830 likes | 1.13k Views
History of Architecture Conservation. แนวคิดและทฤษฏีสากลในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม. เริ่มต้นด้วยแนวความคิดเรื่อง. Memorial. การอนุรักษ์ยุคเริ่มแรก ก่อน ค.ศ. 15.
E N D
แนวคิดและทฤษฏีสากลในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแนวคิดและทฤษฏีสากลในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม เริ่มต้นด้วยแนวความคิดเรื่อง Memorial การอนุรักษ์ยุคเริ่มแรก ก่อน ค.ศ. 15 The tomb of Darious the Great(late sixth century BC) is one of the four monumental tombs of Achaemenid kings built in rock in Naqsh-i-Rustam, close to Persepolis. Inscribed there is a prayer to God Ahuramazda for blessing the king’s good deeds, people and land
The broken right arm and leg of a monumental statue of Ramses II in the Great Temple of Abu Simbel were repaired by order of a successor keeping the original fragments in place, supported on simple stone blocks. 1244 BC
Pausanuis’s Description of Greece around AD 170 ได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของสถานที่ การทำลาย และสิ่งต่างๆที่หายไป เช่น the remaining wooden pillars of the house of Oenomausที่ถูกปกป้องและสงวนรักษาเป็น memorial
The Greek word for ‘monument’ was related to memory(mneme), a memorial Hadrian restored or rebuilt the Pantheon in a new form in the second century AD, he had an inscription placed on the front as if the building were still the construction by the first builder 150 years earlier.
The Age of Enlightenmentหลัง ค.ศ. 15 ถึง 18 Traditional Society Modern historical consciousness …………………………………………….
การสะสมของโบราณเกิดขึ้นในยุคช่วงต้นของ renaissance (ค.ศ. 14-17) สิ่งของเหล่านี้นอกจากจะเป็นโบราณวัตถุ ประติมากรรม ยังรวมไปถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างเช่น เสา และส่วนประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วย นักมนุษย์นิยมและศิลปินตลอดจนคนมีฐานะตางสะสมของต่างๆไว้ในพระราชวังหรือบ้าน เกิดความสนใจใคร่รู้เรื่องราวในอดีต ชื่นชมความงามทางศิลปะและแสวงหาของโบราณของกรีกและโรมัน จนต่อมาในค.ศ.16-17 จึงเริ่มเดินทางไกลกว่าเดิม มุ่งไปยังแหล่งอารยธรรมอื่นๆของโลกด้วย โดยเฉพาะในตะวันออกไกลและอียิปต์
Vitruvius เป็นนักเขียน สถาปนิก และวิศวกร ในสมัยโรมัน บทความของเขากลายเป็นพื้นฐานองค์ความรู้ที่ใช้อ้างอิงในการอนุรักษ์ในสมัยrenaissance De architectura
Leon Battista Alberti(1404-72) the first and one of the most influential of Renaissance writers on architecture เดินทางและศึกษาของโบราณในอิตาลี และอาศัยแรงบันดาลใจจากงานในอดีตของ Vitruvius เขาได้จัดทำข้อมูลและเทคนิคทางด้านสถาปัตยกรรมต่างๆไว้ และให้ความสำคัญกับการดูแลโบราณสถาน
Antonio AverlioFilarete(1400-1469) เป็นคนแรกที่เขียนตำราทางสถาปัตยกรรมเป็นภาษาอิตาลี โดยพยายามอธิบายการวางผังและแนวคิดของอาคาร โดยมีความคิดว่าอาคารมีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นหน้าที่สถาปนิกที่ต้องดูความต้องการของอาคารเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เขาได้สำรวจและซ่อมแซมอาคารในโรมโดยการสร้างอาคารให้มีความแข็งแรง เสริมโครงสร้าง ซึ่งทำให้มีการเกิดรูปแบบอาคารสมัยใหม่รวมกับสมัยเก่าทำให้ถูกวิจารณ์อย่างมากในภายหลัง
Giorgio Martini(1439-1501) ได้เขียนตำราโดยอ้างอิงจากงานVitruviusได้วัดสัดส่วนโครงสร้างคลาสสิคและบันทึกความเสียหายที่ถูกทำลาย มีการจินตนาการเพิ่มเติมถึงรูปแบบอาคารที่สมบูรณ์
ค.ศ.18 เป็นยุคสำคัญในประวัติศาสตร์การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดสมัยใหม่ (modern conservation) สิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ …………………………………………………………… ……………………………………………………………
The Grand tours The Grand Tour was the traditional trip of Europe undertaken by mainly upper-classEuropean young men of means. The custom flourished from about 1660 until the advent of large-scale rail transit in the 1840s, and was associated with a standard itinerary. It served as an educational rite of passage. Though primarily associated with the British nobility and wealthy landed gentry, similar trips were made by wealthy young men of ProtestantNorthern Europeannations on the Continent, and from the second half of the 18th century some South American, United States and other overseas youth joined in. The tradition was extended to include more of the middle class after rail and steamship travel made the journey less of a burden, and Thomas Cook made the "Cook's Tour" a byword.
การออกแสวงหาและสะสมของโบราณของยุโรป(Antiquarianism) และการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อเสาะหาวัตถุดิบทรัพยากรใหม่ๆเพื่อตอบสนองความสนใจใคร่รู้โดยเฉพาะโรมัน …………….. ……………..
Impact of the Grand tours The Grand Tour ทำให้เกิดการค้นคว้าทางโบราณคดี มีการขุดค้นพบเมืองโบราณที่สำคัญเช่น ปอมเปอี วีซูเวียส สิ่งที่เป็นสัญญาณบ่งบอกสุนทรียภาพของศิลปะในมุมมองใหม่ๆได้แก่การเขียนภาพ landscape ที่มีฉากหลังเป็นซากโบราณสถานหรืออาคารเก่าๆ มีการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมโดยนำโบราณวัตถุ ชิ้นส่วนโบราณสถานมาประดับตกแต่ง ทำให้เกิดมีการแสวงหาวัตถุโบราณจากพื้นที่ต่างๆมากขึ้น
Winckelmann and the restoration of aniquities Johann Joachim Winckelmann (1717-68) เกิดในตระกูลช่างทำรองเท้า ในstendal , Prussia มีโอกาสได้ศึกษางานสะสมวัตถุโบราณในDresden ซึ่งภายหลังทำให้เขาได้พิมพ์essay on Greek art ในปี 1755 และภายหลังเมื่อเขาได้เดินทางไปโรมได้กลายเป็นบรรณารักษ์ของ Cardinal Albaniและในปี 1763 เขาได้เลือกเป็น the chief of commissioner of Antiquities ในโรม
ความสำคัญของ Winckelmann Ideal beauty Work of art เป็นผู้ที่ใช้……………………………… ในการศึกษาและให้คำจำกัดความของ วัตถุโบราณ และใช้ความเข้าใจเหล่านี้ในการประเมินในแง่ประวัติศาสตร์และความเป็นศิลปะ ซึ่งด้วยงานของเขา และผลงานที่ตีพิมพ์ ทำให้ถูกเรียกว่า Father of archaeology
Ideal beauty Winckelmann มีหลักการในการประเมิน work of art โดยการใช้ ideal beauty แนวความคิดนี้อิงอยู่บนแนวคิดปรัชญาของ Neoplatonicและอยู่ภายใต้ความคิดของ Raphael และ Michelangelo ในความคิดของเขางานสมบูรณ์ในรูปแบบนี้จะพบใน Greek sculptures ‘the highest beauty is in God, and the concept of human beauty is the more complete the nearer and the more in agreement it can be thought to be the highest being’ Ideal beauty แสดงออกผ่านธรรมชาติ และด้วยงานGreek เองWinckelmann คิดว่าเป็นกลุ่มชนที่มีความสวยงามเป็นพิเศษ ไม่มีการเจ็บป่วย เป็นอิสระทั้งกายและจิตวิญญาณ คนหนุ่มสาวคุ้นเคยกับการออกกำลังกาย และมักจะเปลือยในที่สาธารณะหรือมักใส่เสื้อผ้าเบาบาง จุดนี้เองทำให้ศิลปิน มีโอกาสอันวิเศษในการเลือกและสังเกตความงามอันเป็นหนึ่ง ซึ่งWinckelmannกล่าวว่า ‘this is the way to universal beauty and to ideal pictures of it, and this is the way the Greeks have choosen’ซึ่งงานศิลปะเหล่านั้นสะท้อนภาพจาก the art of God ในศตวรรษที่ 18อ้างอิงจาก Winckelmann โอกาสคล้ายคลึงกันในการสำรวจดังนี้ไม่มี ดังนั้นจึงเป็นการง่ายกว่าที่ศึกษาผ่านงานGreek master pieces มากกว่าการศึกษาจากธรรมชาติโดยตรง รวมถึงเขายังเชื่อว่าการเข้าถึงความงามเหล่านี้สามารถทำได้โดยการเลียนแบบยุคเก่า
Works of art The History of Ancient Art ตีพิมพ์ในปี 1764 เป็นหนังสือที่ให้ความเข้าใจในการสังเกต classical works of art ซึ่งมีอิทธิพลภายหลังต่อความเข้าใจในคำว่า restoration ที่ใช้ในงานอนุรักษ์ โดย Winckelmann มีแนวคิดว่างานศิลปะGreekมีความงามในแบบสมบูรณ์เมื่อมีการซ่อมแซมก็ไม่ควรนำวัสดุใหม่ๆมาใช้ให้มากเกินไป หรือควรจะทิ้งไว้ในรูปแบบนั้น
The muscular body of the Torso of Belvedere was admired by many, including Michelangelo and Winckelmann. It was one of the statues to remain unrestored เป็นตัวอย่างหนึ่งในความเข้าใจเรื่อง work of art ของ Winckelmann
การอนุรักษ์ในศตวรรษที่ 19 ตะวันตกได้เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเต็มตัว และมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเต็มตัว ในขณะที่ความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกำลังเฟื่องฟูอยู่นั้น ทางด้านศาสนจักรกลับทรุดโทรม เนื่องจากความเสื่อมถอยของความเชื่อและความศรัทธาในศาสนจักร หากนิยมความจริงที่เป็นเหตุเป็นผลในทางวิทยาศาสตร์แทน ในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาแนวคิดด้านการอนุรักษ์ที่มีความขัดแย้งกันสองแนวทางและกลายเป็นรากฐานของงานอนุรักษ์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน
Stylistic restoration(1830-1870) เมื่อใก้ลจะถึงครึ่งแรกของศ.ที่ 19 ความชื่นชมความงามแบบ romantic ใน historic monuments ถูกทำให้กระชับมากขึ้นผ่านการพัฒนามุมมองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ การดูแลรักษาอาคารประวัติศาสตร์ ได้มีการสนับสนุนจากแนวคิดประวัติศาสตร์นิยมในสมัยนั้น มีเหตุการณ์ที่ต้องพิจารณาคือในยุคนี้มีการเพิ่มขึ้นของประเทศในแถบยุโรป(เกิดการแยกตัวออกเป็นประเทศอิสระ) ทำให้มีการแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า …………………………………ซึ่งใช้ในการแสวงหาความเป็นตัวตนของชาติ ทำให้เกิดการบูรณะงานที่มีรูปแบบเหมาะสมและสามารถฉายภาพความสำเร็จของการเป็นชาติของแต่ละประเทศ โดยมีการเริ่มต้นจาก อังกฤษ และPrussia การบูรณะของอาคารยุคกลาง มีการให้เหตุผลของการบูรณะที่เรียกว่า stylistic unityโดย……………………ของประเทศฝรั่งเศส
เออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค (Eugène Viollet-le-Duc,) (27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอเลต์-เลอ-ดุคเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น
La Madeleine de Vezelay La Notre dame de Paris
ลักษณะงานปฏิสังขรณ์ เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1830 ฝรั่งเศสก็เริ่มทำการบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอเลต์-เลอ-ดุคผู้เพิ่งกลับจากการเดินทางศึกษาในอิตาลีในปี ค.ศ. 1835 ได้รับการว่าจ้างโดยนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีพรอสแพร์ เมอริมีให้ทำการบูรณะ…………………….ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตการทำการบูรณปฏิสังขรณ์อันยาวนานของวียอเลต์-เลอ-ดุค งานบูรณปฏิสังขรณ์……………………เป็นงานที่สร้างชื่อเสียงระดับชาติให้แก่วียอเลต์-เลอ-ดุค งานชิ้นสำคัญๆ อื่นก็ได้แก่มงต์-แซงต์-มีแชล, คาร์คาโซน, ปราสาทโรเคอเทลเลด และ ปราสาทปิแยร์ฟงด์ งาน “บูรณปฏิสังขรณ์” ของวียอเลต์-เลอ-ดุคมักจะรวมความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์เข้ากับการเสริมแต่งอย่างสร้างสรร เช่นภายใต้การอำนวยการของวียอเลต์-เลอ-ดุคในการบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส ไม่แต่จะทำความสะอาดและบูรณะเท่านั้นแต่วียอเลต์-เลอ-ดุคได้ทำการ “ปรับปรุง” (update) ที่ทำให้ได้รับหอเพิ่มขึ้นอีกหอหนึ่ง (ที่มีลักษณะเป็นมณฑป) นอกไปจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำคือการบูรณปฏิสังขรณ์เมืองล้อมด้วยกำแพงคาร์คาโซนซึ่งวียอเลต์-เลอ-ดุคก็ใช้การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตามแนวเดียวกัน
อิทธิพลต่อการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์อิทธิพลต่อการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีของการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ (historic preservation) …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้เมื่อมีการกล่าวถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างหรือภูมิทัศน์ สิ่งที่สูญหายไปในอดีตไม่สามารถที่จะเรียกกลับคืนมาได้ แต่การที่จะทิ้งให้สิ่งก่อสร้างทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลาเพื่อที่จะรักษา “สถานะภาพปัจจุบัน” (status quo) ก็มิได้เป็นทฤษฎีที่สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์เช่นกัน การลอกชั้นต่างๆ ของประวัติศาสตร์ออกจากสิ่งก่อสร้าง ก็เท่ากับเป็นการลอกข้อมูล และ คุณค่าที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันการเพิ่มเติมงานใหม่เช่นที่ทำโดยวียอเลต์-เลอ-ดุคก็เป็นการช่วยให้ผู้ชมงานได้มองเห็นภาพของประวัติศาตร์ที่มีชีวิตชีวาขึ้น
วียอเลต์-เลอ-ดุคถือกันโดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนว่าเป็นนักทฤษฎีคนแรกของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปนิกชั้นนำชาวอังกฤษจอห์น ซัมเมอร์ซันกล่าวว่า “ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมยุโรปมีนักทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่สองคน—ลีออน บาตติสตาอัลเบอร์ติ และ เออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค”[4] ทฤษฎีสถาปัตยกรรมของวียอเลต์-เลอ-ดุคส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุที่ใช้กับรูปทรงที่เหมาะสมกับวัสดุ และการใช้รูปทรงดังว่านี้ในการสร้างสิ่งก่อสร้าง หัวใจของทฤษฎีของวียอเลต์-เลอ-ดุคอยู่ที่การใช้วัสดุอย่าง 'ไม่บิดเบือน' (honestly) วียอเลต์-เลอ-ดุคเชื่อว่ารูปลักษณ์ภายนอกของสิ่งก่อสร้างควรจะสะท้อนให้เห็นถึงการก่อสร้างอย่างมีหลักการของสิ่งก่อสร้าง (rational construction) ใน “ข้อคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม” วียอเลต์-เลอ-ดุคสรรเสริญการก่อสร้างเทวสถานกรีกว่าเป็นการก่อสร้างอันเป็นหลักการที่เป็นตัวอย่างอันดีของการก่อสร้างสถาปัตยกรรม ตามความเห็นของวียอเลต์-เลอ-ดุค “สถาปัตยกรรมกรีกคือตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและรูปลักษณ์ภายนอก”[5] แต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าทฤษฎีดังกล่าวมีอิทธิพลโดยตรงจากบทเขียนของจอห์น รัสคินผู้เป็นผู้สนับสนุนทฤษฎีของความเที่ยงตรงในการใช้วัสดุที่เป็นหนึ่งในหลักอันสำคัญเจ็ดประการของสถาปัตยกรรม ในโครงการสิ่งก่อสร้างใหม่หลายโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จ วียอเลต์-เลอ-ดุคใช้ทฤษฎีที่มาจากสถาปัตยกรรมกอธิคโดยการใช้ระบบการก่อสร้างตามหลักการในการก่อสร้างโดยใช้วัสดุการก่อสร้างสมัยใหม่เช่นเหล็กหล่อ, นอกจากนั้นก็ยังหันไปหาวัสดุธรรมชาติเช่นใบไม้ และ โครงกระดูกสัตว์ในการเป็นแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะปีกค้างคาว ซึ่งเป็นอิทธิพลที่สะท้อนให้เห็นในการก่อสร้างโครงการหอประชุม
งานบูรณปฏิสังขรณ์เช่นที่ปราสาทปิแยร์ฟงด์เป็นงานที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเป็นอันมาก เพราะวียอเลต์-เลอ-ดุคมิได้มีจุดประสงค์ในการสร้างใหม่ให้เที่ยงตรงต่อความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นการสร้างเพื่อให้ได้สิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะที่เป็น………………………………………………………………………………………… สถาปนิกชาวคาตาลันอันโตนี กอดีได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคของวียอเลต์-เลอ-ดุค.
งานวาดโครงเสาค้ำยันเหล็ก (trusswork) ของวียอเลต์-เลอ-ดุคเป็นงานวาดที่ล้ำยุค งานออกแบบหลายอย่างของวียอเลต์-เลอ-ดุคเป็นงานที่ต่อมามามีอิทธิพลต่อขบวนการอาร์ตนูโวโดยเฉพาะในงานของเอ็คเตอร์ กุยมาร์ด ที่งานมามีอิทธิพลต่อสถาปนิกอเมริกันต่อมาที่รวมทั้งแฟรงค์ เฟอร์เนสส์, จอห์น เวลล์บอร์น รูท, หลุยส์ ซัลลิแวน และแฟรงค์ ลอยด์ ไรต์
The Conception of Stylistic restoration ตลอดช่วงปี1840s มีการโต้เถียงถึงหลักการของ restoration อย่างต่อเนื่อง รวมถึงว่าการทำrestoration ควรทำไปถึงขั้นไหน การอนุรักษ์ซ่อมแซมส่วนเสียหายตามช่วงเวลาควรทำหรือไม่ มีบางส่วนเห็นด้วยกับการอนุรักษ์ (conservation) และบางส่วนเห็นด้วยกับการrestoration ในระดับfull-scale ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นจากงานของ Viollet-le-Duc ใน หนังสือ Dictionnaire raisonné de l'architecture française du XIe au XVIe siècle ที่เขาเขียนนิยามของคำว่าrestoration ดังนี้ ‘The term Restoration and the thing itself are both modern. To restore a building is not to preserve it, to repair, or to rebuild it; it is to reinstate it in a condition of completeness which may never have exited at any given time’ Modern restoration อ้างอิงจาก Viollet-le-Duc มีการเริ่มฝึกหัดตั้งแต่ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 19 โดยหลักการของ restoration กล่าวว่า ทุกๆอาคารและทุกๆส่วนของอาคารควรจะมีการบูรณะในรูปแบบของตัวเอง ไม่เพียงแต่รูปร่างภายนอกแต่ควรบูรณะไปถึงโครงสร้างของอาคาร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
Architecture, according to Viollet-le-Duc, was not and art of imitation, but a production by man. Forms an proportions existed in the universe, and it was man’s task to discover them and to develop the principles of construction according to the requirements of this cultural context. The style resulted from the harmony that man’s intellect was able to create between the forms, the means, and the object; ‘the style is the illustration of an ideal based on a principle’
Conservation รูปแบบการอนุรักษ์แบบที่สองคือ …………………………….(1850-1870) เกิดจากการซ่อมแซมวิหารกอธิกจำนวนมากในยุโรปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบเดิมไป(อันเนื่องมาจากการอนุรักษ์) จึงทำให้เกิดแนวคิดแบบ …………………………..ขึ้นมา โดยมีแนวคิดว่าควรเคารพโบราณสถานในรูปแบบที่เป็นอยู่ โดยเชื่อว่าโบราณสถานแม้เป็นซากปรักหักพัง ก็ยังมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งแสดงถึงกาลเวลาที่ส่งผ่านจากอดีตถึงปัจจุบันของตัวโบราณสถานเอง ทำให้เกิดแนวความคิดเทิดทูนบูชาโบราณสถาน การอนุรักษ์จึงควรอนุรักษ์ในรูปแบบที่มันเป็นโดยว่าการเข้าดูแลให้น้อยที่สุดคือการอนุรักษ์ที่ดีที่สุด
หัวใจของmodern conservation คือการการตระหนักถึงความเข้าใจใหม่ในประวัติศาสตร์ และผลของการรับรู้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม Winckelmann ตระหนักถึงความสำคัญของประวัติความเก่าของ work of art ในขณะที่ยุคนั้นยังคิดวนเวียนอยู่ในเรื่องประเพณี แนวทางอนุรักษ์สมัยใหม่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นอีกในยุคของ Romanticism จนมาถึงยุคของ Ruskin ที่มุ่งตรงไปที่การวิพากษ์วิจารย์ในความนิยมการอนุรักษ์แบบ Stylistic Restoration
John Ruskin’s conservation principles กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการอนุรักษ์ วิจารย์สถาปนิกด้านการอนุรักษ์ว่าทำลายความจริงแท้(authenticity)ของประวัติศาสตร์อาคาร John Ruskinเป็นหัวหอกของการเคลื่อนไหวเหล่านี้ และประสบความสำเร็จในการทำให้คำว่า…………………ในภาษาอังกฤษมีความหมายในแง่ลบ และในภายหลังคำนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยคำว่า ……………………………..
John Ruskin(1819-1900) was the leading English art critic of the Victorian era, also an art patron, draughtsman, watercolourist, a prominent social thinker and philanthropisเกิดในตระกูลร่ำรวย ในสมัยเด็กๆใช้เวลาไปกับการอ่านไบเบิล และสอดคล้องกับความต้องการครอบครัวที่ให้เขาเป็นบิชอป แต่ตอนหลังJohn Ruskin หันไปสนใจงานเขียนและกลายเป็นนักปรัชญาและนักทฤษฏีที่มีชื่อเสียง
งานเขียนที่มีชื่อเสียงของ Ruskinและมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในวงกว้างคือ …………………………………….แต่งานเขียนนี้ไม่ได้เป็นทฤษฏีการอนุรักษ์แต่ประการใด ในหนังสือเล่มนี้เพียงให้หลักการในการให้คุณค่าและความสำคัญของวัตถุโบราณและอาคารประวัติศาสตร์ สิ่งที่สำคัญคือการให้คุณค่ากับอาคารประวัติศาสตร์ที่Ruskin สามารถบรรยายได้อย่างชัดเจนกว่านักอนุรักษ์ทุกคนที่ผ่านมา ในหนังสือเล่มนี้Ruskin ให้หลักการเจ็ดประการคือ sacrifice, …….., power, beauty, life, …………, and obedience
Ruskin เชื่อว่า การบูรณะ(Restore) อาคารประวัติศาสตร์ หรือ work of art แม้ว่าจะมีความซื่อสัตย์เพียงใด แต่ในทุกๆกรณีศึกษา จะแสดงให้เห็นถึงการสร้างใหม่(reproduction) ของรูปทรงแบบเก่าในวัสดุใหม่ และดังนั้นมันจึงเป็นการทำลายความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของงานที่แท้จริง(authentic work)
Ruskin ได้แสดงความชัดเจนในแนวคิดไว้ในหนังสือ The seven lamps of Architecture ดังนี้ การปฏิสังขรณ์คือการทำลายล้างที่รุนแรงที่สุดที่อาคารหลังหนึ่งจะประสบได้ เป็นการพังทลายที่ไม่สามารถรวบรวมเอาเศษเล็กเศษน้อยได้ เป็นการทำลายที่ร่วมด้วยการแสดงหลักฐานเทียมที่ถูกทำลายไป อย่าให้พวกเราหลอกตัวเองในปัญหานี้เลย มันเป็นไปไม่ได้ที่จะฟื้นสิ่งที่ตายแล้ว เช่นเดียวกับการสร้างสิ่งที่เคยเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่หรือสวยงามให้กลับคืนมา วิญญาณที่ถูกสร้างโดยฝีมือและสายตาของช่างไม่สามารถที่จะเรียกคืนมาได้ วิญญาณอื่นอาจถูกสร้างได้โดยกาลสมัยอื่น และมันคืออาคารใหม่ แต่วิญญาณของช่างที่ตายแล้ว ไม่สามารถถูกเรียกหรือบังคับให้คืนมาสู่มืออื่น และสมองอื่น แม้ว่าจะเป็นเพียงการลอกเลียนแบบธรรมดาๆเพียงแต่การลอกเลียนแบบผิวนอกของอาคารที่หนาเพียงครึ่งนิ้ว ความเป็นของแท้ของงานทั้งหมดก็คือผิวนอกครึ่งนิ้วที่หายไปถ้าท่านพยายามปฏิสังขรณ์ผิวนอกเท่านั้น ท่านทำได้เพียงแต่สร้างของเทียมเท่านั้น ถึงแม้ท่านจะลอกเลียนของเก่าได้เหมือน มันจะดีกว่าของเดิมไปได้อย่างไร คุณค่าของเส้นสายที่อ่อนโยน ที่กาลเวลาอันยาวนาน สายฝน และแสงอาทิตย์ได้สร้างขึ้น ซึ่งงานสลักใหม่อันแข็งกระด้างไม่มีทางทำได้ อย่าให้เราพูดถึงวิธีการปฏิสังขรณ์เลย วิธีการนี้เป็นวิธีการที่หลอกลวงตั้งแต่ต้นจนจบ
ให้ความเอาใจใส่ที่สมควรแก่โบราณสถานแล้ว ท่านไม่ต้องปฏิสังขรณ์มัน หมั่นดูแลกระเบื้องหินชนวนในที่ของมันบนหลังคา กวาดเศษใบไม้ไม่ให้อุดท่อระบายน้ำ ก็จะรักษาหลังคาและกำแพงโบราณสถานให้รอดพ้นการเป็นซากปรักหักพัง นับก้อนหินบนโบราณสถาน เหมือนท่านนับเพชรบนมหามงกุฎแห่งพระราชา เฝ้าระวังมันเหมือนกับระวังประตูเมืองที่ถูกศัตรูปิดล้อม ที่ใดที่มันหลุดแยกยึดมันเข้าด้วยเหล็กหรือไม้ อย่ากังวลกับรอยซ่อมที่จะต้องปรากฏ ไม้เท้าย่อมดีกว่าแขนขาที่ขาดหาย แต่จงทำอย่างนิ่มนวล เคารพต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ และมันจะอยู่ให้ร่มเงาแก่มวลมนุษย์ที่เกิดและตายจาก
Ruskin มีความกลัวว่าอุตสาหกรรมจะทำให้มนุษย์แปลกแยกจากความสุขในงาน และผลของมันทำให้งานเกิดความว่างเปล่า ไร้ชีวิตชีวา และไม่มีความเสียสละทุ่มเทในงาน
Development of conservation policies in England Ruskin นำเสนอสมาคมและสมาชิกที่คอยรายงานภาวะของอาคารประวัติศาสตร์ทั้งประเทศ และเงินทุนสำหรับดูแลที่ดินเหล่านั้น หรือคอยช่วยและให้คำปรึกษาเจ้าของในการดูแลรักษา โดยในตอนเริ่มต้นRuskin ให้เงินจำนวน 25 ปอนด์ในการเริ่มต้น และเป็นจุดเริ่มต้นของ ……………………………………….ที่ได้รับการช่วยเหลือก่อตั้งภายหลังโดย William Morris
สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับหลักการของRuskinดังเช่นในปี 1854 ที่ Henry Dryden ที่ได้โต้แย้งว่า แม้ว่าเขาจะเห็นด้วยกับแนวคิดของRuskin หากแต่โบสถ์หรืออาคารบางหลังยังเป็นโบราณสถานที่ยังมีชีวิต(living monument) ซึ่งยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอาคาร ซึ่งจุดนี้ทำให้Drydenแย้งว่าหลักการของ Ruskin ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับอาคารประเภทนี้
William Morris and SPAB The Society for the Protection of Ancient Buildings ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1877 ซึ่งมีผู้ร่วมก่อตั้งที่สำคัญหลายคนในจำนวนนั้นคือ John Ruskin และ Morris ที่ถูกเลือกขึ้นเป็นเลขาของสมาคม ซึ่งสมาคมมีบทบาทสำคัญในการรวมพลังต่อต้านการบูรณะที่ขาดความรู้แจ้ง (conjectural restoration) สนับสนุนการบำรุงรักษา และดูแลอนุรักษ์
สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักคือความสำคัญของ The Grand Tour ที่มีต่อการอนุรักษ์ในอังกฤษ เพราะทั้ง Ruskin และ Morris ได้ผ่านการเดินทางในลักษณะนี้และต่างลุ่มหลงในงานศิลปะและโบราณสถาน โดยRuskin ใช้เวลาในวัยหนุ่มไปกับการเดินทางท่องเที่ยวItaly และ Morris ท่องเที่ยวใน เบลเยี่ยมรวมถึงเดินทางไปศึกษาสถาปัตยกรรมกอธิกในทางเหนือของฝรั่งเศส
William Morris (24 March 1834 – 3 October 1896) was an English textile designer, artist, writer, and socialist associated with the Pre-Raphaelite Brotherhood and the English Arts and Crafts Movement. He founded a design firm in partnership with the artist Edward Burne-Jones, and the poet and artistDante Gabriel Rossetti which profoundly influenced the decoration of churches and houses into the early 20th century. As an author, illustrator andmedievalist, he is considered an important writer of the British Romantic movement, helping to establish the modern fantasy genre; and a direct influence onpostwar authors such as J. R. R. Tolkien. He was also a major contributor to reviving traditional textile arts and methods of production, and one of the founders of the Society for the Protection of Ancient Buildings, now a statutory element in the preservation of historic buildings in the UK.
จากการก่อตั้ง SPAB Morris ร่างกฎสมาคมที่เรียกว่า …………………… ซึ่งมีการกล่าวหาการบูรณะสมัยใหม่ว่าเป็นการทำตามอำเภอใจของสถาปนิก และในร่างมีใจความถึงอาคารโบราณสถาน โบราณวัตถุมีคุณค่าสูงเกินกว่าการที่เหล่าผู้มีการศึกษาทางศิลปะจะสามารถมาโต้แย้งได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่ต้องปกป้องและอนุรักษ์ กายภาย รวมถึงส่งต่อสู่คนรุ่นหลังด้วยการสอนสั่ง และเคารพ ซึ่งภายหลัง …………………… กลายเป็น พื้นฐานหลักการของmodern conservation มีสองสิ่งที่ต้องพิจารณาในหลักการการอนุรักษ์สมัยใหม่ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… The leading principles of SPAB were ‘conservative repair’ and ‘to save off decay bydaily care’
Influence of SPAB abroad นอกจากอังกฤษแล้ว SPAB มีอิทธิพลออกไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในการกระตุ้นให้เกิดสามารถในลักษณะเดียวกันและยังสนับสนุนการเข้าแทรกแซงโดยตรงของสมาคมในการอนุรักษ์โบราณสถาน ตัว Morris เองมีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาการออกแบบสมัยใหม่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ สมาชิกของ SPAB ได้รับความร่วมมือจากหลายๆประเทศ รวมถึงการออกมาต่อต้านการrestoration ที่กำลังได้รับการนิยมในขณะนั้น กรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ San Marco ในเวนิซ ซึ่งได้รับการต่อต้านโดย Morrisซึ่งยื่นเสนอlist รายชื่อผู้ต่อต้านนับพันรายชื่อ ท้ายสุดก็ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลอิตาลี และหยุดการบูรณะแต่ให้คำนึงถึงการดูแลรักษาอนุรักษ์แทน
Restaurofilologico Philological restoration แนวคิดนี้เริ่มมาจากคำจำกัดความในภาษาลาตินต่อคำว่าmonument ว่าเป็น คำอธิบายหรือ เอกสาร monument ในความหมายนี้ ถูกสร้างเพื่อส่งสาร หรือข้อความ และตัวข้อความนั้น เป็นข้อมูลสำหรับพิสูจน์ความจริงในประวัติศาสตร์ ซึ่งจะต้องไม่ถูกบิดเบือน หลังจากแนวคิดนี้ได้เริ่มมีการจดจำ แนวความคิดเรื่องข้อความ ได้ขยายออกไปนอกเหนือจากคำจำกัดความแค้คำอธิบายออกสู่โครงสร้างทางกายภาพที่สัมพันธ์กับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยแนวความคิดนี้มีการพัฒนาในมิลาน ประเทศอิตาลี และถูกทำให้ชัดเจนขึ้นโดย………………………………………………………………………………..
Boito เป็นชาวโรมันโดยกำเนิดแต่ภายหลังได้มาเป็นศาตราจารย์ในAcademy of fine Arts ในมิลาน ในการศึกษาด้านการอนุรักษ์ Boito ผ่านการฝึกในแบบStylistic restoration ดังนั้นในช่วงต้นแนวความคิดของBoitoจะมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์แบบฝรั่งเศส ในปี 1879 มีการนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ในอิตาลี โดยเป้าหมายเพื่อสนับสนุนระเบียบการอนุรักษ์ที่มีการแปลความหมายโดยใช้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณสถาน หลีกเลี่ยงการทำลายและความผิดพลาดที่ไม่จำเป็น การเปลี่ยนแปลงโบราณสถานจะอิงอยู่บนการตัดสินวิเคราะห์ว่าสิ่งใดควรอนุรักษ์ และสิ่งใดควรเอาออกไป การบูรณะหรือการสร้างใหม่ของส่วนที่สูญหายหรือเสียหาย จะยอมรับได้ในกรณีที่มีหลักฐานถึงรูปแบบเดิมอย่างชัดเจน หรือถูกพิสูจน์โดยความจำเป็นของความแข็งแรงทางด้านโครงสร้าง และในปี 1883Boitoได้นำเสนอข้อพิจารณาสำหรับการอนุรักษ์ ว่าควรหรือไม่ที่การบูรณะควรเลียนแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม หรือควรที่แสดงให้ชัดเจนว่าส่วนใดมีการเพิ่มเติม ซึ่งจากเอกสารใหม่นี้ Boitoได้แสดงแนวทางร่วมของการบรูณะแบบใหม่ โดยนำเสนอเกณฑ์สำหรับการเข้าแทรกแซงการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยหลักการนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของหลักการการอนุรักษ์แบบ ………………………………………
แนวคิดที่ Boito แสดงไว้ในปี 1883 มี 4 ข้อดังนี้คือ …………………………………………………….. …………………………………………………….. …………………………………………………….. ……………………………………………………..