1 / 55

การประยุกต์ใช้ Conjoint Analysis ทางเศรษฐศาสาตร์เกษตร

การประยุกต์ใช้ Conjoint Analysis ทางเศรษฐศาสาตร์เกษตร. ดร.รวิสสาข์ สุชาโต การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 18 ส.ค. 2554 ณ สถาบันเกษตราธิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกร.

garan
Download Presentation

การประยุกต์ใช้ Conjoint Analysis ทางเศรษฐศาสาตร์เกษตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประยุกต์ใช้ Conjoint Analysisทางเศรษฐศาสาตร์เกษตร ดร.รวิสสาข์ สุชาโต การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 18 ส.ค. 2554 ณ สถาบันเกษตราธิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  2. ปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกรปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกร • สินค้าเกษตรมีคุณลักษณะที่หลากหลาย เช่น ข้าว • พันธุ์: ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม ข้าวสังหยด • ความหอมของข้าว • ความนิ่มของข้าว • ลักษณะเมล็ด • กากใย • ลักษณะไหนที่เป็นที่ต้องการของตลาด ควรส่งเสริมให้มีการผลิต

  3. ปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกรปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกร • ลักษณะต่าง ๆ ของโครงการช่วยเหลือเกษตรกร • บริการรวดเร็ว vsผิดพลาดน้อย • ต้องมีสินค้าไปจำนำ vsไม่ต้องมีสินค้าไปจำนำ • ไม่ยุ่งยาก vsโปร่งใส • เข้าใจง่าย • โครงการช่วยเหลือเกษตรกรลักษณะใดที่เป็นที่ต้องการของเกษตรกร ควรสร้างโครงการช่วยเหลือแบบใดที่จะทำให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

  4. ปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกรปัญหาของความหลากหลายในตัวสินค้าเกษตรและโครงการช่วยเหลือเกษตรกร • ลักษณะการประกันภัยพืชผล • ลักษณะภัยที่คุ้มครอง • ค่าเบี้ยประกันภัย • วงเงินประกันภัย • การจ่ายเงินชดเชย • เราสามารถใช้ Conjoint Analysis ในการวิเคราะห์คุณลักษณะใดของสินค้า(โครงการ)ที่ตลาด(เกษตรกร)ต้องการ เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิต (ใช้โครงการ)ที่ประสบความสำเร็จ

  5. Conjoint analysis คืออะไร? • Conjoint analysis เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจากการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์/สถิติและมีการนำมาปรับใช้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility) • Lancaster (1971) กล่าวว่าอรรถประโยชน์/ความพึงพอใจ (Utility) ของผู้บริโภคจากการบริโภคสินค้าไม่ได้เกิดมาจากตัวสินค้าโดยตรงแต่ได้มาจากความพึงพอใจในคุณลักษณะต่างๆของตัวสินค้า • Green and Rao (1971) ได้ประยุกต์ใช้ Conjoint analysis ในงานด้านการตลาดโดยนำมาใช้วัดความพึงพอใจของผู้ซื้อต่อทางเลือกในคุณลักษณะสินค้าที่มีความหลากหลาย

  6. Conjoint analysis คืออะไร? (2) • ConjointAnalysis เป็นการค้นหาว่าลักษณะสำคัญ (Key attributes) ลักษณะใดของสินค้าหรือบริการ ที่จะสร้างอรรถประโยชน์ (Utility) ให้แก่ผู้บริโภค และที่ระดับใด • Conjoint analysis ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดรวมทั้งยังถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้น เพื่อให้สินค้าและบริการที่ผลิตออกมานั้นตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด • Conjoint analysis สามารถถูกนำมาใช้ในการกำหนดราคาของสินค้ารวมทั้งคาดการณ์ส่วนแบ่งการตลาดและหาค่าความน่าจะเป็นที่สินค้าที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่จะสามารถจำหน่ายได้ได้อีกด้วย

  7. แนวคิดของ Conjoint Analysis • ตัวอย่างเช่น การเลือกที่นั่งบนเครื่องบิน ให้ตัดสินใจเลือกระหว่าง 1.ลักษณะที่นั่ง: นั่งที่เหยียดเท้าได้ กับ ที่นั่งที่เหยียดเท้าไม่ได้ 2. ราคาตั๋ว:28,000 บาท กับ 35,000 บาท 3. การเดินทาง: ไม่มีการ Transit ระยะเวลาเดินทาง 8 ชั่วโมง กับ มีการ Transit ระยะเวลาเดินทาง 15 ชั่วโมง

  8. แนวคิดของ Conjoint Analysis (2) • P1. ที่นั่งแคบ + 28,000 + 8 ชม. • P2. ที่นั่งแคบ + 28,000 + 15 ชม. • P3. ที่นั่งแคบ + 35,000 + 8 ชม. • P4. ที่นั่งแคบ + 35,000 + 15 ชม.  The least preferred • P5. ที่นั่งกว้าง + 28,000 + 8 ชม.  The most preferred • P6. ที่นั่งกว้าง + 28,000 + 15 ชม. • P7. ที่นั่งกว้าง + 35,000 + 8 ชม. • P8. ที่นั่งกว้าง + 35,000 + 15 ชม.

  9. แนวคิดของ Conjoint Analysis (3) • การพิจารณาเลือกทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจาก P4 ซึ่งผู้บริโภคชอบน้อยที่สุด และ P5 ซึ่งผู้บริโภคชอบมากที่สุด จะเป็นการพิจารณาตัดสินใจซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ หรือการให้ความสำคัญกับปัจจัยในด้านต่างๆ ของผู้บริโภค • นอกจากนี้ ถ้าหากมีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ก็จะสามารถทำให้เกิดการพิจารณาแบ่งส่วนตลาดของสินค้าได้ดียิ่งขึ้น เช่น ผู้เดินทางเป็นนักธุรกิจ หรือ ผู้เดินทางเป็นนักเรียน เป็นต้น

  10. แนวคิดของ Conjoint Analysis (4) • โดยทั่วไป ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม จะต้องมีลักษณะเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative data) หรือ ตัวแปรแบบ Metric • สำหรับ Conjoint analysis ซึ่งนิยมใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ตัวแปรอิสระมักเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) หรือเป็นตัวแปรแบบ Non-metric เช่น คุณลักษณะของสินค้า (Levels of certain variables)ในขณะที่ตัวแปรตามอาจเป็นความพึ่งพอใจโดยรวม การตัดสินใจเลือกซื้อ หรือการยอมรับ (Overall rating or a purchase decision or an adoption decision)

  11. แนวคิดของ Conjoint Analysis (5) • The basic model in a CA study is: • U(X) = U1 (X1 )+ U2 (X2 )+… + Un (Xn) • (Metric or Non-metric) (Non-metric) • Value or Utility Utilities of an attribute • ดังนั้นข้อดีของการใช้ CA ก็คือ การนำเอาตัวแปรอิสระที่มีลักษณะเป็น Non-metric มาอธิบายตัวแปรตามที่อาจมีลักษณะเป็น Metric หรือ Non-metric ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องมีข้อสมมติที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่าตัวแปรในเชิงเส้นตรง

  12. หลักการของ Conjoint analysis • สมมติว่าบริษัทประกันภัยพืชผลแห่งหนึ่งต้องการที่จะออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ โดยทางบริษัททราบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยพืชผลของเกษตรกร คือ วงเงินประกันภัยสูงสุด จำนวนภัยที่คุ้มครอง (ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ) และค่าเบี้ยประกัน โดยทางเลือกต่าง ๆ มีดังนี้

  13. หลักการของ Conjoint analysis (2) • แน่นอนที่สุด คุณลักษณะของประกันฯที่เกษตรกรอยากได้คือ • ในขณะที่คุณลักษณะของประกันภัยฯ ที่บริษัทอยากขายก็คือ

  14. หลักการของ Conjoint analysis (3) • บริษัทประกันภัยโดยส่วนใหญ่รู้แน่ชัดอยู่แล้วว่าเกษตรกรต้องการประกันภัยฯ ที่มีวงเงินคุ้มครองและจำนวนภัยที่คุ้มครองมาก ดังนั้นหากจะจัดลำดับในเรื่องของวงเงินคุ้มครองและจำนวนภัยคุ้มครองโดยพิจารณาปัจจัยทั้ง 2 ด้าน แยกส่วนจากกัน ย่อมได้ลำดับดังนี้

  15. หลักการของ Conjoint analysis (4) • สมมติว่าถ้าหากทำการพิจารณาปัจจัยในเรื่องของ วงเงินคุ้มครองและจำนวนภัยที่คุ้มครองไปพร้อมๆกันหรือพิจารณาร่วมกัน (Conjointly) โดยให้เกษตรกรทำการจัดลำดับ (Ranking) คุณลักษณะของประกันภัยฯ ที่เป็นได้ทั้งหมด 9 ชนิด (3*3) ทั้งนี้กำหนดให้ราคาเป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งผลของการสอบถามเกษตรกรจำนวน 2 รายได้ข้อมูลดังนี้

  16. หลักการของ Conjoint analysis (6) • สมมติว่าผลการประเมินค่าความพึงพอใจในแต่ละคุณลักษณะซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการจัดลำดับ (Rank orders) ของเกษตรกรรายแรกเป็นดังตาราง

  17. หลักการของ Conjoint analysis (7) • ในขั้นต่อมา สมมติว่านำปัจจัยเรื่องเบี้ยประกันมาพิจารณาร่วมกับจำนวนภัยที่คุ้มครองโดยได้ข้อมูลการจัดลำดับความสำคัญดังตาราง

  18. หลักการของ Conjoint analysis (8) • ผลการประเมินค่าความพึงพอใจในแต่ละคุณลักษณะซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการจัดลำดับ (Rank orders) ของเกษตรกรเป็นดังตาราง (ทั้งนี้กำหนดให้ความพึงพอใจในเรื่องจำนวนภัยคุ้มครองไม่เปลี่ยนแปลง)

  19. หลักการของ Conjoint analysis (9) • ดังนั้นจากข้อมูลทั้งหมด สามารถนำมาเขียนแสดงความพึงพอใจของเกษตรกรจำแนกตามปัจจัยและคุณลักษณะต่างๆ ได้ ดังนี้ • จากข้อมูลข้างต้น ทำให้สามารถประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรในการประกันภัยฯแบบต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาคำนวณหาความน่าจะเป็นที่เกษตรกรจะตัดสินใจซื้อ หรือความเต็มใจจ่ายได้อีกด้วย

  20. หลักการของ Conjoint analysis (10) • ตัวอย่างเช่น มีการประกันภัยฯ อยู่ 2 แบบ คือ • 1. วงเงินคุ้มครองสูง (2000 บาท) แต่ครอบคลุมภัยน้อย (1 ภัย) และค่าเบี้ยกลางๆ (90 บาท) • 2.วงเงินคุ้มครองกลางๆ (1600 บาท) แต่ครอบคลุมภัยมาก (3 บาท) และค่าเบี้ยแพง (100 บาท) • ท่านคิดว่า เกษตรกรจะตัดสินใจซื้อประกันภัยฯ ตัวไหน และเพราะเหตุใด

  21. หลักการของ Conjoint analysis (11)

  22. ขั้นตอนในการทำ Conjoint Analysis • 1. เลือกคุณลักษณะหรือปัจจัย และระดับของคุณลักษณะหรือปัจจัยที่จะใช้ในการศึกษา • 2. สร้างชุดของคุณลักษณะที่เป็นไปได้ และพัฒนาของคุณลักษณะสำหรับการเก็บข้อมูล โดยอาศัยวิธีการ Full fractional factorial design เพื่อให้ได้จำนวนชุดของคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการศึกษา • 2.1 หาจำนวนทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด (ผลคูณของระดับหรือประเภทของแต่ละคุณลักษณะ) • 2.2 ตัด/ลด จำนวนทางเลือกบางทางเลือกออก

  23. จำนวนทางเลือกทั้งหมด = ผลคูณของระดับหรือประเภทของคุณลักษณะแต่ละคุณลักษณะ (กรณีตั๋วเครื่องบิน : 2x2x2 = 8) จำนวนทางเลือก ทั้งหมด 2x2x2x2 =16

  24. ขั้นตอนในการทำ Conjoint Analysis (2) • ออกแบบลักษณะวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • Pair wise trade-off design • Full profile design • อื่น ๆ เช่น Hybrid conjoint design, adaptive conjoint analysis design

  25. วิธี pair-wise trade off design • หรือ two factor evaluations • จับคู่ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะประเมินทีละคู่ จนครบทุกคู่ • เช่น

  26. วิธี pair-wise trade off design(2) • ข้อดี • ทำให้ง่ายต่อการประเมินคุณค่า (Utility value) ของลักษณะแต่ละคู่ • ข้อเสีย • เป็นการประเมินลักษณะแต่ละคู่ทำให้ไม่ได้ภาพรวมของการประเมินลักษณะทั้งหมด

  27. วิธี Full profile design • หรือ Multiple factor evaluation • ลักษณะทั้งหมดของผลิตภัณฑ์จะได้รับการประเมินพร้อมกัน • เช่น

  28. ขั้นตอนในการทำ Conjoint Analysis (3) • 4. การเลือกใช้วิธีการวัดความพึงพอใจต่อชุดคุณลักษณะที่นำเสนอ • ให้คะแนน Rating (Interval scale) • เรียงลำดับ Ranking (Ordinal scale) • 5. การเลือกแบบจำลองความพึงพอใจ (พิจารณาจากความสัมพันธ์ของระดับ/ประเภทของคุณลักษณะแต่ละคุณลักษณะ) • ไม่มีความสัมพันธ์กัน:ใช้ Discretemodel • มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง : ใช้ Vector model (Linear more or linear less) • มีความสัมพันธ์ไม่เชิงเส้นตรง: ใช้ Ideal-point model (or anti ideal-point model)

  29. ระดับของคุณลักษณะมีความสัมพันธ์ในเชิงเส้นตรงระดับของคุณลักษณะมีความสัมพันธ์ในเชิงเส้นตรง

  30. ระดับของลักษณะมีความสัมพันธ์ไม่เชิงเส้นตรงระดับของลักษณะมีความสัมพันธ์ไม่เชิงเส้นตรง

  31. ขั้นตอนในการทำ Conjoint Analysis (3) • 6. การเลือกใช้วิธีการในการประมาณค่าพารามิเตอร์ของสมการ (พิจารณาตามลักษณะของแบบสอบถามที่ใช้) • วิธี pair-wise : ใช้ Probit, Logit, etc. • วิธี full profile : ใช้ OLS, Tobit , etc. หมายเหตุ: การแปลผลให้ดูที่ค่า coefficient ซึ่งจะบอกเราว่าระดับของแต่ละลักษณะมีผลต่ออรรถประโยชน์เท่าไร

  32. Disadvantages • ขั้นตอนในการวิเคราะห์แบบ Conjoint มีความสลับซับซ้อนโดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบการศึกษาและทางเลือกต่างๆ • ทางเลือกบางทางเลือกอาจจะไม่มีอยู่จริงหรือยากที่จะทำการผลิต • ผู้บริโภคอาจไม่สามารถให้ความเห็นกับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ • การออกแบบการศึกษาที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดการ Over หรือ Under value ในบางปัจจัยหรือคุณลักษณะ • ไม่ได้มีการคำนึงถึงยอดการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถอธิบายถึงเรื่องของส่วนแบ่งการตลาดได้

  33. ตัวอย่าง : • ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำส้มพร้อมดื่ม 100% ของผู้บริโภค (วรรณวิษา และ วิศิษฐ์, 2553) • คุณสมบัติของน้ำส้มที่ผู้เขียนเลือกมาศึกษามีทั้งหมดกี่ลักษณะ อะไรบ้าง • ขั้นตอนที่ผู้เขียนใช้วิเคราะห์ Conjoint Analysis เหมือนหรือแตกต่างกับที่เพิ่งเรียนไป • จากผลงานวิจัยนี้ หากท่านต้องการผลิตน้ำส้มมาขายท่านจะผลิตน้ำส้มออกมาในลักษณะใด • ท่านสามารถพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้ได้อย่างไร

  34. เปรียบเทียบ Hedonic VS Conjoint

  35. การวิเคราะห์ conjoint โดยการใช้ SPSS

  36. กรณีศึกษา:carpet-cleaner preference • สมมติว่าปัจจัยและระดับของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นดังตาราง จำนวนชุดของคุณลักษณะที่เป็นไปได้ทั้งหมด = 3*3*3*2*2 = 108 ชุด

  37. การลดจำนวนชุดของคุณลักษณะด้วย Orthogonal Design • ขั้นที่ 1 บนโปรแกรม SPSS เลือก Data / Orthogonal Design / Generate… /

  38. การลดจำนวนชุดของคุณลักษณะด้วย Orthogonal Design • ขั้นที่ 2 ระบุ Factor Name และ Factor Label / กด Add • ขั้นที่ 3 เลือก Define Values… / ตั้งค่า Value และ Value Label / กด Continue • ขั้นที่ 4 ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำ จนกว่าจะระบุปัจจัยและระดับของปัจจัยต่างๆ ครบถ้วน • ขั้นที่ 5 เลือก Replace working data file

  39. การลดจำนวนชุดของคุณลักษณะด้วย Orthogonal Design • ขั้นที่ 6 เลือก Option โดยระบุจำนวนชุดของคุณลักษณะและจำนวนชุดของ Holdout ที่ต้องการ (สมมติให้เท่ากับ 18 และ 4 ตามลำดับ) / กด Continue / กด OK Note: ขั้นตอนที่ 6 อาจไม่ต้องทำก็ได้ ถ้าหากไม่ต้องการกำหนดจำนวนชุดของคุณลักษณะและจำนวนชุดของ Holdout ที่ต้องการ • ขั้นที่ 7 เลือก File / Save as / file name: carpet_plan.sav Note: หากต้องการให้ SPSS แสดงค่าเป็นแบบ Value Labels ให้ไปที่ View / เลือก Value Labels

  40. ลักษณะของข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์แบบ Conjoint • สำหรับข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้อยู่ใน file: carpet_pref.sav โดยผู้บริโภคจะถูกขอให้จัดเรียงลำดับ (Ranking) ชุดของคุณลักษณะทั้ง 22 ชุด ตามลำดับของความชอบ ทั้งนี้การจัดเรียงข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์แบบ Conjoint จะเป็นดังภาพที่ 1 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า ตัวอย่างหมายเลข 1 ชอบชุดของคุณลักษณะที่ 13 มากที่สุด รองลงไปคือ ชุดของคุณลักษณะที่ 15, 1, 20, 14, 7 และ 11 ตามลำดับ

  41. คำสั่ง หรือ Command Syntax สำหรับ Conjoint Analysis • เพื่อทำการวิเคราะห์แบบ Conjoint โดยใช้โปรแกรม SPSS จำเป็นที่ต้องใช้ชุดของคำสั่ง หรือ Command Syntax ดังนี้ CONJOINT PLAN='D:carpet_plan.sav' /DATA='D:carpet_pref.sav' /sequence=PREF1 TO PREF22 /SUBJECT=ID /FACTORS=PACKAGE BRAND (DISCRETE) PRICE (LINEAR LESS)SEAL (LINEAR MORE)MONEY (LINEAR MORE) /PRINT=sumaryonly /PLOT=sumary. • ระวัง path ของไฟล์ว่าไฟล์ที่ save ไว้ถูกเก็บไว้ส่วนใดของคอมพิวเตอร์

  42. คำสั่ง หรือ Command Syntax สำหรับ Conjoint Analysis • เพื่อสร้าง Command Syntax ให้เลือก File / New / Syntax / • หลังจากนั้นให้พิมพ์ชุดของคำสั่งข้างต้นลงไปใน Dialog Box • เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จแล้วให้ทำการบันทึกโดยไปที่ File / Save as / file name: carpet_test_syn.sps • เพื่อที่จะ Run Conjoint Analysis ให้กดคำสั่ง Run บน Tool bar

  43. ระวัง path!! ไฟล์ที่สร้างขึ้นตอนแรกเพื่อกำหนดคุณลักษณะ คำสั่ง run ไฟล์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ในวงเล็บคือความสัมพันธ์ของคุณลักษณะกับอรรถประโยชน์ ซึ่งต้องระบุทุกคุณลักษณะ

  44. Utilities ผลการประมาณค่า Conjoint Analysis

  45. คะแนนเฉลี่ยรวมของแต่คุณลักษณะคะแนนเฉลี่ยรวมของแต่คุณลักษณะ • Importance Values • Averaged Importance Score

More Related