850 likes | 988 Views
บทที่ 8 การประยุกต์ใช้สารสนเทศ. เนื้อหาบทเรียน. การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านภาครัฐ. การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านภาคพาณิชย์. การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านอุตสาหกรรม. การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านการศึกษา. เนื้อหาบทเรียน. การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านสังคม. การประยุกต์ใช้สารสนเทศอย่างฉลาด.
E N D
บทที่ 8 การประยุกต์ใช้สารสนเทศ
เนื้อหาบทเรียน การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านภาครัฐ การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านภาคพาณิชย์ การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านการศึกษา
เนื้อหาบทเรียน การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านสังคม การประยุกต์ใช้สารสนเทศอย่างฉลาด
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2553 (e-Thailand) ด้านภาครัฐ พัฒนาประสิทธิภาพภายในองค์กร (Back office) พัฒนาระบบบริการประชาชน (Front office) ปรับปรุงระบบบริหารราชการเพื่อนำไปสู่ Good Government จัดทำแผนแม่บท จัดให้มีหน่วยงานติดตามและสนับสนุน ปรับปรุงระบบงานและการจัดระบบข้อมูลทั้งในส่วนกลางและองค์กรท้องถิ่น พัฒนาข้าราชการให้มีทักษะ ปรับกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้ออำนวย จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสนเทศของไทย สร้างความตระหนักและความเชื่อมั่นของประชาชน
ด้านพาณิชย์ (e-Commerce) • ส่งเสริมการส่งออก ส่งเสริมการค้าบริการ ส่งเสริมการบริโภคจากผู้ประกอบการภายในประเทศ กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัย สร้างความตระหนักและความเข้าใจ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม สร้างตลาดให้ภาคเอกชนผ่าน e-Procurement ของภาครัฐ พัฒนาบุคลากร จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่เหมาะสมและส่งเสริมอุสาหกรรมไอทีของไทย
ด้านอุตสาหกรรม (e-Industry) ยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตโดยใช้ไอที ขยายฐานการตลาดโดยใช้ไอที ใช้ไอทีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีที่มีศักยภาพ จัดให้มี Thailand Exchange ส่งเสริมการใช้ไอทีในภาคการผลิต จัดให้มีข้อมูลทางด้านการตลาด ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในภาคการผลิตให้มีและแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีเพื่อสดการนำเข้าและเพื่อการส่งออก ส่งเสริมการใช้ไอทีในภาคการเกษตร
ด้านการศึกษา (e-Education) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว (Value-added) ลดความเหลื่อมล้ำโดยลงทุนอย่างเหมาะสม (Equity) วางแผนก้าวกระโดดในระยะยาว (Quantum-jump) ยกระดับครูให้มีทักษะด้านไอที (Teacher’s Training) เร่งผลิตฐานความรู้ (Content Development) สร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี (Networking) สนับสนุนการใช้ไอทีเพื่อยกระดับความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีของไทย
ด้านสังคม (e-Society) ลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ (Digital Divide) เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน (Quality of Life) ส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning Society) สร้างโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ส่งเสริมชุมชนและองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะของประชาชนในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้ไอทีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สนับสนุนการใช้ไอทีเพื่อวัฒนธรรมและความเอื้ออาทรในสังคม ส่งเสริมการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่เหมาะสมและสนับสนุนอุตสาหกรรมไอทีของไทย
การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านภาครัฐ (e-Government) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ ได้แก่ - สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน - ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น - เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน - มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
แนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นำหลักการ e-Service มาใช้ประโยชน์กับการบริการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มี ความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้ การพัฒนาทักษะและ องค์ความรู้ตลอดจนการพัฒนาระบบการบริการผ่านเครือข่ายสารสนเทศที่เชื่อมโยงการบริการระหว่างองค์กร บริการเบ็ดเสร็จ (one-stop service) เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
หลักสำคัญของการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หลักสำคัญของการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ - ที่เดียว - ทันใด - ทั่วไทย - ทุกเวลา - ทั่วถึงและเท่าเทียม - โปร่งใสและเป็นธรรมาภิบาล
การแบ่งกลุ่มตามผู้รับบริการของการแบ่งกลุ่มตามผู้รับบริการของ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 1). รัฐกับประชาชน (Government to Citizen : G2C) 2). รัฐกับเอกชน (Business to Business : G2B) 3). รัฐกับรัฐ (Government to Government : G2G) 4).รัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee : G2E)
ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) - ลดขั้นตอน ลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ - ลดต้นทุนการดำเนินงานและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ - ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ - มีความโปร่งใสในการดำเนินงานและให้บริการ - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ - ช่วยยกระดับความรู้และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก - เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเป็นเว็บท่าเพื่อให้บริการภาครัฐเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเป็นเว็บท่าเพื่อให้บริการภาครัฐ 1). บริการผ่าน www.ecitizen.go.th
เว็บท่า www.ecitizen.go.th ศูนย์กลางบริการภาครัฐนี้ให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ บริการประชาชน บริการธุรกิจ Thais Abroad บริการภาครัฐ โดยให้บริการเกี่ยวกับ ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ สวัสดิการภาครัฐ ภาษี สาธารณูปโภค การศึกษา การจ้างงาน ครอบครัวและชุมชน สุขภาพ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยและกฎหมาย การคมนาคมขนส่ง ข้อมูลนักท่องเที่ยว/การท่องเที่ยว การพักผ่อน ความบันเทิง วงจรชีวิตในแต่ละช่วงวัย แบ่งเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยเกษียณ บริการ Link รายชื่อหน่วยงานภาครัฐเรียงตามตัวอักษร ข่าวสารจากกระทรวง บริการงานออนไลน์จากหน่วยงานภาครัฐ
ecitizen เว็บไซต์ที่จัดตั้งเป็นเว็บท่าของบริการภาครัฐ
2). บริการผ่าน www.thaigov.net เว็บท่า www.thaigov.net หรือไทยก็อฟด็อทเน็ตนี้ให้บริการภาครัฐโดยแบ่งเป็นสารบัญบริการภาครัฐออนไลน์ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลภาครัฐ ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านไปรษณีย์และคลื่นวิทยุ ด้านแรงงานและประกันสังคม ด้านอาหารและยา ด้านกฎหมาย ด้านสถิติ บริการเกี่ยวกับไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ภาษี และการเดินทาง บริการเกี่ยวกับงานทะเบียน บริการเกี่ยวกับการซื้อขาย จัดซื้อจัดจ้าง ธุรกรรมการลงทุนและตลาดหลักทรัพย์ บริการร้องเรียน/ร้องทุกข์ บริการสำหรับเว็บไซต์และผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในส่วนของสารบัญบริการภาครัฐให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล นิติบุคคล ที่อยู่อาศัย และที่ดิน ธุรกิจ การค้า การพาณิชย์ สุขภาพ รถยนต์ ทางหลวง การศึกษา การต่างประเทศและการเดินทาง อาชีพ การสื่อสาร บริการในช่วงชีวิตซึ่งให้บริการข้อมูลแนะนำในช่วงชีวิต
ไทยก็อฟด็อทเน็ตเว็บไซต์ที่จัดตั้งเป็นเว็บท่าของบริการภาครัฐไทยก็อฟด็อทเน็ตเว็บไซต์ที่จัดตั้งเป็นเว็บท่าของบริการภาครัฐ
3). บริการผ่าน www.khonthai.com เว็บท่า www.khonthai.com หรือคนไทยดอทคอมนี้ให้บริการงานด้านต่างๆ ได้แก่ การบริการภาครัฐ Khonthai Certificate อินเทอร์เน็ตตำบล การบริการภาครัฐ (MOU) ข่าวประชาสัมพันธ์ ศูนย์รับร้องเรียน (Call Center) งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แจ้งเบาะแส เหตุด่วนเหตุร้าย 3 จังหวัดภาคใต้ ค้นหา Link งานทะเบียนราษฎร/ประชากร การต่างประเทศ สาธารณูปโภค สุขภาพ อาชีพ อุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง/การสื่อสาร การศึกษา การพาณิชย์ สวัสดิภาพ การเกษตร กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ บริการหน่วยงานภาครัฐ บริการ Pin Code ผ่านหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต เอกสารเผยแพร่ต่างๆ แรงงานต่างด้าว ทะเบียนค้าของเก่า และ Smart Card
คนไทยดอทคอมเว็บไซต์ที่จัดตั้งเป็นเว็บท่าของบริการภาครัฐคนไทยดอทคอมเว็บไซต์ที่จัดตั้งเป็นเว็บท่าของบริการภาครัฐ
การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) E-Commerce หมายถึง การทำการค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจที่สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีข้อจำกัดทางด้านที่ตั้งของสถานประกอบการ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในทุกพื้นที่ที่ระบบเครือข่ายเข้าถึง
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 2 ลักษณะ1). การฝากสินค้าขายของบน Shopping Mall 2). การสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง
รูปแบบการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1). ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) 2). ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) 3). ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) 4). ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C)
หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1). ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center : ECRC) หรือ www.ecommerce.or.thจัดตั้งขึ้นภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ของประเทศไทยมีความก้าวหน้าและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้
เว็บไซต์ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2). สำนักงานบริการเทคโนโลยีและสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services : GITS) หรือ www.gits.net.th เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับ e-Government ของประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อย่างมีคุณภาพและครบวงจร ยกระดับเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network : GINet) ไปสู่ Government (Secure) VPN (G-VPN) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ปฏิบัติหน้าที่เป็น National Root CA ที่ได้รับความเชื่อมั่นสูง และมีมาตรฐานระดับสากล สนับสนุนให้เกิดระบบการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและประชาชนผ่าน Government Gateway (e-Services)
ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) - ทำงานแทนพนักงานขาย โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว - เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก - มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ - เก็บเงิน และนำฝากเข้าบัญชีได้โดยอัตโนมัติ - ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด - สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและ การจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น - สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market
8.3 การประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านอุตสาหกรรม (e-Industry) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศภาคอุตสาหกรรม (e-Industry) หมายถึงการสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไปสถานภาพของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีในสำนักงาน (Back office) การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต (Production process) การใช้เทคโนโลยีในขั้นตอนการขนส่งและการตลาด (Logistic and marketing)
ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry) - สร้างเสริมภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้ใช้ความรู้เป็นฐานทางการผลิต - ส่งเสริมให้เกิดการใช้ข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเป็นแนวทางในการตัดสินใจผลิตสินค้าอุตสาหกรรม - ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงทางการผลิตระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค - ลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ประกอบการไทย - ส่งเสริมให้ธุรกิจของผู้ประกอบการพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าในช่องทางต่างๆ ที่มากขึ้น - ช่วยในการประหยัดเวลาในการดำเนินธุรกิจ - เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ประกอบการ
คือ การให้บริการจัดการด้านสุขภาพ หรือการรักษาผู้ป่วยผ่านทางระบบเครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งผู้รับบริการและผู้ให้บริการอยู่ต่างพื้นที่กันโดยทำการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร เช่น กล้องดิจิตอล เป็นต้น ระบบการแพทย์ออนไลน์(Telemedicine)
ระบบการแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine)
การปรึกษาและรักษาผู้ป่วยทางอินเตอร์เน็ตการปรึกษาและรักษาผู้ป่วยทางอินเตอร์เน็ต
คือ ระบบการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่ผู้ใช้สามารถเรียกดูหนังสือทีละหน้าและสามารถสั่งพิมพ์ได้จากคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจมีการเรียกเก็บค่าใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)
คือ การใช้คอมพิวเตอร์จำลองภาพสภาวะแวดล้อมในระบบสามมิติ ให้ผู้ใช้สามารถทดลองใช้ระบบต่างๆ ได้เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จำลอง ซึ่งนำมาใช้ทดสอบกับงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ระบบการบิน งานด้านการฝึกหัดแพทย์ เป็นต้น ภาวะเสมือนจริง (Virtual Reality)
เป็นศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เน้นการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถ คิด คำนวณ ปฏิบัติการ และแสดงการกระทำต่างๆ ได้เหมือนมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Reality)
ประกอบด้วย 4 สาขา ดังนี้ 1. ศาสตร์ด้านหุ่นยนตร์ 2. ภาษาธรรมชาติ 3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ 4. ความสามารถในการจำลองประสาทสัมผัสของมนุษย์
ทรูตั้งโต๊ะโชว์หุ่นยนต์โรโบแรปเตอร์ (Roboraptor)ขนาด 32 นิ้ว สามารถเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆได้โดยอิสระ สามารถหยอกล้อหรือออดอ้อนไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยง มีเซ็นเซอร์คอยตรวจจับความเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองต่อมนุษย์ ใช้พลังงานจากถ่านขนาด AA จำนวน 6 ก้อน
โรโบแร็พเตอร์ถูกออกแบบให้มีลักษณะและการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ทั้งการเคลื่อนไหวของส่วนหัวและหางที่มีเซ็นเซอร์แบบสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นคาง หางและลิ้น เซ็นเซอร์รับเสียง เซ็นเซอร์สำหรับการมองเห็น และเมื่อมีสิ่งเร้ากระตุ้นจะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบกลับโดยอัตโนมัติ เช่น มีเสียงดังเกิดขึ้นโรโบแร็พเตอร์จะมีการเคลื่อนไหวและหันไปตามต้นกำเนิดเสียง
AIBO สุดยอดสัตว์อิเล็กทรอนิกส์
หุ่นยนต์ Aibo ERS-210 จะไม่วิ่งไปต้อนรับคุณ เวลาคุณกลับบ้าน เหมือนสุนัข แต่ก็สามารถ ทำตามคำสั่ง ของคุณได้หลายอย่าง และจะขอให้คุณ ตั้งชื่อให้ แถมยังมี กล้องดิจิตอล ที่ปลายจมูก สำหรับจับภาพต่างๆ ด้วย แต่หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง รุ่น Aibo ERS-210 ก็จะให้ความเพลิดเพลิน แก่คุณ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สัตว์เลี้ยงจริง ๆ ทำไม่ได้
"คอนโด" หุ่นยนต์ช่างแดนซ์
"คอนโด" หุ่นยนต์ตัวจิ๋วได้แสดงลีลาท่าทางแดนซ์กระจายต่อหน้าสาธารณชน ความน่ารักของคอนโดอยู่ตรงที่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนมนุษย์ นอกจากนี้ยังสามารถเตะฟุตบอลได้ และร้องเพลงได้อีกด้วย ทั้งนี้คอนโดเป็นหุ่นยนต์ที่ควบคุมให้เคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และสามารถเปลี่ยนแปลงท่าทางได้ตามคำสั่งของผู้ควบคุม
หุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการเล่นทรัมเป็ตและยังสามารถโค้งคำนับให้กับผู้ชม และโบกมือตอบรับเสียงปรบมือได้อีกด้วยริมฝีปากของหุ่นฯ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า "artificial lips" หรือริมฝีปากอัจฉริยะ สามารถขยับได้เหมือนมนุษย์ บังคับลมให้ผ่านออกมาและทำให้ทรัมเป็ตเกิดเสียงดังได้ ที่สำคัญคือไม่ใช่แค่เกิดเสียงเท่านั้น แต่หมายถึงดนตรีในระดับที่เป็นธรรมชาติจนผู้ฟังสามารถรู้สึกได้เลยทีเดียว
หุ่นยนต์ทาร์ซานสำรวจป่าหุ่นยนต์ทาร์ซานสำรวจป่า
ทาร์ซานไฮเทค หุ่นยนต์ที่นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อทำการสำรวจพื้นที่ป่า โดยไม่ต้องให้มนุษย์เข้าไปเสี่ยง เนื่องจากเกรงอันตรายจากสัตว์สารพัดชนิด โดยหุ่นยนต์ทาร์ซานหรือมีชื่อเรียกกันว่า "Treebot" ตัวนี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อน อีกทั้งยังติดตั้งกล้องเวบแคม และเซนเซอร์ต่าง ๆ รวมถึงระบบเครือข่ายแบบไร้สายเอาไว้ด้วย