250 likes | 756 Views
Design of Milling Fixture . Fixture. Fixture สำหรับ milling ติดตั้งอยู่บนโต๊ะ ของเครื่อง milling และยึดแน่นติดกับโต๊ะด้วยสลักเกลียวหัวตัวที ชิ้นงานจะถูกตั้งตำแหน่งและจับยึดอยู่ในตัว fixture อีกทอดหนึ่ง การควบคุมมีดตัดจะต้องตั้งตำแหน่งก่อนที่จะเริ่มต้นทำการตัด. วิธีการ Milling.
E N D
Fixture • Fixture สำหรับ milling ติดตั้งอยู่บนโต๊ะ ของเครื่อง milling และยึดแน่นติดกับโต๊ะด้วยสลักเกลียวหัวตัวที • ชิ้นงานจะถูกตั้งตำแหน่งและจับยึดอยู่ในตัว fixture อีกทอดหนึ่ง • การควบคุมมีดตัดจะต้องตั้งตำแหน่งก่อนที่จะเริ่มต้นทำการตัด
วิธีการ Milling • การออกแบบ fixture ขึ้นอยู่กับวิธีการ milling เป็นสำคัญ ต่อไปนี้เป็นวิธีการ milling แบบต่างๆ • Straddle Milling วิธีนี้เป็นวิธี milling ที่ใช้มีด 2 ตัว ติดบนแกนเดียวกันเวลาทำงานจะตัดโลหะพร้อมกันและต่อเนื่อง โต๊ะ milling ตั้งตำแหน่งสูงต่ำโดยใช้อุปกรณ์ตั้งระยะ
วิธีการ Milling • Gang milling เป็นการใช้มีด 3 ตัวหรือมากกว่าติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกันจนกระทั้งผิวของชิ้นงานถูกแปรรูปพร้อมกันหลายแห่ง ส่วนการตั้งตำแหน่งมีดก็ตั้งที่มีดตัวใดตัวหนึ่ง • String or line milling วิธีนี้เป็นการใช้มีดตัดตัวเดียวหรือหลายตัวงานมีหลายตัวติดตั้งเรียงเป็นแถวเป็นแนวตามความยาวโต๊ะ
วิธีการ Milling • วิธี milling แบบลูกตุ้มนาฬิกา • เป็นวิธี milling ชนิดที่มีการแปรรูปชิ้นงานทั้งในขณะที่โต๊ะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายและทางขวา มีดจะตัดตลอดเวลา
วิธีการ Milling • เป็นการจับชิ้นงานครั้งละ 2 ตัวพร้อมกัน • โดยตัดร่องครั้งแรก เมื่อโต๊ะเคลื่อนที่ไปทางหนึ่ง แล้วงานจะถูกบังคับให้หมุน 180 องศา • มีดก็จะตัดร่องตรงกันข้ามขณะที่โต๊ะเครื่องที่กลับมาที่เดิม
วิธีการ Milling • เป็นวิธีที่ใช้ fixture 2 ตัวสำหรับงาน 2 ชิ้นโดยครั้งแรกกำลังตัดงานหนึ่ง ก็ไป unload-load อีกงานหนึ่ง • เนื่องจากเป็นการตัดทั้งขาไปและกลับ ชิ้นงานจำเป็นต้องมีความเหมาะสมที่จะใช้มีดตัดวิธีนี้
วิธีการ Milling • วิธี milling แบบโต๊ะหมุน • เป็นการใช้อุปกรณ์โต๊ะหมุนติดตั้งอยู่บนโต๊ะของเครื่อง milling • โต๊ะจะหมุนอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและ fixture หลายตัวติดตั้งอยู่บนโต๊ะหมุน • เมื่อ fixture ตัวที่พางานผ่านมีดตัดแล้วมาผ่านข้างหน้า ช่างก็จะคลายงานที่แปรรูปแล้วออก แล้วนำงานชิ้นใหม่ใส่เข้าไปแทนที่
วิธีการ Milling • วิธีการ milling ตามแผ่นนำ • ชิ้นงานที่มีรูปลักษณะซับซ้อนและไม่เป็นไปตามรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ อาจทำได้ด้วยวิธีนี้ • คือใช้แผ่นนำเป็นต้นแบบ แล้วเคลื่อนที่ชิ้นงานไปตามขอบของต้นแบบผ่านมีดตัด มีดก็จะตัดเนื้องานออกเป็นรูปร่างเหมือนแผ่นนำ
วิธีการ Milling • มีดตัดมิได้สัมผัสกับแผ่นนำโดยตรง แต่เอามีดตัดไปติดกับแกนหมุนตามอีกอันหนึ่งต่างหาก แล้วใช้แกนหมุนตามตัวนี้สัมผัสกับหุ่นต้นแบบอีกทีหนึ่ง • แสดงให้เห็นรายละเอียดว่ามีดตัดสัมผัสกับแผ่นนำ โดยที่มีดตัดยังคงหมุนตลอดเวลาได้อย่างไร และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของแกนหมุนตามกับหัวจับมีดด้วย
วิธีการ Milling • แสดงให้เห็นว่าการ milling โดยใช้แผ่นนำนี้จำเป็นต้องคิดเผื่อขนาดของตัวแกนหมุนตามด้วย • เพราะการที่แกนหมุนตามสัมผัสแผ่นนำนั้นมีดตัดจะตัดงานออกมาในขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่า
Locating and Clamping Fixture on the Milling table • Fixture ตั้งอยู่บนโต๊ะของเครื่อง milling อีกทีหนึ่งและถ้าจำเป็นก็จะตั้ง fixture ให้สัมพันธ์กับทิศทางการเคลื่อนที่ของโต๊ะ • หน้าที่ของช่างก่อนติดตั้ง fixture คือ ต้องแน่ใจว่าโต๊ะ milling สะอาด • หน้าที่ของผู้ออกแบบ คือ ต้องแน่ใจว่าบริเวณที่จะตั้ง fixture เพียงพอ และถ้า fixture ใหญ่ก็ต้องออกแบบฐานตั้งให้พอเหมาะกับโต๊ะ
Locating and Clamping Fixture on the Milling table • การตั้งตำแหน่ง fixture ให้สัมพันธ์กับโต๊ะจะอาศัยร่องตัวทีซึ่งมีอยู่ตลอดความยาวของโต๊ะ milling • รูปแสดงให้เห็นการตั้งตำแหน่งที่ร่องตัวที คือ ติดสลักสี่เหลี่ยมไว้ที่ใต้พื้นของตัว fixture 2 ตัว ให้ห่างกันมากที่สุด • เพื่อหลีกเลี่ยงความคลาดเคลื่อนและสลัก 2 ตัวนี้จำเป็นต้องติดอยู่บนร่องเดียวกันเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งตำแหน่งเกินจำเป็น (Redundant)
Locating and Clamping Fixture on the Milling table • Fixture ยึดติดกับพื้นของโต๊ะโดยใช้สลักเกลียวหัวตัวที ยึดติดกับร่องตัวทีของโต๊ะ milling ทั่วไปใช้ 2 ตัว • แต่บางกรณีที่งานใหญ่หรือแรงตัดมากก็อาจใช้มากกว่าได้ • สลักเกลียวที่ใช้จับยึดนี้จะจับยึดที่ร่องตัวทีร่องใดก็ได้เพราะมันไม่ได้ทำหน้าที่ตั้งตำแหน่งอย่างใด • ต้องออกแบบให้มีหูของตัว fixture เพื่อให้เป็นที่จับยึดของสลักเกลียวหัวตัวที
Locating • การตั้งตำแหน่งเหมือนที่กล่าวมาก่อนนี้ แต่มีเพิ่มเติม คือ ตำแหน่งที่ตั้งนี้จะต้องสัมพันธ์กับสลักสี่เหลี่ยมใต้พื้น fixture ด้วย • เนื่องจาก milling มักจะเป็นการแปรรูปชิ้นงานครั้งแรก เช่น ชิ้นงานที่หล่อออกมาเป็นต้น • ดังนั้นจุดที่มีการตั้งตำแหน่งก็ควรออกแบบให้ปรับความสูงได้ด้วย
Clamping • การแปรรูปด้วย milling จะมีแรงตัดเกิดขึ้นสูงมากและมีแรงกระตุกหรือแรงกระแทกมาก แนวโน้มที่จะทำให้ชิ้นงานหลุดกระเด็นมีมาก • โดยมากใช้สลักเกลียวหัวหกเหลี่ยมแทนที่จะใช้มือหมุนเกลียวเสมอ • เมื่อใช้ตัวจับยึดหลายตัวต้องพิจารณาจัดให้ช่างทำงานได้โดยสะดวกด้วย • Set block มักออกแบบให้มี feeler gauge เพื่อป้องกันไม่ให้มีดตัดไปตัดถูกตัวตั้งระยะเข้า เพราะตัว set block มักจะทำจากเหล็กกล้าชุบผิวแข็ง
ลักษณะทั่วไปของ fixture สำหรับ milling • ต้องแข็งแรง และมั่นคงมาก ไม่ขยับเขยื้อน ฉะนั้นเรื่องน้ำหนักของ fixture จึงเป็นเรื่องไม่สำคัญ • เนื่องจาก milling ทำขั้นตอนแรก ต้องมีการเผื่อชิ้นงานที่อาจจะมีขนาดใหญ่เกิน ควรเลือกการตั้งตำแหน่งและยึดจับแบบปรับได้ เพราะผิวชิ้นงานมักจะหยาบและขรุขระ • ที่ตัวหรือฐานของ fixture นิยมทำด้วยเหล็กหล่อสีเทา เพราะมันมีคุณสมบัติดูดซึมแรงสั่นสะเทือนได้ดีมาก
ปากกาปากพิเศษ • ปากกา เป็นอุปกรณ์มาตรฐานติดมากับเครื่อง milling นั้น หากนำมาใช้ร่วมกับปากพิเศษ (Vise-Jaw fixture) ของอุปกรณ์ที่ดัดแปลง ให้เหมาะสมกับรูปลักษณะชิ้นงานแล้ว ก็ทำหน้าที่เป็น fixture อย่างง่ายได้ดี และสามารถใช้กับชิ้นงานที่รูปร่างซับซ้อนได้ • ในรูปเป็นตัวอย่างของ vise-jaw fixture ที่ใช้ร่วมกับปากกามาตรฐาน จับชิ้นงาน