410 likes | 618 Views
Cancer. CERVICAL CANCER. มะเร็งปากมดลูก. สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งปากมดลูกยังไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) การสูบบุหรี่
E N D
มะเร็งปากมดลูก สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งปากมดลูกยังไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ • การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) • การสูบบุหรี่ • การมีระบบภูมิต้านทานที่ลดลง เช่น จากการติดเชื้อ HIV,การได้รับยาที่กดภูมิต้านทาน • การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนอายุน้อย • การให้กำเนิดลูกหลายคน
มะเร็งปากมดลูก ระยะแรกจะไม่ค่อยมีอาการแสดง แต่การตรวจภายในเพื่อเช็คมะเร็งปากมดลูกจะตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้ อาการแสดงที่พบได้แก่ อาการปวดท้องน้อย การมีเลือดออก ผิดปกติทางช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ
มะเร็งปากมดลูก • การดูแลกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 1. แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย 2. ให้ไปตรวจภายใน (PAP smear) เพื่อค้นหาการติดเชื้อ HPVและการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อปากมดลูก ช่องคลอด 3. ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่ 4. ส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
มะเร็งปากมดลูก • คำแนะนำการเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกมีโอกาสเป็นซ้ำ (recurrence) ส่วนใหญ่ร้อยละ70-89 จะเกิดขึ้นในปีแรก หลังสิ้นสุดการรักษา จึงควรติดตามทุก 3-4 เดือนในช่วง 2 ปีแรก และ ทุก 6 เดือน ต่อไปจนครบ 5 ปี
มะเร็งเต้านม • สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งเต้านม ยังไม่ทราบอย่างชัดเจน • แนวทางการประเมิน 1. ประวัติ : ละเอียด เช่น อาการสำคัญ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ทั้งประวัติมะเร็งในครอบครัว ประวัติการมีประจำเดือน เป็นต้น 2. การตรวจร่างกาย ควรตรวจที่เต้านมทั้งสองข้าง รวมถึงรักแร้และบริเวณคอ เพื่อหาต่อมน้ำเหลืองว่าผิดปกติหรือไม่
มะเร็งเต้านม 1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง 2. การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง • การดู • การคลำ
มะเร็งเต้านม วิธีการคลำ • ต้องให้ครอบคลุมเนื้อเยื่อเต้านมทั้งหมด ต้องมั่นใจว่าบริเวณขอบๆ และใต้หัวนมได้ถูกคลำอย่างทั่วถึง 3 นิ้วสัมผัส • ใช้บริเวณกึ่งกลางนิ้วทั้งสาม คือนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง • บริเวณกึ่งกลางนิ้วทั้งสามจะสัมผัสได้ดีและกว้างกว่าส่วนปลายนิ้ว • โค้งฝ่ามือเพื่อให้นิ้วทั้งสามราบและสัมผัสกับเต้านม
มะเร็งเต้านม • วิธีการกด 3 ระดับดังนี้ 1. กดเบาๆ เพื่อให้รูสึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง 2. กดปานกลาง เพื่อให้รูสึกถึงกึ่งกลางของเต้านม 3. กดหนักขึ้น เพื่อให้รูสึกถึงส่วนลึกใกล้ผนังปอด - สุดท้ายของการคลำให้กดหรือให้บีบหัวนมเบาๆเพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติออกมาหรือไม่ห้ามบีบเค้นหัวนม