  45. จุดแข็ง องค์ประกอบคุณภาพของมหาวิทยาลัย องค์ประกอบที่ 8 1. มีการจัดทำแผนและใช้จ่ายงบประมาณตามแผน 2. มีการบริหารการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส 3. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศระบบบัญชี 3 มิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจด้านการเงิน องค์ประกอบที่ 9 1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2. สำนักคอมพิวเตอร์นำระบบและกลไกการประกันคุณภาพมาขับเคลื่อนองค์กร 3. มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา TSU-QAIS

  46. จุดแข็ง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสำนักคอมพิวเตอร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 1. มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีเครื่องคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการให้บริการนิสิต บุคลากร และการจัดโครงการบริการวิชาการและการวิจัย 2. มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ทางด้านสารสนเทศ 3. มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เช่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

More Related