230 likes | 576 Views
ระเบียบ WEEE ของสหภาพยุโรป. โดย สำนักสนธิสัญญาและยุทธศาสตร์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม. ระเบียบ WEEE มีชื่อเต็มว่า “ ระเบียบของสภายุโรป และ ของคณะมนตรียุโรปลงวันที่ 27 มกราคม 2003 ว่าด้วยซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย Directive 2003/108/EC of 8 December 2003.
E N D
ระเบียบ WEEE ของสหภาพยุโรป โดย สำนักสนธิสัญญาและยุทธศาสตร์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ระเบียบ WEEE มีชื่อเต็มว่า “ระเบียบของสภายุโรปและของคณะมนตรียุโรปลงวันที่ 27 มกราคม 2003 ว่าด้วยซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย Directive 2003/108/EC of 8 December 2003 (Directive 2002/96/EC of the European Parliament and of the Council of 27 January 2003 on Waste Electrical and Electronic Equipment)
การนำระเบียบอียูมาออกเป็นกฎระเบียบแห่งชาติการนำระเบียบอียูมาออกเป็นกฎระเบียบแห่งชาติ ระเบียบWEEE มีผลผูกพันรัฐสมาชิกตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2546 โดยแต่ละรัฐสมาชิกต้องนำมาออกเป็นกฎระเบียบภายในรองรับ (Transposition) ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2547 แต่ ณ เดือนกรกฎาคม 2548 มี 8 ประเทศที่ยังไม่ดำเนินการออกกฎระเบียบภายในรองรับตามกำหนด คือ ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ เอสโทเนีย มอลต้า โปแลนด์ ฟินแลนด์ (ยังไม่ดำเนินการในจังหวัด Aland) และกรีซ (ยังไม่ดำเนินการสำหรับฉบับแก้ไข)
ขอบข่ายของระเบียบWEEE ครอบคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 10 ประเภท (มีระบุใน Annex 1A,1B) คือ 1. เครื่องใช้ในบ้านขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ 2. เครื่องใช้ในบ้านขนาดเล็ก เช่น เตารีด เครื่องปั่น/บด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง 3. อุปกรณ์สารสนเทศและโทรคมนาคม เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร 4. เครื่องใช้สำหรับผู้บริโภค เช่น วิทยุ โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องดนตรีไฟฟ้า 5. อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง เช่น หลอดไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ โคมไฟแรงสูง
6. เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จักรเย็บผ้า สว่านไฟฟ้า เครื่องตัดหญ้า 7. อุปกรณ์กีฬา เครื่องหย่อนใจ และของเล่น เช่น รถไฟฟ้าเด็กเล่น เกมวิดีโอและเครื่องบังคับ เครื่องออกกำลังกาย 8. เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องไอโซโทป อุปกรณ์ในห้อง Lab 9. เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมและติดตาม เช่น เครื่องตรวจจับควัน/ความร้อน เครื่องปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ 10. เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รวมทั้งเครื่อง ATM.
ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ WEEE คือใคร ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ WEEE คือ - ผู้ผลิตใน EU - ผู้จำหน่ายใน EU - ผู้นำเข้าใน EU
สาระสำคัญโดยสรุปของระเบียบ WEEE ระเบียบ WEEE มีข้อกำหนดในเรื่อง ต่อไปนี้ คือ - การออกแบบผลิตภัณฑ์ - ระบบการเก็บรวบรวมแบบคัดแยก - การบำบัดซาก - การนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือการคืนสภาพ - การรับผิดชอบค่าใช้จ่าย - การจัดทำข้อสนเทศ - การจัดทำรายงานและบทลงโทษ
ข้อกำหนดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ผู้ผลิตต้องออกแบบและทำการผลิตผลิตภัณฑ์ให้สะดวกและง่ายต่อการถอดแยก(dismantle) และต่อการนำกลับมาใช้ประโยชน์ (recovery) ทั้งในรูปของการใช้ซ้ำ (reuse) และการแปรรูปแล้วนำมาใช้ใหม่ (recycle)
ระบบการเก็บรวบรวมแบบคัดแยก(Separate Collection System) • ทุกประเทศใน EU ต้องจัดตั้งระบบ SCS ตั้งแต่ 13 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป • ผู้ถือครองซาก WEEE สามารถส่งคืนเข้าสู่ระบบโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ • ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องรับคืนซาก WEEE ในอัตรา 1:1 • ระบบจะไม่รับคืนซาก WEEE ที่ปนเปื้อนสารพิษ • ผู้ผลิตต้องร่วมกันจัดตั้งระบบรับคืน (collective take-back systems) • ซาก WEEE ที่รวบรวมได้ต้องนำส่งศูนย์บำบัดที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (authorised treatment facilities) • ภายใน 31 ธันวาคม 2549 ต้องมีอัตราการเก็บรวบรวม (rate of separate collection) ได้ 4 กก./ประชาชนหนึ่งคน/ปี เป็นอย่างน้อย (อัตรานี้จะถูกกำหนดใหม่ภายใน 31 ธันวาคม 2551)
การบำบัดซาก(Treatment) • ผู้ผลิตต้องใช้เทคนิคที่ดีที่สุดในการ Treatment, Recovery และ Recycle • การ Treatment ให้หมายความรวมถึงการถ่ายเอาของเหลวออกก่อน และใช้วิธีบำบัดบางประการตามที่ระบุในภาคผนวก 2 • การจัดเก็บและการบำบัด ณ site of storage และ site of treatment ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กำหนดในภาคผนวก 3 • หน่วยงาน/ศูนย์บำบัดซาก (Treatment facilities) ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ และควรเข้าร่วมใน Environmental Management and Auditing Scheme (EMAS) ของ EU
การนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือการคืนสภาพ (Recovery) ผู้ผลิตต้องจัดตั้ง Recovery Systems สำหรับซาก WEEE ที่เก็บ รวบรวมมาได้ และ ภายใน 31 ธันวาคม 2549 ต้องนำมา Recovery และ Reuse ให้ได้ตามอัตราการคืนสภาพ และอัตราการใช้ซ้ำ อัน เป็นอัตราเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ ต่อไปนี้ (1) อัตราการคืนสภาพ (Rate of Recovery) • อย่างน้อย 80% (ประเภท 1 และ 10) • หรือ 75% (ประเภท 3 และ 4) • หรือ 70% (ประเภท 2,5,6,7 และ 9)
(2) อัตราการนำวัสดุ/สาร/ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล (Rate of Reuse and Recycling) • อย่างน้อย 80% (กรณีหลอดภาพทีวี) • หรือ 75% (ประเภท 1 และ 10) • หรือ 65% (ประเภท 3และ 4) • หรือ 50% (ประเภท 2,5,6,7 และ 9) หมายเหตุ: อัตราเป้าหมายข้างต้น คณะมนตรีจะทบทวนและ กำหนดใหม่ภายในปี 2551
การขยายเวลาอัตราเป้าหมายสำหรับสมาชิกใหม่ (EU10) สมาชิกใหม่ 10 ประเทศที่เข้าร่วม EU ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (EU10) ได้รับการขยายเวลาในเรื่องอัตราเป้าหมายในการเก็บรวบรวม 4 กก. ต่อคนต่อปี และในเรื่องอัตราเป้าหมายในการ recovery, reuse and recycling ออกไปอีก 24 เดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ยกเว้น สโลวีเนียที่ได้รับการขยายเวลา 12 เดือน
การรับผิดชอบค่าใช้จ่าย (Financing) • ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2548 ผู้ผลิตต้องออกค่าใช้จ่ายในการ collection, treatment, recovery และในการกำจัดซาก WEEE โดยวิธีที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม • ผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดหลังวันที่ 13 สิงหาคม 2548 ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิตด้วยการวางเงินประกันไว้เพื่อการบำบัด WEEE ของตน (รูปแบบอาจเป็น financing schemes หรือ recycling insurance หรือ blocked bank account) • สำหรับ historical waste (ที่วางตลาดก่อนวันที่13 สิงหาคม 2548) ผู้ผลิตที่ยังคงอยู่ต้องร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามส่วนแบ่งการตลาด • บางประเทศอาจกำหนดให้ผู้ใช้โดยอาชีพร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบางส่วน แต่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้ที่เป็นครัวเรือนไม่ได้
การจัดทำข้อสนเทศ (Information) • ผู้ผลิตต้องจัดทำข้อสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ที่เป็นครัวเรือนได้ทราบ ดังนี้ - ไม่นำซาก WEEE ไปทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป (municipal waste) - มีการเก็บรวบรวมแบบคัดแยก และมีระบบรับคืนเป็นการเฉพาะ - บทบาทหน้าที่ของผู้ใช้ - ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของซาก WEEE - ความหมายของรูปสัญลักษณ์ “ห้ามทิ้งปะปนกับขยะอื่น” (รูปกากบาทบนถังขยะชนิดมีล้อ ‘a cross-out wheeled bin’)
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดหลังวันที่ 13 สิงหาคม 2548 ผู้ผลิตต้องทำเครื่องหมาย “ห้ามทิ้งปะปนกับขยะอื่น” (a cross-out wheeled bin) ตามรูปแบบที่กำหนดในภาคผนวก 4 ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตต้องติดบนผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นเป็นการถาวรและเห็นได้ชัด • ข้อสนเทศที่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต้องจัดทำภายใน 1 ปี นับแต่วันที่วางตลาด และแจ้งให้ Treatment facilities, Reuse and Recycle centers ได้ทราบ คือ - การบำบัดซาก WEEE - การนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยระบุวัสดุหรือส่วนประกอบที่สามารถ นำมาใช้ซ้ำได้ รวมทั้งต้องระบุส่วนที่บรรจุสารอันตรายไว้ด้วย
การจัดทำรายงานและบทลงโทษ (Reporting and Penalties) • แต่ละประเทศต้องจดทะเบียนผู้ผลิต และเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณ/ประเภทผลิตภัณฑ์ที่วางตลาด ที่เก็บรวบรวมได้ ที่สามารถคืนสภาพได้ที่ใช้ซ้ำ และที่นำมารีไซเคิลได้ ในเขตแดนของตน แล้วรายงานคณะกรรมาธิการทราบทุก 2 ปี • ทุก 3 ปี ต้องจัดทำรายงานแห่งชาติว่าด้วยการปฏิบัติตามระเบียบ WEEE รายงานฉบับแรกต้องครอบคลุมระหว่างปี 2547-2549 • ประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ WEEE คณะกรรมาธิการจะดำเนินการทางกฎหมายโดยออกหนังสือเตือน 2 ครั้ง ถ้ายังเพิกเฉยจะนำเรื่องขึ้นสู่ศาล European Court of Justice
ผลิตภัณฑ์สำคัญของไทย • เครื่องปรับอากาศ • เครื่องรับโทรทัศน์สี • ตู้เย็น • พัดลม • หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
การส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าของไทยการส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าของไทย มูลค่าส่งออกไป EU สูงสุด 5 อันดับแรก ในปี 2547 (หน่วย: ล้านบาท) • เครื่องปรับอากาศ (34,131) • เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า (10,210) • เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่ (Power Supply) (4,584) • เตาอบไมโครเวฟ (4,501) • เครื่องถ่ายทีวี วิดีโอ (4,059)
การส่งออกไป EU vs การส่งออกไปทั่วโลก (หน่วย: ล้านบาท) 2545 25462547 ส่งออกไปอียูรวม 48,345 63,484 99,163 ส่งออกไปทั่วโลก 417,408 447,567 542,066 (ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
ผลกระทบ • ผู้นำเข้าในยุโรปอาจผลักภาระค่าใช้จ่ายที่ตนต้องรับผิดชอบในด้าน separate collection, treatment facilities, recovery systems, reuse and recycle facilities ให้กับผู้ผลิต/ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ของไทยได้ • ผู้นำเข้าในยุโรปอาจปฏิเสธที่จะสั่งซื้อและรับเงินค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมแบบคัดแยก การบำบัด การนำไปคืนสภาพ การนำไป reuse/recycle และการกำจัดซาก WEEE จากผู้ส่งออกของไทย หากปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ของไทยยากต่อการถอดแยกและทำให้ rate of recovery, rate of reuse/recycle ในประเทศ EU นั้นๆไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด.