500 likes | 1.79k Views
สถาบันการเงิน. ความหมายของสถาบันการเงิน. สถาบัน การเงิน หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม
E N D
ความหมายของสถาบันการเงินความหมายของสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคนเราประกอบอาชีพมีรายได้เกิดขึ้น เขาย่อมมีอิสระที่จะนำรายได้นั้นไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคก็ได้ หรือจะเก็บออมไว้ในสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยงอกเงยก็ได้ และทางด้านการเงินของประเทศปกติก็จะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งมีรายได้แล้วต้องการจะเก็บออมไว้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเงินทุนไปประกอบธุรกิจของตน สถาบันการเงินจะเข้ามาเป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินแก่คนทั้ง 2 กลุ่มนี้ สถาบันการเงินจะระดมเงินออกจากประชาชนในรูปแบบต่างๆ กัน แล้วให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุนในกิจการของตน
หน้าที่ของสถาบันการเงินหน้าที่ของสถาบันการเงิน 1. เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ 2. ให้ความปลอดภัยและมั่นใจแก่เงินของผู้ออม 3. ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยในท้องถิ่นต่างๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก 4. จัดให้มีการกู้เงินประเภทต่างๆ 5. ช่วยให้การซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์มีสภาพคล่อง 8.2
ประเภทของสถาบันการเงินประเภทของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร
สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร 1. ธนาคารพาณิชย์ คือ ธนาคารและสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้สินเชื่อ การซื้อขายตั๋วแลกเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์จะจัดตั้งในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องใส่คำว่า "บริษัท" ไว้ในชื่อธนาคาร
การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ 1. การรับฝากเงิน 2. การกู้ยืม 3. การบริการอื่นๆ เช่น การโอนเงิน การเรียกเก็บเงิน การให้เช่าตู้นิรภัย
สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร 2. ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 2.1 ธนาคารออมสิน 2.2 ธอส. 2.3 ธ.ก.ส. 2.4 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 2.5 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2.6 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด มีวัตถุประสงค์คล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด คือ ระดมเงินออมโดยออกตราสารเครดิตหรือตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงินจากประชาชน 2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมเอกชน 3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมครัวเรือน
สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดินสร้างบ้านหรือผ่อนส่ง 5. บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้ สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย
สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 6. สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนเริ่มเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือชุมชน หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดในแนวเดียวกัน จัดทำขึ้นเพื่อออมทรัพย์และจัดทำหน่วยธุรกิจของกลุ่มตนเอง หรือชุมชน 7. โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินขนาดย่อม มี 3ประเภท คือ โรงรับจำนำเอกชน โรงรับจำนำของกรมประชาสงเคราะห์ โรงรับจำนำของเทศบาล ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลทั่วไป โดยรับจำนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลางประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง ธนาคารกลางเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในระยะแรกธนาคารกลางยังมีไม่มาก แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความยุ่งยากทางด้านการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจบทบาทของธนาคารกลางจึงได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยธนาคารกลางได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้ประเทศต่างๆ จัดตั้งธนาคารของตนเองขึ้นในหลายประเทศ ในประเทศไทยมีความคิดริเริ่มการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 แต่กฎหมายจัดตั้งธนาคารกลางของไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น
หน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย 1. ออกธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องรักษาทุนสำรองเพื่อดำรงเสถียรภาพแห่งเงินตรา 2. การเป็นนายธนาคารของรัฐบาลและตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล 3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ 4. การเป็นผู้รักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ 5. การเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายที่ธนาคารพาณิชย์จะพึ่งได้ทุกเวลา 6. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร 7. การเป็นผู้ควบคุมเครดิต 8. ดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 9. การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หน่วยครัวเรือน เป็นผู้นำปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ไปให้หน่วยธุรกิจเพื่อนำไปสูกระบวนการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ โดย หน่วยธุรกิจ จะให้ค่าตอบแทนแก่หน่วยครัวเรือนในรูปค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร เมื่อ หน่วยธุรกิจได้รับปัจจัยการผลิตมาก็จะทำการผลิตสินค้าและบริการ แล้วจำหน่ายสินค้าและบริการไปให้หน่วยครัวเรือน และรับเงินค่าขายสินค้าและบริการจากครัวเรือน หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อครัวเรือน ซื้อสินค้าและบริการ สินค้าและบริการจะไหลไปสู่ ครัวเรือน และรายได้จากการขายสินค้าจะไหลไปสู่หน่วยธุรกิจ เมื่อคนงานทำการขายแรงงานให้แก่ หน่วยธุรกิจ ปัจจัยการผลิตจะไหลไปสู่ หน่วยธุรกิจ โดยได้รับค่าจ้างจาก หน่วยธุรกิจ ไหลเวียนกลับมาสู่หน่วยครัวเรือน
หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ส่วนสถาบันการเงินจะเป็นตัวกลางในการระดมเงินออมจากผู้ที่มีเงินเหลือใช้ ได้แก่ ผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยการให้บริการรับฝากเงิน และเมื่อสถาบันการเงินระดมเงินออมได้แล้วก็จะนำเงินออมนั้นไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปจัดสรรให้แก่ผู้ที่ขาดเงินออมกู้ยืมเพื่อไปทำการค้าและประกอบธุรกิจ นั่นก็คือ เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องการเงินไม่ว่าจะไปใช้จ่ายหรือลงทุน ทั้ง 2 หน่วยนี้ก็จะมาใช้บริการหน่วยเศรษฐกิจที่เรียกว่า สถาบันการเงิน นั่นเอง