551 likes | 1.6k Views
Joint Commission International JCI. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับมาตรฐานโรงพยาบาลนานาชาติ วันที่ 1-6 มีนาคม 2555. ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร. รายชื่อผู้เข้าอบรม. นางสาวคนึงนิต บุรีเทศน์ นางอารีย์รัตน์ งามทิพยพันธุ์ นางหทัยรัตน์ บำเพ็ญแพทย์ นางดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ
E N D
Joint CommissionInternationalJCI โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับมาตรฐานโรงพยาบาลนานาชาติ วันที่ 1-6 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เข้าอบรม • นางสาวคนึงนิต บุรีเทศน์ • นางอารีย์รัตน์ งามทิพยพันธุ์ • นางหทัยรัตน์ บำเพ็ญแพทย์ • นางดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ • นางสาวพรทิพา ศุภราศรี • นางสาวมณีพรรณ ภิญโญวรพจน์ • นางสมรัตน์ ภาคีชีพ • นางสาวปริยา มาตาพิทักษ์ • นางนวลอนงค์ คำโสภา • นางสาวนิภัสสรณ์ บุญญาสันติ • นางมารยาท สุจริตวรกุล • นางณิชากร ชื่นอารมณ์ • นางรุ่งตวัน สุทธิวิเชียรโชติ • นายศุภกิจ แสวงผล รวม 14 คน
เอกสารประกอบการประชุมเอกสารประกอบการประชุม • 1 มีค. 55 ImplementJCIday1.pdfInternational patient safety goals (IPSG) • 2 มีค. 55 ImplementJCIday2.pdfGovernance, Leadership & Direction (GLD) Management of Communication & Information (MCI) • 3 มีค. 55 ImplementJCIday3.pdfPatient and Family Right (PFR) Patinet and Family Education (PFE) • 4 มีค. 55 ImplementJCIday4.pdfAccess to Care and Continuity of Care (ACC) Assessment of Patient (AOP) • 5 มีค. 55 ImplementJCIday5.pdfCare of Patient (COP) • 6 มีค. 55 ImpkementJCIday6.pdfPrevention and Control of Infection (PCI) สนใจเอกสารประกอบการประชุม ติดต่อ ดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ ตึก EENT หญิง
สถาบันที่เป็นวิทยากรตลอดการฝึกอบรมสถาบันที่เป็นวิทยากรตลอดการฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรมมาตรฐานการบริการด้านสุขภาพระดับสากลแห่งประเทศไทย (Thai International Health Care Standard Training Center – TITC) มีพันธกิจอยู่ 3 ประการคือ 1. เพื่อนำองค์ความรู้ในมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติอาทิเช่น Joint Commission International (JCI) มาขยายองค์ความรู้ให้กับสถานพยาบาลทั่วประเทศรวมถึงการให้คำปรึกษาทางสาธารณสุข กฎหมายและการออกแบบอาคารสถานที่และอื่นๆ อีกมากมาย 2. สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมโดยการค้นคว้าและวิจัยอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพและมาตรฐาน 3. ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์ฝึกอบรมมาตรฐานการบริการด้านสุขภาพระดับสากลแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ที่ตั้ง ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
อาจารย์นิติ เนื่องจำนงค์ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมมาตรฐานการบริการด้านสุขภาพระดับสากลแห่งประเทศไทย
JCI organizational • Joint Commission International (JCI) เป็นองค์กรที่ถือกำเนิดจาก The Joint Commission(สหรัฐอเมริกา) • ทั้งสององค์กรเป็นอิสระจากกัน, เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และไม่ขึ้นกับรัฐบาล • มาตรฐานของ JCI ได้มาจากแม่แบบ รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้ (เช่น TQA=Thailand Quality Award)
พันธกิจของ JCI เพื่อส่งเสริมเกี่ยวกับความปลอดภัย และการพัฒนาคุณภาพของการบริการสุขภาพในระดับสากล ในด้าน • การให้การศึกษา • การเผยแผ่สื่อสิ่งพิมพ์ • การให้คำปรึกษา • การให้การรับรองมาตรฐาน
ระดับในการดำเนินพันธกิจระดับในการดำเนินพันธกิจ ระดับสากล • มีการกำหนดมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันในระดับสากล • รวมทั้งเผยแผ่ความรู้ใหม่ ๆ ด้านคุณภาพและความปลอดภัยใน • การให้บริการด้านสุขภาพ ระดับประเทศ • ช่วยสนับสนุนในการสร้างบรรทัดฐานของคุณภาพที่เข้มแข็ง ระดับองค์การ • ให้การรับรอง, เป็นที่ปรึกษา และเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
ปรัชญา • มีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด • คำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง • สามารถปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ • ให้องค์การสามารถดำเนินกิจกรรมด้านคุณภาพได้อย่างยั่งยืนและมีความสามารถในการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
มาตรฐาน JCI แบ่งเป็น 2 หมวดหมวดที่ 1 มาตรฐานที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
หมวดที่ 2 มาตรฐานการจัดการองค์กรบริการสุขภาพ
JCI เชื่อถือได้แค่ไหน ? • สิ่งที่ทำให้ JCI เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การกำหนดหรือปรับปรุงมาตรฐานของ JCI แต่ละข้อจะต้องมีผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือสนับสนุน JCI จึงมีการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำหลายแห่ง เช่น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เพื่อศึกษาค้นคว้าหาสาเหตุของปัญหา หรือความเสี่ยง และร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด และนำมาจัดทำเป็นมาตรฐานสากลต่อไป ตัวอย่างเช่น JCI ร่วมกับองค์การอนามัยโลกจัดทำเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยนานาชาติ (International Patient Safety Goals; IPSG) ซึ่งได้จากการรวบรวมอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งหมด มาจัดระดับความเสี่ยง, ความรุนแรง และโอกาสที่จะเกิด แล้วนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ และกำหนดเป็นมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัยในระดับสากล
International Patient Safety Goals: IPSG มีทั้งหมด 6 ข้อ ได้แก่
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 1: Identification การชี้บ่ง ตัวผู้ป่วย การบ่งชี้ตัวผู้ป่วยจะต้องใช้ข้อมูล อย่างน้อย 2 ตัวชี้บ่ง ร่วมกันเสมอ คือ ตัวชี้บ่งที่ 1 คือ ชื่อ-นามสกุล ของผู้ป่วย ตัวชี้บ่งที่ 2 คือ วันเดือนปีเกิด ของผู้ป่วย วิธีชี้บ่งผู้ป่วย • จากการการสอบถามขอ้อมูลจากผู้ปว่ ย ( Active Communication ) • จากการดูข้อมูลที่ระบุอยู่บนป้ายข้อมูลตรงกับข้อมูลที่เวชระเบียน หรือ Visit Number Slip ( Passive Communication ) • การบ่งชี้ในขั้นตอนแรกของแต่ละแผนกให้บ่งชี้ โดยวิธี Active Communication • ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน หลังจากนั้นให้ใช้วิธี Passive Communication
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 2 Prohibition of Dangerous Abbreviation Use ตัวย่ออันตรายห้ามใช้ • ตัวย่ออันตราย หมายถึง ตัวย่อที่ใช้ในการเขียนคำสั่งการรักษา ที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือแปลความหมายที่ผิดไปจากเป้าประสงค์ ของผู้สั่งการรักษา ตัวอย่างตัวย่อห้ามใช้ ต้องการสื่อ intravenous ให้ใช้ “IV” ห้ามใช้ วงกลมรอบตัว V ต้องการสื่อ intramuscular ให้ใช้ “IM“ ห้ามใช้ วงกลมรอบตัว M • MS or MO ต้องการสื่อ Morphine sulfate ให้เขียนชื่อยาเต็ม • MgSO4 ต้องการสื่อ Magnesium sulfate ให้เขียนชื่อยาเต็ม • Q.D. QD or q.d. qdต้องการสื่อ Once daily ให้ใช้ Daily แทน
กรณีที่เจ้าหน้าที่ พยาบาล และเภสัชกร พบการเขียนตัวย่ออันตราย • ให้สอบถามผู้ที่เขียนคำสั่งการรักษาทันที และเขียนกำกับด้วยคำที่ถูกต้อง • ลงชื่อกำกับและดำเนินการบ่งชี้ติดตามให้แพทย์ลงนามกำกับ • บันทึก Incident occurrence report ส่งมายังแผนกบริหารความเสี่ยงภายใน 24ชั่วโมง
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 2 Receiving Verbal Medical Order การรับคำสั่งการรักษาด้วยวาจา • เมื่อรับคำสั่งการรักษา ให้บันทึกคำสั่งการรักษา ใน Physician's Order Sheet หรือ OPD Record ทันที • กรณีที่คำาสั่งเป็น จุดทศนิยม ให้เขียน 0 ก่อนหน้าจุดทศนิยมและไม่ให้เขียน 0 หลังจุดทศนิยมเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดพลาด • กรณีคำสั่งเป็นตัวเลขซึ่งอ่านออกเสียงแล้วอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นตัวเลขอื่น เช่น เลขที่ลงท้ายด้วยคำว่า “เอ็ด” กับ“เจ็ด” (21 ,31กับ 27, 37) ควรอ่านว่า “สองหนึ่ง , สามหนึ่ง” กับ “สองเจ็ด , สามเจ็ด” เป็นต้น
การรับคำสั่งการรักษาด้วยวาจาการรับคำสั่งการรักษาด้วยวาจา • กรณีคำสั่งการรักษาที่ฟังไม่ชัด ไม่แน่ใจ หรือบันทึกไม่ถูกอาจเนื่องจาก สาเหตุว่าคำนั้นไปพ้องเสียงกับคำอื่นหรือสะกดไมถู่ก ให้สอบถามกลับทันทีด้วยการสะกดคำ (Spelling) โดยใช้คำเปรียบเทียบกับพยัญชนะเพื่อสะดวกและให้มีความชัดเจนในการสื่อสาร โดยใช้ hospital Alphabet เช่น A =America หรือ B = Bangkok
The Hospital Alphabet • A - America • B - Bangkok • C - Canada • D - Denmark • E - England • F - Finland • G - Germany • H - Hong Kong • I - India • J - Japan • K - Korea • L – London • M- Mexico • N - Netherland • P- Poland • Q - Queen • R - Russia • S - Singapore • T - Thailand • U - Ukraine • V - Vietnam • W - Washington • X - X –ray • Y - Yellow • Z - Zebra
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 2 Reporting of critical test and critical result การรายงานผลการตรวจวินิจฉัยที่ผิดปกติและมีความสำคัญต่อชีวิต
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 3 Improve the Safety of High- Alert Medications ความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง • สถานที่เก็บยา : ทุกหน่วยบริการที่มีการสำรองยาหรือเก็บยา High Alert Drugs ให้แยกเก็บยา High Alert Drugs ออกจากยาอื่นๆ และพร้อมทั้งติดป้ายให้ชัดเจนที่ชั้นยา รวมทั้งยา
International Patient Safety Goals การบริหารยา HAD • พยาบาล ต้อง ตรวจสอบคำสั่งแพทย์ใน Doctor order sheet กับ Medication Administration Record ให้ตรงกันก่อนการ ให้ยาทุกครั้ง • การเตรียมยาและการให้ยา กระทำโดยพยาบาล 2 ท่าน ซึ่งแยกกันกระทำการโดยอิสระ( independent ) เพื่อ Double check และ Co-sign • Monitor ค่า parameter , lab ที่ควรระวังและรายงานแพทย์ทันทีเมื่อพบความ ผิดปกติและพยาบาลลงบันทึกผลที่ทำการวัดหรือประเมินลงใน Nurse Note • พยาบาลผู้ทำการให้ยา ต้องตรวจสอบข้อควรระวัง / ข้อห้ามหลัก สำหรับยา นั้นๆ ที่แสดงใน MAR • กรณีมีการยกเลิกคำสั่งใช้ยาหรือมีคำสั่งให้หยุดใช้ยา ให้ส่งยาที่เหลือคืนแผนกเภสัชกรรมทันที
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 4 Eliminate wrong-site, wrong patient, wrong procedure surgery การป้องกันและลดความเสี่ยง ในการผ่าตัด ผิดตำแหน่ง ผิดคน ผิดหัตถการ • Mark site การทำเครื่องหมายบ่งชี้ตำแหน่งหรือข้างที่จะทำหัตถการหรือผ่าตัด • Mark site โดยแพทย์ผู้ทำหัตถการ /แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด ทำสัญลักษณ์ • เครื่องหมาย วงกลม บ่งชี้บริเวณที่ทำผ่าตัด/หัตถการสำหรับอวัยวะดังนี้ – อวัยวะที่มี 2 ข้าง – อวัยวะที่เป็นระยางค์ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า แขน ขา – อวัยวะที่เป็นระดับหรือข้อ เช่น กระดูกสันหลัง • Mark site ด้วยปากกาชนิดพิเศษ( Marking pen) ที่ไม่ลบเลือนภายหลังจากที่ทำ ความสะอาดผิวเพื่อทำผ่าตัด( Drape)
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 5 Reduce the risk of health care-acquiredinfection การป้องกันและลดการติดเชื้อในโรงพยาบาล • ข้อบ่งชี้ในการล้างมือ • ก่อนสัมผัสผู้ป่วย • ก่อนทำหัตถการ • หลังสัมผัสผู้ป่วย หลังทำกิจกรรมพยาบาลหรือหัตถการ • หลังสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง สิ่งปนเปื้อนอื่นๆ หลังสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งและบาดแผล • หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบผู้ป่วย เช่น หลังสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย • เมื่อให้การพยาบาลแต่ละตำแหน่งในผู้ป่วยรายเดียวกัน • หลังถอดถุงมือ • หลังเข้าห้องน้ำ
International Patient Safety Goals • จุดที่ควรมี Alcohol Hand Rub ไว้บริการผู้รับบริการ – ภายในห้องผู้ป่วย – บนรถวัด vital sign – บนรถทำาแผล – รถแจกยา – บนรถ emergency – ในห้องเก็บของ sterile (ล้างมือด้วย AHR ก่อนหยิบของ Sterile) – บริเวณเตรียมยาฉีด – บนเคาน์เตอร์พยาบาล – หน้าลิฟท์ทุกชั้น – จุด finger scan
International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals International Patient Safety Goals 6 Reduce the risk of patient harm resulting from falls การป้องกันและลดความเสี่ยง จากการลื่นตก หกล้ม • Standard Fall Precaution • ตรวจสอบออด ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จัดออดเรียกพยาบาลให้อยู่ใกล้มือ ผู้ป่วย เพื่อกดออดเรียกได้ง่าย และกดออดเรียกพยาบาล เมื่อต้องการความ ช่วยเหลือ ติดป้ายเตือน ข้อความ “กรุณาเรียกเจ้าหน้าที่ถ้าต้องการลุกจากเตียง ทุกครั้ง” ที่หัวเตียงห้องผู้ป่วย • ปรับเตียงให้อยู่ในระดับต่ำสุด • ยกเหล็กกั้นเตียงขึ้นทั้งทุกด้าน และ ทวนสอบความเข้าใจให้ผู้ป่วย/ ผู้ดูแลทำให้ ดูว่าทำได้จริง • ล๊อคล้อเตียงทุกครั้ง
ข้อดีของ JCI • เป็นมาตรฐานโรงพยาบาลนานาชาติระดับโลก สามารถรองรับ Medical hub • ใช้ต่อยอดงานคุณภาพ รพ เดิม HA • สร้างความมั่นใจได้ในด้านการฟ้องร้องทางกฎหมาย ?? • ผ่านมาตรฐาน ISQUA เหมือน HA • ข้อกำหนด JCI vsกฎหมายของประเทศนั้น ISQUA: The International Society for Quality in Health Care องค์กรด้านสังคมสำหรับคุณภาพในบริการสุขภาพระดับนานาชาติ
ข้อด้อยของ JCI • ราคาแพง (ค่าเยี่ยมสำรวจ 3 ล้านบาท, ใช้ภาษาอังกฤษ) • มาตรฐานบางส่วนคล้ายหรือเหมือน HA • นโยบาย Medical hub – นโยบายกระทรวงสาธารณสุขไม่ชัดเจน • เป็น Audit mode ไม่เน้นการเรียนรู้ • Gold seal สามารถถูกถอดถอนได้
Medical Hub: ศูนย์กลางทางการแพทย์ • ศิริราช ทุ่ม 7,000 ล้านบาท เปิด “เมดิคัล ฮับ” แห่งแรกในประเทศไทย 26 เม.ย.นี้ ภายใต้ชื่อ “รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์”ขนาด 300 เตียง ให้บริการผู้ป่วยเหมือน รพ.เอกชน แต่เก็บค่ารักษาถูกกว่า ไม่แสวงหากำไร เน้นรักษาโรคซับซ้อนที่รักษายาก (จากเดลินิวส์ 7 กพ. 55)