60 likes | 196 Views
สถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง. รายงานสถานการณ์การระบาด 46 จังหวัด. พบพื้นที่การระบาด 25 จังหวัด รวม 88 , 529 ไร่
E N D
สถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง รายงานสถานการณ์การระบาด 46จังหวัด พบพื้นที่การระบาด 25จังหวัดรวม88,529 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังยืนต้นทั้งประเทศ(9,023,871 ไร่)โดยมีพื้นที่ระบาดลดลง 23,451 ไร่หรือลดลงร้อยละ 20.94 เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ระบาดสัปดาห์ที่ผ่านมา(111,980 ไร่) ระหว่างวันที่ 16 – 22 มิ.ย. 54 จังหวัดที่พบการระบาดเพิ่มขึ้นได้แก่ อุทัยธานีและสระบุรี พื้นที่ระบาดจำแนกตามอายุมันสำปะหลัง 1 – 4 เดือน 37,050 ไร่ มากว่า 4 – 8 เดือน 46,318 ไร่ มากกว่า 8 เดือน 5,161 ไร่ จังหวัดที่พบการระบาดลดลงได้แก่ นครราชศรี ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี พิษณุโลก ชัยภูมิ ราชบุรี สุรินทร์ เลยและมุกดาหาร
ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดลดลงหรือเพิ่มขึ้น จากต้นเดือน พ.ค. 54 เป็นต้นมา มีฝนตกต่อเนื่องทุกพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลัง สภาพอากาศความชื้นสูง สภาพไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์และการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง และมันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี ทำให้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งฯลดลง ผลการปล่อยแมลงช้างและแตนเบียน Anagyrus lopezi อย่างต่อเนื่องและศัตรูธรรมชาติทั้งสองชนิดสามารถทำลายเพลี้ยแป้งฯได้ดี จึงทำให้ปริมาณเพลี้ยแป้งลดลง เก็บเกี่ยวผลผลิตและในพื้นที่ที่ต้นมันสำปะหลังได้รับความเสียหาย เกษตรกรได้ทำการไถเตรียมดินเพื่อปลูกใหม่ ทำให้พื้นที่การระบาดลดลง ในบางจังหวัดยังมีพื้นที่แห้งแล้ง จึงพบการระบาดของเพลี้ยแป้งเพิ่มขึ้น การคาดการณ์ • จากสภาพอากาศสัปดาห์ที่ผ่านมาและอีก 7 วันข้างหน้า ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกต่อเนื่อง มันสำปะหลังแตกยอดใหม่เจริญเติบโตได้ดีและปริมาณเพลี้ยแป้งสีชมพูลดลง แต่ควรเฝ้าระวังต่อไปอย่างต่อเนื่อง • สำหรับเพลี้ยแป้งสีเขียวและเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียส อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น • - ส่วนในพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีฝนตก การระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพูจะยังคงมีอยู่
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1. จัดส่งสารเคมีแช่ท่อนพันธุ์(ไทอะมิโทแซม 25% wp) ให้ 46 จังหวัดเรียบร้อยแล้วจำนวน 65152.40 กก. 2. ปล่อยแตนเบียน 3. ปล่อยแมลงช้างปีกใส 4. ความก้าวหน้าในการใช้ ITตามโครงการฯ โดยใช้ GPS 3 จังหวัดนำร่องได้แก่ จ.กาญจนบุรี อ.เลาขวัญ จ.นครราชศรีมา อ.ด่านขุนทดและจ.กำแพงเพชร อ.ปรางค์ศิลาทอง อยู่ในระหว่างจับพิกัดพื้นที่ดำเนินการ 5. ดำเนินการจัดตั้ง ศจช. เพื่อเฝ้าระวังในพื้นที่ 46 จังหวัดเพิ่มอีก 377 ศูนย์ การปล่อยแตนเบียนของหน่วยงานราชการและเอกชน จากวันที่ 1 ก.พ. 53 – 22 มิ.ย. 54 รวมปล่อยทั้งหมด 5,371,236 คู่ ควบคุมพื้นที่ระบาด 107,424.72 ไร่ กรมส่งเสริมการเกษตร2,902,264 คู่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง 1,306,740 คู่ กรมวิชาการเกษตร 396,385 คู่โรงแป้งมันฯ 10 บริษัท 765,847 คู่ การปล่อยแมลงช้างปีกใส ของกรมส่งเสริมการเกษตร จากวันที่ 1 ธ.ค. 53 – 22 มิ.ย. 54 รวมปล่อยทั้งหมด 3,014,068 ตัว ควบคุมพื้นที่ระบาด 30,140.68 ไร่ ผลการปล่อยจากการประเมินผลการปล่อยศัตรูธรรมชาติทั้ง 2 ชนิด หลังปล่อย 1 เดือน พบว่าปริมาณเพลี้ยแป้งในพื้นที่ปล่อยลดลง และพบแตนเบียนออกจากมัมมี่เพลี้ยแป้งจากยอดที่สุ่มไว้ แสดงว่าแตนเบียนมีประสิทธิภาพในการเข้าทำลายเพลี้ยแป้งได้ดีทั้งนี้ยังพบปริมาณไข่แมลงช้างปีกใสในธรรมชาติเพิ่มขึ้นด้วย
แนวทางการควบคุมการระบาดเพลี้ยแป้งแนวทางการควบคุมการระบาดเพลี้ยแป้ง แผนการเฝ้าระวัง - ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนสำรวจติดตามติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้งจากแปลงติดตามสถานการณ์ แผนการเตือนภัย - เมื่อสำรวจพบเพลี้ยฯมีแนวโน้มการระบาดให้ประกาศเตือนภัยทางหอกระจายข่าวและวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แนวทางการควบคุมเพลี้ยแป้งด้วยวิธีผสมผสาน 1. หลังการเก็บเกี่ยว ให้เก็บซากต้นมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งเผาทำลาย 2. ไถตากดินอย่างน้อย 14 วัน ก่อนปลูกใหม่ 3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูก 4. ถ้าพบเพลี้ยแป้งที่ยอดมันสำปะหลังให้เก็บมาทำลาย 5. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลิตขยายแตนเบียน AnagyrusLopeziและแมลงช้างปีกใส สนับสนุน ศจช.เพื่อปล่อยควบคุม
แผนการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติแผนการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ