390 likes | 560 Views
Correlation between Histologic grade and Biological markers in Invasive ductal carcinoma. นสพ. โกศล วราอัศวปติ นสพ. ขวัญชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ นสพ. วิรัตน์ อ่อนสี. หลักการและเหตุผล. มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในเพศหญิง
E N D
Correlation between Histologic grade and Biological markers in Invasive ductal carcinoma นสพ. โกศล วราอัศวปติ นสพ. ขวัญชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ นสพ. วิรัตน์ อ่อนสี
หลักการและเหตุผล มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในเพศหญิง 80% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมดมี Histologic type เป็น Invasive ductal carcinoma Histologic grade และ Biological markers เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการรักษา
หลักการและเหตุผล • การตรวจที่จำเป็นทางพยาธิวิทยาสำหรับแผนการรักษาได้แก่ • Surgical pathology เพื่อหา Histologic grade • Immunohistochemistry เพื่อหา Biological markers
หลักการและเหตุผล • Histologic grade system สำหรับ Invasive ductal carcinoma ที่ใช้อย่างแพร่หลาย คือ Elton and Ellis modification of Bloom and Richadson grade system โดยศึกษาปัจจัย 3 ปัจจัย ได้แก่ • Grandular differentiation • Nuclear pleomorphism • Mitotic rate
หลักการและเหตุผล • Grandular differentiation • > 75% of tumor compused of tube 1 point • 10-75% of tumor compused of tube 2 point • < 10% of tumor compused of tube 3 point
หลักการและเหตุผล • Nuclear grade • Nuclei small and uniform 1 point • Moderate variation in size and shape 2 point • Marked nuclear pleomorphism 3 point
หลักการและเหตุผล • Mitotic rate (per 10 HPF) • 0-9 1 point • 10-19 2 point • 20 or more 3 point
หลักการและเหตุผล Histologic grade I (well differentiate) 3-5 points II (moderate differentiate) 6-7 points III (poorly differentiate) 8-9 points
หลักการและเหตุผล • Biological markers ที่สามารถตรวจ จากแผนกพยาธิวิทยากายวิภาค รพ. พุทธชินราช ได้แก่ • Estrogen receptor • Progesterone receptor • Ki - 67 • p53 • C erb B-2
หลักการและเหตุผล Estrogen และ Progesterone receptor เป็น hormonal receptors ศัลยแพทย์ใช้ประกอบสำหรับวางแผนการรักษาหากมีอัตราการติดสีมากแสดงว่ามี hormonal receptors มาก อาจพิจารณาให้ anti-estrogen เช่น tamoxifen
หลักการและเหตุผล Ki - 67 เป็น antigen ที่บอกถึง proliferative index C erb B-2 เป็น oncogene p53 เป็น tumor suppressor gene ทั้งหมดเป็น prognosis markers หากมีอัตราการติดสีมากถือว่าการพยากรณ์โรคไม่ดี
หลักการและเหตุผล • ข้อจำกัดในการปฏิบัติ • Immunohistochemistry เป็นการตรวจพิเศษที่ต้องใช้ความชำนาญและบุคลากรเฉพาะทาง ห้องปฏิบัติการเฉพาะ และค่าใช้จ่ายสูง • Biological markers หลายตัว ยังอยู่ระหว่างศึกษาการใช้ประโยชน์
หลักการและเหตุผล • ข้อจำกัดในการปฏิบัติ • ทำได้ในโรงพยาบาลไม่กี่แห่ง • การส่งชิ้นเนื้อมาตรวจจากโรงพยาบาลอื่นๆ มีปัญหาหลายด้าน เช่น การเก็บตัวอย่าง ระยะเวลาการส่ง จึงอาจมีปัญหาในการแปลผล
หลักการและเหตุผล ดังนั้น ทางกลุ่มจึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Histologic grade และ Biological markers เพื่อ 1) หากตัวแปรทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กันมาก อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการแนะนำแนวทางในการส่งตรวจทางพยาธิวิทยาแนวทางใหม่ 2) หาความรู้เกี่ยวกับ Biological markers ซึ่งในประเทศไทยยังมีการศึกษาอยู่ในวงจำกัด
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาว่า Histologic grade และ Biological markers มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ 2) เพื่อศึกษาว่า Histologic grade และ Biological markers มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ขั้นตอนการวิจัย ออกแบบการวิจัยเป็น Retrospective analysis and descriptive study เก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Invasive ductal carcinoma จากฐานข้อมูลของแผนกพยาธิวิทยากายวิภาค ได้ทั้งสิ้น 317 ตัวอย่าง
ขั้นตอนการวิจัย Inclusion criteria ได้แก่ เป็นเพศหญิง, ได้รับการวินิจฉัยเป็น invasive ductal carcinoma, และได้รับการตรวจทั้ง surgical pathology กับ immunohistochemistry ตัวอย่างที่เข้าเกณฑ์มีจำนวน 96 ตัวอย่าง
ขั้นตอนการวิจัย Exclusion criteria ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยเป็น recurrent หรือ metastasis breast cancer, และ เป็นผลการตรวจซ้ำ ได้ตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการวิจัย 86 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ตัวอย่างจากโรงพยาบาลพุทธชินราช 64 ตัวอย่าง, จากโรงพยาบาลอื่นๆ 20 ตัวอย่าง, และ ไม่ระบุ 2 ตัวอย่าง
ขั้นตอนการวิจัย Sample size ที่เหมาะสม p = 0.00027 Z = 1.96 d = 0.004 คำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมได้ 84 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่มี 86 ตัวอย่าง
ขั้นตอนการวิจัย ตัวแปรในงานวิจัย ตัวแปรต้น : Histologic grade เป็น qualitative variable บันทึกเป็น I, II, III ตัวแปรตาม : Estrogen receptor, Progesterone receptor, Ki - 67, p53 เป็น quantitative variables บันทึกเป็นร้อยละ
ขั้นตอนการวิจัย ตัวแปรในงานวิจัย ตัวแปรตาม : C erb B-2 เป็น qualitative variable บันทึกเป็น non-reactive, cytoplasmic stain, cytoplasmic and membrane stain, และ membrane stain
ขั้นตอนการวิจัย ตัวแปรในงานวิจัย ตัวแปรกวน : มีหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานของผู้ป่วย, ขั้นตอนและวิธีการในการส่งชิ้นเนื้อ, ความแปรปรวนในห้องปฏิบัติการและการอ่านผล
ขั้นตอนการวิจัย • วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson Product - Moment Correlation Coefficient • กรณี C erb B-2 ทำการแปลงค่าดังนี้ • Non - reactive 0 • Cytoplasmic stain 1 • Cytoplasmic and membrane stain 2 • Membrane stain 3
ขั้นตอนการวิจัย • Pearson Product - Moment Correlation Coefficient มีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง 1.00 • 0.8 - 1.00 มีความสัมพันธ์กันสูงมาก • 0.6 - 0.79 มีความสัมพันธ์กันสูง • 0.4 - 0.59 มีความสัมพันธ์กันปานกลาง • 0.2 - 0.39 มีความสัมพันธ์กันน้อย • 0.0 - 0.19 มีความสัมพันธ์กันน้อยมาก
ขั้นตอนการวิจัย หาค่าเฉลี่ยหรือฐานนิยมของ Biological markers แต่ละชนิด ในแต่ละ Histologic grade
ผลการวิจัย Estrogen receptor rxy= -0.319, p-value = 0.004, alpha = 0.01
ผลการวิจัย Progesterone receptor rxy= -0.245, p-value = 0.029, alpha = 0.05
ผลการวิจัย Ki - 67 rxy= 0.444, p-value = 0.029, alpha = 0.01
ผลการวิจัย p53 rxy= 0.556, p-value = 0.00, alpha = 0.01
ผลการวิจัย C erb B-2 rxy= -0.189, p-value = 0.242
วิจารณ์ • การวิจัยครั้งนี้ดำเนินอยู่บนข้อจำกัดมากมาย เช่น • ระยะเวลาในการดำเนินงานสั้นเพียง 4 สัปดาห์ • จำนวนตัวอย่างมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อในคำนวณทางสถิติ • ไม่สามารถควบคุมตัวแปรกวนได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านรูปแบบการวิจัยแบบ retrospective และจำนวนผู้ป่วยที่ไม่เพียงพอ
วิจารณ์ • การควบคุมตัวแปรต่างๆ ยังไม่รัดกุม • ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย • ขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง การเตรียมชิ้นเนื้อ และ ระยะเวลาในการส่งตัวอย่าง • การอ่านผลโดยพยาธิแพทย์
ข้อเสนอแนะ • การวิจัยครั้งต่อไปควรจะ • เป็นการวิจัยแบบ prospective เพื่อควบคุมตัวแปรเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย • เพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยอาจวิจัยหลังเก็บข้อมูลได้มากพอ • ใช้ชิ้นเนื้อที่มาจากแหล่งเดียวกัน และระยะเวลาการส่งตรวจเท่ากัน
ข้อเสนอแนะ • การอ่านผลควรมีพยาธิแพทย์คนเดียว เพื่อลด interpersonal bias • ควรศึกษาต่อเนื่องในการนำไปใช้ทางคลินิก เช่น ความเที่ยงตรง ความคุ้มค่า เพื่อทำให้งานวิจัยมีประโยชน์มากขึ้น
สรุปผลการวิจัย Histologic grade มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับ Estrogen และ Progesterone receptor แต่มีขนาดความสัมพันธ์น้อย Histologic grade มีความสัมพันธ์แบบผันตรงกับ Ki - 67 และ p53 โดยมีขนาดความสัมพันธ์ปานกลาง
สรุปผลการวิจัย Histologic grade ไม่มีความสัมพันธ์กับ C erb B-2 โดยสรุปแล้ว Histologic grade มีความสัมพันธ์กับ Biological markers หลายตัวดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ไม่มี Biological markers ตัวใด ที่มีความสัมพันธ์มากพอที่จะนำ Histologic grade มาคาดเดาได้ถูกทุกครั้ง
สรุปผลการวิจัย ดังนั้น การตรวจทาง Immunohistochemistry ยังมีความจำเป็น
นสพ. โกศล วราอัศวปติ นสพ. ขวัญชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ นสพ. วิรัตน์ อ่อนสี