480 likes | 501 Views
Fundamental Logistics Management. ความหมาย ของโล จิสติกส์ (Logistics). โลจิสติกส์ ( L ogistics ) มาจากภาษาฝรั่งเศส คำว่า L ogistique ที่มีรากศัพท์ คำว่า โลเชร์ ( L oger ) หมายถึง การเก็บ
E N D
ความหมายของโลจิสติกส์ (Logistics) • โลจิสติกส์ (Logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า Logistiqueที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์(Loger) • หมายถึง การเก็บ • มีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ เป็นต้น
ความหมายของโลจิสติกส์ (Logistics) คำนิยามของ The Council of Logistics Management • กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน การควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จำแนกไว้ 4 ระดับ ดังนี้ • การกระจายสินค้า (Physical Distribution) • การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics) • การบูรณาการโลจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) • การจัดการโลจิสติกส์ข้ามชาติ (Global Logistics Management)
การกระจายสินค้า (Physical Distribution) • การพัฒนาที่มุ่งเน้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขนส่ง (Transportation) การจัดเก็บสินค้า(Warehousing) การจัดการวัสดุ (Supply Management) และการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) • ในระดับนี้จะยังไม่มุ่งเน้นการพัฒนาในส่วนที่เป็นสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ (Raw Material) และสินค้าระหว่างผลิต (Work in Process)
การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics) • เป็นระดับการพัฒนาที่บูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนกระบวนการผลิต(Production) โดยจะบูรณาการการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่กิจกรรมการวางแผนผลิตการจัดซื้อวัตถุดิบ จนถึงการกระจายสินค้าส่งถึงผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความถี่ หรือความสามารถในการระบายสินค้าอันจะส่งผลทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังลดลงได้ • การพัฒนาในระดับนี้จำเป็นต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบซอฟท์แวร์ ช่วยในการบริหารจัดการกิจกรรมทั้งระบบด้วย
การบูรณาการโลจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) • เป็นระดับการพัฒนาที่มีการบูรณาการการขนส่งทุกรูปแบบ (Mode) อย่างมีระสิทธิภาพ เช่นการกำหนดให้มีจุดขนถ่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมถึงนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบูรณาการข้อมูลระหว่างบริษัทคู่ค้า (Partner) • นอกจากนี้ยังมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Third Party Logistics Provider) เฉพาะด้านด้วย เช่น DHL, FedEx, Maersk, Kerry Express etc.
การจัดการโลจิสติกส์ข้ามชาติ (Global Logistics Management) • เป็นระดับการพัฒนาที่เกิดจากบริษัทข้ามชาติเพื่อแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนในประเทศ เริ่มหาแหล่งวัตถุดิบ หรือแรงงานที่มีต้นทุนต่ำกว่าในต่างประเทศ • ด้านการขนส่งจะมีการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพด้วยการบริการจัดการ การขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการส่งเสริมการส่งสินค้าผ่านแดน • นอกจากนี้ยังมีการให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านการขนส่ง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศ และมีการพึ่งพาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศด้วย
วัตถุประสงค์ของงานด้านโลจิสติกส์วัตถุประสงค์ของงานด้านโลจิสติกส์ • สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว • ลดความแปรปรวนของกระบวนการต่างแๆให้เหลือน้อยที่สุด • จัดเก็บสินค้าคงคลัง หรือ วัสดุคงคลังอื่น ๆ ในปริมาณน้อยที่สุด • บริหารจัดการการเคลื่อนย้ายวัสดุ สินค้าต่าง ๆ ให้เหมาะสม • วัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่องค์กรคาดหวัง หรือโซ่อุปทานคาดหวัง
สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็วสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว • เป็นวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการลูกค้า สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม โดยที่ในการดำเนินการจะมุ่งเน้นที่ความรวดเร็วในการส่งมอบ การจัดให้มีสินค้าคงคลังอย่างเพียงพอ หรืออาจจะต้องจัดหาศูนย์กระจายสินค้าที่ใกล้กับกลุ่มลูกค้าที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าที่ค่อนข้างแม่นยำ
ลดความแปรปรวนของกระบวนการต่าง ๆ ให้เหลือน้อยที่สุด • ความแปรปรวนในกระบวนการ อาจจะเกิดจากความล่าช้าในการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ความล่าช้าจากการส่งผิด เหตุการณ์ผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้เกิดความขัดข้องในกระบวนการผลิต ในการดำเนินงานจึงอาจจะมุ่งเน้นไปที่การจัดการข้อมูลให้มีความถูกต้อง แม่นยำ ใช้เวลารับ-ส่งข้อมูลสั้น
บริหารจัดการการเคลื่อนย้ายวัสดุ สินค้าต่าง ๆ ให้เหมาะสม • ระบบโลจิสติกส์จะต้องออกแบบเพื่อเอื้อต่อการลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลัง วางแผนการดำเนินการให้จัดส่งสินค้าโดยตรงไปยังลูกค้าโดยไม่ต้องทำการจัดเก็บ หรือการเพิ่มอัตราในการใช้ หรือการหมุนรอบของวัสดุคงคลังให้มีการหมุนรอบได้เร็วขึ้น
บริหารจัดการการเคลื่อนย้ายวัสดุ สินค้าต่าง ๆ ให้เหมาะสม • การเคลื่อนย้าย และการขนส่งสินค้า จัดได้ว่า เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดต้นทุน ทางโลจิสติกส์มากที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนการเคลื่อนย้าย หรือการขนส่งให้มีความเหมาะสม ลดต้นทุนในการขนส่งได้ เช่น การรวมการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าที่อยู่ใกล้กัน การวางแผนการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า หรือการวางแผนการขนส่งให้เหมาะสม
วัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่องค์กรคาดหวัง หรือโซ่อุปทานคาดหวัง • วัตถุประสงค์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะขัดแย้งกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ในโซ่อุปทานเดียวกัน ดังนั้นสมาชิกของโซ่อุปทานจำเป็นจะต้องทำการหารือกัน เพื่อให้ได้ซึ่งวัตถุประสงค์ในการดำเนินการร่วมกัน เพื่อทำการออกแบบโซ่อุปทาน และกิจกรรมโลจิสติกส์ให้เหมาะสม สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการดำเนินการได้
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (Logistics Activities) • เป็นกิจกรรมสนับสนุนการทำงานภายในองค์กร เพื่อให้ทุกหน่วยงานภายในเชื่อมโยงเข้าหากัน รวมถึงการเชื่อมโยงภายจากนอกองค์กร ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยกิจกรรมหลักด้าน โลจิสติกส์ (Key Logistics Activities) สามารถแบ่งออกเป็น 13 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (Logistics Activities) • การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications) • การบริการลูกค้า (Customer Service) • กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing) • การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) • การจัดซื้อ (Procurement) • การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) • การบริหารการขนส่ง (Traffic and Transportation)
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (Logistics Activities) • การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and Storage) • โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) • การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts and Services Support) • การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant and Warehouse Site Selection) • การขนถ่ายวัตถุดิบและเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Material Handling) • การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging)
การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications) • เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทางธุรกิจ ที่ทำให้เกิดกระบวนการทางโลจิสติกส์ • การสื่อสารภายนอกองค์กร องค์กรได้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับลูกค้าหรือกับผู้ขาย • การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านโลจิสติกส์ • การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนขึ้นได้ เช่น การรับข้อมูล และส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาด ทำให้ฝ่ายผลิตหรือจัดส่งนำส่งสินค้าผิดรายการหรือผิดจำนวน มีผลต่อระดับการให้บริการหรือความพึงพอใจของลูกค้า • การติดต่อสื่อสารที่ดีส่งผลให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะทำให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง เกิดการเชื่อมโยงและการไหลของข้อมูล ส่งผลให้กระบวนการเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริการลูกค้า (Customer Service) • เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า • กิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง ถูกจำนวน ถูกสถานที่ ถูกเวลาตรงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ประสิทธิภาพในการให้บริการจะมากหรือน้อยนั้นต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์อื่นประกอบด้วย เช่น กิจกรรมการขนส่งที่ช้าจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง
กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing) • กระบวนการในการจัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า • กิจกรรมนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับลูกค้า ดังนั้นมีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้ง่าย จึงควรใช้เวลาในกระบวนการนี้ให้สั้นและหลีกเลี่ยงความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด
การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasting) • เป็นการพยากรณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของลูกค้า นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการสร้างผลกำไรหรือทำให้องค์กรขาดทุนได้ • การคาดการณ์ความต้องการช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กล่าวคือ สามารถวางแผนความต้องการใช้ทรัพยากรในแต่ละกระบวนการได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดซื้อ (Procurement) • การจัดซื้อเป็นกิจกรรมในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบนั้น ๆ • รวมไปถึงการบริหารอุปทานโดยรวมตั้งแต่การคัดเลือกผู้ขาย การเจรจาต่อรองราคาหรือเงื่อนไขปริมาณในการสั่งซื้อ และการประเมินคุณภาพของผู้ขายสินค้าและวัตถุดิบนั้น ๆ • วัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรได้รับสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการไปใช้ในการปฏิบัติงานขององค์กรตามส่วนงานต่าง ๆ ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมที่สุดทั้งในตัวสินค้าหรือวัตถุดิบเอง และกระบวนการจัดซื้อ
การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) • การบริหารสินค้าคงคลังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานอื่น รวมถึงมีผลต่อกำไรขาดทุนขององค์กร เช่น หากระดับสินค้าคงคลังสูงทำให้ต้นทุนในการจัดเก็บดูแลเพิ่มขึ้น หากสินค้าที่เก็บล้าสมัยจะก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มมากขึ้นอีก • ในแง่ของผลกระทบต่อส่วนงานอื่น เช่น หากมีการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่น้อยต้นทุนในการจัดเก็บดูแลก็จะต่ำ แต่องค์กรอาจพบว่าต้นทุนในการขนส่งเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้ เพราะปริมาณการจัดเก็บที่น้อย ทำให้ความถี่ในการขนส่งสูงขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องพิจารณาประกอบกันไปอยู่เสมอ • Inventory Management Process
การบริหารการขนส่ง (Traffic and Transportation) • การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค หรือการส่งคืนสินค้าผิดปกติกลับมายังคลังสินค้า รวมถึงการขนย้ายสินค้าเพื่อนำไปยังจุดที่จะทำลาย • องค์กรต้องคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการเลือกวิธีการขนส่งประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตัวสินค้า รวมถึงเส้นทางในการขนส่งอีกด้วย เช่น ทางอากาศ ทางน้ำ ทางรถไฟ ทางท่อ ทางรถ เป็นต้น เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของภูมิภาคนั้น ๆ • เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าองค์กร มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดส่งให้ถูกสถานที่ถูกเวลาในสภาพที่สมบูรณ์ รวมถึงการควบคุมต้นทุนที่จะเกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด • Intermodal Transportation(Ekol Logistics)
การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and Storage) • เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้า ตั้งแต่กระบวนการในการวางโครงสร้างคลังสินค้า การออกแบบและจัดวาง การจัดการพื้นที่ภายในคลังสินค้า ระดับของสินค้าคงคลัง • การดูแลรักษา อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมภายในคลังสินค้าเพื่อให้การจัดการคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด • Behind the scenes of an Amazon warehouse
โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) • กระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับคืน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าสินค้าเสียหาย หรือหมดอายุการใช้งาน • องค์กรมีความจำเป็นในการวางนโยบายที่จะรองรับสินค้าที่ถูกส่งคืนหรือขยะพวกนี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดต้นทุนน้อยที่สุด • บางครั้งสินค้าเหล่านี้อาจนำกลับมาสร้างประโยชน์โดยการนำมาผ่านกระบวนการ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ก็เป็นได้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของต้นทุนได้เป็นอย่างดี • ในกรณีที่เป็นสินค้าอันตรายมีผลต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดสำหรับเรื่องการทำลายสินค้าให้เหมาะสมทำให้องค์กรควรตระหนักถึงส่วนนี้ด้วย • Return to Value - P.E.T. Bottles Recycling
การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts and Services Support) • เป็นส่วนหนึ่งของการบริการหลังการขาย โดยมีการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในกรณีที่สินค้าเกิดชำรุด ไม่ว่าจะเป็นเพราะจากความบกพร่องของกระบวนการผลิตหรือจากการใช้งานของลูกค้าเองก็ตาม • เป็นการรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าไว้และรักษาลูกค้าให้คงอยู่กับองค์กรในระยะยาว องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการจัดการในส่วนนี้ที่มีประสิทธิภาพ
การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant and Warehouse Site Selection) • กิจกรรรมการเลือกที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึง และลดระยะทางการขนส่ง เพื่อเพิ่มระดับสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
การขนถ่ายวัตถุดิบและเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Material Handling) • กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปภายในโรงงานหรือคลังสินค้า • มีวัตถุประสงค์ในการลดระยะทางในการเคลื่อนย้าย จำนวนครั้งในการเคลื่อนย้าย รวมถึงปริมาณของวัตถุที่เคลื่อนย้าย เพื่อให้มีต้นทุนในการจัดการที่ต่ำที่สุด เพราะการเคลื่อนย้ายทุกครั้งก่อให้เกิดต้นทุนแก่องค์กรทั้งสิ้น • 'Material Handling Made Simple' at Everest Spices with DAIFUKU ASRS
การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging) • วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ ตามหลักการตลาดมีไว้เพื่อเป็นการบ่งบอกรายละเอียดของสินค้าและสร้างการรับรู้ในตัวสินค้า • แต่ในด้านโลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์และหีบห่อนั้นมีไว้เพื่อป้องกันตัวสินค้าจากความเสียหาย และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อนั้นต้องมีความเหมาะสมกับอุปกรณ์การขนย้ายและคลังสินค้า เพื่อช่วยในการลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ • Packaging in Logistics Management
บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กรบทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินการของแต่ละองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนี้ • ด้านการผลิตและปฏิบัติการ (Manufacturing and Operation) • ด้านการตลาด (Marketing) • ด้านการเงิน (Financial)
ด้านการผลิตและปฏิบัติการ (Manufacturing and Operation) • มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะในด้านการจัดหา (Procurement) วัตถุดิบป้อนสายการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ทั้งวัตถุดิบ (Raw Material) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) • การขนถ่ายวัตถุดิบ และเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Materials Handling) เพื่อสนับสนุนการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่นต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ • นอกจากนี้ กิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น การวางแผนผลิต/ตารางการผลิต (Production Planning/Scheduling) การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) วัตถุดิบ และการจัดเก็บวัตถุดิบ ยังมีบทบาทสำคัญช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าด้วย
ด้านการตลาด (Marketing) • โลจิสติกส์มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) สินค้า การเติมเต็มคำสั่งซื้อ (Order Fulfillment) และการขนส่งสินค้า (Transportation) • กิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลา และสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด
ด้านการเงิน (Financial) • โลจิสติกส์มีผลกระทบโดยตรงต่อการเงินขององค์กร เช่น รายได้และการลงทุน โดยการมีสินค้าคงคลังที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าจะเป็นตัวผลักดันทำให้องค์กรสามารถเพิ่มรายได้ได้มากขึ้น • การปฏิบัติงานโลจิสติกส์อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างมาก • ระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่สั้นลงยังมีส่วนช่วยลดปริมาณสินค้าคงคลัง และลดต้นทุนจมที่เกิดจากการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสื่อสารพื้นฐาน • ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีโครงสร้างระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลอัตโนมัติ ถูกใช้โดยบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันในโซ่อุปทานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ • EDI ทำให้ข้อมูลการซื้อขายของลูกค้ากับบริษัท มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงมาก ไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานในการรับส่งข้อมูลที่ต้องการจะแลกเปลี่ยน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การวางแผนโซ่อุปทาน • การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) เป็นระบบสารสนเทศที่อิงการทำธุรกรรมและบูรณาการทั้งระบบธุรกิจ สามารถเก็บข้อมูลของทั้งธุรกิจเข้าสู่ระบบสารสนเทศไว้ที่เดียวกัน เช่น คำสั่งซื้อลูกค้า สินค้าคงคลัง การเงิน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การจัดการคลังสินค้า • ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System หรือ WMS) เป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อควบคุมกิจกรรมดั้งเดิมของการจัดการคลังสินค้า ช่วยจัดการเกี่ยวกับพนักงานปฏิบัติการในคลัง และรถยก สามารถทำงานในรูปแบบไร้สาย รวมถึงระบบการทำงานและอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ระบบจัดเก็บและหยิบเลือกอัตโนมัติ และระบบขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การจัดการสินค้าคงคลัง • ระบบพยากรณ์และจัดการสินค้าคงคลัง ระบบสามารถพยากรณ์อุปสงค์ในอนาคตของลูกค้า และความต้องการในการถือครองสินค้าคงคลังที่เกี่ยวข้องกัน ผ่านเทคนิควิธีการต่าง ๆ • ระบบประเภทนี้จะรับข้อมูลโดยตรงจากการประมวลผลคำสั่งซื้อของฝ่ายขายและระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อประเมินอุปสงค์ของลูกค้าในแต่ละ SKU (Stock Keeping Unit) จึงช่วยให้องค์กรลดการถือครองสินค้าคงคลังลงได้ ปรับปรุงการหมุนเวียนสินค้าคงคลังและผลตอบแทนของเงินลงทุนและลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์สินค้าคงคลังหมด
SKU (Stock Keeping Unit) • คือ หน่วยที่จำแนกประเภทสินค้าที่เล็กที่สุดในระบบสินค้า เป็นการช่วยแยกความแตกต่างของสินค้าประเภทเดียวกันที่มีความแตกต่างไม่ว่าจะเป็น สี ขนาด หรือลวดลาย ยกตัวอย่างเช่น รองเท้ากีฬา ที่มีสี 4 สี SKU จะเป็นตัวที่ใช้แยกประเภทของรองเท้ากีฬาแต่ละสี เพื่อให้ได้ทราบถึงจำนวนสินค้าในคลังสินค้าได้อย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งจะแตกต่างกับการกำหนดรหัสสินค้า ที่สามารถกำหนดได้เพียงรหัสเดียวต่อสินค้า 1 รายการ แต่หากสินค้านั้น มีการแยกย่อยลงไปอีก อาจจะทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าสินค้าที่เหลืออยู่ในคลัง เป็นสินค้าที่แยกย่อยเป็นประเภทใดบ้าง เพราะถูกกำหนดด้วยรหัสสินค้าเดียวกันทั้งหมด จึงมีการนำ SKU เข้ามาใช้งาน เพื่อให้แยกประเภทสินค้าได้ละเอียดมากขึ้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การขนส่ง • การจัดการการติดตามและตรวจสอบกลุ่มยานพาหนะ (Vehicle Fleet Management หรือ VFM) ช่วยผู้จัดการฝ่ายขนส่งในการติดตามประสิทธิผลของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง โดยมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ระยะทางที่เดินทาง รายละเอียดของพาหนะ น้ำหนักที่ขน เชื้อเพลิงที่ใช้ รายละเอียดพนักงานขับรถ เพื่อนำมาใช้คำนวณสำหรับสร้างดัชนีหลักสำหรับการวัดสมรรถนะยานพาหนะได้
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า • การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) ระบบสารสนเทศสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า • เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ ของการสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าตามมา ช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลและจัดกลุ่มลูกค้าได้อย่างเป็นหมวดหมู่ สามารถเข้าถึงลูกค้าและลูกค้าเข้าถึงองค์กรได้ง่ายและรวดเร็ว • เป้าหมายในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้ได้ ลูกค้าประจำที่จงรักภักดี (Customer Loyalty) และมีโอกาสซื้อซ้ำสูง ส่งผลให้ธุรกิจของคุณมียอดขายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมั่นคงกว่ายอดขายที่ได้จากลูกค้าขาจร
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ระบบการขายหน้าร้าน • ระบบบริหารการขายหน้าร้าน (Point-of-Sale) เป็นระบบที่ช่วยบันทึกธุรกรรมที่จุดขายในทันที มีการระบุรายละเอียดของสินค้า บันทึกสินค้า จัดการราคา ทำให้กระบวนการขายสินค้าทำได้รวดเร็วขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการคิดราคาผิด หรือรวมราคาผิด อีกทั้งยังสามารถประสานการเติมเต็มสินค้าได้ทันเวลา ทำให้ลดปัญหากรณีที่สินค้าคงคลังหมดจากหน้าร้าน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น หรือแม้แต่การติดต่อกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการด้วยกันเอง โดยสามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและการบริการไว้บนเว็บไซต์ ทำให้การทำการค้าระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จะเกิดประโยชน์ต่อองค์กร และโซ่อุปทานดังต่อไปนี้ • สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมการดำเนินงานและหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยกัน • ช่วยให้เกิดการประสานร่วมมือกันระหว่างองค์กรภายในโซ่อุปทาน • ข้อมูลที่ผ่านระบบสารสนเทศสามารถควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องได้ • สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน • ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานและส่งผลไปยังการลดต้นทุนในการดำเนินงาน • สามารถนำมาใช้สร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางธุรกิจ • ตัวอย่างองค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการดำเนินงานภายในโซ่อุปทานเพื่อก่อให้เกิดการประสานร่วมมือกันและเกิดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในโซ่อุปทาน