320 likes | 1.09k Views
กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism พัฒนาทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์. นางโสภาพรรณ ชื่นทองคำ. ทฤษฎี Constructionism. Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ได้พัฒนามาจากทฤษฎี Constructivism ของ Piaget. การจัดกิจกรรมตามแนวทฤษฎี
E N D
กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionismพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ นางโสภาพรรณ ชื่นทองคำ
ทฤษฎี Constructionism Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ได้พัฒนามาจากทฤษฎี Constructivism ของ Piaget
การจัดกิจกรรมตามแนวทฤษฎีการจัดกิจกรรมตามแนวทฤษฎี Constructionism • นักเรียนเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ • นักเรียน ฝึกปฏิบัติ แก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง • นักเรียนสรุปองค์ความรู้ และสร้างผลงานด้วย ตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยี หรือสื่อและวิธีการอื่นๆ
ความสำคัญของนวัตกรรม ใช้กระบวนการ 5S ตามทฤษฎี Constructionismในการจัดการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา OLPC เป็นสื่อที่สามารถส่งเสริมความคิดของนักเรียนและนำเสนอผลงานที่สะท้อนถึงทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
สังเคราะห์ สรุปเป็นกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน(จำง่าย ใช้คล่อง) ให้สอดคล้องกับแนวการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism ดังนี้ 1.จุดประกายความคิด( Sparkling ) 2. สะกิดให้ค้นคว้า ( Searching ) 3. นำพาสู่การปฏิบัติ( Studying ) 4. จัดองค์ความรู้( Summarizing ) 5. นำเสนอควบคู่การประเมิน( Show and Sharing )
ความเป็นมา พ.ศ.2551 ได้นำเสนอ กระบวนการ 5S ในรูปแบบผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้รับอนุมัติแต่งตั้งเป็นครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ปี พ.ศ.2552 ได้เผยแพร่กระบวนการ 5S ตามทฤษฎี Constructionism ให้กับคณะครูในโรงเรียน จนปัจจุบันโรงเรียนบ้านสันกำแพงกำหนดเป็นนโยบายให้ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระตามขั้นตอนกระบวนการ 5Sเผยแพร่ให้กับคณะที่มาศึกษาดูงานการเรียนการสอน และนำเสนอในการอบรมครูของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในบทบาทของวิทยากร
ความเป็นมา ปีการศึกษา 2554 ได้ใช้กระบวนการ 5S ในการจัดการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา OLPC เป็นสื่อเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์แบบพกพา OLPC เป็นสื่อที่สามารถส่งเสริมความคิดของนักเรียน และนำเสนอผลงานที่สะท้อนถึงทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน 1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 /1 โรงเรียนบ้านสันกำแพง 2. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โดยใช้กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism3. เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ และนำเสนอองค์ความรู้ของนักเรียน เชิงคุณภาพ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ในปีการศึกษา 2554 สูงกว่าปีการศึกษา 2553 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ทุกคน มีความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ นำเสนอองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ได้
1. Sparklingจุดประกายความคิด ใช้คำถาม เพลง เกม กิจกรรม วิธีการ หรือสื่อ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้ เห็นแนวทางในการแสวงหาความรู้ นำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
2. Searchingสะกิดให้ค้นคว้า ใช้กิจกรรมหรือ หัวข้อ เรื่องราว ที่น่าสนใจ ชวนให้ศึกษาค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนนำข้อมูลมาวางแผน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและความถนัดของแต่ละบุคคลในกลุ่ม มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักทำงานเป็นกลุ่ม
3. Studyingนำพาสู่การปฏิบัติ ฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เรียนรู้ด้วยตนเองทั้งเป็นกลุ่มเป็นรายบุคคล จนเกิดทักษะ และเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. Summarizingจัดองค์ความรู้ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจจากการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ของ ตนเองได้อย่างเป็นระบบ
5.Showingand Sharingนำเสนอควบคู่การประเมิน - ฝึกนักเรียนให้วางแผนในการนำเสนอความรู้ ผลงานของ ตนเองอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ - ด้วยเทคนิควิธีต่างๆ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ นิทรรศการ เกม การใช้คอมพิวเตอร์ ฯลฯ - นำเสนอผลการเรียนรู้ ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกระบวนการทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ต่อไป - ฝึกนักเรียนให้รู้จักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านผลงาน ความคิด วิธีการ และข้อเสนอแนะ
ประสิทธิภาพของนวัตกรรมประสิทธิภาพของนวัตกรรม 1. ประสิทธิภาพด้านเนื้อหา ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงทางเนื้อหา และนำมาสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนบ้านสันกำแพงในปีการศึกษา 2551 นำข้อมูลที่ได้จากการสอนมาปรับปรุงและสรุปเป็นขั้นตอนการสอนที่ชัดเจน มีการขยายผลรูปแบบการสอนในโรงเรียนจนถึงปัจจุบันได้กำหนดเป็นนโยบายให้ครูทุกคนต้องจัดทำแผนการสอนตามนวัตกรรมการสอนแบบ 5 S 2. การหาประสิทธิภาพทางด้านสถิติ ทำการหาประสิทธิภาพการสอนตามกระบวนการ 5 S โดยใช้เกณฑ์ E1 : E2 ในปีการศึกษา 2551 ปรากฏว่า มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 90:88
การนำกระบวนการ 5S ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1. วิเคราะห์หลักสูตรคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. กำหนดหน่วยการเรียนรู้ 3. เขียนแผนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5S 4. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5. วัดและประเมินผลการเรียนรู้6. สรุปผลการจัดการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ 1. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นที่น่าพึงพอใจ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์จากการทดสอบ NT ปีการศึกษา 2554 เท่ากับ 80.30% สูงกว่าปีการศึกษา 2553 ที่มีค่าเท่ากับ 63.30 % 3.) นักเรียนความสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ นำเสนอองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างมีความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีกับคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยความสำเร็จ 1. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน ชุมชนและปกครอง 2. ได้รับการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ เครื่อง OLPCและ งบประมาณในการส่งเสริม การเรียนรู้ จากมูลนิธิไทยคม และมูลนิธิศึกษาพัฒน์ 3. ความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของข้าพเจ้า
บทเรียนที่ได้รับ 1.การจัดการเรียนรู้ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน2.สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และจัดกิจกรรมบูรณาการ 6. บทเรียนที่ได้รับ
การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ • ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคณะครูทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอในวันศุกร์ เพื่อดูงานด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับทฤษฎี Constructionism • เป็นวิทยากรนำเสนอในการให้ความรู้กับคณะครูที่มาศึกษาดูงาน • คณะครูจากประเทศต่างๆ เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในการแข่งขัน โอลิมปิคคณิตศาสตร์ 2009 ได้มาเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นเรียนของข้าพเจ้า
การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ 4. ได้รับรางวัลในระดับชาติและ นานาชาติ เช่น 4.1 ครูต้นแบบของสภาการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.) 4.2 ครูเกียรติยศ( Teacher Award) ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 4.3 ได้รับรางวัล Innovative Teachers Leadership Awards จากบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ประเทศสิงคโปร์ และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปนำเสนอผลการจัดการเรียนรู้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 4.4 ไปร่วมประชุมกับครูนานาชาติในโครงการ Peer Coaching Program ซึ่งบริษัทไมโครซอฟท์จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย และกรุงเทพมหานคร
การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ 4.5 รางวัลครูดีเด่นประจำโรงเรียนบ้านสันกำแพง ให้ไว้ ณ วันที่ 16 มกราคม 2554 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 4.6 “ ครูสอนดีศรีสันกำแพง ” ระดับประถมศึกษาจากสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 มกราคม 2555 4.7 รางวัล “ ครูสอนดี ” จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ให้ไว้ ณ วันที่ 13 เมษายน 2555 ตัวอย่างผลงานนักเรียน ตัวอย่างที่ 2
โรงเรียนบ้านสันกำแพง www.bsk.ac.th