820 likes | 1.83k Views
วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ง21102. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. 1. ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ยุคของคอมพิวเตอร์ ความหมายของคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์. ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์.
E N D
วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ง21102
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น • 1. ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ • ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • ยุคของคอมพิวเตอร์ • ความหมายของคอมพิวเตอร์ • หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ • บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว • จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage)ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์
การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ ด้วยหลักการนี้เองเราจึงยกย่องให้แบบเบจ เป็น “บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์”
บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ Charles Babbageชาร์ลส์ แบบเบจ บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ (1791-1871) ผลงาน : เครื่องคำนวณหาผลต่าง differential machine และเครื่องวิเคราะห์ analytical machine
ยุคของคอมพิวเตอร์ • หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ • ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501 • ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506 • ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512 • ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532 • ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน
ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2489 - 2501) • คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีความร้อนสูงจึงมักเกิดข้อผิดพลาดง่าย
ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2489 - 2501) (ต่อ) • จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ได้รับทุนอุดหนุนจากกองทัพสหรัฐอเมริกา ในการสร้างเครื่องคำนวณ ENIAC ย่อมาจากคำว่า”Electronics Numerical Integrator and Compute”เมื่อปี 1946 นับว่าเป็น "เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก หรือคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก"
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก
ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502 – 2506) • คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าและมีความแม่นยำมากกว่า
ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502 – 2506) (ต่อ) • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ • [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทยคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย IBM 1620
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทยคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย IBM 1620
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 – 2512) • คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2513 - 2532) • เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน) • ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computareซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" • สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์
การทำงานของคอมพิวเตอร์การทำงานของคอมพิวเตอร์ การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย ได้แก่ • หน่วยรับเข้า (Input Device) • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) • หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) • หน่วยความจำรอง ( Virtual Memory ) • หน่วยส่งออก (Output Device )
หน่วยรับเข้า (Input Device) ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ได้แก่ คีย์บอร์ด (Keyboard) เม้าส์(Mouse) สแกนเนอร์(Scanner) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode reader)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) • ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบด้วย
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)(ต่อ) • 5.1.1 หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithematic and Logic Unit : ALU ) ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ • 5.1.2 หน่วยควบคุม ( Control Unit ) ทำหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานงานกับหน่วยคำนวณ และหน่วยความจำ และตรรกะซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ ไมโครชิป หรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ( Microprocessor )
หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวล ในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทของหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ตามลักษณะของเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น • หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ( Volatile Memory ) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด • หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน ( Nonvolatile Memory ) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร
หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) (ต่อ) 2. ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ( ROM ) หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามรถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( RAM ) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้
หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) ROM RAM
หน่วยความจำรอง ( Virtual Memory ) มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างของหน่วย ความจำรองได้แก่ - แผ่นบันทึก หรือแผ่นดิสก์ ( Diskette ) - ฮาร์ดดิสก์ ( Harddisk ) - ซีดีรอม ( Compact Disk Read only Memory : CDROM )
อุปกรณ์ส่งออก (Output Device) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ - จอภาพ (Monitor) - ลำโพง (Speakers) - เครื่องพิมพ์ (Printers)
บทบาทของคอมพิวเตอร์ • การใช้คอมพิวเตอร์ในวงธุรกิจทั่วไป • การใช้งานคอมพิวเตอร์ในวงการธนาคาร • การใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจโรงแรม • การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ • คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ • 1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก • 2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น • 3.เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ • 4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว • 5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง • 6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ มี 2ประเภท 1. ประโยชน์ทางตรง • ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล 2. ประโยชน์ทางอ้อม • คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความบันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็น
เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการให้เกิดประโยชน์ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูลผ่านระบบการประมวลผลคำนวณ วิเคราะห์ และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีลักษณะสำคัญของเทคโนโลยี • ช่วยเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการ ทางด้านเศรษฐกิจการค้า และการอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสาร ได้เข้ามามีบทบาท ทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ มากขึ้น เช่น การใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยี (ต่อ) 2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการให้กว้างขวางขึ้น เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูลและการใช้ข้อมูลได้ดีการบริการต่างๆจึงเน้นรูปแบบการบริการให้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยี (ต่อ) 3. เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงาน ต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาลระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยี (ต่อ) 4. เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น ดังเห็นได้จากการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล และการใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ • การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่นใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) 2. การเสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาสเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล การใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร ที่เรียกว่า โทรเวช
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) 3. การเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) 4. การรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) 5. การป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) 6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นข้อมูลข่าวสารต้องหาวิธีการในการผลิต ให้ได้มากราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้เพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) 7. ความคิดและการสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิต ประจำวันและมีแนวโน้มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ผลกระทบทางเทคโนโลยี แบ่งเป็น 2 ด้านคือ 1.ด้านบวก ได้แก่ 1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ 6. ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง 2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น 7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน 3.ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ 8.ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย 4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น 5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ด้านลบ ได้แก่ • ทำให้เกิดอาชญากรรม • ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย • ทำให้เกิดความวิตกกังวล • ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ • ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมาก • ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว