310 likes | 752 Views
นายหน้า Brokerage. อ.ลภัสรดา ปราบปราม. สัญญานายหน้า ม. 845. ????. นายหน้า ( Broker ) คือ บุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ ตกลงทำหน้าที่เป็นกลาง หรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก. สัญญานายหน้า. บุคคลที่สาม ก (ตัวการ) สัญญานายหน้า
E N D
นายหน้าBrokerage อ.ลภัสรดา ปราบปราม
สัญญานายหน้า ม. 845 ????
นายหน้า (Broker) คือ บุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ ตกลงทำหน้าที่เป็นกลาง หรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก
สัญญานายหน้า บุคคลที่สาม ก (ตัวการ) สัญญานายหน้า ม. 845 สัญญาระหว่างตัวการกับบุคคลที่สาม นายหน้าทำการแนะนำชี้ช่องเพื่อให้บุคคลที่สามเข้าทำสัญญากับตัวการ ข (นายหน้า)
ตกลงดำ แดง บำเหน็จ มีการทำสัญญาชี้ช่อง(ติดต่อ)จัดการ ขาว • ดำต้องการขายรถยนต์ของตน จึงติดต่อ นายแดงให้หาผู้ซื้อให้ นายแดงติดต่อให้นายขาวมาซื้อรถยนต์ดังกล่าว จนสำเร็จ ดังนี้ นายดำเป็นตัวการและนายแดงเป็นนายหน้า
แบบของสัญญานายหน้า • ไม่ได้กำหนดแบบ/ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ • วาจา/ลายลักษณ์อักษร • กรณีมีปัญหาเรื่องค่าบำเหน็จ คู่กรณีก็อาจนำพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงต่อศาล
ความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายหน้าความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายหน้า • 1. ต้องมีการแสดงเจตนาด้วยใจสมัคร ไม่ใช่ข่มขู่ กลฉ้อฉล หรือสำคัญผิด • 2. ต้องเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน • 3. มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล • 4. ผู้ทำนิติกรรมต้องมีความสามารถตามกฎหมาย???
เรื่องนายหน้าซื้อขายที่ดินนั้น เมื่อนายหน้าได้กระทำการครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่เจ้าของที่ดินมิได้รับผลตามสัญญาเพราะความผิดของตนเอง นายหน้าก็มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างตามสัญญา (ฎ. 443/2461)
นายหน้าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 845 นั้น ได้แก่ผู้ที่ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าทำสัญญากัน หรือผู้ที่จัดการให้ได้ทำสัญญากัน และนายหน้ามีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันเสร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น การที่ ก. ได้พา ส. ผู้ซื้อไปพบกับผู้ขายและพากันไปดูที่ดิน และต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก. จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จโดยไม่จำเป็นที่ ก. จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุกๆ ครั้ง (ฎ. 3181/2536)
นายหน้าได้ชี้ช่องวิ่งเต้นจัดการให้ผู้ที่มีความประสงค์จะเช่าตลาด ได้เช่าตลาดจนสำเร็จสมประสงค์แล้ว ดังนี้ นายหน้าก็มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากผู้เช่า จากที่ได้ตกลงกันไว้ (ฎ. 1050)
โจทก์เป็นนายหน้าให้จำเลยในการขายเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุในอาหารให้แก่องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปโดยวิธีพิเศษ แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกัน ทางองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปก็ได้กำหนดให้มีการจัดซื้อใหม่โดยวิธีประกวดราคา จำเลยจึงได้ไปยื่นซองประกวดราคาและเจรจาต่อรองราคากับองค์การดังกล่าวเอง จนตกลงทำสัญญาซื้อขายกันได้ การซื้อขายรายนี้จึงสำเร็จลงได้เพราะการเข้าชื่อเสนอประกวดราคาของจำเลยเอง โดยโจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนการกระทำของโจทก์ในระหว่างที่เป็นนายหน้าให้จำเลยในตอนแรกก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้ช่องหรือจัดการในส่วนสำคัญอันทำให้สัญญาซื้อขายได้ทำกันสำเร็จในตอนหลัง จำเลยไม่ต้องชำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์ (ฎ. 3592/2532 )
ค่าใช้จ่ายของนายหน้า ม. 845 วรรคสอง • ปกติ: นายหน้าไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายอันตนเสียไป เนื่องจากการชี้ช่อง หรือการจัดการแนะนำชี้ช่องให้บุคคลสองฝ่ายเข้าทำสัญญา
กิจการนายหน้าที่มีกฎหมายพิเศษกิจการนายหน้าที่มีกฎหมายพิเศษ • นายหน้าประกันภัย - ประมวลแพ่ง ลักษณะ 20 - พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ม. 5 นายหน้าประกันวินาศภัย คือ ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น
นายหน้าประกันชีวิต - พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ม. 5 นายหน้าประกันชีวิต คือ ผู้ซึ่งชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทโดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น
นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ม. 4 นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หมายความว่า การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่านายหน้า
การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ จัดตั้งในรูป • บริษัทจำกัด • บริษัทมหาชน จำกัด
นายหน้าตามประมวลแพ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่งนายหน้าตามประมวลแพ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง • ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับนายหน้า เป็นความสัมพันธ์ในทางนิติกรรมสัญญา • นายหน้าตามกฎหมายพิเศษมีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชน และเป็นกฎหมายที่รัฐได้เข้าไปแทรกแซงเพื่อควบคุม กำกับในการประกอบอาชีพ • หน้าที่และความรับผิดชอบเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ความรับผิดชอบของนายหน้าพิเศษในบางกรณีกฎหมายกำหนดโทษเชิงความรับผิดทางอาญาด้วย
ค่าบำเหน็จ ม. 846 • ค่าบำเหน็จของนายหน้าเป็นสาระสำคัญของสัญญานายหน้า
นายหน้าฝ่าฝืนต่อหน้าที่ ม. 847 • เป็นบทลงโทษนายหน้า เนื่องจากนายหน้าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่ได้ตกลงไว้กับตัวการ 1.นายหน้าทำการให้แก่บุคคลภายนอก เป็นการฝ่าฝืนต่อการที่ตนเข้ารับทำหน้าที่ของนายหน้า 2. รับคำมั่นจากบุคคลภายนอกว่าจะให้บำเหน็จอันควรแก่นายหน้าผู้กระทำการโดยสุจริต
คำถาม • การที่บุคคลหนึ่งเป็นนายหน้าของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งแล้ว จะเป็นนายหน้าของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ เป็นนายหน้าของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้หรือไม่
ถ้าการทำการเป็นนายหน้าให้บุคคลภายนอกด้วย ไม่เป็นการทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบหรือผลประโยชน์แล้ว นายหน้าก็ย่อมทำการได้ กล่าวคือไม่เป็นฝ่าฝืนต่อหน้าที่นายหน้าของตน และไม่ต้องห้ามตามม. 847 แต่อย่างใด นายหน้าก็ชอบที่จะได้รับค่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายตามสิทธิของตนได้
นายหน้าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 847 จะหมดสิทธิได้รับค่าบำเหน็จ และหมดสิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปอีก
ตกลงดำ แดงบำเหน็จขายม้า(ม้าไม่สมบูรณ์,ตกลงดำ แดงบำเหน็จขายม้า(ม้าไม่สมบูรณ์, ราคาแพงกว่าปกติ)ขาว
ตกลงขาว แดงบำเหน็จ ซื้อม้า(ม้าดี, ราคายุติธรรม) ดำ
ขอบเขตความรับผิดของนายหน้า ม. 848 • นายหน้าเป็นเพียงสะพานทอดให้บุคคลสองฝ่ายเข้าทำสัญญากัน • นายหน้าจึงไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำขึ้น • เว้นแต่ นายหน้าจะไม่ได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รับรู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง • ป้องกันการทุจริตของนายหน้า เช่นเดียวตัวแทนเข้าทำสัญญาโดยไม่เปิดเผยชื่อของตัวการ
นายหน้า ตัวแทนค้าต่างนายหน้า ตัวแทนค้าต่าง 1. จะได้รับมอบสินค้าและมีสิทธิครอบครองในสินค้านั้นจากตัวการ 2. เป็นผู้เข้าทำสัญญาในนามของตนเอง มีสิทธิฟ้อง หรือถูกฟ้องในนามของตัวแทนค้าต่าง 3. ทำสัญญากับบุคคลภายนอกในนามของตน 1. ตัวการไม่ได้ส่งมอบสินค้าและไม่ได้ส่งมอบสิทธิครอบครองในตัวทรัพย์สินให้แก่นายหน้า 2. เป็นผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้เข้าทำสัญญาเท่านั้น 3. ไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับสัญญา
นายหน้า ตัวแทน 1. เป็นผู้ทำการแทนตัวการในนามของตัวการตามที่ตัวการมอบหมายให้ทำการ (767) 2. ปกติไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญา หรือทางการประพฤติต่อกัน หรือโดยปริยาย (803) 3. ถ้าเป็นกิจการตาม 798 – จะผูกพันตัวการต่อเมื่อได้ทำตาม 798 4. ตัวการต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของตัวแทนที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบอำนาจและละเมิดต่อบุคคลภายนอก 1. เป็นคนกลางที่ช่วยชี้ช่องให้บุคคลฝ่ายหนึ่งได้เข้าทำสัญญากัน 2. ได้รับบำเหน็จ 3. กฎหมายไม่กำหนดไว้ ดังนั้น การตั้งนายหน้า ตัวการอาจจะแต่งตั้งด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร 4. ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของนายหน้า
ขอให้โชคดีกับการสอบปลายภาคค่ะขอให้โชคดีกับการสอบปลายภาคค่ะ