750 likes | 965 Views
K H O N K A E N UNIV. Lecture 2 หลักและทฤษฎีเกี่ยวกับ บริการสารสนเทศ. 412 231 Information services หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บริการสารสนเทศ (Information Service).
E N D
K H O N K A E N UNIV. Lecture 2 หลักและทฤษฎีเกี่ยวกับ บริการสารสนเทศ 412 231 Information services หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บริการสารสนเทศ (Information Service) การบริการที่มุ่งเน้นในการจัดให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
บริการสารสนเทศ 1. บริการสารสนเทศมีความเฉพาะเจาะจง ทั้งในแง่ของผู้ใช้ และลักษณะสารสนเทศ 2. บริการสารสนเทศมักจะจัดเตรียมสารสนเทศดักรอไว้ ล่วงหน้าให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งคาดการณ์ล่วงหน้าว่าผู้ใช้อาจ ต้องการใช้ 3. บริการสารสนเทศผู้ให้บริการจะไม่รอผู้ใช้ แต่จะพยายาม นำสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้ล่วงหน้าโดยผู้ใช้ยังไม่ได้ร้องขอ
องค์ประกอบสำคัญในการวางรูปแบบบริการสารสนเทศองค์ประกอบสำคัญในการวางรูปแบบบริการสารสนเทศ 1. ผู้ใช้ • ประเภทของผู้ใช้ • ความต้องการ & การใช้สารสนเทศ 2. ผู้ให้บริการสารสนเทศ 3. ทรัพยากรสารสนเทศ • ทรัพยากรตีพิมพ์ ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ • ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ 4. สภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ (ICT)นโยบาย สังคม เศรษฐกิจ
ผู้ใช้: การศึกษาผู้ใช้
ผู้ใช้: การศึกษาผู้ใช้ [User Studies] ศูนย์วิจัยการศึกษาผู้ใช้ [Center for Research on User Studies - CRUS] ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ [University of Sheffield] ประเทศอังกฤษ -- การศึกษาผู้ใช้ เป็นสหวิทยาการของความรู้เกี่ยวกับการศึกษา พฤติกรรมของผู้ใช้ [และผู้ไม่ใช้] สารสนเทศ ซึ่งศึกษาถึง 1)สารสนเทศ 2) ระบบสารสนเทศ และ3)บริการ การศึกษาดังกล่าวอาจจะศึกษาผู้ใช้ต่างกลุ่มกัน มีวัตถุประสงค์ใน การศึกษาแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อจัดสารสนเทศ/บริการสารสนเทศให้เหมาะสมกับผู้ใช้
การศึกษาผู้ใช้ [User Studies] การศึกษาผู้ใช้ [User Studies] หมายถึง การศึกษาความต้องการ สารสนเทศ พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ การใช้สารสนเทศ/ แหล่งสารสนเทศ ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจในการใช้สารสนเทศ และการถ่ายทอดสารสนเทศ [Wilson, T.D. “On User Studies and Information Needs” ]
การศึกษาผู้ใช้ [User Studies] ผู้ใช้ หมายถึง > กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ใช้ที่มีความต้องการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจจะ (หรืออาจจะไม่) ได้รับการบริการเฉพาะด้านจากแหล่งบริการข้อมูลข่าวสาร กลุ่มที่คาดหวัง คือผู้ใช้ที่เป็นที่รู้จักดีว่ามีความตั้งใจที่จะใช้บริการข้อมูลข่าวสาร บางประเภท(สมาชิกของการบริการข้อมูลเฉพาะด้าน เช่น การบริการ สาระสังเขป) กลุ่มผู้ใช้ที่แท้จริง คือผู้ใช้ซึ่งใช้การบริการข้อมูลข่าวสารโดยไม่คำนึงถึง ผลประโยชน์ใดๆ จากการบริการข้อมูลเหล่านั้น กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ คือผู้ใช้ซึ่งได้ประโยชน์มากมายจากการบริการของ ข้อมูลข่าวสาร
ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ ????????
ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ • ทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้ ได้แก่ สถานภาพส่วนตัวของผู้ใช้ ลักษณะพื้นฐานทางการศึกษา ฯลฯ เพื่อทำให้เข้าใจผู้ใช้มากขึ้น
การศึกษาสภาพแวดล้อมเฉพาะด้านของผู้ใช้(Study of the User’s Specific Environment) • พื้นฐานหรือประวัติความเป็นมาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวัตถุประสงค์และหน้าที่ที่รับผิดชอบ • โครงสร้างขององค์กร • ขอบเขตของกิจกรรมที่ทำอยู่/หน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ • การไหลของข้อมูลข่าวสาร (ทั้งแนวตรงและแนวราบ) ในการทำงานของหน่วยงานนั้น ๆ • แหล่งสารสนเทศที่ใช้อยู่ (ข้อมูลจากแหล่งภายนอกและแหล่งภายในรวมทั้งสายงานและสื่อที่ใช้ในหน่วยงาน • ประเภทของบริการสารสนเทศที่หน่วยงานใช้บริการอยู่ • ข้อมูลของวิชาเฉพาะที่แสวงหา รวมทั้งประเภทของข้อมูลข่าวสารและวิธีการนำเสนอที่กำหนดไว้ (ด้านทฤษฎี ด้านการทดลองปฏิบัติการ ด้านการค้า ด้านเทคนิค-การย่อยข้อมูล การวิจารณ์ การรวบรวมข้อมูล ความเห็น/ทัศนะ และอื่นๆ) • เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นและปัญหาที่ได้รับการแก้ไขและวิธีการแก้ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหารวมทั้งข้อมูลเฉพาะด้านที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา และ “แหล่งสารสนเทศ” ของข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ • โครงการที่น่าสนใจ เช่น โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ การฝึกอบรมและอื่นๆ ในหน่วยงานนั้น Devadason,F.J. ;Lingam,P. Pratap (1996). A Methodology for the Identification of Information Needs of Users. 62nd IFLA General Conference - Conference Proceedings - August 25-31, 1996..http://www.ifla.org/IV/ifla62/62-devf.htm
ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ • ทำให้ทราบความต้องการของผู้ใช้ ลักษณะการใช้ พฤติกรรมการค้นหาสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ ที่ใช้ ปัญหาของผู้ใช้เกี่ยวกับการใช้บริการสารสนเทศ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้ ตลอดจนความพอใจ ของผู้ใช้
ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ • ทำให้สามารถจัดบริการสารสนเทศได้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้ใช้ ทราบแนวทางใน การดำเนินงานสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดกลุ่มผู้ใช้ [User Focus group] หมายถึง กลุ่มของผู้ใช้บริการสารสนเทศแต่ละกลุ่มที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน หรือมีความสัมพันธ์กัน หรือกลุ่มที่มีความปรารถนา คล้ายๆ กัน ตอบสนองต่อแรงจูงใจเหมือนกัน และเป็นผู้ที่คาดว่า จะมาใช้บริการเพื่อสนองความต้องการของตนเอง
1. The Bachelor 2. Newly Married Couples 3. Full Nest (1) 4. Full Nest (2) 5. Full Nest (3) 6. Empty Nest (1) 7. Empty Nest (2) 8. Solitary Survivors ตัวอย่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ : อายุและวงจรชีวิตครอบครัว สินค้าถาวร บ้าน รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ สินค้าบริโภค แบบเรียน ของเล่น เที่ยวง่าย ๆ ของส่วนตัว เสื้อผ้า บันเทิง พักผ่อนท้าทาย สินค้าถาวร สินค้าเด็ก สินค้าใหม่ ๆ เดินทางพักผ่อน งานสังสรรค์ บริจาคเพื่อสังคม สินค้าสุขภาพ สินค้าผู้สูงอายุ ค่ารักษาพยาบาล ยารักษาโรค สินค้า สุขภาพ ยารักษาโรค พักผ่อนสบาย ๆ สินค้าถาวร (ทดแทน) บ้านใหญ่ รถใหม่ พักผ่อนหรูหรา
ขั้นตอนในการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ ขั้นตอนในการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ • จำแนกผู้ใช้ที่จะมาใช้ตามความต้องการ • ศึกษาให้ได้ว่า ผู้ใช้แสวงหาผลประโยชน์ อะไร??? จากการมาใช้บริการ • พิจารณาลักษณะสำคัญของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม • พิจารณาสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อกลุ่ม • กำหนดจำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่สามารถจัดสนอง ความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการศึกษาผู้ใช้ (การสำรวจ) • การศึกษาเพื่อแก้ไข (Prescriptive) • การศึกษาหลังจากพบปัญหา (Reactive) • การศึกษาก่อนพบปัญหา (Proactive)
วิธีการศึกษาผู้ใช้ • การศึกษาจากเอกสาร • การสังเกต • การสัมภาษณ์ • การศึกษาจากสถิติการใช้บริการสารสนเทศ • การสำรวจ วิจัย ตามหลักทฤษฎี
การศึกษาผู้ใช้ [User Studies] ความต้องการสารสนเทศ พฤติกรรมสารสนเทศ • การแสวงหาสารสนเทศ • การใช้สารสนเทศ
ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้[Information Needs] หมายถึง ความประสงค์ให้ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ เรื่องต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ตอบปัญหาหรือใช้ตัดสินใจ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง [หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง]
ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ขึ้นอยู่ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ขึ้นอยู่ • กิจกรรมของงาน • สาขาวิชาที่สนใจ • เครื่องอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ • ตำแหน่งตามลำดับชั้นของแต่ละบุคคล • มูลเหตุจูงใจในความต้องการข้อมูลข่าวสาร • ความต้องการที่ต้องตัดสินใจ • ความต้องการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ • ความต้องการเสริมหรือสนับสนุนเรื่องที่ถูกต้องอยู่แล้ว CRAWFORD, Susan. Information needs and uses. (Annual Review of Information Science and Technology. 13; 1978; pp 6181).
ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ขึ้นอยู่ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ขึ้นอยู่ • ความต้องการที่จะมีส่วนเสริมในวิชาชีพนั้น • ความต้องการที่จะจัดลำดับก่อนหลังสำหรับในเรื่องที่ค้นพบ ฯลฯ • ปริมาณของแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ • การนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ • ภูมิหลัง ความจูงใจ ความรู้ทางวิชาการและลักษณะเฉพาะของผู้ใช้ • ระบบสังคม การเมือง เศรษฐกิจ • กฎหมายที่แวดล้อมของผู้ใช้ และผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลข่าวสาร CRAWFORD, Susan. Information needs and uses. (Annual Review of Information Science and Technology. 13; 1978; pp 6181).
วัตถุประสงค์ของการศึกษาความต้องการผู้ใช้วัตถุประสงค์ของการศึกษาความต้องการผู้ใช้ • เพื่อต้องการทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ ทั้งลักษณะการใช้ของผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม (ตลอดจนผู้ที่ไม่ใช้ แต่จัดอยู่กลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บริการสารสนเทศ)เพื่อจะได้จัดสารสนเทศและบริการให้ตรงกับความประสงค์
วัตถุประสงค์ของการศึกษาความต้องการของผู้ใช้วัตถุประสงค์ของการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ • เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคความต้องการใช้ และไม่ใช้สารสนเทศและบริการที่จัดขึ้น เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงบริการ ให้ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาความต้องการผู้ใช้วัตถุประสงค์ของการศึกษาความต้องการผู้ใช้ • เพื่อประเมินผลการให้บริการ ทำให้ผู้ให้บริการสารสนเทศตระหนักและรับรู้ว่าบริการที่จัดให้ตรงกับ ผู้ใช้ต้องการหรือไม่ เช่น บริการสารสนเทศที่จัดให้ ไม่มีผู้ใช้มาใช้บริการ เป็นเพราะผู้ใช้ไม่ทราบ เนื่องจากไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ หรือผู้ใช้เห็นว่าไม่ได้ประโยชน์จึงไม่มาใช้ เพื่อผู้ให้บริการจะได้ ปรับปรุงแก้ไขการให้บริการต่อไป
ประโยชน์ของการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ • ช่วยให้เข้าใจลักษณะของผู้ใช้ กลุ่มผู้ใช้ ระดับการใช้ รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการแต่ควรจะเป็นผู้ใช้บริการสารสนเทศในโอกาสต่อไป • ทำให้ทราบลักษณะและความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้เพื่อจะได้เลือกสรรให้เป็นไปตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ • ทำให้ทราบลักษณะและวิธีการให้บริการสารสนเทศ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ • ทำให้ทราบลักษณะและปัจจัยที่มีผลต่อการใช้และ การไม่ใช้ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึง และการใช้สารสนเทศ
ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ประโยชน์ของการศึกษาผู้ใช้ • นำผลความต้องการไปปรับปรุงบริการสารสนเทศ และนำไปใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการให้การศึกษา และพัฒนาผู้ใช้ให้ได้สารสนเทศและบริการสารสนเทศอย่างเต็มที่ และได้ประโยชน์สูงสุดตรงตามนโยบาย และวัตถุประสงค์ของการบริการสารสนเทศ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศ 1. องค์ประกอบด้านผู้ใช้ • ความต้องการพื้นฐานร่างกาย จิตใจหรืออารมณ์ สติปัญญา • ลักษณะอาชีพ • ลักษณะเฉพาะบุคคล • ลักษณะอื่น ๆ เช่น ประสบการณ์ในการทำงานเฉพาะด้าน ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ ฯลฯ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศ 2. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม • โครงสร้างองค์กรหรือโครงสร้างการบริหารงาน • สภาพการจัดพื้นที่และทรัพยากรสารสนเทศ • บรรยากาศของการใช้สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานในองค์กร
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศ 3. องค์ประกอบด้านแหล่งสารสนเทศทั้งภายใน/ภายนอก • แหล่งสารสนเทศบุคคล • แหล่งสารสนเทศสถาบัน • แหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์/สื่อมวลชน • ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเวลา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงิน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงาน • คุณภาพของสารสนเทศและประโยชน์ที่ได้รับ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสารสนเทศ 4. สารสนเทศ • เนื้อหาสารสนเทศ (Content) • ลักษณะของสารสนเทศ (Nature) • ปริมาณสารสนเทศ (Quantity) • การผ่านกระบวนการ (Processing) • รูปแบบสารสนเทศ (Packaging) • ความรวดเร็วในการได้รับสารสนเทศ(Speed of Supply) • ความทันสมัยหรือช่วงอายุของสารสนเทศ (Data Range) • ความเฉพาะ (Specificity)
Paisley, W.J. “Assessing User Needs”สาเหตุของความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ • สารสนเทศนั้นหาได้ง่าย สะดวกในการใช้ ทั้งจากแหล่งทางการและแหล่งอื่น ๆ • สารสนเทศนั้นมีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน การศึกษา หรือประโยชน์ด้านอื่น ๆ • ลักษณะเฉพาะบุคคลของผู้ใช้สารสนเทศ ได้แก่ลักษณะงานที่ทำ ประสบการณ์ในการทำงาน ระดับการศึกษา ฯลฯ • ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่แวดล้อมผู้ใช้ • ผลการใช้สารสนเทศ
วิธีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้วิธีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ • ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์จากเอกสาร หนังสือ บทความ รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ ที่ได้มีผู้ทำการศึกษาวิเคราะห์ไว้แล้วเกี่ยวกับผู้ใช้และความต้องการของผู้ใช้ • ศึกษาจากสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ บริการสารสนเทศ • การศึกษาและดูงานสถาบันบริการสารสนเทศ เพื่อให้ได้แนวคิดและข้อมูลในเรื่องการจัดการบริการสารสนเทศ ซึ่งอาจใช้ผสมผสานกับวิธีการอื่น เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น
วิธีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้วิธีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ • การสังเกตผู้ใช้ • การสัมภาษณ์ผู้ใช้โดยตรง • การสำรวจและวิจัย ตามหลักวิชาการโดยใช้ แบบสอบถามเป็นแนวทางหรืออาจผสมผสาน กับรูปแบบและวิธีการข้างต้น
วิธีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้วิธีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ • ศึกษาโดยใช้วิธีข้างต้นแยกตามประเภทของผู้ใช้ • ศึกษาความต้องการของผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ ตามสาขาวิชา ลักษณะงาน อาชีพ เป็นต้น • ศึกษาสภาวะแวดล้อมผู้ใช้และสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น ศึกษาองค์การ สภาพแวดล้อม วัตถุประสงค์ นโยบายของ องค์การ ความต้องการของผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การ เพื่อจะได้สารสนเทศ และแนวโน้มประกอบการวางแผนจัดบริการสารสนเทศ
หลักการวางแผนการศึกษาความต้องการของผู้ใช้หลักการวางแผนการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ • วัตถุประสงค์ของการศึกษา • ขอบเขตและประชากรที่จะศึกษา • วิธีการศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา • ความต้องการของผู้ใช้ ได้แก่ สารสนเทศ บริการสารสนเทศ
พฤติกรรมสารสนเทศ [Information Behavior] พฤติกรรมสารสนเทศ หมายถึง การกระทำที่บุคคลแสดง ออกเมื่อตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศของตน พฤติกรรมสารสนเทศประกอบด้วย 1. การเก็บรวบรวมสารสนเทศ 2. การแสวงหาสารสนเทศ 3. การใช้และการประเมินสารสนเทศที่ได้รับ
The lettered paths on the diagram are intended to show some of the possible search paths: (1) Paths a, b, c and d identify search strategies by a user independent of any information system, and will be referred to as “Category a” paths. (2) Paths e and f identify search paths involving either a mediator or an information system’s technology (manual card file, computer terminal, etc.) –Category b paths. (3) Paths g, h and i identify search strategies employed by a mediator to satisfy a user’s demand for information – Category c. (4) Paths j and k identify strategies employed by a sophisticated technology on behalf of either the user or the mediator – Category d. As an example of this latter category, a system could be envisaged in which a computer network could be searched at the initiative of any computer, which is a member of that system. The network might include files of knowledge in the process of creation, such as research data files, computer conference files, etc.
การเก็บรวบรวมสารสนเทศการเก็บรวบรวมสารสนเทศ กิจกรรมที่เกิดเมื่อบุคคลตระหนักและยอมรับว่าตนมีความต้องการสารสนเทศระดับหนึ่ง โดยความต้องการนั้นอยู่ในระดับที่ไม่รีบด่วน และเป็นความต้องการที่ไม่แสดงออกอย่างเด่นชัด บุคคลนั้นจึงเก็บรวมรวมสารสนเทศที่ตนสนใจ หรือที่คาดการณ์ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างเด่นชัด จุดมุ่งหมายที่มีนั้นมิใช่เพื่อการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การแสวงหาสารสนเทศ [Information Seeking] กิจกรรมที่บุคคลกระทำเพื่อหาข้อมูล ข่าวสารที่จะตอบสนองความต้องการที่ตนตระหนักและเล็งเห็นความต้องการ แสดงออกและนำไปสู่พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศจึงเป็นกระบวนการเริ่มต้นเมื่อบุคคลเล็งเห็นว่าสภาพความรู้ที่ตนมีอยู่ด้อยกว่าที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเพื่อการตอบคำถามที่ตนสงสัย อยากรู้ เพื่อการแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ กระบวนการนี้จะจบลงเมื่อการเล็งเห็นความต้องการนั้นไม่ปรากฎอีกต่อไป
Definitions … Information seeking Process in which humans purposefully engage in order to change their state of knowledge (Marchionini, 1995) A conscious effort to acquire information in response to a need or gap in your knowledge (Case, 2002) The process of construction within information seeking involves fitting information in with what one already knows and extending this knowledge to create new perspectives (Kuhlthau, 2004)
การแสวงหาสารสนเทศ เป็นกระบวนการการค้นหาหนทางที่จะให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ประกอบด้วย 1. การตระหนักถึงหรือการเล็งเห็นความต้องการสารสนเทศ 2. การพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศภายในตัวบุคคล แหล่งสารสนเทศภายนอก 3. การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ
การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศการเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ 1. ลักษณะของแหล่งสารสนเทศและลักษณะของ สารสนเทศที่จะได้จากแหล่งนั้น ได้แก่ ความสะดวกในการเข้าถึง ค่าใช้จ่าย คุณภาพของสารสนเทศ ฯลฯ 2. สถานการณ์ความต้องการสารสนเทศ 3. ลักษณะของผู้แสวงหาสารสนเทศ 4. ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ
สรุปจากงานวิจัย > พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ • บุคคลมีแนวโน้มแสวงหาสารสนเทศจากแหล่งซึ่งเข้าถึงง่ายและสะดวกที่สุด • บุคคลมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามนิสัยที่ทำเป็นประจำ • ทั้งผู้ใช้และผู้ไม่ใช้สารสนเทศมักไม่ค่อยตระหนักถึงแหล่งสารสนเทศ และวิธีใช้แหล่ง • การสื่อสารตัวต่อตัวเป็นช่องทางการแสวงหาสารสนเทศที่สำคัญ • บุคคลต่างกลุ่มจะมีพฤติกรรมแสวงหาสารสนเทศต่างกัน
การใช้สารสนเทศ [Information Use] เป็นกิจกรรมขั้นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสารสนเทศ การใช้สารสนเทศเป็นผลสืบเนื่องจากการที่บุคคลมีความ ต้องการและแสวงหาสารสนเทศ เพื่อนำตอบคำถามไปลด ความสงสัย ความอยากรู้ แก้ปัญหาหรือใช้เป็นแนวทางใน การตัดสินใจดำเนินงาน
องค์ประกอบของการศึกษาการใช้สารสนเทศองค์ประกอบของการศึกษาการใช้สารสนเทศ • ผู้ใช้ • วัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศ • แหล่งสารสนเทศ • สารสนเทศ/บริการสารสนเทศ