370 likes | 502 Views
ระบบจัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Collection). ระยะที่ 1 มหาวิทยาลัย/สถาบัน 24 แห่ง. งบประมาณ 2545 การจัดซื้อครุภัณฑ์ : Sever ตั้งไว้ที่ สกอ. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : PC และ Scanner ครบชุด ส่งให้มหาวิทยาลัย 10 แห่ง
E N D
ระบบจัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ระบบจัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Collection) ระยะที่ 1มหาวิทยาลัย/สถาบัน 24 แห่ง งบประมาณ 2545 การจัดซื้อครุภัณฑ์ :Sever ตั้งไว้ที่ สกอ. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :PC และ Scanner ครบชุด ส่งให้มหาวิทยาลัย 10 แห่ง Software : iKnowledge (DCMS – Digital Collection Management System) งบประมาณ 2546 การจัดซื้อครุภัณฑ์ :PC และ Scanner ครบชุด ส่งให้มหาวิทยาลัย 14 แห่ง : แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแผนงานการดำเนินการ โครงการประกอบด้วยผู้แทนจากมหาวิทยาลัย/สถาบัน จำนวน 27 สถาบัน (รวมผู้แทนจากสถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีปทุม วัน) 49 คน
คณะทำงานได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ - คณะทำงานกลุ่มย่อย จัดทำแผนการดำเนินงาน 5 ปี (2547 – 2551)รวมทั้งกำหนดคุณลักษณะและจัดหาครุภัณฑ์เพิ่มเติมสำหรับสถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน รวมทั้งกำหนดความต้องการเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม iKnowledge - คณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อกำหนดมาตรฐานการลงรายการด้วย Dublin Core Metadata - คณะทำงานบริหารฐานข้อมูล
แผนการดำเนินงานพัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ตามโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLis) เป้าหมายการดำเนินงาน • ดำเนินการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์สำหรับมหาวิทยาลัย/สถาบัน สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน รวม 74 แห่ง • ให้บริการฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เต็มรูปแบบของทุกมหาวิทยาลัย/สถาบัน • ส่งเสริมและพัฒนาระบบและการบริการให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
การกำหนดมาตรฐานการลงรายการ Metadata จำนวน 16 elements • Title = ชื่อเรื่อง(compulsory element) – ชื่อของทรัพยากรสานิเทศAlternative title (repeat) – ชื่อเรื่องรองและชื่อเรื่องอื่น ๆ (qualifier) • Creator = เจ้าของงาน(compulsory element, repeat) Creater affiliation – ที่อยู่ (qualifier) • Subject and Keywords = หัวเรื่องและคำสำคัญ(compulsory element, repeat) ให้ระบุ scheme ด้วย เช่น เป็นหัวเรื่อง LCSH หรือ MESH หรือ อื่น ๆ (qualifier) • Description = ลักษณะ– ระบุรายละเอียดของทรัพยากร อาจหมายถึงบทคัดย่อ (Abstract) หรือ สารบัญ (Table of contents) (qualifier) • Publisher = สำนักพิมพ์(repeat) – หน่วยงานที่ผลิตสารนิเทศ ลงรายละเอียดจากหน่วยงานใหญ่ไปหน่วยงานย่อย เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร, ภาควิชาภาษา
Contributor = ผู้ร่วมงาน(repeat) ไม่ใช่ผู้แต่งร่วม กรณีผู้แต่งร่วมให้ลงใน Creator • Date = ปี(compulsory element, repeat) – ปีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในวงจรของทรัพยากร ลงรายการโดยใช้มาตรฐาน ISO 8601 คือ YYYY-MM-DD เช่น 2546-08-17 หรือ 2546 หรือ 1998-02 เป็นต้นอาจระบุ Date.created, Date.modified หรือ Date.issued โดยไม่จำเป็นต้องระบุทั้งหมด (qualifier) • Type = ประเภท(compulsory element) ชนิดของเนื้อหาทรัพยากร เช่น วิทยานิพนธ์, วิจัย, software, text เป็นต้น • Format = รูปแบบ(compulsory element)– อธิบายลักษณะรูปร่างของทรัพยากร โดยใช้ข้อกำหนดของ IMT (Internet Media Type) เช่น application/pdf, text/html, image/gif เป็นต้น • Identifier = รหัส(repeat) – การอ้างอิงทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบปัจจุบัน เช่น ระบุ URL, URI, ISBN, ISSN
11. Source = ต้นฉบับ– การอ้างอิงถึงที่มาของทรัพยากรสารนิเทศ • Language = ภาษา– เสนอแนะให้ใช้ตามมาตรฐาน RFC 3066 เช่น en หรือ eng กรณีเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น • Relation = เรื่องที่เกี่ยวข้อง– การอ้างถึงทรัพยากรสารนิเทศที่เกี่ยวข้อง อาจระบุเรื่องทีเกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้ เช่น Relation.is VersionOf, Relation.Replaces เป็นต้น (qualifier) • Coverage = ขอบเขต– ระยะเวลาหรือขอบเขตเนื้อหาของทรัพยากร • Rights = สิทธิ(compulsory element) – ระบุเครื่องหมาย และตามด้วยชื่อหน่วยงานหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ • Thesis = ชื่อปริญญา ระดับ Thesis Degree Name Thesis Degree Level Thesis Degree Discipline Thesis Degree Grantor
หมายเหตุ 1. compulsory elementหมายถึง เป็นหน่วยข้อมูลย่อย หรือ element ที่กำหนดให้ต้องลงรายการ • repeat หมายถึง สามารถลงรายการซ้ำได้ • qualifier หมายถึง ตัวขยายของ Dublin Core ***element หรือ หน่วยข้อมูลย่อยอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุ ตามหมายเหตุข้างต้น หมายถึง เป็น element ที่ไม่บังคับให้ลงรายการ และไม่สามารถลงรายการซ้ำได้ ตามข้อตกลงในที่ประชุม***
ข้อเสนอแนะเรื่องการจัดเก็บและเผยแพร่เอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ข้อเสนอแนะเรื่องการจัดเก็บและเผยแพร่เอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ 1. ควรจะมีการประชุมให้เป็นแนวทางว่าควรจะจัดเก็บเอกสารประเภทใดบ้างก่อนหลังเช่นควรทำวิทยานิพนธ์วิจัยหนังสือหายากเป็นหลักและมีเอกสารประเภทอื่นๆรองลงไปเพื่อให้ในเครือข่ายมีเอกสารในแนวทางเดียวกันไม่เปะปะกันเกินไป 2. ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละแห่งเพื่อจะได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติงานซึ่งกันและกัน
3. เอกสารที่จัดเก็บในรูปอิเล็กทรอนิกส์ควรมีการปรึกษากันในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างถ่องแท้เพราะแต่ละแห่งก็จัดเก็บตามความสามารถแต่อาจยังไม่ได้คำนึกถึงเรื่องลิขสิทธิ์อาจมีการนำนิติกรเพื่อช่วยให้แนวทางในด้านลิขสิทธิ์ของข้อมูลที่นำมาจัดทำ 4. ให้กำหนดชนิดของ electronic files ให้เหมือนกันทุกแห่ง 5. ในการจัดเก็บและเผยแพร่เอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ควรทำลายน้ำด้วยทุกระเบียนที่เป็น Full Text ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย/สถาบันนั้นๆที่เผยแพร่ 6. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการจัดทำ Digital Collection เพิ่มขึ้นตลอดจนให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดจ้างบุคลากรชั่วคราวในการจัดเตรียมข้อมูลและนำข้อมูลเข้า
7. น่าจะมีกฎหมายในระดับชาติเพื่อให้สามารถเผยแพร่และใช้ข้อมูลร่วมกันได้เช่นวิทยานิพนธ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย 8. หากเป็นนโยบายการจัดเก็บและเผยแพร่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์สกอ.ควรดำเนินการกำหนดนโยบายด้านการเผยแพร่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทที่จำเป็นต้องใช้สืบค้นร่วมกันเช่นวิทยานิพนธ์เป็นต้นจากสกอ.โดยตรงและมอบหมายให้ทุกมหาวิทยาลัยดำเนินการเพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งที่อาจประสบปัญหาด้านลิขสิทธิ์การเผยแพร่ของมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุมัติการดำเนินการจากมหาวิทยาลัยอีก 9. ควรจัดตั้งงบประมาณกลางเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้งบในการจัดทำ 10.มีความร่วมมือร่วมกันอย่างจริงจังในทุกส่วนทุกมหาวิทยาลัยในการจัดทำ
11. มีการคุยกันในระดับบริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องลิขสิทธิ์และการเผยแพร่ • ขณะนี้ห้องสมุดไม่ได้รับความชัดเจนในการวางแผนการดำเนินงานในส่วนที่ เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆที่ไม่ใช่หนังสือหรือวิทยานิพนธ์เนื่องจากปัญหาการกำหนดใช้มาตรฐานการลงรายการสิ่งพิมพ์คณะกรรมการควรพิจารณาหาแนวทางแก้ไข • ห้องสมุดทุกแห่งควรมีนโยบายการเผยแพร่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถใช้ได้ทั้งหมดร่วมกัน • ขณะนี้โปรแกรมไม่สามารถเช็คสถิติผู้เข้าใช้บริการฐานข้อมูล full text ได้ทำให้ไม่แน่ใจว่ามีการใช้มากน้อยแค่ไหน • เห็นควรให้มีการเผยแพร่ข้อมูลในระบบ Digital Collection เหมือนกันทุกมหาวิทยาลัยเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการใช้ข้อมูลร่วมกันอันจะเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาและการศึกษาวิจัยของทุกสถาบันที่ร่วมโครงการ
การสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นภาระที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องดำเนินการอยู่แล้วดังนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งต้องมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจนเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ThaiLIS ควรกำหนดกรอบหรือทิศทางการดำเนินงานให้ชัดเจนเพื่อที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะได้นำกรอบหรือทิศทางนี้ไปบรรจุไว้ในแผนการดำเนินงานเนื่องจากในปัจจุบันทุกองค์การต้องได้รับการประเมินประสิทธิผลองค์การอย่างเป็นรูปธรรมฉะนั้นผู้บริหารต้องการข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อนำไปบูรณาการแผนและต้องคิดล่วงหน้าสำหรับ การดำเนินงานในขั้นต่อๆไปด้วย • ควรหารือเรื่องลิขสิทธิ์วิทยานิพนธ์หรือเอกสารที่เป็นของมหาวิทยาลัยในที่ประชุมคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยหรือที่ประชุมอธิการบดีเพื่อให้มีการแสวงหาทางออกร่วมกันเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงนำมาหารือในกลุ่มงานของ ThaiLIS อีกครั้งไม่ใช่ปล่อยให้แต่ละมหาวิทยาลัยไปดำเนินการเองเพราะอาจเป็นไปได้ว่าบางมหาวิทยาลัยอาจยังไม่ตัดสินใจแต่ให้ศึกษาจากการดำเนินงานของที่อื่นก่อนหรือเลื่อนไปดำเนินการเมื่อพร้อมมีผลให้ผู้ใช้บริการอาจไม่ได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์
การนำเสนอปัญหา และอุปสรรค แก่ประธานคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา • การที่มหาวิทยาลัย/สถาบัน บางแห่งไม่เปิดให้ มหาวิทยาลัย/ สถาบันอื่นใช้เอกสารฉบับเต็ม (Full text) • การทดกำลังคน และงบประมาณสำหรับดำเนินงานของห้องสมุดแต่ละแห่ง
การแก้ไข สกอ. ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน Record ละ 200 บาท
ผลผลิต ระยะที่ 1 จัดทำเอกสารประเภทวิทยานิพนธ์ได้จำนวน 12,000 Records รวมได้รับงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 2,400,000 บาท
ระยะที่ 2 ปี 2548 - การขยายการดำเนินงาน มหาวิทยาลัย/สถาบัน 24 แห่ง มหาวิทยาลัย ราชภัฎ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยสงฆ์ สถาบันเทคโนโลยีประทุมวัน
อุปสรรค - ไม่มี Hardware และ Software ข้อตกลง - ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานเป็นค่าตอบแทน Records ละ 200 บาท - จัดทำเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ เอกสารประเภทวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ งานวิจัย - กำหนดจำนวนการจัดทำสถาบันละ 1,000 Records - สถาบันที่เข้าร่วมจะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับต้องทำการเผยแพร่ให้สามารถใช้งานทรัพยากรร่วมกันบนเครือข่าย UniNet วิธีกาดำเนินงาน - คณะทำงานได้ขอให้นายจีระพล คุ่มเคี่ยม จากสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้ำพระนครเหนือพัฒนาโปรแกรม ระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น
การประสานงาน การแบ่งกลุ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางของหน่วยงานที่สังกัดในแต่ละกลุ่ม และกำหนดให้หน่วยงานที่อยู่ในเขตเดียวกันในแต่ละกลุ่ม ส่งข้อมูลแบบสอบถามไปยังผู้ประสานงานในหน่วยงานที่อยู่ในเขตเดี่ยวกันในแต่ละกลุ่ม ส่งข้อมูลแบบสอบถามไปยังผู้ประสานงานในกลุ่มที่สังกัดอยู่ โดยผู้ประสานงานเป็นผู้รวบรวมและจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาต่อไป โดยมีรายละเอียดของแต่ละกลุ่มดังนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แบ่งเป็น 9 กลุ่ม โดยมีผู้ประสานงานของแต่ละกลุ่ม ดังนี้
มหาวิทยาลัยราชภัฎ แบ่งเป็น 8 กลุ่ม โดยมีผู้ประสานงานของแต่ละกลุ่ม
กำหนดผู้แทนสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยสงฆ์ และสถาบันเทคโนโลยีประทุมวัน แห่งละ 2 ท่าน เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้านระบบ กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงาน และกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดทำเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยสงฆ์ และสถาบันเทคโนโลยีประทุมวัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภาคเหนือประกอบด้วย 1. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 2. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 4. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร 6. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 7. มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 8. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ทั้งนี้ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ได้ดำเนินการแบ่งรายชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบันตามเขตภูมิภาคแล้วเป็นดังนี้
มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครพนม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฎจัทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภาคกลาง ประกอบด้วย
ภาคใต้ ประกอบด้วย • มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช • มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต • มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา • มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา • มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ผู้ประสานงานจากสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ผู้ประสานงานจากสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา 1. นางสาวปิยะนุช ปรางค์มณี e-mail piyanuch@uni.net.th 2. นางสาวปัทมา บุนนาคe-mailpatama@uni.net.th 3. นางสาวชบาไพร ลออ e-mailchabapril@uni.net.th หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการ ThaiLIS ได้ที่เว็บไซด์ http://www.thails.or.th
ผลผลิต ปี 2548 (รวมมหาวิทยาลัย/สถาบัน 70 แห่ง) • จัดทำ วิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์/งายวิจัยฉบับเต็ม จำนวน 39,069 รายการ ใช้งบประมาณ (อัตราค่าตอบแทน 200 บาท : Record) 7,813,800 บาท • จัดทำบทความวารสารฉบับเต็ม จำนวน 13,969 รายการ ใช้งบประมาณ (อัตราค่าตอบแทน 50 บาท : Record) 698,450 บาท รวม 53,038 รายการ เป็นเงิน 8,512,250 บาท
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การทบทวนปัญหา อุปสรรค ร่วมกับ สกอ. 1. ทรัพยากรการให้บริการระบบจัดเก็บเอกสารในรูปอิเล็กทรอนิกส์ - การดำเนินการกับสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ แล้วไม่เปิดให้บริการเอกสารฉบับเต็ม (Full text) - การเปิดให้บริการแก่สาธารณะ (Public) ที่มิใช่สถาบันสมาชิก ThaiLIS * Full text เต็มรูปแบบ * ค้นได้เฉพาะ Metadata * ค้นได้เฉพาะ Metadata และสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ * ถ้าไม่ใช่สมาชิก ThaiLIS ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปิดใช้ Full text หรือไม่
2. การบริหารจัดการส่วนกลาง - ผู้บริหารห้องสมุดไม่ได้รับข้อมูล รายละเอียด/ขอบเขตการดำเนินงาน - ปัญหาการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน 3. การบริหารงาน - ยังไม่มีการมอบหมายผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบ และผู้ที่ทำหน้าที่สำรองข้อมูล 4. โปรแกรม - iKnowledge = สำหรับมหาวิทยาลัย 24 แห่ง - โปรแกรมที่พัฒนาโดยนายจีระพล คุ่มเคี่ยม สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎ / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล / มหาวิทยาลัยสงฆ์ และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 5. การบริการ -ปัญหาจากการใช้โปรแกรม 2 ระบบ ทำให้ผู้ใช้ต้องค้น 2 ครั้ง 6. การตรวจสอบ Metadata และ Object 7. การเปลี่ยน IP ของแต่ละสถาบัน
โมเดลความร่วมมือ ให้คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย 1. ที่ปรึกษา 2. ผู้แทนเลือกจาก node ต่าง ๆ ในภูมิภาค 3. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ และข้อมูล
ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ N1 N1 N1 ที่ปรึกษา N1 N1 N1
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตัวแทน Node ต่าง ๆ • หน่วยงานนั้นต้องมีความพร้อมทางด้านบุคลากร • เครือข่ายของสถาบันนั้นจะต้องดี มั่นคง รวดเร็ว • ต้องสามารถให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาการใช้งานทั้ง 2 ระบบ • ต้องติดตามงานของสถาบันในกลุ่ม • บุคคลนั้นต้องรับอนุมัติจากสถาบัน