340 likes | 554 Views
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ เทคโนโลยี สารสนเทศ. Chapter 1. 004001 เทคโนโลยี สารสนเทศ โปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ. เนื้อหา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ การ นำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งาน.
E N D
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Chapter 1 004001 เทคโนโลยีสารสนเทศ โปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ
เนื้อหา • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ • บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศ • การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ • ความหมายของข้อมูล • ประเภทของข้อมูล • ลักษณะของข้อมูลที่ดี • ความหมายของสารสนเทศ • ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของข้อมูล • ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อยู่ในรูปแบบใดก็ได้ สามารถเป็นได้ทั้งตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข ภาพ เสียง สัญลักษณ์ เป็นต้น โดยมีการรวบรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน
ประเภทของข้อมูล • แบ่งตามลักษณะการประมวลผล ได้แก่ • ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขใช้ในการคำนวณ เช่น ระยะทาง หรือ ราคา เป็นต้น • ข้อมูลเชิงคุณภาพ(QualitativeData) คือ ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในการคำนวณ เช่น เพศ การศึกษา หรือ อาชีพ เป็นต้น • แบ่งตามลักษณะการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ • ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เชื่อถือได้มากที่สุด • ข้อมูลทุติยภูมิ (SecondaryData) คือ ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งอื่นๆ อาจมีความคลาดเคลื่อน
ลักษณะของข้อมูลที่ดี • ถูกต้อง (Accuracy) • ความสมบูรณ์ (Completeness) • ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งาน (Timeliness) • ความเหมาะสมต่อการประมวลผล (Compatibles)
ความหมายของสารสนเทศ • สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วหรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้มาจากข้อมูล (Data) ข้อเท็จจริงที่สนใจ ด้วยการรวบรวมข้อมูลดิบจากแหล่งต่าง ๆ และนำมาผ่านกระบวนการประมวลผลโดยการประมวลผลอาจอยู่ในรูปแบบของการคำนวณ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การสรุปผล เป็นต้น สารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการประมวลผลนี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ตามความต้องการจากการประมวลผล ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงข้อมูลจะเป็นสิ่งที่เราสนใจในความหมายหรือคำจำกัดความที่กว้าง แต่เมื่อกล่าวถึงสารสนเทศนั้นจะหมายถึงสิ่งที่ได้จากข้อมูลนั้นหรือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลเป็นหลัก
Process input output Information Data
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ • คำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)” หรือ ไอที (IT) นั้น มีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางในทุกวงการ ซึ่งคำว่าเทคโนโลยีสารเทศนั้น ประกอบไปด้วยคำว่า “เทคโนโลยี” และคำว่า “สารสนเทศ” มารวมกัน • เทคโนโลยี (Technology) คือ สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือไม่ได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน แก้ปัญหา หรือช่วยอำนวยความสะดวกในลักษณะแบบใดแบบหนึ่งให้ดีขึ้น ดังตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้จากนำความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้กับการจัดการสารสนเทศ ซึ่งหมายรวมถึงเทคโนโลยีการผลิต การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์และเผยแพร่ การสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ ประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ ทันต่อเหตุการณ์ • ดังนั้น จึงสามารถกล่าวโดยสรุปว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ อยู่ 2 สาขาด้วยกัน คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer) คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์เครื่องมือสำคัญหนึ่งในการนำมาใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศตามต้องการได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การจัดการข้อมูลทางสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูล การรวบรวมการประมวลผล ในปัจจุบันมักใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จัดการแทบทั้งสิ้น เพราะคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ • เทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ข้อมูลมีการเผยแพร่ผ่านสื่อด้วยความเร็วสูง ทันต่อเหตุการณ์ และนำสารสนเทศไปยังกลุ่มเป้าหมายภายในระยะเวลาอันรวดเร็วข้อมูลที่เผยแพร่ไปนั้นมิใช่เป็นเพียงข้อความ แต่เป็นข้อมูลดิจิตอลซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความตัวเลข ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ซึ่งอาจผ่านสื่อโทรคมนาคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีสายส่งสัญญาณ (cable) สายไฟเบอร์ออปติก ระบบดาวเทียม เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ • บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น เว็บไซต์กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย http://www.dopa.go.th) ซึ่งมีฐานข้อมูลที่เก็บรายละเอียด ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวประชาชน ฯลฯ หรือกรณีของประชาชนในวัยทำงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับกรมสรรพากร (http://www.rd.go.th) ซึ่งมีการประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการยื่นเสียภาษีอากรนอกจากนี้ในวัยศึกษาเล่าเรียนที่ยกตัวอย่างได้ใกล้ตัวที่สุดในระดับอุดมศึกษาที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาหรือมหาวิทยาลัยอื่นๆที่จะต้องเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศของนักศึกษาและการลงทะเบียนเรียน • นอกจากนี้องค์กรหรือหน่วยงานเอกชนก็ได้ประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้ • การนำเสนอและประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กร • การขายสินค้าและบริการ • การตรวจสอบในการรับส่งสินค้า • การเรียนการสอน • งานบุคลากรและฐานข้อมูลลูกค้า
http://www.dopa.go.th http://www.rd.go.th
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ด้านการดำเนินงานและการบริหารงาน • ด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม • ด้านการติดต่อสื่อสาร • ด้านการศึกษา • ด้านการแพทย์ • ด้านสังคมและการเมือง
ระบบสารสนเทศ • ความหมายของระบบสารสนเทศ • องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศ • ประเภทของระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบสารสนเทศความหมายของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักได้แก่ ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ระบบเครือข่าย กระบวนการหรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานข้อมูลและสารสนเทศและบุคลากรในงานสารสนเทศ
การสะท้อนกลับ การประมวลผล การแสดงผลข้อมูล การนำเข้าข้อมูล กิจกรรมของระบบสารสนเทศ • การแบ่งจำพวก (Classifying) • การจัดเรียง (Sorting) • การสรุปผล (Summarizing) • การจำลอง/คัดลอก (Reproducing) • การคำนวณ (Calculating) • การจัดเก็บ (Storing) • การควบคุม (Controlling)
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศองค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศ • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลเข้า (Input Device) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) เป็นต้น โดยที่ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น • ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ ชุดคำสั่งที่ใช้ในงานด้านต่าง ๆ • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software) วัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์คือการสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามที่ต้องการ เช่น การประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่องค์กรต้องการ บางครั้งเราเรียกซอฟต์แวร์ว่า โปรแกรม(Program)
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศ (ต่อ) • ระบบเครือข่าย (Network System) ระบบที่เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง มาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยระบบแบบมีสาย หรือระบบไร้สาย เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกันได้ • ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information) จัดเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้องนำข้อมูลที่นำเข้าจากหน่วยรับข้อมูลมาทำการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศตามที่องค์กรต้องการใช้งาน ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการใช้งานในองค์กรนั้น ๆ โดยข้อมูลที่นำเข้าจะต้องมีความถูกต้อง จึงจะได้ผลลัพธ์เป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศ (ต่อ) • กระบวนการทำงาน (Procedures) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ • บุคลากรทางสารสนเทศ (Information Systems Personnel) เป็นส่วนที่สำคัญของระบบสารสนเทศเช่นกัน เนื่องจากเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS) • ระบบประมวลผลธุรกรรม เป็นระบบสารสนเทศสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ หรือผู้บริหารระดับล่าง ที่ทำงานประจำวัน โดยระบบทำหน้าที่รับข้อมูลธุรกรรมหรือข้อมูลจากการปฏิบัติงานประจำวันมาดำเนินการจัดเก็บ และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลธุรกรรมเหล่านั้น ระบบนี้เป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศอื่น ๆ เพราะเป็นระบบที่จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเอาไว้ ตัวอย่างเช่น ในมหาวิทยาลัยจะมีระบบประมวลผลธุรกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษา ได้แก่ ระบบการบันทึกข้อมูลประวัตินักศึกษาใหม่ ระบบบันทึกการลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ และการชำระเงินค่าหน่วยกิต เป็นต้น เมื่อมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของนักศึกษาลงในคอมพิวเตอร์แล้ว จะมีการส่งข้อมูลไปสู่ระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนส่งไปจัดพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเพื่อส่งให้แก่อาจารย์ผู้ดูแลชุดวิชา ส่วนข้อมูลการชำระเงินจะส่งไปยังแผนกบัญชีเพื่อดำเนินการต่อ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมาเหล่านี้จะถูกบันทึกเก็บไว้ในฐานข้อมูลสำหรับใช้กับระบบสารสนเทศอื่น ๆ ต่อไป
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับพนักงานระดับกลางหรือผู้บริหารระดับกลาง เป็นระบบที่ทำหน้าที่รับข้อมูลธุรกรรมที่ได้จัดเก็บด้วยระบบประมวลผลธุรกรรม มาประมวลผลต่อเพื่อให้ได้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้ใช้ ซึ่งส่วนมากได้แก่ พนักงานระดับหัวหน้าหน่วย หัวหน้าแผนก ส่วนใหญ่เป็นรายงานของระบบประมวลผลธุรกรรม กล่าวคือ มีลักษณะเป็นรายงานสรุป ตัวอย่าง เช่น รายงานที่สรุปผลการรับนักศึกษาเข้าเรียน รายงานสรุปจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนในแต่ละชั้นปี รายงานสรุปยอดเงินที่ได้รับจากการลงทะเบียนหรือเป็นรายงานทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกปี เพื่อจัดส่งให้แก่ผู้บริหารในหน่วยงาน ส่วนรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศนี้ อาจอยู่ในรูปแบบตาราง หรือกราฟ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและต้องการของผู้ใช้งาน
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้กับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารหรือผู้ใช้งานมีประสิทธิผลมากขึ้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเป็นระบบที่แก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง โดยจะจะรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร มาทำการวิเคราะห์และพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยผู้ใช้จะป้อนข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจของตนเข้าสู่ระบบ จากนั้นระบบจะพยากรณ์ว่าหากตัดสินใจเช่นนั้นจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อผู้ใช้เห็นคำตอบแล้วอาจต้องการเปลี่ยนการตัดสินใจเป็นแบบอื่น ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลของการตัดสินใจแบบใหม่เข้าสู่ระบบซ้ำอีก และระบบก็จะพยากรณ์เหตุการณ์ซ้ำใหม่ เมื่อเห็นคำตอบชุดใหม่แล้วยังไม่พอใจผู้ใช้ก็อาจจะทดลองเปลี่ยนค่าข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจ
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หรือระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Support System) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อที่จะนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบาย หรือการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ในการพัฒนาระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเน้นการนำเสนอข้อมูลหรือรายงานที่ตรงตามความต้องการให้กับผู้บริหาร กล่าวคือ ผู้พัฒนาระบบต้องเข้าใจว่าผู้รับรายงานคือใคร มีความต้องการสารสนเทศด้านใด ในรูปแบบใด และต้องการทราบสารสนเทศเมื่อใด ต้องสามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสารสนเทศที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และรู้จักเลือกสรรส่วนที่เป็นสาระสำคัญมาวิเคราะห์และจัดทำเป็นรายงาน รวมทั้งสามารถเลือกวิธีที่จะนำเสนอสารสนเทศที่วิเคราะห์ได้เพิ่มเติม ให้สามารถสื่อสารเรื่องที่สำคัญให้ผู้รับรายงานทราบถึงความสำคัญได้ทันที นอกจากนี้ยังต้องสามารถค้นหาสารสนเทศอื่นๆทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กร เพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และนำเสนอให้ผู้รับรายงานเข้าใจสถานการณ์ที่สารสนเทศกำลังชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่ระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเน้นการนำเสนอสารสนเทศในภาพรวมที่เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้อาจนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาติดตั้งเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนการใช้งานระบบให้ดียิ่งขึ้น
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) • ระบบสารสนเทศสำนักงาน หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการงานสำนักงาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นงานธุรการ งานการจัดการเอกสารเข้า-ออก งานการประชุม งานการติดต่อนัดหมาย เป็นต้น โดยระบบสารสนเทศสำนักงานเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถใช้งานได้สำหรับบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับงานสำนักงาน ระบบสารสนเทศประเภทนี้อาจนำเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายเข้ามาช่วยในการจัดการเรื่องการรับส่งข้อมูล เอกสารต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ หรือพัฒนาเป็นระบบที่มีความสามารถในการติดต่อนัดหมายแบบออนไลน์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวก ลดการสูญหายของเอกสาร และลดการใช้ทรัพยากรสำนักงานได้
ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems : KWS) • ระบบงานสร้างความรู้ เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆบริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานหน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคาระบบจะต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้นตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการใช้จริง ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ตัวแบบรูปแบบ เป็นต้น (สุชาดา กีระนันทน์. 2541)
ระบบสารสนเทศกับการใช้งานของบุคลากรแต่ละระดับในองค์กรระบบสารสนเทศกับการใช้งานของบุคลากรแต่ละระดับในองค์กร
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งาน นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีระบบสารสนเทศอื่นๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในองค์กรได้ ดังนี้ • ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) • ระบบการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning System : ERP) • ระบบการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) • ระบบความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality System)
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) • ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้จัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ตั้งแต่ การจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ภาพถ่าย (ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ) ข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่ ประชากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ทั้งหมด โดยระบบนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการ เรียกใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ที่ต้องการได้ • ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ สามารถนำไปใช้งานทางด้านการทหาร งานด้านการวางผังเมือง และงานด้านธุรกิจมากมาย เช่น การคำนวณเส้นทางการจัดส่งสินค้า การวิเคราะห์ทำเลที่เหมาะกับการทำธุรกิจ เป็นต้น
ระบบการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning System : ERP) • ระบบการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร เป็นระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เช่น วัตถุดิบ บุคคลและเวลา รวมถึงข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมในระบบธุรกิจ ระบบการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร มีรูปแบบการบริหารทรัพยากรแบบรวมหน่วย มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ภายใต้ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล และการเชื่อมโยงกิจกรรมที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน ทำให้ประหยัดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และลดความผิดพลาดในการสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยงานหรือระหว่างองค์กร
ระบบการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM) • ระบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หมายถึง ระบบที่มีการนำวิธีการและเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มาใช้จัดการกิจกรรมทางด้านการตลาด การขาย และการบริการ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับลูกค้า โดยจะนำข้อมูลจากคลังข้อมูล เช่น ข้อมูลการให้บริการ ความคิดเห็นของลูกค้าตลอดจนรายละเอียดของลูกค้ามาวิเคราะห์หาวิธีการสร้างความพึงพอใจและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด เป้าหมายของ ระบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คือ “จะต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างองค์กรกับลูกค้าให้เกิดขึ้นได้”
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ใช้ในการนำเสนอองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาและให้คำแนะนำอย่างมีเหตุผล สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของตนมาใช้ในการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาเองได้ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญต้องอาศัยองค์ความรู้จำนวนมาก เพื่อการแปลความ เปรียบเทียบและวิเคราะห์จนได้ผลลัพธ์ ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญที่นำมาประยุกต์ใช้ในด้านธุรกิจ เช่น ระบบ Expert Scheduling System ที่ใช้เพื่อจัดตารางงานผลิตในโรงงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ และการนำระบบผู้เชี่ยวชาญมาใช้เขียนแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยระบบจะให้ข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจ เป็นต้น
ระบบความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality System) • ระบบความเป็นจริงเสมือน หมายถึง ระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้ระบบเคลื่อนไหวและมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมที่ถูกจำลองขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ได้ โดยผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเฉพาะ สามารถสัมผัสได้ทั้งภาพและเสียง อุปกรณ์พิเศษจะมีโปรแกรมบันทึกการเคลื่อนไหว เสียง และการรับรู้ความรู้สึกของ ผู้ใช้ได้ เช่น ถุงมือ แว่นตา หมวก เป็นต้น ระบบความเป็นจริงเสมือนถูกนำมาใช้กับงานด้านต่าง ๆ เช่น การฝึกทหาร การฝึกขับรถภายใต้สภาพพื้นที่แตกต่างกัน ใช้แสดงแบบจำลองบ้านและอาคาร แสดงแบบจำลองสินค้า หรือ แสดงแบบจำลองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น