210 likes | 447 Views
วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics. อ . มานิตา หนูสวัสดิ์. สัปดาห์ที่ 3 การจัดระเบียบทางสังคม และวัฒนธรรม. การจัดระเบียบทาง สังคม. การจัดระเบียบทางสังคมและโครงสร้างทางสังคม ( Social organization and Social structure )
E N D
วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics อ.มานิตา หนูสวัสดิ์
สัปดาห์ที่ 3 การจัดระเบียบทางสังคมและวัฒนธรรม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • การจัดระเบียบทางสังคมและโครงสร้างทางสังคม (Social organization and Social structure) • การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง การทำให้สังคมมนุษย์มีความเป็นระเบียบ • การจัดระเบียบทางสังคม มีคำเรียกได้อีกหลายคำ เช่น โครงสร้างทางสังคม, ระบบสังคม • การจัดระเบียบทางสังคม จึงเกี่ยวข้องกับ บรรทัดฐานทางสังคม สถานภาพ และบทบาท
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • ทำไมต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม? • มนุษย์โดยทั่วไปมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน 2.มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบการแบ่งหน้าที่การงานในสังคม 3. มนุษย์มีลักษณะตามธรรมชาติที่สำคัญ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจและคามขัดแย้งต่อกันตามปรัชญาของ Hobbes ดั้นนั้นสังคมจึงจำเป็นต้องมีระบบระเบียบเป็นแบบแผนในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • บรรทัดฐานทางสังคม (social norms) • บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เป็นที่คาดหวังของสังคมเป็นมาตรฐานที่สมาชิกของสังคมถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตาม • เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมและทำให้สมาชิกในสังคมทราบว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ หรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ • หน้าที่ของบรรทัดฐานทางสังคม คือ การจัดระเบียบและช่วยลดความจำเป็นของการเผชิญหน้าในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆทางสังคมที่สมาชิกของสังคมมีส่วนร่วม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • แบ่งบรรทัดฐานทางสังคมได้ 3 ประเภท 1.วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (folkways) 2.จารีตหรือศีลธรรม (mores) 3.กฎหมาย (laws)
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (folkways) • วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน หมายถึง แบบแผนหรือพฤติกรรมที่คนจำนวนมากเห็นว่าเหมาะสม ถูกต้องในสถานการณ์นั้นๆ • วิถีประชาจะครอบคลุมพฤติกรรมด้านต่างๆของสังคมไว้ซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำที่ปฏิบัติจนเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย เป็นประเพณี ไม่มีการบังคับให้ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด • วิถีประชาเป็นบรรทัดฐานที่มีระดับความสำคัญน้อยในสังคม กล่าวคือ การกระทำผิดวิถีประชานั้นมีผลกระทบต่อส่วนรวมน้อยและไม่รุนแรง จึงทำให้บทลงโทษของการกระทำผิดตามวิถีประชาไม่ร้ายแรง
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • จารีตหรือศีลธรรม (mores) • จารีตหรือศีลธรรม คือ กฎของสังคมที่กำหนดว่าการกระทำใดถูก การกระทำใดผิด ต้องประพฤติหรือปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่าทำดีหรือกระทำอย่างไรเรียกว่าทำชั่ว • จารีต เป็นบรรทัดฐานที่มีระดับความสำคัญต่อสังคมมาก เนื่องจากการกระทำผิดจารีตจะมีผลกระทบสมาชิกในสังคมจำนวนมากหรือสังคมโดยส่วนรวม • ลักษณะสำคัญของจารีต คือ เป็นทั้งข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติ แต่ละสังคมย่อมมีจารีตแตกต่างกันเพราะเป็นคุณค่าที่แต่ละสังคมจะยึดถือ และจารีตมักเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าวิถีประชา
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • กฎหมาย (laws) • กฎหมายคือ กฎเกณฑ์ที่ถูกบันทึกไว้เป็นทางการถึงข้อห้ามไม่ให้กระทำหรือข้อบังคับให้ทำตาม และมีบทลงโทษตามการกระทำผิดกฎหมายแต่ละอย่างว่าจะได้รับโทษสถานใดบ้าง • กฎหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นบรรทัดฐานที่มีลักษณะเป็นทางการมากที่สุด เป็นอำนาจรัฐ • กฎหมายยังมีบทลงโทษที่เป็นทางการและสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • ปัจจัยที่ทำให้เราต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม 1. เราทำตามเพราะได้รับการปลูกฝั่ง สั่งสอน และผ่านการขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่เด็กให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมทีละเล็กทีละน้อย 2. เราทำตามเพราะเป็นความเคยชินหรือเป็นนิสัย 3. เราทำตามเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา เช่น มารยาทการขับรถ การไม่ทุจริตในห้องสอบ 4. เราทำตามเพราะต้องการแสดงความเป็นพวกเดียวกัน หรือกลุ่มเดียวกัน
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • สถานภาพ (status) • สถานภาพหมายถึง ตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของสังคม ตำแหน่งต่างๆจะเป็นตัวกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิก • สถานภาพเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม สถานภาพจะเป็นตัวกำหนดว่าบุคคลจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรจึงเหมาะสม • สิ่งที่ตามมาจากการมีสถานภาพ คือ การแบ่งช่วงชั้น หรือ ลำดับชั้นทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่งคั่ง อำนาจ และเกียรติยศ เป็นสภาพที่บอกว่าใครเหนือกว่าใคร ใครอยู่สูงหรือต่ำกว่าใคร เป็นเรื่องที่แสดงถึงความเป็นชนชั้นในสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • บทบาท (role) • บทบาทหมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของสถานภาพ เป็นพฤติกรรมที่คาดหวังสำหรับผู้ที่อยู่ในสถานภาพต่างๆจะปฏิบัติอย่างไร • ปัญหาที่พบในลักษณะของสถานภาพและบทบาท คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีสถานภาพซ้อนกันหลายอย่าง หรือการมีบทบาทหลายอย่างที่ต้องกระทำพร้อมกัน สถานภาพหรือบทบาทบางอย่างก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกันเอง เกิดความตึงเครียด
วัฒนธรรม (Culture) • ความหมาย • “วัฒนธรรมเป็นสิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งรวมทั้งความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่นๆ รวมถึงอุปนิสัยต่างๆ ที่มนุษย์ได้มาโดยการเรียนรู้จากการเป็นสมาชิกของสังคม”(Edward B. Tylor) (ศิริรัตน์ แอดสกุล 2555:71) • “วัฒนธรรม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และยังรวมถึงผลที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม สิ่งของต่างๆ ที่คนทำขึ้นและความรู้ที่มีอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนหนึ่งและมีการถ่ายทอดไปยังสมาชิกคนอื่นๆของสังคม”(Cuber) (ศิริรัตน์ แอดสกุล 2555: 73)
วัฒนธรรม (Culture) • “วัฒนธรรม คือ ระบบความสัมพันธ์ของคนกับคน และคนกับธรรมชาติ โดยปกติแล้วระบบความสัมพันธ์นี้มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นใหม่ทุกชั่วอายุคน แต่มักจะรับระบบความสัมพันธ์ที่ตกทอดกันมาจากอดีต … ต้องอาศัยการถ่ายทอดปลูกฝังกันเป็นเวลานาน กว่าจะสามารถดำเนินชีวิตในระบบความสัมพันธ์หนึ่งๆได้ …“(นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2537: 32) • ระบบความสัมพันธ์หรือวัฒนธรรมจึงมีพลังกำหนดชีวิตของคนยิ่งกว่าสิ่งใด
วัฒนธรรม (Culture) • ลักษณะของวัฒนธรรม 1. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกสังคมและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ 3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ต้องมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรม 4. วัฒนธรรมเป็นผลรวมของหลายอย่าง ทั้งความรู้ ความเชื่อ ความคิด อุดมการณ์ ค่านิยม รูปแบบการใช้ชีวิต เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
วัฒนธรรม (Culture) • ลักษณะของวัฒนธรรม 5. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สังคมใช้ร่วมกันไม่เป็นสมบัติของคนใดคนหนึ่ง 6. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ปรับปรุงและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมทางสังคม (มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม การรับวัฒนธรรมอื่น การแพร่กระจายของวัฒนธรรม การผสมผสานและการกลืนวัฒนธรรม) 7. วัฒนธรรมเป็นส่วนสำคัญในการหล่อหลอมความคิดและบุคลิกภาพของคนในสังคม อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกการกระทำทางสังคม
วัฒนธรรม (Culture) • หน้าที่ของวัฒนธรรม 1. วัฒนธรรมทำหน้าที่ในการควบคุมสังคม ในรูปแบบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรม 2. วัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของกลุ่มหรือของสังคม 3. วัฒนธรรมทำให้เกิดความกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดความเป็นปึกแผ่นทำให้สังคมคงอยู่ต่อไปได้ คนที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมเกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน เกิดความรู้สึกรักและหวงแหน มีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ 4. วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสร้างระเบียบแก่สังคมและทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการปรับตัวของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม (Culture) • วัฒนธรรมของแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน การตีความหรือการให้คุณค่าวัฒนธรรมเป็นการนำวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมาเปรียบเทียบกันเป็นสิ่งที่พึงระวัง เพราะ ไม่มีเกณฑ์สากลใดๆมาเป็นเครื่องวัดหรือบอกว่าเป็นมาตรฐานของวัฒนธรรมได้ ยิ่งกว่านั้นการตีค่าวัฒนธรรมของสังคมต่างๆจะก่อให้เกิดอคติทางวัฒนธรรม • สิ่งที่ตามมาจากการคิดว่าวัฒนธรรมของตัวเองดีกว่าของคนอื่น คือ การหลงใหลวัฒนธรรมของตัวเอง การดูถูก การมีอคติ การเลือกปฏิบัติ
อ้างอิงและเรียบเรียง • เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “วัฒนธรรมกับสังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง”ชุด โลกาภิวัฒน์ (Globalization) อภิชาติ สถิตนิรามัย บรรณาธิการ โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ The Toyota Foundation และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน พ.ศ 2537 • ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2555) ความรู้เบื้องต้นสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553) สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.