1 / 26

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system)

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system). จัดทำ โดย สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา 130/2 ถ. ติณสูลานนท์ หมู่ 8 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90100 โทร. 0-7433-4516-18 โทรสาร 0-7433-4515 พิกัด GPS : 100.582/7.16173. เอกสาร เวอร์ชั่น 1.0 ใช้ ฟอนต์ TH SarabunPSK ในการทำ.

Download Presentation

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) จัดทำ โดย สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา 130/2 ถ. ติณสูลานนท์ หมู่ 8 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90100 โทร. 0-7433-4516-18 โทรสาร 0-7433-4515พิกัด GPS : 100.582/7.16173 เอกสาร เวอร์ชั่น 1.0 ใช้ ฟอนต์ TH SarabunPSK ในการทำ

  2. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) กับการเลี้ยงกุ้ง • หรือ ระบบ Bio-secure • เป็นระบบหรือมาตรการป้องกัน หรือลดโอกาส • ในการนำเชื้อโรคเข้าหรือออกจากระบบเพาะเลี้ยงกุ้ง • (โรงเพาะฟัก ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง) • ใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการระบาดของโรคได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) กับการเลี้ยงกุ้ง • หลักการของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ • ประเมินหาจุดเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อโรค และหาทางแก้ไข • กำหนดมาตรการป้องกันหรือสกัดไม่ให้เชื้อเข้าสู่ระบบฟาร์มทั้งทาง • พื้นดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้ฟาร์มคงสภาวะปลอดเชื้อไว้ได้ • 3. การนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง และใช้ระบบป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ • 4. การตรวจสอบ กำกับ และดูแลระบบความปลอดภัย เช่น การสุ่มตรวจหา • เชื้ออย่างสม่ำเสมอ • 5. การแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินเกิดโรคขึ้น โดยการกำจัดและสกัดการแพร่ • ของเชื้อโรคทั้งในฟาร์มและระหว่างฟาร์ม • 6. การสร้างระบบบันทึก ให้มีข้อมูลที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และ • เพื่อทบทวนและปรับปรุงระบบให้เหมาะสมอยู่เสมอ

  4. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) กับการเลี้ยงกุ้ง • แนวทางการปฏิบัติ • 1. สภาพทั่วไปของฟาร์ม • มีการวางผังฟาร์มเลี้ยงที่ถูกต้อง • แบ่งเขตระหว่างที่พักอาศัยและเขตพื้นที่การเลี้ยง • กำหนดเส้นทางการเดินรถและเขตห้ามเข้าที่เหมาะสม • ควรมีทางเข้าออกทางเดียว • ทางเข้าฟาร์มมีอุปกรณ์สำหรับฆ่าเชื้อยานพาหนะ • ถนนภายในฟาร์มต้องสามารถใช้งานได้ทุกฤดูกาล และ • ระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง

  5. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) กับการเลี้ยงกุ้ง • 2. ระบบการเลี้ยง • ระบบการเลี้ยงควรเป็นระบบปิด • มีบ่อพักน้ำ มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค • และพาหะที่อาจติดมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ • มีการบำบัดน้ำก่อนนำเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งและปล่อยจาก • ฟาร์มเลี้ยง

  6. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) กับการเลี้ยงกุ้ง • 3. มาตรการป้องกันก่อนเข้าฟาร์ม • มีการควบคุมการเข้า-ออกของคน สัตว์ และ ยานพาหนะ • ที่เข้ามาในฟาร์ม • จะต้องทำความสะอาดยานพาหนะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ • เหมาะสม ในกรณีที่ต้องนำเข้าฟาร์ม

  7. 4. มาตรการป้องกันภายในฟาร์ม • ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์ได้ดีและเปลี่ยนเป็นประจำ และ • ควรล้างมือก่อนเข้าปฏิบัติงานในบ่อเลี้ยง • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่ใช้ภายในฟาร์มทั้งก่อน • และหลังการใช้งาน • ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์ได้ดี ได้แก่ ด่างทับทิม หรือ คลอรีน • และเปลี่ยนเป็นประจำ • ควรมีวัสดุและอุปกรณ์ประจำในแต่ละบ่อ ไม่ควรใช้ร่วมกัน • มีโรงเรือนสำหรับจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์เป็นสัดส่วน และมีแผนการ • บำรุงรักษา

  8. 5. การจัดการเลี้ยงกุ้งทะเล • มีการเตรียมบ่อ น้ำ ดินและการจัดการตะกอนเลนก่อนการเลี้ยง กุ้งตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งของกรมประมงหรือเทียบเท่า • ลูกกุ้งทะเลที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยง ควรผ่านการตรวจโรคที่กำหนด • โดยมีเอกสารรับรองการปลอดโรคจากห้องปฏิบัติการ

  9. น้ำที่ใช้ในฟาร์มควรมาจากแหล่งน้ำที่สะอาดน้ำที่ใช้ในฟาร์มควรมาจากแหล่งน้ำที่สะอาด • แหล่งน้ำใช้ควรมีการตรวจคุณภาพน้ำเป็นประจำ • น้ำจืดและน้ำเค็มควรผ่านการบำบัดหรือ ฆ่าเชื้อโรคด้วย วิธีการที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้ • ตรวจสอบคุณภาพน้ำและปริมาณเชื้อแบคทีเรียในบ่อเลี้ยง และบ่อพักน้ำ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

  10. 6. การจัดการด้านอาหารสัตว์ และปัจจัยการผลิต • ใช้อาหารกุ้งที่ผลิตจากโรงงานที่ผ่านการรับรองหลักเกณฑ์ที่ดีในการ • ผลิตอาหารสัตว์ (GMP) จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ • เก็บอาหารกุ้งสำเร็จรูป ในสถานที่ที่สะอาดและแห้ง และสามารถ • ป้องกันสัตว์ กันแสงแดด ฝนและไม่ชื้น ถ่ายเทความร้อนได้ดี • ใช้อาหารกุ้งที่มีคุณภาพดีที่ มีฉลากระบุถึงโภชนาการของอาหารที • ชัดเจน มีข้อความระบุวันที่ผลิตและวันหมดอายุชัดเจน • เลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามหลักวิชาการและ • ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ • รถขนส่งอาหารกุ้งต้องมีการทำความสะอาดก่อนและหลังการบรรทุก

  11. 7.การจัดการด้านสุขภาพกุ้ง7.การจัดการด้านสุขภาพกุ้ง • ตรวจติดตามสุขภาพกุ้งทะเลอย่างสม่ำเสมอทั้งทางอาการและทางห้องปฏิบัติการ • มีบันทึกเกี่ยวกับการใช้ยาภายในฟาร์ม การเก็บรักษา และสถานที่สำหรับเก็บรักษายา • มีแผนการควบคุมโรค และพาหะนำโรค ถ้าสงสัยว่ามีโรคเกิดขึ้นให้ระงับการเข้าเยี่ยมฟาร์มและรีบดำเนินการแก้ไขในทันที • ในกรณีที่พบกุ้งป่วยและมีการตายอย่างรวดเร็ว ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบ และส่งตัวอย่างกุ้งไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ

  12. 8. การจดบันทึกข้อมูลและการจัดทำเอกสารคู่มือ - บันทึกการจัดการเลี้ยง การให้อาหาร การใช้และการเก็บรักษายา บันทึกการตรวจสุขภาพกุ้ง และบันทึกการเข้าเยี่ยมฟาร์มของ บุคคลภายนอก - มีคู่มือประจำฟาร์มที่แสดงรายละเอียดการปฏิบัติงานภายในฟาร์ม - คู่มือการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม โดยมีรายละเอียด ของมาตรการป้องกันโรคก่อนเข้าฟาร์มและภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล - จัดทำแผนการปฎิบัติการเมื่อเกิดโรค

  13. 9. การปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในภาวะฉุกเฉิน ต้องมี มาตรการสำหรับฟาร์มในภาวะฉุกเฉิน เมื่อเกิดโรค หรือสงสัยว่าเกิดโรคขึ้นภายในหรือนอกฟาร์ม ต้องมีการดำเนินการที่ดีเพื่อควบคุมและกำจัดโรคไม่ให้ แพร่กระจาย 9.1 ต้องมีแผนปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ในการเข้าและออกจากฟาร์ม ที่เกิดโรค เช่น ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม ยกเว้นกรณีที่จำเป็น และต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหรือผู้ควบคุมฟาร์ม 9.2 บุคลากรที่รับผิดชอบด้านสุขภาพกุ้งต้องปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพสัตว์อย่างเคร่งครัดเมื่อเกิดโรคระบาด

  14. มาตรการในการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน(ต่อ) 9.3 เมื่อมีการเข้า-ออกฟาร์มจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานใน ภาวะฉุกเฉินอย่างเข้มงวด ต้องปฏบัติตามข้อกำหนดการเข้าฟาร์มกักโรค และวิธีปฏิบัติสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพสัตว์เพื่อหลีกเลี่ยงการนำสิ่ง ปนเปื้อนออกจากฟาร์ม 9.4ยานพาหนะที่จำเป็นเท่านั้นที่อนุญาตให้ผ่านเข้า-ออกฟาร์มได้โดยล้าง ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรอบตัวรถและกระบะท้ายอย่างเข้มงวด 9.5 ห้ามเคลื่อนย้ายกุ้งป่วย ถ่ายเทน้ำเข้า-ออกจากฟาร์มจนกว่าจะทราบ สถานการณ์ของโรคอย่างชัดเจน 9.6 ผู้ประกอบการควรจัดทำรายชื่อบุคคลที่รับผิดชอบ หน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์ในกรณีฉุกเฉินเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้

  15. มาตรการในการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (ต่อ) 9.7 เมื่อได้รับการยืนยันว่ากุ้งเป็นโรคชนิดร้ายแรงต้องดำเนินการตามมาตรการความ ปลอดภัยทางชีวภาพในภาวะฉุกเฉินเพื่อหยุดการแพร่ระบาดระหว่างบ่อ และจากฟาร์ม สู่ฟาร์มอื่น และต้องดำเนินการดังนี้ 1) แจ้งเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบทันที เพื่อดำเนินการสอบสวนและ วางแผนควบคุมโรค 2) ให้ความร่วมมือในการเก็บและจัดส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัย 3) ทบทวนขั้นตอนปฏิบัติงานภายในฟาร์ม 4) ระงับการเข้าฟาร์มของบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานภายใน ฟาร์ม 5) เมื่อได้รับการยืนยันว่ากุ้งเป็นโรคไวรัสชนิดร้ายแรง ต้องทำลายกุ้งที่ติดเชื้อโรค ร้ายแรงและทำการฆ่าเชื้อโรคภายในบ่อ พักบ่อเพื่อกำจัดเชื้อให้หมด

  16. ข้อแนะนำการปฎิบัติ เพิ่มเติม

  17. เชื้อโรค • ป้องกันและกำจัดเชื้อออกจากระบบ โรคแพร่ระบาดจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้ทางใดบ้าง  ลูกกุ้ง  น้ำ  อาหาร  อุปกรณ์ เครื่องมือ รถ  คน  พาหะ กุ้ง หอย ปู ปลา นก ซากกุ้งป่วย ฯลฯ

  18. ปัจจัยแวดล้อม • มีระบบการจัดการการเลี้ยงที่ดี  คุณภาพน้ำ  ให้อาหารพอดี  การควบคุมปริมาณแบคทีเรียในระบบการเลี้ยง • มีแผนการปฏิบัติงานในกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะ • แวดล้อมการเลี้ยงฉับพลัน เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม ร้อนมาก

  19. การเตรียมบ่อและน้ำก่อนเลี้ยงกุ้งการเตรียมบ่อและน้ำก่อนเลี้ยงกุ้ง  ตรวจเชื้อไวรัสในพาหะ ปู กุ้ง  ตรวจวัดคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ก่อนดึงน้ำเข้าบ่อพัก ความเค็ม แอมโมเนียอัลคาไลน์ พีเอช ความกระด้าง ไนไตรท์ แอมโมเนีย ปริมาณสารอินทรีย์ ปริมาณแบคทีเรีย

  20. การเตรียมบ่อและน้ำก่อนเลี้ยงกุ้งการเตรียมบ่อและน้ำก่อนเลี้ยงกุ้ง เตรียมบ่อ (บ่อพักน้ำ บ่อเลี้ยง) สูบน้ำเข้าบ่อพักผ่านระบบกรองเพื่อป้องกันพาหะนำโรค กำจัดพาหะในบ่อพักน้ำและบ่อเลี้ยง กากชา , คอปเปอร์ซัลเฟต, ซินเทอเร็ก ฆ่าเชื้อน้ำ คลอรีน, ไอโอดีน, กลูตาราลดีไฮด์

  21. การปล่อยกุ้งลงเลี้ยงการปล่อยกุ้งลงเลี้ยง •  ตรวจสุขภาพลูกกุ้งก่อนปล่อยลงเลี้ยง สุขภาพทั่วไป รยางค์ ปรสิต แบคทีเรีย ความแข็งแรง เชื้อไวรัส •  ใช้ลุกกุ้งที่ผ่านการอนุบาลที่ 37 องศาเซลเซียส 7 วัน • ลดความเสี่ยงเชื้อตัวแดงดวงขาว  ปรับสภาพลูกกุ้งก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง

  22. ข้อควรปฏิบัติหากเกิดโรคข้อควรปฏิบัติหากเกิดโรค  แจ้งข่าวการเกิดโรคแก่ฟาร์มใกล้เคียง  เก็บตัวอย่างกุ้งส่งตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง • กุ้งเล็ก ควรฆ่าเชื้อน้ำและกุ้งในบ่อโดยไม่มีการถ่ายน้ำหรือ • เคลื่อนย้ายกุ้งออกนอกบ่อ • กุ้งใหญ่จับด้วยการใช้อวนลาก ไม่ปล่อยน้ำออกนอกบ่อ • จนว่าจะผ่านการฆ่าเชื้อ  ฆ่าเชื้อพื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายกุ้งป่วยผ่าน

  23. มีระบบกรองน้ำผ่าน 150-250 ไมครอน เพื่อกำจัดพาหะนำโรค

  24. มีระบบป้องกันพาหะประเภทปู นก

  25. ช่องทางการติดต่อของเชื้อไวรัส: อุปกรณ์และเครื่องมือ การป้องกัน  มีระบบการฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ (สวิง แห รถ คน ฯลฯ) • คลอรีน 30-50 พีพีเอ็ม นาน 24 ชั่วโมง • ไอโอดีน 200-250 พีพีเอ็ม นาน 24 ชั่วโมง

  26. สวัสดี

More Related