180 likes | 462 Views
บทที่ 20 มัลติมีเดีย. มัลติมีเดียคืออะไร. ปัจจุบันมัลติมีเดียจัดว่าเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ประกอบไปด้วยเสียงและวีดีโอ. ตัวกลางการสื่อสาร (Media Delivery).
E N D
มัลติมีเดียคืออะไร ปัจจุบันมัลติมีเดียจัดว่าเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ประกอบไปด้วยเสียงและวีดีโอ
ตัวกลางการสื่อสาร (Media Delivery) ข้อมูลมัลติมีเดีย จะถูกเก็บลงในระบบแฟ้มเหมือนกับข้อมูลอื่นๆ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างไฟล์ทั่วไปและไฟล์มัลติมีเดีย ในไฟล์มัลติมีเดียจะมีการเข้าถึงด้วยอัตราความเร็วที่จำเพาะเจาะจง แต่ใน ทางตรงกันข้าม การเข้าถึงไฟล์ทั่วไปนั้นไม่ต้องการเวลาพิเศษ ซึ่งเราจะใช้วีดีโอนั้นเป็นตัวอย่างของการเกิด อัตราความเร็ว
คุณลักษณะของระบบมัลติมีเดียคุณลักษณะของระบบมัลติมีเดีย 1. ไฟล์มัลติมีเดีย ( Multimedia files ) สามารถมีขนาดใหญ่ 2 . มัลติมีเดียต่อเนื่อง ( Continuous media ) ต้องการอัตราข้อมูลสูงมาก พิจารณาจาก 24 บิต ในแต่ละพิกเซล ( pixel ) ก็จะกลายเป็นว่าในหนึ่งกรอบต้องการ 800 x 600 x 24 = 11,520,000 บิตของข้อมูล ถ้ากรอบนั้นแสดงผลที่อัตรา 30 กรอบ/วินาที ซึ่งต้องการแบนด์วิช ( bandwidth ) ที่มีขนาดมากกว่า 345 Mbps 3. การประยุกต์มัลติมีเดีย มีความไวต่อการหน่วงเวลาขณะสื่อเล่นอยู่
ผลของระบบปฏิบัติการ ( Operating – System Issues ) สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ที่ส่งข้อมูลสื่ออย่างต่อเนื่องนั้น ควรมีการรับประกันอัตราและต้องการเวลาที่แน่นอน หรือที่รู้จักกันว่า คุณภาพของการบริการ ( Quality of service : Qos ) 1. การย่อและถอดรหัส จะต้องการกระบวนการของ cpu เป็นสำคัญ 2. งานสื่อต่าง ๆ จะต้องกำหนดตามลำดับก่อนหลังที่แน่นอน เพื่อให้พบความต้องการสุดท้ายของมัลติมีเดียอย่างแท้จริง 3. ในทำนองเดียวกัน ระบบไฟล์ก็ต้องการประสิทธิภาพเพื่อให้พบความต้องการอัตราของมัลติมีเดีย 4. เครือข่ายโปรโตคอลต้องรองรับแบนด์วิชที่ต้องการขณะที่มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยและมีการกระตุกเกิดขึ้น
Compression สื่อต่าง ๆ เมื่อทำการบีบอัดจากขนาดปกติจะทำให้มีขนาดเล็กขึ้น การบีบอัดนั้นจะทำโดยการ ลดช่องว่างในการบรรจุ เพื่อเพิ่มความสารถในการส่งไปยังผู้รับได้เร็วขึ้น ไฟล์ที่มีการบีบอัดหรือใส่รหัสข้อมูลจะต้องทำการถอดรหัสข้อมูลก่อนที่จะนำไปใช้ โดยการบีบอัดจะมีสองประเภทคือ lossy และ lossless โดยวิธีการแบบ lossy จะยอมให้มีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนไป แต่วิธีการแบบ lossless จะไม่ยอมให้มีการสูญเสียข้อมูลจะได้ข้อมูลเดิมตามต้นฉบับ
MPEG-1 MPEG-2 และ MPEG-4 MPEG-1 คือมาตราฐานของการบีบอัด VIDEO และ AUDIO ที่เห็นได้ชัดคือ Video CD และ MPEG Layer3 หรือ MP3 โดยปกติแล้วการรับชมภาพยนตร์จากแผ่นซีดี หรือที่เรียกกันปกติว่า VCD นั้น จะเป็นการบีบอัดไฟล์ในมาตรฐาน MPEG-1 ที่มีความละเอียดของภาพที่ 352x240 ที่ 30 เฟรมต่อวินาที
MPEG-1 MPEG-2 และ MPEG-4 MPEG-2 : คือมาตรฐานของการบีบอัด VIDEO และ AUDIO ให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล เพื่อใช้ในการส่งออกอากาศไปยังเครื่องรับโทรทัศน์โดยทางสายนำสัญญาณ หรือ ส่งทางอากาศMPEG2
MPEG-1 MPEG-2 และ MPEG-4 MPEG-4 นับว่าเป็นรูปแบบที่ทันสมัยโดยใช้หลักการบีบอัด การเข้ารหัสกราฟิกและวีดีโอในแบบอัลกอริทึม ที่ได้รับการพัฒนามาจาก MPEG-1 และ MPEG-2 และเทคโนโลยีของ Apple QuickTime โดยไฟล์ที่ได้รับการบีบอัดในรูปแบบ Wavelet-based MPEG-4 จะมีขนาดเล็กกว่า JPEG หรือไฟล์ QuickTime ซึ่งเป็นผลมาจากการลดขนาดช่วงกว้างของแบนด์วิท และรวมเอาไฟล์วีดีโอกับข้อความ กราฟิกเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้รวมเอาแอนนิเมชั้น 2-D และ 3-D ไว้ด้วย
ความต้องการด้านมัลติมีเดียของเคอเนลล์ความต้องการด้านมัลติมีเดียของเคอเนลล์ การใช้ประโยชน์ด้านมัลติมีเดียต้องการการรองรับการบริการ จากระบบปฏิบัติการมากกว่าส่วนอื่นๆ เช่น การใช้โปรเเกรม word processors,การประมวลผล (compiler) , spreadsheets เวลาเเละลำดับของความต้องการนั้นเป็นสิ่งที่กำหนดลำดับของคำสั่ง เช่น การเล่นเพลงหรือวิดีโอที่มีข้อมูลชัดเจนเเละเล่นได้อย่างต่อเนื่อง ลำดับจะคงที่ ส่วนด้านระบบปฏิบัติการดั้งเดิม(traditional application) นั้น ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เวลาเเละลำดับมาเกี่ยวข้อง
การจัดตารางการทำงานของซีพียู (CPU Scheduling) เป็นหลักการทำงานหนึ่งของระบบปฏิบัติการที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการรันโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เมื่อใดที่ซีพียู ว่าง OS จะต้องเลือกโปรเซสตัวใดตัวหนึ่งในสถานะ Ready queue เข้ามาใช้ซีพียู
การจัดตารางของดิสก์ (Disk Scheduling ) ในระบบของ multiprogramming เราใช้กันอยู่นั้น process หลาย ๆตัวอาจต้องการใช้ทรัพยากรในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน หรือเกือบพร้อมๆกัน เช่นการใช้หน่วยความจำสำรอง (disk) เพราะฉะนั้นระบบจะต้องมีวิธีหรือกระบวนการในการจัดสรรการใช้ disk ให้กับ process เหล่านี้
การจัดตารางของดิสก์ (Disk Scheduling) แบบมาก่อน-ได้ก่อน (FCFS)หัวอ่านเคลื่อนที่ทั้งหมด 640 ไซลินเดอร์ (cylinders) แบบเวลาในการค้นหาสั้นที่สุดได้ก่อน (SSTF) แบบกวาด (SCAN) แบบกวาดเป็นวง (C-SCAN)
Network Management Unicasting : เป็นวิธีการส่งผ่านไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียแบบ On-Demand เป็นการเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งข่าวกับผู้รับข่าวในลักษณะจุดต่อจุด (Point-to-Point Networks ) แล้วข้อมูลที่อยู่ใน packet จะต้องระบุที่อยู่ของผู้รับแล้วจึงส่งเข้าไปในเครือข่าย และ packet จะได้รับการส่งต่อไปตามอุปกรณ์เลือกทางเดินข้อมูล (router) ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายกลุ่มต่างๆ จนกระทั่ง packet ถึงผู้รับ ระบบ Unicasting เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่
Network Management Multicasting : เป็นวิธีการส่งไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียไปยังเครื่องผู้ชมที่ได้ทำการติดต่อหรือเชื่อมโยงกับสตรีมมิ่งเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ Multicasting แบ่งเครือข่ายเป็นกลุ่มย่อย มีการกำหนดหมายเลขกลุ่มเป็นผู้รับ เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
Real-Time Streaming Protocol (RTSP) TheRealTimeStreamingProtocol (RTSP) เป็นโปรโตคอลใช้ในระบบ Streaming ข้อมูล RTSP มีสองโครงสร้าง คือ หน่วยควบคุม และการเชื่อมต่อข้อมูล RTSP เป็นโปรโตคอลที่ใช้รูปแบบ client/serverที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแสดงสื่อมัลติมีเดีย มีคุณสมบัติที่สามารถอนุญาตให้เครื่องลูกข่ายทำการควบคุมเครื่องแม่ข่ายได้
องค์ประกอบพื้นฐานระบบ Stream media เครื่องเข้ารหัส Encoder : เป็นเครื่องมัลติมีเดียพีชี Multimedia PCที่ได้ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมไว้สำหรับใช้แปลงไฟล์เสียงและวีดีโอ ให้อยู่ในรูปของสตรีมมิ่ง เช่น MPEG, WMF เครื่องเซร์ฟเวอร์ Servers: เป็นเครื่องที่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำหรับใช้บริการจัดการกับสตรีมมิ่งมีเดีย เครื่องผู้ชม Player: เป็นเครื่องที่ได้รับการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการแสดงผล