240 likes | 681 Views
Quantitative Easing (QE). บทความ เรื่อง US QE : ผลต่อสหรัฐอเมริกาและเอเชีย เขียนโดย ณัฐา ปิ ยะ กาญจน์ และ ธนวัฒน์ รื่นบันเทิง สรุปได้ดังนี้
E N D
บทความ เรื่อง US QE : ผลต่อสหรัฐอเมริกาและเอเชีย เขียนโดย ณัฐาปิยะกาญจน์ และธนวัฒน์ รื่นบันเทิง สรุปได้ดังนี้ ปลายปี 2008 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจนเข้าใกล้ร้อยละ 0 แต่ไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ Fed จึงออกมาตรการ Quantitative Easing เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ Fed ได้ออกมาตรการ QE ทั้งสิ้น 2 ครั้ง การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสาร ทำให้เงินสดสำรองในบัญชีของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับ Fed เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ interest rate risk ลดลง ส่วนการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเป็นการลด credit risk ทำให้ความเสี่ยงของ portfolio ของสถาบันการเงินลดลง จึงปล่อยกู้ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ลดลง ช่วยให้เอกชนระดมทุนได้ถูกลง การเข้าซื้อพันธบัตรของ Fed ช่วยให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้นปริมาณเงินและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น ลดภาวะเงินฝืด วรรณกรรมปริทัศน์
มาตรการ QE1 ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะช่วยให้ตลาดเงินทำงานเป็นปกติมากขึ้น แต่ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ชัดเจน QE2 ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ปรับเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากการที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับลดลง ผลทางอ้อมจากการทำ QE ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อการส่งออก การทำ QE ของ Fed ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น แต่ผลในช่วงแรกของ QE1 ไม่เห็นผล เนื่องจากเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทั่วโลก เงินทุนจึงไหลออกจากภูมิภาคและค่าเงินภูมิภาคอ่อนค่าลง สำหรับ QE2 เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่เศรษฐกิจเอเชียที่กำลังขยายตัว ประกอบกับสภาพคล่องในระบบที่เพิ่มขึ้นจาก QE2 จึงเสริมให้เงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในเอเชียเพิ่มขึ้น QE2 ยังมีส่วนเพิ่มให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเอเชีย จากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง กับสภาพคล่องในระบบการเงินโลกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย ต้องรับมือกับเงินทุนที่อาจไหลเข้ามาก ควบคู่กับระวังความเสี่ยงฟองสบู่ราคาสินทรัพย์และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) เพิ่งจะมีมาเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ซึ่งใช้ครั้งแรกโดยธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรงภายในประเทศ เมื่อเกิดวิกฤตหนี้ด้อยคุณภาพ(Sub-prime Crisis) สหรัฐฯก็ใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ความเป็นมา
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เป็นนโยบายด้านการเงิน(Monetary Policy) ที่ธนาคารกลางสามารถใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปได้ในภาวะไม่ปกติ เช่น เศรษฐกิจถดถอย, เงินฝืดอย่างรุนแรง โดยที่ธนาคารกลางเข้าทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน เพื่อรักษาความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ หวังว่าเม็ดเงินจำนวนมากจะสร้างสภาพคล่องให้กับประชาชนในการลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอยเพื่อหนุนให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ Quantitative Easing (QE) คือ?
ธนาคารของสหรัฐฯได้ดำเนินนโยบายนี้ ในปลายปี 2008 จนสิ้นสุดเดือน มี.ค. 2010 (Q4/2551 - Q3/2553) -โดยให้เงินกู้ระยะสั้นแก่สถาบันการเงินผ่าน Term Auction Facilities - เข้าซื้อตราสารที่หนุนหลังโดยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Backed Securities) ผ่านโครงการ Term Asset-Backed Securities Loan Facilities (TALF) แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะมีการขยายตัว แต่เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังเปราะบาง Fed จึงได้นำมาตรการ QE มาใช้อีกครั้ง Quantitative Easing1 (QE1)
ออกมาตรการในเดือนพฤศจิกายน 2010 ถึง มิถุนายน 2011 คงดำเนินนโยบายรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ และดำเนินการอื่นดังนี้- Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (Longer-Term Treasury Securities) ในตลาดโดยจะทยอยการซื้อเดือนละ75 พันล้านดอลลาร์ - ซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มเติมอีก จากเงินต้นที่ได้รับคืนจากการถือหลักทรัพย์ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐบาล (Agency Debt) และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับการค้ำประกันโดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgaged-Back Securities) ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ในปัจจุบัน โดยจะทยอยการซื้อเดือนละ 35,000 ล้านดอลลาร์ Quantitative Easing2 (QE2)
1) มาตรการ QE จะเพิ่มปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserve) ผ่านการให้กู้เงิน (Term Auction Credit) แก่สถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Depository Institutes) ในขณะที่ ตามปกติธนาคารกลางจะให้กู้เฉพาะแก่ธนาคารพาณิชย์ 2) มาตรการ QE มีความผ่อนปรนเกี่ยวกับตราสารที่ Fed จะรับซื้อมากกว่านโยบายการเงินปกติ ความแตกต่างระหว่าง QE กับนโยบายการเงิน
1) ผ่านกลไกอัตราดอกเบี้ยทางตลาดพันธบัตร : FED ซื้อพันธบัตร DB PB RB I Y 2) ผ่านกลไกอัตราดอกเบี้ยทางตลาดเงิน : FED พิมพ์เงินเพิ่ม MS Excess Supply of Money R I Y 3) ผ่านกลไกอัตราแลกเปลี่ยน : Supply of Dollar ER (บาทแข็ง,ดอลลาร์อ่อน) X M CA ดีขึ้น กลไกการส่งผ่านของมาตรการ QE
ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค การลงทุนได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ปริมาณเงินธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากการขายพันธบัตรให้รัฐบาลไม่ได้ถูกนำไปปล่อยสินเชื่ออย่างที่ตั้งใจไว้ QE มีประสิทธิผลหรือไม่ ?
ข้อเสีย คือ อาจนำไปสู่ Liquidity Trap ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น อาจนำวิกฤตการณ์การเงินระลอกสอง ส่งผลเสียต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ข้อดีข้อเสียของนโยบาย QE
ข้อดี คือ สามารถเพิ่มสภาพคล่องได้อย่างรวดเร็ว ค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง ดีต่อดุลการค้า แก้ปัญหาข้อจำกัดทางการเมือง ข้อดีข้อเสียของนโยบาย QE
กรอบแนวคิดเรื่อง การคาดการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาและอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว พิจารณาดุลยภาพในระยะสั้น มี 2 ตลาด คือ ตลาดเงินในประเทศ($) และตลาดเงินต่างประเทศ (฿) P คงที่ และ Eeไม่แตกต่างจาก E ปัจจุบัน E แสดงค่าในรูปของจำนวนเงินดอลลาร์ต่อหนึ่งบาท (volume quotation system) วิเคราะห์ทฤษฎี
ข้อสมมุติ 1) พิจารณาประเทศใหญ่ (The Large Country Case) 2) อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate) 3) เงินทุนระหว่างประเทศมีความคล่องตัวสมบูรณ์ (Perfect Capital Mobility) Mundell – FlemingModel
1) อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) ลดลง ซึ่งมีความหมายว่า ค่าเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ หรือค่าเงินดอลลาร์ลดลงเมื่อเทียบกับเงินบาท 2) อัตราดอกเบี้ยดุลยภาพของสหรัฐอเมริกาลดลง 3) ระดับรายได้ประชาชาติของอเมริกาเพิ่มขึ้น นั่นคือการว่างงานของอเมริกาลดลง จากกรอบแนวคิดและทฤษฎีสรุปได้ว่า
1. ผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) ผลกระทบของมาตรการ QE ต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง
2. ผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย
3. ผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศไทย
4. ผลกระทบต่ออัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกา
ผู้ส่งออก : • ทำให้รายได้ลดลงทันทีเมื่อแลกเปลี่ยนเงินที่ได้กลับมาเป็นเงินบาท (ผลจาก$ที่อ่อนค่าลง) • ความสามารถในการแข่งขันลดลง ปริมาณการส่งออกจึงลดลง • ผู้นำเข้า : คนไทยมองสินค้าจากสหรัฐฯถูกลง ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น • เกิดความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ และภาวะเงินเฟ้อในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากนักลงทุนหันมาเก็งกำไรในตลาดเหล่านี้มากขึ้น • ประเทศไทยใช้เงิน $ เป็นสินทรัพย์หนุนหลัง เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ส่งผลให้สินทรัพย์หนุนหลังของประเทศไทยลดค่าลงด้วย ผลกระทบอื่นๆต่อเศรษฐกิจประเทศไทย
ใช้มาตรการดูแลเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ • ป้องกันความเสี่ยงด้านภาวะฟองสบู่ โดยการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ • ตรึงค่าเงินบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซงโดยใช้มาตรการตรึงค่าเงินให้คงที่โดยการพิมพ์เงินออกมาซื้อ $ เก็บไว้ และออกพันธบัตรเพื่อดูดซับเงินบาทให้กลับมาจากในระบบด้วย • มาตรการQE ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ (ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไป • ใช้เงินสกุลอื่นมาเป็นตัวกลางในการค้าขายระหว่างประเทศแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย