3.01k likes | 6.63k Views
การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัย. การส่งเสริมพัฒนาการตามสิทธิของเด็ก. ทารกแรกเกิด – 6 ปี จะต้องได้รับ .. การปกป้องจากภยันตรายและการบาดเจ็บ อาหารและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพียงพอ วัคซีนที่เหมาะสมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคการเลี้ยงดูใกล้ชิดจากผู้ใหญ่สักคนหนึ่งเพื่อสร้างความผูกพัน
E N D
การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัย
การส่งเสริมพัฒนาการตามสิทธิของเด็ก • ทารกแรกเกิด – 6 ปี จะต้องได้รับ .. • การปกป้องจากภยันตรายและการบาดเจ็บ • อาหารและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพียงพอ • วัคซีนที่เหมาะสมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคการเลี้ยงดูใกล้ชิดจากผู้ใหญ่สักคนหนึ่งเพื่อสร้างความผูกพัน • ความเข้าใจและการตอบสนองจากผู้ใหญ่ทั้งสองเพศ • การสนับสนุนให้เกิดทักษะใหม่ๆ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้มือ รับรู้และสื่อภาษา การรู้จักคิดและแสดงความรู้สึกนึกคิดที่เหมาะสม
การส่งเสริมพัฒนาการตามสิทธิของเด็ก • ทารกแรกเกิด – 6 ปี จะต้องได้รับ .. • ปฏิสัมพันธ์เสนอสนองต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการมองหน้าสบตา ยิ้มแย้ม สัมผัสอ่อนโยนและพูดคุย • การเอาใจใส่ อบรมสั่งสอนให้เริ่มหัดควบคุมพฤติกรรมด้วยตนเอง เพื่อเริ่มรู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ควร
การส่งเสริมพัฒนาการตามสิทธิของเด็ก • ทารกแรกเกิด – 6 ปี จะต้องได้รับ .. • หัดการช่วยตัวเองในกิจวัตรอย่างค่อยเป็นค่อยไป • โอกาสเล่นกับคนและสิ่งต่าง ๆ ที่หลากหลายทุกวัน เรียนรู้ จากการสังเกตและสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ปลอดภัย สำหรับมองดู สัมผัสจับต้อง ฟัง ดมกลิ่น และ ชิม • การพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
แนวทางการพัฒนาเด็ก • พัฒนาการเด็กอย่างเป็นองค์รวม ต้องคำนึงถึง... • สุขภาพ • ความรู้สึกและแรงจูงใจ • อาหารการกิน • ความคิดและการลงมือทำเอง • การพักผ่อน • การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ • การออกกำลังกาย • ความสัมพันธ์กับผู้อื่น
แนวทางการพัฒนาเด็ก • จัดกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมรู้สึก ร่วมเรียนรู้จากประสบการณ์ มีส่วนร่วมคิด แสดงความรู้สึกนึกคิด ทำ และ ตัดสินใจ • คำนึงถึงวิธีการที่เหมาะสมกับขั้นตอนพัฒนาการและวัยของเด็ก • คำนึงถึงบริบทเชิงสังคมวัฒนธรรมของครอบครัวและชุมชน
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • พัฒนาการสมวัย • แนะนำ ฝึกพัฒนาการในขั้นต่อไป • ลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น การสำลัก การพลัดตกหกล้ม รศ. พญ.นิตยา คชภักดี ประธานกิตติมศักดิ์ ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • สงสัยล่าช้า • หาสาเหตุของโรคทางสมอง โรคทางพันธุกรรม หรือโรคทางต่อมไร้ท่อ • ส่งตรวจการได้ยินและการมองเห็นในกรณีที่สงสัย • ไม่ควรให้คำวินิจฉัย แต่ควรให้คำแนะนำเบื้องต้น • เน้นความสำคัญของการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทันที รศ. พญ.นิตยา คชภักดี ประธานกิตติมศักดิ์ ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • ประเมินศักยภาพของเด็กและครอบครัว • ส่งเสริมจากสิ่งที่เด็กพร้อม และอยากทำก่อน • เพิ่มการฝึกทักษะใหม่ จากง่ายไปยาก • ทอนเป็นขั้นตอนย่อย ๆ หรือจับมือทำก่อน • ค่อย ๆ ลดความช่วยเหลือ • เลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจ และตรงกับความสามารถ • การมีเวลาให้กับเด็ก
หน้าต่างของโอกาสในการเรียนรู้หน้าต่างของโอกาสในการเรียนรู้ เป็นช่วงเวลาที่ พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาสิ่งนั้นๆได้ดีที่สุด 1.พัฒนาการทางด้านการมองเห็นและการรับภาพ • สายตามองเห็นชัดเจน แรกเกิด – 6 ปี • การมองด้วยตาทั้งสองประสานกัน รับรู้การเคลื่อนไหว ใกล้ ไกล ความลึก 3-6 เดือน – 6 ปี
หน้าต่างของโอกาสในการเรียนรู้หน้าต่างของโอกาสในการเรียนรู้ 2.พัฒนาการทางด้านอารมณ์ • การควบคุมอารมณ์ 2-3 เดือน - 3 ปี • การตอบสนองต่อความเครียด แรกเกิด - 2 เดือน - 3 - 4 ปี • ความผูกพันที่มั่นคง แรกเกิด - 3 ปี • ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น 1 ปี- 10 ปี 3.พัฒนาการทางด้านภาษา • การรับรู้ภาษาพูด แรกเกิด -5-6 ปี • การเรียนรู้คำศัพท์ ปลายปีที่ 2 -ตลอดไป
หน้าต่างของโอกาสในการเรียนรู้หน้าต่างของโอกาสในการเรียนรู้ 4.พัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว • การทรงตัวและทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ในครรภ์ - 5-6 ปี • การใช้มือและการทำงานประสานกัน 4-6 เดือน - 10 ปี • การใช้นิ้วเล่นดนตรี 5-6 ปี - 10 ปี เมื่อเวลาผ่านพ้นช่วงนี้ไป โอกาสนั้นจะไม่หวนกลับมาอีก กว่าจะฝึกได้ก็จะยากหรืออาจจะไม่สามารถทำได้เลย
แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ข้อมูลจาก : ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย : การส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 0-3 ปี เขียนโดย พญ.ปิยาภรณ์ บวรกีรติขจร,อาจารย์ประภาศรี นันท์นฤมิตจากหนังสือสายใยรักแห่งครอบครัว
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด • หมั่นให้ความสนใจเมื่อเด็กร้องและอุ้มเด็กไว้ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นและเชื่อมั่น • มองสบตาเด็กเมื่อเด็กอยู่ในระยะตื่นสงบ พยายามยิ้ม ทำสีหน้า แลบลิ้น ทำปากจู๋ พูดคุย • ร้องเพลงระหว่างให้ลูกดูดนมแม่ เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ • แสดงความดีใจและชมเชยเมื่อเด็กมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นต่างๆ เช่นการเลียนแบบ ทำสีหน้า วาดรูปหน้าคนง่ายๆ หรือ นำตุ๊กตาสัตว์ มาให้ดู โดยถือห่างจากตาเด็ก 8-12 นิ้ว • ต้องรอเวลาที่เหมาะสมในการเล่น หรือ กระตุ้นเด็ก
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด ถึง 1 เดือน • อุ้มเด็กหันหน้าเข้าหาแม่ (face to face) ตามองตา • อุ้มท่าพาดบ่าโดยมีคนมาคุยกับเด็ก • เวลาร้องอุ้มทันที ลูบไล้สัมผัส โอบอุ้มเด็กบ่อยๆ ไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะติดมือ • หาของสีสดใส ให้มองดู • พูดบอกเวลาทำอะไรกับตัวเขา • ใส่นิ้วในอุ้งมือเด็กให้เด็กกำ
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 - 2 เดือน • อุ้มเด็กบ่อยๆ พูดคุยลูบไล้ตัวเด็กบ่อยๆ • จับเด็กนั่งหลังพิงอก อุ้มให้ดูสิ่งต่างๆรอบตัว • ให้เด็กนอนคว่ำบ้าง หงายบ้าง • ส่งเสียงเรียกเด็ก หรือ เขย่าของเขย่าให้เด็กมองหาที่มาของเสียง • แขวน mobile ให้เด็กหัดคว้าจับ • ร้องเพลง • พูดคุย บอกกับเด็กเวลาจะทำอะไรกับเขา
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 2 - 3 เดือน • ให้เด็กนอนคว่ำให้หัดยกศีรษะ • ให้เด็กคว้าจับสิ่งของ และให้เล่นของเขย่าที่มีเสียงดัง • พูดคุยเล่น หัวเราะทำท่าทางต่างๆให้เด็กเล่นด้วย • ให้เด็กเล่นมือ ดูดนิ้ว • รับรู้ความต้องการเมื่อเด็กส่งสัญญาณบอก เช่น การร้องเพื่อให้อุ้ม ร้องเมื่อหิว เปียกแฉะ • บอกให้เด็กรับรู้ว่าคนรอบข้างเขาเป็นใคร • ขยับแขน ขา นวดสัมผัสให้เด็กบ่อยๆ
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 3 - 4 เดือน • ทำเช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ • และท่านอนหงายให้หัดตะแคงตัว • ท่านอนคว่ำหัดยกหัวและอกให้พ้นพื้นโดยเอาแขนยัน • ให้มองลูกปัดเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้า และพยายามเอื้อมจับ • หัดเอามือทั้ง 2 ข้างมาประสานกัน • พูดคุย ร้องเพลงเล่น ส่งเสียงโต้ตอบกับเด็ก
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 4 - 5 เดือน • ทำเช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ • และชี้ชวนให้มองตามสิ่งของที่เคลื่อนไหว • ให้เด็กจับ mobile ให้เคลื่อนไหวไปมา • ให้เด็กลากของเล็กๆที่ผูกเชือกไว้เข้าหาตัว • ให้เด็กหัดพลิกคว่ำหรือหงาย • ร้องเพลง • พูดคุย ทักทายเด็กด้วยชื่อของเขา • หัดให้เด็กหยิบจับสิ่งของขนาดต่างๆ กัน
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 5 - 7 เดือน • พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ • ให้เด็กเล่นกับกระจก • ให้เด็กมองตามของตก • เล่นหาของที่มีผ้าคลุมไว้บางส่วน • ให้ถือของเล็กๆไว้ในมือ ข้างละ 1 ชิ้น หัดให้เปลี่ยนมือถือของ • หัดให้เด็กพลิกคว่ำ หงายจับนั่งพิงเบาะ • ให้นั่งโดยใช้มือยัน • และหัดคืบไปหาสิ่งของที่วางล่อไว้ข้างหน้า
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 7 - 9 เดือน • หัดให้เด็กนั่งเอง • หัดคลานไปหาสิ่งของต่างๆ • เล่น จ๊ะเอ๋ ตบแผะ • หัดให้หยิบจับสิ่งของเล็กๆด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้แล้วเอาเข้าปาก • เล่นปาของลงพื้นให้เกิดเสียงดัง • หัดให้เลียนเสียงสูง ต่ำ ตามที่ผู้ใหญ่สอน • เรียกชื่อเด็กบ่อยๆเพื่อให้รู้จักชื่อตนเอง • สอนให้รู้จัก พ่อ แม่ • การพูดให้เด็กฟังต้องพูดช้าๆ ชัดเจน และบ่อยๆ โดยกระตุ้นให้เด็กมองปาก
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 9 - 11 เดือน • สอนให้หยิบจับของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้บ่อยๆจนคล่อง • ให้เด็กหัดดื่มน้ำจากแก้ว • หัดหยิบอาหารเข้าปาก • รู้จักอวัยวะต่างๆบนใบหน้า โดยทำท่าทางให้เด็กเลียนแบบ เช่น ทำปากจู๋ ทำตาหยี • หัดให้ปล่อยของเมื่อขอและฝึกทำบ่อยๆ • ให้โอกาสหยิบจับดินสอขีดเขียน • หัดให้เดินเกาะเฟอร์นิเจอร์ และจูงเดิน
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 11 - 13 เดือน • หัดตั้งไข่ ยืนทรงตัวและเดินเอง • หัดหยิบจับสิ่งของ • และเรื่องการช่วยตนเอง หัดกินอาหารด้วยตนเอง และกินอาหารร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่ • หัดเรื่องการช่วยตนเองในเรื่องการแปรงฟัน • ถอดเสื้อผ้า • รู้จักคนในครอบครัว
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 13 - 15 เดือน • พูดคุย โต้ตอบ ชี้ชวนให้เด็กสังเกตสิ่งของและคนรอบข้าง • ให้หาของที่ปิดซ่อนไว้ • ชี้ให้ดูภาพและเล่าเรื่องสั้นๆ ให้เด็กฟัง • หัดใช้ช้อนตักอาหาร ดื่มน้ำและนมจากถ้วย • พยายามให้เด็กคุ้นเคยกับการแปรงฟัน โดยแปรงฟันให้ทุกครั้งที่อาบน้ำให้เด็ก
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 15 - 18 เดือน • พาเดินเล่นบ่อยๆ ให้โอกาสเด็กเดิน วิ่ง และหยิบจับสิ่งของ โดยดูแลให้ปลอดภัย • จัดหาและทำของเล่นที่มีสี และรูปทรงต่างๆ • สอนให้ร้องเพลง เต้นตามจังหวะ เลียนแบบผู้อื่น • หัดพูดเป็นคำๆจากสิ่งต่างๆแวดล้อมตัวเด็ก • หัดกินอาหารด้วยช้อน ดื่มน้ำจากแก้วน้ำ • หัดถอดกางเกง และหัดใส่กางเกง • สอนให้บอกเวลาอุจจาระ ปัสสาวะ • สอนให้รู้จักอวัยวะในร่างกาย • สอนให้ดูรูปจากหนังสือ สอนให้เด็กขีดเขียนด้วยดินสอ • เล่นเกมส์ง่ายๆ
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 18 - 20 เดือน • สนใจสิ่งที่เด็กพยายามทำ ชี้แนะให้กำลังใจ ให้เด็กคิดเองและทำเองบ้าง • ฝึกลูกให้ช่วยตัวเอง ขับถ่ายให้เป็นที่ ให้เข้าห้องน้ำ ถอดกางเกงเวลาอุจจาระ ปัสสาวะ รู้จักล้างมือก่อนกินอาหารและขับถ่าย • ให้เด็กมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆภายในบ้าน • ให้เล่นเตะบอล โยนบอล ให้หัดดูหนังสือและพลิกทีละหน้า ให้กินอาหารด้วยตนเอง • พูดคุยซักถามให้เด็กตอบ สอนให้รู้จักสีและจำนวน • ให้หัดขีดเขียนรูปกากะบาด และวงกลม ให้ต่อแท่งไม้
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 2 ปี • สอนลูกให้รู้จักทักทาย ขอบคุณ และขอโทษ ในเวลาที่เหมาะสม • ตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เด็กตักกินเอง • พ่อแม่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีตลอดเวลา และ อบรมสั่งสอนลูกด้วยเหตุผลง่ายๆ
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 2 ปี 6 เดือน • พาเด็กเดินรอบบ้าน และบริเวณใกล้ๆ ชี้ชวนให้สังเกตสิ่งที่พบเห็น หมั่นพูดคุยด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถามของลูกโดยไม่ดุหรือแสดงความรำคาญ • ชวนลูกแปรงฟันเมื่อตื่นนอนและก่อนนอนทุกวัน • ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้ง การวิ่งเล่น การเข้ากลุ่มกับเด็กอื่น • ฝึกหัดการขีดเขียน สอนให้รักการอ่าน โดยมีคนทำเป็นตัวอย่าง มีหนังสือที่เหมาะสม • ฝึกหัดการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน การฝึกหัดขับถ่าย • ฝึกหัดให้ควบคุมตนเองเวลาโกรธ โมโห และสอนให้รู้จักการแบ่งปัน
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 3 ปี • สนับสนุนให้ลูกพูด เล่าเรื่อง ร้องเพลงและ ขีดเขียน และทำท่าทางต่างๆ • สังเกตท่าที ความรู้สึกของเด็กและตอบสนองโดยไม่บังคับ หรือตามใจลูกเกินไป ควรค่อยๆพูดและผ่อนปรน • จัดหาของที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆให้เด็กเล่น หัดขีดเขียน หัดนับแยกกลุ่ม และเล่นสมมุติ
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 4 ปี • ตอบคำถามของเด็ก • เล่าเรื่องจากภาพ คุยซักถาม เล่าเรื่อง • ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้า ติดและกลัดกระดุม รูดซิป
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 5 ปี • ให้ลูกเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว หัดยืนทรงตัวขาเดียว และกระโดดข้ามเชือก • เล่นทาย “ อะไรเอ่ย” กับลูกบ่อยๆ ฝึกหัดนับสิ่งของและหยิบของตามจำนวน1 - 5 ชิ้น • ให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่ายๆ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ เช่น ซักผ้า เลือกข้าวเปลือก • ฝึกให้ลูกสังเกต รู้จักเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่างและ จัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนกัน
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 6 ปี • ให้ลูกนับสิ่งของที่พบเห็น หัดอ่าน เขียนรูปและตัวอักษร • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับบุคคลต่างๆและประเพณีในท้องถิ่น • ให้ลูกวาดรูปตามความคิดของตนและเล่าเรื่องจากรูปที่วาดหรืออธิบายสิ่งที่ตนพบเห็น
สภาพัฒน์เสนอแนะวิธีการพัฒนาทั้งไอคิวและอีคิวของเด็กไทยสภาพัฒน์เสนอแนะวิธีการพัฒนาทั้งไอคิวและอีคิวของเด็กไทย จากการศึกษาวิจัยเด็กที่มีไอคิว-อีคิวสูง เทียบกับเด็กที่มีไอคิว-อีคิวต่ำ พบว่า พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนอย่างมากในการที่จะช่วยให้เด็กๆได้คะแนนดีทั้งไอคิวและอีคิวด้วยการกระทำเพียง 9 อย่างเท่านั้น ได้แก่... 1. กอดลูกเป็นประจำ 2. ให้ลูกดื่มนมเป็นประจำ (แรกๆ ก็ นมแม่ นะ) 3. มีคำถามให้ลูกคิดอยู่เสมอ 4. ให้รู้จักเขียนบันทึก 5. ให้ออกกำลังกายเป็นประจำ 6. จัดหนังสือคุณภาพ (สำหรับเด็กมาไว้ที่บ้าน) 7. เล่นเกมตอบปัญหากับลูกๆ 8. จัดหาสื่อเสริมการเรียน วิชาต่างๆให้ 9. เล่นเกมที่ส่งเสริมความคิดและการวางแผน
การเล่นกับลูก..ความหมายของการเล่นการเล่นกับลูก..ความหมายของการเล่น การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง และบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้ การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย
การเล่นกับลูก..ประโยชน์ของการเล่นการเล่นกับลูก..ประโยชน์ของการเล่น 1. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน 2. ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 3. ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 4. ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์ 5. ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง 6. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
การเล่นกับลูก..ประโยชน์ของการเล่นการเล่นกับลูก..ประโยชน์ของการเล่น 7. ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น (flexibility) 8. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี 9. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมุติ 10. ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ
ข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ในการเล่นกับลูกข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ในการเล่นกับลูก • การเล่น คือ การเรียนรู้ และส่งเสริมให้เด็กคิดสร้างสรรค์ • เล่นกับเด็กทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ • ปล่อยให้เด็กเล่นอิสระ มีอิสระในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และแสดงออกด้วยตนเอง
ข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ในการเล่นกับลูกข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ในการเล่นกับลูก • ให้คำชมเชยเมื่อเด็กเล่นได้สำเร็จ ถ้าเล่นไม่สำเร็จก็ให้กำลังใจ • จัดสภาพแวดล้อมในการเล่น เลือกของเล่นที่ปลอดภัย • ของเล่นไม่จำเป็นต้องเลือกของเล่นราคาแพง
การเลือกสรรของเล่น โดยคำนึงถึง 1. ความปลอดภัย2. ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก3. ความสนใจของเด็ก4. ความสะอาด5. ความเหมาะสมของราคา6. วิธีการเล่น
ชนิดของการเล่น • การเล่นเพื่อพัฒนาความคิด ใช้ความคิดเป็นส่วนประกอบในการเล่น เช่น การเกมเศรษฐี หมากรุก • การเล่นเพื่อฝึกฝนหน้าที่ของอวัยวะ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นการโยนบอล การเตะบอล การกระโดด การลากรถ การโหนบาร์ • การเล่นเพื่อการสร้างสรรค์ เช่นการต่อ block ไม้ • การเล่นที่เป็นการแสดงบทบาท มีจินตนาการ เช่น สมมติขายของ สมมติเป็นพ่อแม่ • การเล่นที่มีกติกา มีกฎเกณฑ์ของการเล่นเป็นแบบแผน มีการทำตามกติกา มีแพ้ชนะ มีการปรับตัวเข้ากับกฎเกณฑ์ มีวินัย มีการรอคอย คุณพ่อ คุณแม่ คือของเล่นที่มีค่าที่สุดสำหรับลูก นภัชชล รอดเที่ยง
ของเล่นไทย นภัชชล รอดเที่ยง
การเล่นโดยใช้กิจกรรมศิลปะการเล่นโดยใช้กิจกรรมศิลปะ • ให้โอกาสลูกได้ขีดเขียน ปั้นดินเหนียว ฝึกการใช้นิ้วมือในการขีดเขียนหนังสือ • วาดรูปตามจินตนาการ • พับ หรือฉีกกระดาษ เป็นรูปต่างๆ นภัชชล รอดเที่ยง
การเล่นโดยใช้กิจกรรมดนตรีการเล่นโดยใช้กิจกรรมดนตรี • ฝึกจังหวะ / เสียงดนตรี • รู้จักเสียงสัตว์ร้อง เสียงธรรมชาติต่างๆ • จินตนาการประกอบท่าทาง นภัชชล รอดเที่ยง
ดนตรี...ทำให้เด็กฉลาด ? การวิจัยพบว่า : การฟังและเล่นดนตรีที่ชอบ(ไม่ใช่ถูกบังคับ) โดยเฉพาะดนตรีที่เร้าใจ สนุกสนาน มีจังหวะ 60-90 ครั้ง/นาที จะทำให้ IQ เพิ่มขึ้น ทำให้เพิ่มความจำ ลดความเครียด มีความสุข เพราะสาร endorphin หลั่ง ทำให้มีความสุข เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สมองกับการเรียนรู้ โครงการตำรา สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย
การอ่านและการเล่านิทานการอ่านและการเล่านิทาน
ช่วยให้เกิดเพลิดเพลิน สนุกสนาน พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา พัฒนาทักษะภาษา และการฟัง การจับประเด็นเรื่องราว ช่วยเสริมสร้างจินตนาการตามเนื้อเรื่อง ลดความเครียด ความกลัว หรือ ความวิตกกังวลที่มีในเด็กได้ด้วย ประโยชน์ของการเล่านิทานในเด็ก
ฉลาดอย่างคาดไม่ถึง...กับนิทานฉลาดอย่างคาดไม่ถึง...กับนิทาน หนังสือหรือนิทาน สร้างโลกแห่งการเรียนรู้ จินตนาการ การอ่านหนังสือเป็นเวลาหรรษา ที่ลูกตั้งตารอ รับสัมผัสที่อบอุ่นผ่านน้ำเสียง ที่คุ้นชิน เป็นการสื่อสารทุกด้าน
ฉลาดอย่างคาดไม่ถึง...กับนิทานฉลาดอย่างคาดไม่ถึง...กับนิทาน • ครั้งแรกเล่ารวดเดียวจบให้ประมวลข้อมูล • เล่าเหมือนเหตุการณ์จริง • มีอารมณ์ร่วมในเหตุการณ์ • เล่าไปชี้ไปเมื่อเล่าซ้ำ แกล้งเล่าผิดให้เด็กแก้ • ถามคำถามว่าตัวละครรู้สึกอย่างไร
เสริมพัฒนาการด้านภาษาเสริมพัฒนาการด้านภาษา • บรรยายสิ่งที่เด็กกำลังสนใจ • ช่วยเติมสิ่งเด็กกำลังพูด • ให้เด็กหัดตอบคำถามง่ายๆ • อ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง • พูดกับเด็กสั้นๆ ช้าๆ ซ้ำๆ • ใช้คำพูดที่ไพเราะ ให้กำลังใจ ไม่ห้ามพร่ำเพรื่อ
ได้โปรด..... เห็นแก่ชีวิตน้อย ๆ ของหนู...