560 likes | 719 Views
Introduction to Internet. อ.วร พจน์ พรหมจักร. ความหมายของ Internet. อินเทอร์เน็ต ( Internet) มาจากคำว่า Inter และ N etwork เป็น เครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน. ความหมายของ Internet.
E N D
Introduction to Internet อ.วรพจน์ พรหมจักร
ความหมายของ Internet • อินเทอร์เน็ต (Internet)มาจากคำว่า Interและ Network • เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
ความหมายของ Internet • อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอล TCP/IP ทำให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง เป็นต้น
ประวัติและความเป็นมา • อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย • การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวิร์ค" ( Campus Network ) เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" (NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 • เริ่มต้นเมื่อปี 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP)
Protocol • โปรโตคอล (Protocol)คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
TCP/IP • TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) หมายถึงมาตรฐานการสื่อสารและส่งข้อมูลผ่าน Internet ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
TCP/IP • TCPมาจากคำว่า Transmission Control Protocol ทีซีพี เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้ สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่า ในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้
TCP/IP • หน้าที่ของ TCP • Transmission Control Protocol (TCP) จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทาง ก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
TCP/IP • หน้าที่ของ IP : Internet Protocal (IP) จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทาง ไปยังเครื่องปลายทาง โดยอาศัย IP Address • IP address คือ ระบบการอ้างอิง การมีตัวตนอยู่ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งอ้างอิงจากหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุดตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1
TCP/IP • วิธีตรวจสอบ IP Address • 1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run • 2.พิมพ์คำว่า cmdกดปุ่ม OK • 3.จะได้หน้าต่างสีดำ • 4. พิมพ์คำว่า ipconfigกด enter • 5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address
TCP/IP TCP/IP มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน สามประการคือ • 1. เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน • 2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ • 3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)
ISP • ISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet service provider) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น เอดีเอสแอล, ไฟเบอร์ออปติค, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด
Domain name • Domain name (โดเมน เนม) คือ ชื่อเว็บไซต์ ซึ่งโดยปกติ เว็บไซต์ ทุกเว็บ จะต้องมีที่อยู่ในโลกของ Internet ซึ่งก็คือ IP Address โดย IP Address ถือเป็น หมายเลขประจำตัวของคอมพิวเตอร์ ตัวนั้น IP Address เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึง computer หรือ server ในเครือข่าย Internet โดยใช้หมายเลข IP ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ คอมพิวเตอร์
Domain name • โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร จึงมีระบบ ชื่อคอมพิวเตอร์ ตาม มาตราฐาน ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า "ดีเอ็นเอส" DNS (Domain Name System) หรือระบบชื่อ Domain name นั่นเอง
Domain name • ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1.โดนเมนเนม 2 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.mindphp.comประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
Domain name • *.com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ • *.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร • *.net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย • *.eduคือ สถาบันการศึกษา • *.govคือ องค์กรของรัฐบาล • *.mil คือ องค์กรทางทหาร
Domain name • 2.โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.google.co.th ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ • *.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ • *.ac คือ สถาบันการศึกษา • *.go คือ องค์กรของรัฐบาล • *.netคือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย • *.or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
Domain name • ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร*.thคือ ประเทศไทย*.cnคือ ประเทศจีน*.ukคือ ประเทศอังกฤษ*.jpคือ ประเทศญี่ปุ่น*.auคือ ประเทศออสเตรเลีย
URL • URL (Uniform Resource Locator) คือ เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการจะเข้าไปเรียกดูข้อมูล ชื่อโดเมนยังสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ URL ได้รูปแบบมีดังต่อไปนี้
URL http://www.urlbookmarks.com/support/urlfaq.htm 1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (ตัวอย่างของโปรโตคอลที่เรียกใช้บริการได้ เช่น http:// หรือ ftp:// เป็นต้น)2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www/urlbookmarks)3. ประเภทของเวบไซต์(.com)4.ไดเร็กทอรี่ (/support/)5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)
WWW (World Wide Web) • เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ Web) คือ บริการค้น หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือ มัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้ เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน WWW โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorerและ Firefox
WEB site, webpage, homepage • Website ความหมายถึง ข้อมูลเว็บเพจ(web page) หลาย ๆ หน้า มาเชื่อมโยงกันด้วย link เกิดเป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่สามารถเข้าชมไปได้เรื่อย ๆ • Webpageมีความหมายถึง หน้าข้อมูลหน้าหนึ่ง ๆ ที่อาจจะกล่าวถึงเรื่องราวเพียงเรื่องเดียว หรือ หลาย ๆ เรื่องราวในหน้าเดียวก็ได้ • home pageคือ หน้าแรกของเว็บไซต์
ประเภทของเว็บไซต์ • เว็บไซต์สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 9ประเภทตามลักษณะของเนื้อหาและรูปแบบของเว็บไซต์ กลุ่มเว็บทั้ง 9ประเภท ได้แก่
ประเภทของเว็บไซต์ • 1.เว็บท่า (Portal site)เว็บท่านั้นอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเว็บวาไรตี้(variety web) ซึ่งหมายถึงเว็บที่ให้บริการต่างๆ ไว้มากมาย มักประกอบไปด้วยบริการเครื่องมือค้นหา ที่รวบรวมลิงค์ของเว็บไซต์ที่น่าสนใจไว้มากมายให้ได้ค้นหา รวมถึงบริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มีสาระและบันเทิงหลากหลายประเภท เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว IT เกม สุขภาพ หรืออื่นๆ นอกจากนั้นแล้วเว็บท่ายังมีลักษณะในการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้คนในสังคมในเรื่องเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ซึ่งเรียกว่าเว็บชุมชน (community web) คือเป็นเว็บที่ให้บริการพื้นที่แก่กลุ่มคนผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นกัน
ประเภทของเว็บไซต์ • 2. เว็บข่าว (News site)เว็บข่าวมักเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยองค์กรข่าวหรือสถาบันสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่มีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ของตนอยู่เป็นหลัก เช่น สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หรือแม้กระทั่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แต่องค์กรเหล่านี้ได้นำเว็บไซต์มาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อนำเสนอข่าวและสาระที่เป็นการสรุปใจความสำคัญหรือรวบรวมเนื้อหาจากข่าวในรอบเดือนหรือรอบปี ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลและติดตามข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา แม้ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม
ประเภทของเว็บไซต์ • 3. เว็บข้อมูล (Information site)เว็บข้อมูลนั้นเป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ตนเองขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของตนได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดแก่ประชาชนในสังคมอีกด้วย
ประเภทของเว็บไซต์ • 4. เว็บธุรกิจหรือการตลาด (Business/ Marketing site)เว็บธุรกิจหรือการตลาด เป็นเว็บไซต์ที่มักสร้างขึ้นโดยองค์กรธุรกิจต่างๆ มีจุดมุ่งหมายหลักในการประชาสัมพันธ์องค์กรและเพิ่มผลกำไรทางการค้า โดยเนื้อหาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเป็นการนำเสนอที่มีความน่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อผลกำไรทางธุรกิจนั่นเอง
ประเภทของเว็บไซต์ • 5. เว็บการศึกษา (Education site)เว็บการศึกษามักเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เว็บการศึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เว็บที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงนั้น ได้แก่เว็บของสถาบันการศึกษา ห้องสมุด และเว็บที่ให้บริการการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่เรียกว่า อี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงเว็บที่สอนหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การทำเว็บ การทำอาหาร การถ่ายภาพ การเขียนโปรแกรม ฯลฯ
ประเภทของเว็บไซต์ • 6. เว็บบันเทิง (Entertainment site)เว็บบันเทิงนั้นมุ่งเสนอและให้บริการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง โดยทั่วไปอาจนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการบันเทิงทั่วไป เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา ความรัก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขำขัน รวมถึงการให้บริการดาวน์โหลดโลโก้และริงโทนสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกด้วย เว็บประเภทนี้อาจมีรูปแบบที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟที่ตื่นตาตื่นใจ หรือใช้เทคโนโลยีมัลติมิเดียได้มากกว่าเว็บประเภทอื่น
ประเภทของเว็บไซต์ • 7. เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (None-profit organization site)เว็บประเภทนี้มักจะเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ที่มีนโยบายในการสร้างสรรค์ที่ช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลกำไรหรือค่าตอบแทน ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้ได้แก่ สมาคม ชมรม มูลนิธิ และโครงการต่างๆ โดยอาจมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อทำความดี สร้างสรรค์สังคม พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ปกป้องสิทธิมนุษยชน รณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่ หรืออาจรวมตัวกันเพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม
ประเภทของเว็บไซต์ • 8. เว็บส่วนตัว (personal site)เว็บส่วนตัวอาจเป็นเว็บของคนๆ เดียว เพื่อนฝูง หรือครอบครัวก็ได้ โดยอาจจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น แนะนำกลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น เขียนไดอารี่ประจำวัน นำเสนอผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เชี่ยวชาญหรือสนใจ โดยทั้งหมดนี้อาจทำเป็นเว็บไซต์หรือเป็นเพียงเว็บเพจหน้าเดียวก็ได้
ประเภทของเว็บไซต์ • 9. Social media website เว็บสังคมออนไลน์ • มีเดีย(Media) หมายถึง สื่อหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสาร • โซเชียล(Social”) หมายถึง สังคม • โซเชียลมีเดีย ในที่นี้หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผู้ใช้แสดงความเป็นตัวตนของตนเองเพื่อที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับหรือแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น • ตัวอย่างเช่น Facebook, Twitter
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต • บริการด้านการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น • บริการด้านการติดต่อสื่อสาร • บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล • บริการค้นหาข้อมูล • บริการข้อมูลมัลติมีเดีย
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต • บริการด้านการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น • ตัวอย่าง • E-mail • Web broad
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต • บริการด้านการติดต่อสื่อสาร • ตัวอย่าง • Video call = Skype • Chatting = MSN
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต • บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล • ตัวอย่าง • FTP • Upload, Download = Bit torrent
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต • บริการค้นหาข้อมูล • ตัวอย่าง • Search Engine = Google, Bing • Web directory = yahoo, Wikipedia
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต • บริการข้อมูลมัลติมีเดีย • ตัวอย่าง • WWW เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext • ดูหนัง ฟังเพลง ออนไลน์ • Youtube
ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต • ด้านการศึกษา1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือออนไลน์2. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดออนไลน์3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น4. สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้
ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต • ด้านการพาณิชย์1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ2. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต3. ทำการตลาดการโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต • ด้านการบันเทิง1. การพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ2. การเล่นเกมออนไลน์3. สามารถฟังวิทยุหรือดูการถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้4. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต • นอกจากนี้ยังประโยชน์และมีความสำคัญ เช่น ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
ข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ตข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ต • มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฎหมาย,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ- อินเตอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก- มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก เติบโตเร็วเกินไป- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่- ถ้าเล่นอินเตอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้- ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
ข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ตข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ต • โรคติดอินเทอร์เน็ต(Webaholic) • ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้ • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้ • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
ข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ตข้อเสียของการใช้อินเตอร์เน็ต • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ตมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฎกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ • 1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต • 2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต
มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ตมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต • 1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ • 1.1 ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฎ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติดต่อ
มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ตมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต • 1.2 ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต