E N D
การผลิตและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิตสำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม ปีการศึกษา 2550วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่จังหวัดสงขลาผู้วิจัยธนาธรณ์ ศรีหะรัญตำแหน่งครูชำนาญการ(งานวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในการประชุมสัมมนาทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยอาชีวศึกษา ประจำปี 2552 โรงแรมปรินซ์พาเลซ 17-18 ก.ย.2552)
ปัญหาการวิจัย • จากข้อมูลการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม ปีการศึกษา 2549 ทีผ่านมา พบว่านักศึกษาร้อยละ 68.80 ยังมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเรื่องการเจาะและเตรียมหลุมผลิตปิโตรเลียม อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการบันทึกหลังการสอนตามแผนการสอนพบว่า นักศึกษามีโอกาสน้อยในการเรียนรู้และทำความเข้าใจในเนื้อหาโดยการรับฟังคำบรรยายจากครูผู้สอนอย่างเดียว • จากปญหาที่พบในการเรียนการสอนวิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม จึงทําใหผูวิจัยเลือกที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต เพราะมีขอดีในการชวยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรูใหแกผูเรียน และมีความคงทนในการเรียนรู สูงกวาการสอนปกติ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต สําหรับผู้เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ระหว่าง ก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 3. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต ของผู้เรียนที่เรียนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนกับผู้เรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนปกติ 4. เพื่อศึกษาเจตคติตอการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน
ขอบเขตการวิจัย - ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1 ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จํานวน 356 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง มาใช้ในการวิจัย จำนวน 2 ห้องเรียน คือ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1 สาขางานเทคโนโลยีปิโตรเลียม และ สาขางานเทคโนโลยีหลุมเจาะปิโตรเลียม สาขาวิชาช่างเครื่องมือวัดและควบคุม ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จํานวน 42 คน - ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรต้น ได้แก่ การผลิตและการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ตัวแปรตาม ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของ บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน3. ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 4. เจตคติต่อการเรียน
สมมุติฐานงานวิจัย 1.บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 75/75 และประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า0.5 2. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกวาก่อนเรียน 3. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมีความคงทนในการเรียนรูเรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต มากกวาผู้เรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนปกติ 4. ผู้เรียนมีเจตคติตอการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต อยูในระดับดี
กรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัยกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัย • แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ • แนวคิดทฤษฎีด้านเจตคติ
แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดหลักที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำการเรียนรู้ในทุกขั้นตอน มากกว่าที่จะให้ครูเป็นผู้กระทำ
แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ แนวคิดหลักที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นการค้นพบองค์ความรู้จากสถานการณ์ที่จัดให้เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ห้องเรียน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง คือ 1. สุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อเลือกผู้เรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยคละกันระหว่างเด็กเก่ง ปานกลางและอ่อนในสัดส่วน 1/1/1 จำนวน 3 การทดลอง นักศึกษา 42 คน 2. สุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 1 ห้องเรียนได้กลุ่มตัวอย่าง 2 ห้อง นักศึกษา 60 คน ประชากรในการวิจัย เป็น ผู้เรียนระดับปวส.1ที่เรียน อยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จํานวน 356 คน
ตัวแปรในการวิจัย 1 ตัวแปรต้น 1.1 การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 1.2 การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 2 ตัวแปรตาม 2.1 ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของ บทเรียนคอมพิวเตอร ชวยสอน 2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3 ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน 2.4 เจตคติต่อการเรียน
เครื่องมือในการวิจัย • บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียมเรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต สําหรับผู้เรียนระดับปวส.1 • แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน • แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์แบบคู่ขนาน ฉบับละ 20 ข้อ • แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน • แผนการสอนแบบบรรยาย • แบบวัดเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จำนวน 10 ข้อ
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบการวัดผลและประเมินผล • ศึกษาหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม • ศึกษาหลักสูตรการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ในส่วนที่เกี่ยวกับรายวิชา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม 4. วิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ 5. สร้างข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ให้สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด โดยสร้างข้อสอบขึ้นมา 2 ชุด ๆ ละ 20 ข้อ 6. นําแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความชัดเจนถูกต้อง ความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อทําให้การปรับปรุงแก้ไข โดยพิจารณาจากค่า IOC ซึ่งมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.61 ขึ้นไป 7. นําแบบทดสอบทั้งสองชุดไปทดสอบกับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ชุดละ 9 คน โดยใช้เวลาในการทําข้อสอบชุดละ 30 นาที
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ต่อ) • นําผลที่ได้จากการทดสอบทั้งสองฉบับมาวิเคราะห์เป็นรายข้อ เพื่อหาระดับของความยากง่าย (p) และอํานาจจําแนก (r) ปรากฏว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง (p) 0.50 ถึง 0.81 ค่าอํานาจจําแนก (r) 0.72 ถึง 0.93 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability KR-20) เท่ากับ 0.83
แบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากเอกสารตําราต่าง ๆ และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับเจตคติ และแบบวัดเจตคติที่ Hooper & Others (1993)ได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างข้อคําถามให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 3. สร้างแบบวัดเจตคติต่อการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แบบ มาตรวัดLikert มีข้อความให้เลือก 5 ข้อความ จำนวน 15 ข้อ โดยมีข้อความทั้งด้านบวกและด้านลบ 4. นําแบบวัดเจตคติต่อการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ในข้อความ แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไข 5. นําเครื่องมือที่ตรวจสอบและแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1 ห้อง จํานวน 30 คน
แบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ)แบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ) 6. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเครื่องมือ โดยหาค่าอํานาจจําแนกรายข้อ และคัดเลือกข้อความที่มีค่าอํานาจจําแนก 0.2 ขึ้นไป โดยเลือกข้อที่มีค่าสูงสุดจํานวน 10 ข้อ
แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1. ศึกษาทฤษฎีและหลักการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 5 ขั้นตอนคือ 1). ขั้นนำและทบทวนความรู้เดิม 2). ขั้นการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3). ขั้นการฝึกปฏิบัติจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4). ขั้นสร้างความคิดใหม่ 5). ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลงานร่วมกัน 2. ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาสาระรายวิชา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม จากคำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์รายวิชา และมาตรฐานรายวิชาจากหลักสูตรการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม 3. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี 4. นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการสอน และนําข้อเสนอแนะต่างๆ มาทําการแก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ)แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ) 5. นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้แก้ไขแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการสอน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ซึ่งเป็นครูผู้สอนในสาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม ระดับ ปวส.1 จำนวน 5 ท่านตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง แล้วแก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 6. นําแผนการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จํานวน 1 ห้องเรียน แล้วนําข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของวิธีดําเนินกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน เวลาที่ใช้ในการสอน และการเตรียมการสอน แล้วนําไปปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ก่อนที่จะนําไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยต่อไป
แผนการสอนแบบบรรยาย 1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม และหลักสูตรการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ 2. ศึกษาเนื้อหารายวิชา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม และวิเคราะห์เนื้อหาจากหลักสูตร 3. ดําเนินการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย โดยมีขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นการบรรยายเนื้อหาสาระ 3) ขั้นการทบทวนความรู้ความเข้าใจ 4) ขั้นการสรุปและประเมินผล 4. นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ไปหาประสิทธิภาพของแผนการสอนโดยให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการพิเศษตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการสอนแล้วแก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 5. ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายกับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 1 ห้องเรียน แล้วปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 6. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ไปทดลองสอนกับกลุ่มตัวอย่างตามขั้นตอนการวิจัยต่อไป
รูปแบบการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (True Experimental Design) โดยใช้แบบแผนการวิจัยที่เรียกว่า The pretest – posttest groups design ดังนี้ กลุ่มทดลอง R O1 X O2 กลุ่มควบคุม R O3 C O4 ความหมายของสัญลักษณ์ • R หมายถึง การสุ่มนักศึกษาเข้ากลุ่ม • O1หมายถึง คะแนนสอบก่อนเรียนของกลุ่มทดลอง • O2หมายถึง คะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลอง • O3 หมายถึง คะแนนสอบก่อนเรียนของกลุ่มควบคุม • O4หมายถึง คะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม • X หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน • C หมายถึง การสอนปกติ
การเก็บรวบรวมข้อมูล • การทดลองแบบหนึ่งตอหนึ่ง (One to One Testing) โดยนําบทเรียนคอมพิวเตอร ชวยสอนที่พัฒนาขึ้น ทดลองกับผู้เรียนที่ไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มากอนแบบเจาะจง จํานวน 3 คน โดยเลือกผู้เรียนที่มีระดับผลการเรียนระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 1 คน เพื่อสำรวจดูว่า ภาษา ภาพ ตัวอักษร และการบันทึกข้อมูลของบทเรียนที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมหรือไม่ กรอบของบทเรียนใดอธิบายไม่ชัดเจนทำให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียน โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนมาเป็นข้อสรุป เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของบทเรียน รวมทั้งหาขอบกพรอง แลวนําผลมาปรับปรุง แกไขต่อไป • การทดลองแบบกลุมเล็ก ( Small Group Testing) โดยนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่ปรับปรุง แกไขแลว ทดลองใช้กับผู้เรียนที่ไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มากอน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง จํานวน 9 คน โดยเลือกผู้เรียนที่มีระดับผลการเรียนระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 3 คน โดยให้ผู้เรียนเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น แล้วทำการทดสอบหลังเรียน จากนั้นนำคำตอบและคะแนนที่ได้ของกลุ่มตัวอย่างไปวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าเฉลี่ย เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของบทเรียนที่สร้างขึ้นรวมทั้งหาขอบกพรอง แลวนําผลมาทำการปรับปรุง แกไขขอบกพรองต่างๆ ที่พบจนสมบูรณ์ดีแล้วจึงนำไปทดลองภาคสนามต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล (ต่อ) • การทดลองภาคสนาม (Field Testing) โดยนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่ปรับปรุง แกไขข้อบกพร่องต่างๆ แลว ทดลองกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จํานวน30 คน โดยชี้แจงวิธีการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากนั้นให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนก่อนการเรียนรู้ แล้วจึงให้ผู้เรียนเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน โดยปฏิบัติกิจกรรมประกอบการเรียนจนจบบทเรียน และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนทันที และนำผลที่ได้ไปหาค่าร้อยละเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 และค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนโดยใช้เกณฑ์ 0.50 4. สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนโดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน จำนวน 20 ข้อกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มควบคุม ซึ่งถือเป็นการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) 5. ดําเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 6. การทดสอบหลังเรียน (posttest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 20 ข้อกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มควบคุม
การเก็บรวบรวมข้อมูล(ต่อ)การเก็บรวบรวมข้อมูล(ต่อ) 7. การทดสอบความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน จะทดสอบหลังจากเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบทดสอบชุดแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อหาค่าความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม • การสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน สอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อวัดเจตคติ ตอการเรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล • ขั้นหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย 1) วิเคราะหความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ ใชคาเฉลี่ย (Arithmetic Mean) 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามแนวคิด ของ วิลเลียมส์ และ เอสพิส (อ้างถึงในสุวิมล เขี้ยวแก้ว, 2542) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 โดยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพตัวแรกจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ผู้เรียนตอบถูกจากการทำแบบฝึกหัด และกิจกรรมระหว่างเรียน ส่วนค่าประสิทธิภาพตัวหลังคำนวณหา โดยการนำผลการทดสอบที่ได้จากแบบทดสอบหลังเรียนไปหาค่าร้อยละ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index; E.I.) ของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ที่พัฒนาขึ้น เพื่อดูพัฒนาการของการเรียนกอนเรียนและหลังเรียน การคํานวณหาคาดัชนีประสิทธิผล ใชวิธีการของ กูดแมน เฟรทเชอร และชไนเดอร (สังคม ภูมิพันธ. ม.ป.ป.)
การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) • ขั้นหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.2 การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใชสถิติ คาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) คาความยากงาย (p) คาอํานาจจําแนก ( r ) และคาความเชื่อมั่น (Reliability) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1) หาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ของ แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธี โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (บุญชม ศรีสะอาด, 2535) 2) หาค่าความยากง่าย (Difficulty; p) และ ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination; r) ของแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (บุญชม ศรีสะอาด, 2535) 3) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) (Kuder-Richardson Method) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540)
การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) 2. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน 2.1 การวิเคราะหเจตคติของผู้เรียนที่มีตอบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ใชรอยละ (Percentage) คาเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2.2 การหาความก้าวหน้า เพื่อ ศึกษาความแตกต่างของคะแนน จากการทำ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 1) ทดสอบความแตกตางของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหวาง หลังเรียนกับกอน เรียนและระหว่าง หลังเรียน 2 สัปดาหกับหลังเรียนของกลุมทดลองใชคา t – test แบบ Dependent Samples 2) ทดสอบคาความแตกตางของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหวางกลุมทดลองกับ กลุมควบคุม ทั้งหลังเรียน และหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห ใชคา t – test แบบ Independent Samples
สรุปผลการวิจัย 1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ที่ผูวิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.25/91.33 มีดัชนีประสิทธิผล เทากับ 0.86 2. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกวาก่อนเรียน 3. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีความคงทนในการเรียนรูสูงกวาผู้เรียนที่เรียนดวยวิธีปกติ 4. ผู้เรียนมีเจตคติตอการเรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม อยูในระดับดีมาก
อภิปรายผล 1. คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ชวยสอน • ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต มีค่าเท่ากับ 83.25/91.33 แสดงว่า บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ • ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเท่ากับ 4.70 หรือ ร้อยละ 94.00 จึงถือว่ามีความเที่ยงตรงสูง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของแฮมเบิลตันที่กล่าวว่า ความเที่ยงตรงที่ดี ควรมีค่าตั้งแต่ร้อยละ 70.00 ขึ้นไป • ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเรื่องการเจาะ และ เตรียมหลุมผลิต มีค่าเท่ากับ 0.8617 หรือ คิดเป็นร้อยละ 86.17 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ที่ตั้งไว้
อภิปรายผล (ต่อ) 2. คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • คุณภาพของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน5 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.94 ซึ่งอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับดีมาก และเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ บุญชม ศรีสะอาด (2535) • ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.81 ซึ่งถือว่า มีความยากง่ายพอเหมาะ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2535) • ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง0.72 ถึง 0.93 ซึ่งถือว่า สามารถจำแนกได้ เป็นไปตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2535) ที่กล่าวว่า ค่าอำนาจจำแนกที่ดีควรอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 1.00 • ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.83 ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540) ซึ่งกล่าวว่าความเชื่อมั่นควรมีค่ามากกว่า 0.8
อภิปรายผล (ต่อ) 3. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน • ความก้าวหน้า ซึ่งประเมินจากแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ผลปรากฏว่า เป็นไปตามสมมติฐาน คือ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 • ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของผู้เรียนหลังเรียน และหลังจากเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุมทดลอง สูงกว่า ผู้เรียนกลุ่มควบคุม นั่นคือ กลุมทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนเรื่องการเจาะและเตรียมหลุมผลิตสูงกว่า กลุมควบคุม
อภิปรายผล (ต่อ) 4. เจตคติของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอน • เจตคติของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอน ซึ่งความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก (X = 4.88, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับดีมากทุกข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความชัดเจนของเนื้อหา และ สามารถใช้งานได้จริง สำหรับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับระดับความคิดเห็น ของ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533)
ข้อเสนอแนะ 1. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนนั้น ขณะพัฒนาผูวิจัยพบวา ผู้เรียนจะตื่นเตน กับหนาจอที่มีทั้งภาพ และขอความมาก รวมทั้งใหความสนใจขอความที่คอยใหกําลังใจที่สอดแทรกไว ดั้งนั้นควรสรางสิ่งที่ทําใหเกิดการตอบสนองเชนนั้นมาก ๆ 2. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่มีประสิทธิภาพตองผานกระบวนการสรางอยางเปน ระบบ มีการปรับปรุงแกไขขอบกพรองกอนนําไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ • ตองใชเวลา คาใชจาย ทักษะการออกแบบ การใชคอมพิวเตอร การจัดองคประกอบของ หนาจอ เนื้อหาที่ถูกตอง และเทคนิคการนําเสนอที่ดี ดังนั้นในการพัฒนาบทเรียนใหมีประสิทธิภาพสูง ควรมีการรวมมือระหวางผูเชี่ยวชาญด้านตาง ๆ • ควรเตรียมอุปกรณ เครื่องใชคอมพิวเตอรใหพรอมกอนใชบทเรียน • ควรศึกษาคูมือการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนใหเขาใจกอนใชบทเรียน 6. ควรใหความอิสระในการใชเครื่องคอมพิวเตอรกับผู้เรียนใหมาก ใหสามารถที่จะใชเวลาวางในการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนอยางมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1. ควรมีการวิจัยเชิงพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนในเนื้อหาวิชาตางๆ ใหมากขึ้น เนื่องจากสภาพการใชเครื่องคอมพิวเตอรในปจจุบันตามสถานศึกษาตางๆ ทุกระดับมีอยางทั่วถึง และนับวันจะเขามามีสวนรวมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น แตยังขาดซอฟทแวรของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จึงควรมีการสงเสริมใหมีการวิจัยเชิงพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนใหมากขึ้น 2. เนื่องจากปจจุบันตัวอักษรที่ใชในการออกแบบจอภาพของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีอยูมากมายหลายแบบ จึงควรระมัดระวังในการเลือกใชตัวอักษรในการออกแบบกรอบภาพ ถา เปนไปไดควรมีการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะตัวอักษรที่ใชในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนตอไป 3. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับระยะเวลาในการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน กับผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนรู สูง ปานกลาง และ ต่ำ