1.18k likes | 2.77k Views
iECM เอกสารประกอบสัมมนาภายในบริษัท เรื่อง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน. สารบัญ. เรื่อง หน้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดัน 1. ชนิด 1
E N D
iECMเอกสารประกอบสัมมนาภายในบริษัทเรื่องเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน
สารบัญ เรื่อง หน้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดัน 1.ชนิด 1 2.วิธีพิจารณาเอกสารขออนุมัติใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเบื้องต้น 6 3.การตรวจสอบวัสดุเข้าหน่วยงาน 8 4.ข้อควรระวังในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 10 5.การทดสอบ และฟังก์ชั่นการทำงาน 17 ตัวอย่างแบบฟอร์มต่างๆ เอกสารแนบ (1) QA Check List (2) Test Report for Fire Pump (3) Submittal Data
ระบบการทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในเอกสารนี้ จะประกอบด้วย :- 1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง 2. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน 3. ตัวขับเคลื่อน 4. แผงควบคุมการทำงาน 5. อุปกรณ์ประกอบต่างๆ 1. ชนิด
ในระบบป้องกันอัคคีภัยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำ 2 ส่วนด้วยกัน คือ :- 1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) มีหน้าที่ในการสร้างแรงดันให้กับน้ำ เพื่อการใช้ งานในระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งมีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐาน และการทำงานที่อ้างอิง มาจากระบบป้องกันอัคคีภัย (NFPA 20) 2. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) มีหน้าที่เป็นเครื่องสูบน้ำรักษาความดันน้ำ ในเส้นท่อให้คงที่ ในกรณีที่มีแรงดันน้ำในเส้นท่อตกลงถึงจุดที่กำหนด 1. Horizontal Split Case Fire Pump 2. End Suction Fire Pump 3. Vertical Turbine Fire Pump 1. Regenerative Turbine Pump 2. Multi-Stage Vertical Centrifugal Pump ชนิดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ที่ระบุในเอกสารนี้ ได้แก่ :- ชนิดเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) ที่ระบุในเอกสารนี้ ได้แก่ :-
1. ชนิด (ต่อ) ตัวอย่าง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง End Suction Pump Horizontal Split Case Pump Vertical Turbine Pump
ตัวอย่าง เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน Regenerative Turbine Pump Multi-stage Vertical Centrifugal Pump
1. ชนิด (ต่อ) 3. ตัวขับเคลื่อน มีหน้าที่ขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำ โดยทั่วไปจะมีหลายชนิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ชนิดด้วยกัน คือ เครื่องยนต์ดีเซล และมอเตอร์ไฟฟ้า ดังภาพตัวอย่าด้านล่างนี้ Diesel Engine Electric motor เครื่องยนต์ ดีเซล มอเตอร์ไฟฟ้า
Horizontal Split Case Fire Pump และ End Suction Fire Pump เป็นที่นิยมใช้ในกรณีที่ห้องเครื่องอยู่ระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าถังน้ำ (Positive Suction Head) Horizontal Split-Case End Suction Electric Motor Driven Fire Pump Diesel Engine Driven Fire Pump
Vertical Turbine Fire Pump เป็นที่นิยมใช้ในกรณี ที่ห้องเครื่องอยู่ ระดับสูงกว่า ถังน้ำ (Suction Lift) 1. ชนิด (ต่อ) Vertical Turbine Fire Pump (Diesel Engine Driven Fire Pump)
เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) มีหน้าที่รักษาแรงดันของน้ำในระบบให้คงที่ โดยใช้ระบบควบคุมการเดินเครื่องอัตโนมัติ ตามที่ได้ตั้งค่าแรงดัน น้ำในระบบไว้โดยใช้อุปกรณ์ Pressure Switch ที่ติดตั้งอยู่ใน Controller Regenerative Turbine Pump Multi-stage Vertical Centrifugal Pump
1. ชนิด (ต่อ) 4. แผงควบคุมการทำงาน (Controller)ในที่นี้จะกล่าวถึงมี 2 แบบด้วยกัน คือ 1. แบบ Electric Fire Pump Controller สำหรับควบคุมการทำงานของมอเตอร์ ชนิด Low, Medium &High Voltage Type of Controller A). Direct on Line (D-O-L) B). Star-Delta C). Auto Transformer D). Solid State ....Etc. 2. แบบ Diesel Fire Pump controller ชนิด 12 Volt & 24 Volt สำหรับควบคุมการทำงาน ของเครื่องยนต์ ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปประกอบด้วย A). Dual Auto Battery Charger B). Alarm C). Pressure Switch D). Crank On Both Dual Battery E).Safety Shut Down F). Etc.... Electric Fire Pump Controller Diesel Engine Fire Pump Controller
5. อุปกรณ์หลักที่ใช้ประกอบในการติดตั้งระบบท่อน้ำของเครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง Main Relief Valve Flow Meter (Venturi) Globe Type Angle Type Enclose Waste Cone Automatic Air Vent Wafer Check Valve
1. ชนิด (ต่อ) 5. อุปกรณ์หลักที่ใช้ประกอบในการติดตั้งระบบท่อน้ำของเครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง (ต่อ) Butterfly Valve W/SS Pressure Gauge Flow Switch Supervisory Switch Pressure Snubber Gate Valve Outside Screw and Yoke Butterfly Valve With Supervisory Switch OS.&Y Gate Valve Globe Valve Needle Valve
วิธีพิจารณาเอกสารขออนุมัติใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเบื้องต้น • เมื่อผู้รับเหมาส่งเอกสารขออนุมัติใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน มาให้พิจารณาเพื่ออนุมัติ ผู้ควบคุมงานต้องพิจารณาเบื้องต้นก่อนส่งต่อให้ผู้ออกแบบ พิจารณาเพื่ออนุมัติขั้นสุดท้าย วิธีพิจารณาที่ควรปฎิบัติมีดังนี้ :- 1. ศึกษาตารางเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน พร้อมรายละเอียดเครื่องยนต์ หรือ มอเตอร์ไฟฟ้า และวิธีการ Start มอเตอร์ไฟฟ้า และรายละเอียดทางเทคนิค รวมทั้งรายชื่อผู้ผลิต ที่ระบุอยู่ในรายละเอียดข้อกำหนด (Specification) และแบบ 2. ส่วนประกอบหลักๆ ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน เช่น :- 2.1 ตัวเรือนเครื่องสูบน้ำ และโครงสร้างต่างๆ 2.2 ตัวขับเคลื่อน (เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า) 2.3 ข้อต่อ (Coupling) 2.
3. รายการข้อมูลที่ต้องพิจารณาให้ตรงกับเอกสารที่ระบุในข้อ (1) ข้างต้น 3.1ชื่อและประเทศผู้ผลิต (ทุกๆ ส่วนประกอบหลักที่ระบุข้างต้น) 3.2 ชนิด จำนวน และรุ่นที่เลือกใช้ 3.3 Fire Pump Curve จะเป็นแบบ Flat Curve (แบน) และ Shut-off head ไม่มากกว่า 140% ของ rated head และที่ 150% ของ Rated Flow จะต้องมี Pressure ไม่น้อยกว่า 65% ของ Rated head 4. มาตรฐานการผลิต ต้องได้รับการรับรอง หรือผลิตตามมาตรฐาน UL List /FM approved หมายเหตุ : สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง Rated head และ Rated Capacity ไม่ใช่ตำแหน่ง Best Efficiency point (BEP)บน Performance Curve Pump วิธีพิจารณาเอกสารขออนุมัติใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเบื้องต้น (ต่อ) 2.
ตัวอย่าง Pump Capacity Curve Pump Manufacture NFPA 20
วิธีพิจารณาเอกสารขออนุมัติใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเบื้องต้น (ต่อ) 2. ตัวอย่าง Pump Capacity Curve
1. ผลิตภัณฑ์ (ตามที่ได้รับการอนุมัติ) 2. รุ่น/ชนิด รูปร่าง เป็นไปตามที่ได้รับการอนุมัติ 3. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน 3.1. ชนิดของเครื่องสูบน้ำ รวมทั้งทิศทางการหมุน (ตามที่ได้รับการอนุมัติ ) 3.2. ลักษณะของตัวเครื่องสูบน้ำ (ตัวเรือนเครื่องสูบน้ำ, แหวนกันสึก, วัสดุชนิด ใบพัด และอื่นๆ) 3.3. อัตราการไหล (gpm หรือ m3/hr) และความดัน (ft หรือ m) 3.4. จุดเติมน้ำมันหล่อลื่น และจุดอัดจารบีที่ลูกปืนต่างๆ ที่ผู้ผลิตกำหนด 3.5. ขนาดถังน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ (ตามที่ได้รับการอนุมัติ) 3.6 จำนวน Battery / ชนิด / ขนาดแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า และสภาพ โดยรวมต้องไม่ชำรุดเสียหาย 3.7 การประกอบเครื่องสูบน้ำ ,ตัวขับเคลื่อน (เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า), ข้อต่อ บน Base Plate ต้องประกอบสำเร็จรูปจากโรงงานผู้ผลิต หรือไม่ (ดู Specification) การตรวจสอบวัสดุเข้าหน่วยงาน (Material on Site Inspection) 3. Battery Fuel Tank
4. ตู้ควบคุมสำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเครื่องยนต์ (Diesel Fire Pump Controller) จะต้องประกอบขึ้นมาเพื่อการใช้งานในระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งมีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐาน และการ ทำงานที่อ้างอิงมาจาก (NFPA 20) 4.1 ตรวจสอบ Name Plate แผงควบคุม ว่าเป็นไปตามเอกสารที่ได้รับการอนุมัติ 4.2 ตรวจสอบอุปกรณ์ภายนอก และภายในแผงควบคุมว่ามีจำนวน ครบตามรายการที่ได้รับการอนุมัติ การตรวจสอบวัสดุเข้าหน่วยงาน (Material on Site Inspection) 3. Battery Chargers Audible horn Alarm &Function LED’S Microprocessor Printer &Recorder LCD Display Crank Push buttons Push button (Stop) Input Terminal Block Relay Output board Solenoid Valve Pressure Transducer Diesel Fire Pump Controller
5. ตู้ควบคุมสำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และครื่องสูบน้ำรักษาแรงดันแบบไฟฟ้า (Electric Fire Pump Controller & Jockey Pump Controller) จะต้องประกอบ ขึ้นมาเพื่อการใช้งานในระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งมีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐาน และการทำงานที่อ้างอิงมาจากระบบป้องกันอัคคีภัย (NFPA 20) 5.1 ตรวจสอบชนิดของตู้ควบคุมว่าเป็นชนิด (Type of Controller) - Direct on Line - Star - Delta - Auto Transformer -Solid State ......., Etc 5. 2 ตรวจสอบอุปกรณ์ภายนอก และภายในแผงควบคุมว่ามี จำนวนครบตามรายการที่ได้รับการอนุมัติ Jockey Pump Controller Electric Fire Pump Controller
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) 4. 1. ฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก (Concrete Foundation) 1.1 ขนาดของฐานคอนกรีตต้องเหมาะสมกับขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และครื่องสูบน้ำ รักษาแรงดัน(ขนาดฐานจะมีความแตกต่างกันมากระหว่าง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า กับแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ กล่าวคือ แบบขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์ จะมีฐานใหญ่กว่า แบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพราะแบบขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์มีความหนัก และมีการ สั่นสะเทือนมากกว่า) 1.2 ฐานคอนกรีตจะต้องติดตั้งบนพื้นที่แข็งแรง และมั่นคง 1.3 Vertical Turbine Fire Pump ตำแหน่ง Pump เป็น Point Load เพราะมี Electric Motor หรือ Right Angle Gear ติดตั้งอยู่ด้านบน ควรตรวจสอบ โครงสร้างด้วย 1.4 Curb รอบถังน้ำมันต้องมีระดับความสูงพอ เพื่อให้ได้ พื้นที ในการกักเก็บน้ำมัน ในกรณีมีการรั่วไหลของน้ำมัน และ Curb ต้องมีความแข็งแรงพอ 1.5 ตรวจสอบ วิธีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับถังน้ำมัน Fuel Tank Vertical Turbine Fire Pump (Right Angle Gear) Vertical Turbine Fire Pump (Motor Drive)
1.6 ความสูงของฐาน /เครื่องสูบน้ำแบบ HorizontalSplit Case และแบบ End Suction ต้องสัมพันธ์กับท่อน้ำเข้า – ออก ส่วนเครื่องสูบน้ำ Vertical Turbine แบบเครื่องยนต์ ระดับ เครื่องสูบน้ำกับ เครื่องยนต์จะอยู่ต่างระดับกัน ต้องตรวจสอบระดับให้ละเอียดด้วย 1.7 ระยะติดตั้ง และขนาดสลักเกลียวยึดแท่นเครื่อง (J bolt หรือ Expansion bolt) 1.8 รางระบายน้ำด้านบนรอบฐานเครื่องพร้อมท่อน้ำทิ้ง (Drain) และ Sump ที่ฝังพื้น ต่อไปที่รางระบายน้ำ (Gutter) 1.9 วาวล์ทางดูด ต้องเป็น OS&Y Gate Valve และ ข้อลดก่อนเข้าเครื่องสูบน้ำ ต้องเป็นชนิดเยื้อง ศูนย์ (Eccentric)(ดูลำดับที่ 6 และ 7 ตามลำดับ) Horizontal Spilt Case Fire Pump Horizontal Split-Case Fire Pump Installationwith water supply a positive head. (ไม่ต้องมี)
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) (ต่อ) 4. Vertical Shaft Turbine Fire pump Installation in a wet pit.
ตัวอย่าง ติดตั้งตู้ Fire Pump &Jockey Pump แบบต่างๆ
2. ตรวจสอบการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน และอุปกรณ์ประกอบให้ถูกต้อง และครบถ้วนตามแบบทำงาน รวมทั้ง Typical Detail และ Piping Schematic Diagram ที่ได้รับการอนุมัติ แล้ว, รายละเอียดประกอบแบบ และเอกสาร อื่นๆ (ถ้ามี) 3. ตำแหน่งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ ต้องได้แนวศูนย์กลางเพลาของเครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง กับเพลาของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ 4. ถังน้ำมัน Diesel สำหรับจ่ายน้ำมันให้เครื่องยนต์ที่อยู่ในห้องเครื่อง จะต้องต่อท่อเติมน้ำมัน ที่สะดวกในการ เติม {แบบ Manual (Hand Pump)หรือแบบ Fuel Pump} และท่อระบายอากาศ (Vent Line) ต้องต่อออกสู่ ภายนอกอาคาร และระดับความสูงของถังน้ำมัน จะต้องได้ระดับกับเครื่องยนต์ หรือเป็นไปตามคำแนะนำ ของผู้ผลิตเครื่องยนต์ 5. อุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือน (ถ้ามี) เช่น สปริง หรือยางต้องเหมาะสม 6. พื้นที่รอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน ต้องมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง เพื่อตรวจสอบและซ่อมบำรุง ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) (ต่อ) 4.
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) (ต่อ) 4. Fire Pump System Piping Schematic Diagram
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) (ต่อ) 7. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดันไม่ควรตากแดดและฝน ควรอยู่ในอาคารและมี การระบายอากาศที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับด้วยเครื่องยนต์ (ดู NFPA 20) หาก จำเป็นต้องติดตั้งนอกอาคาร ควรให้มีแผงหลังคากันแดดกันฝน 8. เครื่องสูบน้ำควรอยู่ใกล้ระดับน้ำที่ต้องการดูด 9. ข้อต่อลดสำหรับท่อด้านดูดในแนวนอน ต้องเป็นแบบเยื้องศูนย์ด้านบนเรียบ (Eccentric) 10. ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องเป็นท่อเหล็กดำ (BSP)ห้ามใช้ท่อทองแดง หรือท่อสังกะสี (GSP) และการเดินท่อน้ำมันไปจ่ายให้เครื่องยนต์จะต้องมี Guard ป้องกันท่อตลอดแนว เพื่อป้องกัน ความเสียหาย (อ้างอิงจาก NFPA 20) และกรณีต่อด้วยเกลียว วัสดุเทปพันเกลียวต้องเป็นชนิดที่ เหมาะสมกับ น้ำมันเชื้อเพลิงด้วย • ท่อไอเสีย (Exhaust Pipe)จากเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ในกรณีที่ท่อเดินไกลๆ จะต้อง คำนวณขนาดท่อ เพื่อชดเชย Back Pressure ที่ตัวเครื่องยนต์ด้วย (โดยผู้ผลิต หรือตัวแทนจำหน่าย) 4.
Right and Wrong Pump Suctions. Horizontal Split Case Fire Pump Installation Tips Right Wrong Air pocket Turbulence Flow Suction Wrong Right Plan View Suction pipe Suction pipe Plan View x>10 D x<10 D Elevation View Elevation View
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) (ต่อ) 4. 12. ต้องติดตั้ง Automatic Air Vent พร้อม Valve ที่จุดสูงสุดเสมอ ไม่ว่าจะติดตั้งที่เส้นท่อ หรือบนเรือนปั๊ม 13. เกจ์วัดความดัน พร้อมท่อระบายน้ำต้องติดที่หน้าแปลนของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง 14. การติดตั้ง Tie Rod ของ Flexible Connector (ถ้ามี)ต้องเป็นไปตาม Typical Detail และ ข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (ส่วนใหญ่ Fire Pump จะไม่มี Flexible Connector จะมีเฉพาะ Jockey Pump) 15. หากมีท่อเติมน้ำ (Priming Pipe)ให้ตรวจสอบความถูกต้องของระดับท่อด้วย 16. การติดตั้งท่อน้ำด้านดูดในกรณีที่มีเครื่องสูบน้ำมากกว่า 1 เครื่อง และใช้ Header ร่วมกัน ซึ่งHeader จะมีขนาดใหญ่กว่าท่อด้านดูดเข้าเครื่องสูบน้ำแต่ละเครื่อง ที่Header จะต้องติดตั้ง Automatic Air Vent เพื่อป้องกัน Air Lock และควรใส่ Drain Valve ที่จุดต่ำสุดด้วย Automatic Air Vent 15
17. ตรวจสอบท่อด้านดูด และด้านส่ง ซึ่งต้องสอดคล้องกับทิศทางการหมุนของ ใบพัดเครื่องสูบน้ำและแบบทำงาน (Shop drawing) 18. ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้ง และจำนวนอุปกรณ์ประกอบท่อสำหรับ Pressure Sensing Line. (ต้องเป็นท่อทองแดงเสมอ) 19.ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Valve, Relief Valve, Flow Meter, Flexible Connector,การเชื่อมต่อสายไฟฟ้า, Supervisory Switch, Flow Switchและงานไฟฟ้าอื่นๆ
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (Installation Precaution) (ต่อ) 4. Flow Meter (Venturi) GPM METER VENTURI PACKAGE
ตัวอย่าง การติดตั้ง Flow Meter Annubar Type Annubar Flow Metter Venturi Flow Metter Venturi Type
ฟังก์ชั่นการทำงาน และการทดสอบ 5. • การทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบไฟฟ้า (Electric Fire Pump) จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ การทำงานด้วยกัน คือ :- 1. ระบบการทำงานด้วยมือ (Manual Operation) 2. ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automatic Operation) - Manual Operation จะทำงานโดยบิด Selector Switch มาที่ตำแหน่ง Manual แบบนี้เราสามารถ Start/Stop มอเตอร์ได้โดยตรงที่หน้าตู้ Control - Automatic Operation จะทำงานโดยบิด Selector Switch มาที่ตำแหน่ง Auto แบบนี้จะมี ลักษณะการทำงาน 2 แบบด้วยกัน (ขึ้นอยู่ที่ผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนดเลือกใช้แบบไหน) 1. แบบ Auto Start/Manual Stop แบบนี้เครื่องจะถูกสั่งให้ทำงานโดยต่อเข้ากับระบบ Fire Alarm หรือ Sensor แจ้งเหตุต่างๆ (แล้วแต่ผู้ออกแบบกำหนดสัญญาณ) เข้ามาจะทำให้เครื่องสูบน้ำ ดับเพลิงทำงาน และเมื่อต้องการหยุดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมากดปุ่ม Stop ที่หน้าตู้ Control เท่านั้น 2. แบบ Auto Start/Auto Stop แบบนี้เครื่องจะถูกสั่งให้ทำงานโดย Pressure Switch เมื่อแรงดันน้ำใน ระบบตกลงต่ำถึงจุดที่กำหนด และเครื่องจะหยุดทำงานเมื่อแรงดันน้ำในระบบถึงจุดที่กำหนด
การทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง แบบเครื่องยนต์ (Diesel Fire Pump)จะแบ่งออกเป็น 2 แบบการทำงานด้วยกัน คือ :- 1. แบบการทำงานด้วยมือ (Manual Operation) 2. แบบการทำงานอัตโนมัติ (Automatic Operation) - Manual Operation จะทำงานโดยบิด Selector Switch มาที่ตำแหน่ง Manual แบบนี้เราสามารถเดินเครื่องยนต์ได้ โดยกดปุ่ม Start Crank Battery 1 หรือ 2 ก็ได้ หรือจะกดปุ่ม Start พร้อมกันทั้ง 2 ปุ่ม เพื่อ Start จาก Battery 2 ลูก ก็ได้ และเมื่อต้องการหยุดเครื่องยนต์ให้เลือกบิด Switch มาที่ตำแหน่ง OFF Crank Push buttons Push button (Stop) Pressure Transducer
ฟังก์ชั่นการทำงาน และการทดสอบ (ต่อ) - Automatic Operation จะทำงานโดยบิด Selector Switch มาที่ตำแหน่ง Auto แบบนี้เครื่องยนต์ จะถูกสั่งให้ทำงานโดย Pressure Switch เมื่อแรงดันน้ำใน ระบบตกลงต่ำถึงจุดที่กำหนด วงจร Start เครื่องยนต์อัตโนมัติ (Automatic Cranking) จะทำงาน ถ้าเครื่อง Start ติดแล้ว วงจร Start จะถูกตัดออก แต่ถ้า Start 6 ครั้งยังไม่ติด จะหยุด Start และไฟ Fail To Start จะแสดง ถ้าต้อง การหยุดเครื่องยนต์ให้กดปุ่ม Stop/Reset เครื่องยนต์จะหยุดทันที ถ้าเครื่องไม่ หยุดแสดงว่ายังมีการใช้น้ำอยู่ ทำให้แรงดันต่ำกว่าค่าแรงดัน Start ที่ตั้งไว้ หาก ต้องการหยุดเครื่องยนต์ให้บิด Switch ไปที่ตำแหน่ง OFF • หมายเหตุ : ขณะเครื่องยนต์ทำงานในระบบ Automatic อยู่ หากตัวป้องกันทั้งหลายเกิดทำงาน จะมีกริ่งดังขึ้น แต่ตู้ยังคงสั่งให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไป (ยกเว้น Over Speed เครื่องจะหยุดทำงาน) และหากเครื่องหยุดตู้ควบคุมก็จะพยายาม Start เครื่องยนต์ไปจนกว่าจะถึงค่าแรงดันน้ำที่ตั้ง Pressure Switch สั่ง Stop หรือมีคน ไปกดปุ่ม Stop/Reset 5.
การทำงานของเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump)จะแบ่งออกเป็น 2 แบบการทำงานด้วยกัน คือ :- 1. แบบการทำงานด้วยมือ (Manual Operation) 2. แบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automatic Operation) - Manual Operation จะทำเมื่อบิด Selector Switch มาที่ตำแหน่ง ON เครื่องจะเดินทันที และ บิด Selector Switch มาที่ OFF เครื่องก็จะหยุดเดินทันที - Automatic Operation จะทำงานเมื่อบิด Selector Switch มาที่ตำแหน่ง Auto ในแบบนี้เครื่องจะถูกสั่งให้ทำงานโดย Pressure Switch เมื่อแรงดันน้ำใน ระบบตกลงต่ำถึงจุดที่กำหนดเครื่องจะทำงาน และเครื่องจะหยุดทำงานเมื่อ แรงดันน้ำในระบบถึงจุดที่กำหนด การทำงานจะถูกหน่วงเวลาด้วย Timer เพื่อ ป้องกันมอเตอร์เสีย
ฟังก์ชั่นการทำงาน และการทดสอบ (ต่อ) 5. • รายละเอียดในการทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเครื่องยนต์ และแบบไฟฟ้า อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย :- 1. แรงดันน้ำทางด้านส่ง ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ที่อัตราการไหล 0% (Zero Flow, Churn), 100%,150% และเปรียบเทียบกับ Pump Capacity Curve ที่ส่งมาตอนขออนุมัติใช้วัสดุ 2. รอบการทำงานของเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ 3. การทำงานของระบบ Start เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ 4. แรงดันน้ำที่ทำให้ Pressure Relief Valve ทำงานโดยอัตโนมัติ 5. ระบบป้องกันเครื่องยนต์ต่างๆ เช่น สัญญาณแจ้งเหตุ, รอบเครื่องยนต์สูงเกิน, ความร้อนสูงเกิน, ระดับน้ำมันต่ำ เป็นต้น 6. ระบบป้องกันมอเตอร์ เช่น สัญญาณแจ้งเหตุ, Over/Under Voltage, Over Load Phase Protection เป็นต้น