850 likes | 1.8k Views
เอกสารประกอบการบรรยาย. การประเมินทางเลือกในวิชาพลศึกษา. เรื่อง. Alternative Assessment In Physical Education. โดย : รศ. ดร.กรรวี บุญชัย ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
E N D
เอกสารประกอบการบรรยายเอกสารประกอบการบรรยาย การประเมินทางเลือกในวิชาพลศึกษา เรื่อง Alternative Assessment In Physical Education โดย: รศ. ดร.กรรวี บุญชัยภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Albert Einstein ได้แสดงให้เห็นภาวะของนักพลศึกษาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการที่จะพยายามประเมินผู้เรียน • มิใช่ทุกสิ่งที่คำนวณได้จะสามารถนับได้ และมิใช่ทุกสิ่งที่นับได้จะสามารถคำนวณได้
สิ่งที่ท้าทายยิ่งใหญ่ของนักพลศึกษาที่เผชิญหน้าในปัจจุบันคือ การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลไม่เฉพาะในการประเมินนักเรียนเท่านั้นแต่รวมทั้งการกำหนดคะแนนของนักเรียนด้วย
วิธีการประเมินผลที่เป็นมาตรฐานมากมายที่ใช้ได้ เช่น แบบทดสอบทักษะทางกีฬา (skill tests) และข้อสอบข้อเขียน (written tests) อย่างไรก็ตาม นักพลศึกษาพบว่าแบบทดสอบดังกล่าว เป็นแบบการวัดแบบเดิม (traditional methods)
ซึ่งรูปแบบของการประเมินแบบที่เคยปฏิบัติกันมาไม่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ หรือเป็นรูปแบบที่ดูเหมือนว่าไม่วัดในสิ่งที่ครูต้องการจะวัด เช่น ครูได้สอนเกี่ยวกับการตีลูกหน้ามือ หลังมือ การส่งลูก ตีลูกวอลเลย์ ตำแหน่งและยุทธวิธีการเล่นประเภทคู่ และการนับคะแนนในกีฬาเทนนิส
เพื่อประเมินนักเรียน ครูใช้แบบทดสอบทักษะ โดยให้นักเรียนคนหนึ่งยืนที่ตาข่ายและโยนลูกบอลให้เพื่อนตีลูกทั้งหน้ามือและหลังมือโดยกำหนดเป้าหมายไว้ในสนาม แบบทดสอบดังกล่าวอาจจะเที่ยงตรงในการวัดการตีลูกหน้ามือและหลังมือไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้
แต่แบบทดสอบดังกล่าวอาจจะไม่ใช่ตัวบ่งชี้ควาสามารถของนักเรียนในการเล่นเทนนิส เพราะครูได้สอนทักษะอื่น ๆในการเล่นด้วย เช่น ยุทธวิธีในการเล่น ตำแหน่งในการเล่น และการนับคะแนน
นักพลศึกษาจึงมองหาแนวทางในการประเมินความสามารถในการเล่นเกมของผู้เรียนด้วยการใช้ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งในการเล่น และแสดงความสามารถในการเล่นภายใต้กติกาที่กำหนด จึงมีความจำเป็นสำหรับครูในการพัฒนาวิธีการประเมินที่มีความหมายมากกว่า
จากการเคลื่อนไหวในการปฏิรูปการศึกษา ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1990 (2533) และในประเทศไทยก็เช่นเดียกัน (พ.ศ. 2542) มีผลต่อการประเมินและการประกันคุณภาพทางการศึกษาอย่างมาก รวมทั้งในวิชาชีพพลศึกษาด้วย
รูปแบบใหม่ของการประเมินที่นำมาใช้ในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ ได้แก่ “alternative assessment” และ “authentic assessment”
Alternative Assessment • หมายถึงรูปแบบการประเมินใด ๆก็ตามที่แตกต่างไปจากการประเมินที่เคยปฏิบัติกันมา (traditional test) • การประเมินแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Untraditional”
การประเมินผลในลักษณะนี้เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ของเด็กซึ่งสนับสนุน Creative Education อนุญาตให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงาน/ผลงาน เช่น การวาดภาพการเตะที่ถูกต้อง การจัดทำวีดิทัศน์สำหรับทักษะกีฬาเฉพาะอย่าง เป็นต้น
ตัวอย่างของ Alternative Assessment • Projects • Even Tasks • Observations • Checklists • Portfolio • Student Log or Journals • Rating Scales
ตัวอย่างของ Alternative Assessment • Personal Fitness Log • Oral Reports • Worksheets • Interview/Focus Groups • Slide Shows • Video production • Poster • Essays/Reports • Research Paper
Alternative Assessment/Authentic Assessment • Wiggins (อ้างใน Lacy & Hastad, 2003, p. 314) ได้ปรับมาตรฐานเพื่อประเมินว่าเครื่องมือในการประเมินเป็น Authentic Assessment หรือไม่ และเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางพลศึกษาหรือไม่
คล้ายคลึงกับเกมเท่าที่จะเป็นไปได้ งานนั้นผู้เรียนสามารถปฏิบัติขณะที่ผู้เรียนอยู่ในการเล่นเกม • ต้องการองค์ความรู้ด้วย เช่น กติกา ยุทธวิธี และตำแหน่งในการเล่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สอนไปแล้ว
กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะเช่นเดียวกับการเล่นเกม หรือในสภาพการเคลื่อนที่ ไม่ใช่ในลักษณะอยู่กับที่
จากแหล่งข้อมูลพบว่า ใช้คำว่า “Alternative” และ “Authentic” สลับกัน อย่างไรก็ตามในสาขาวิชาพลศึกษา เครื่องมือในการประเมินทางเลือก (alternative assessment) เช่น Portfolio, Student Log มากกว่าการใช้แบบทดสอบทักษะที่ใช้กันมาหรือเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ
และ Authentic Assessment ใช้ในการอธิบายการประเมินงานในบริบทของเกมหรือกีฬา และวัดความสามารถในการเล่นเกมมากกว่าการแยกทักษะ • ดังนั้น “Authentic Assessment” เป็นรูปแบบหนึ่งของ “Alternative Assessment”
เหตุผลสำหรับการใช้การประเมินทางเลือกเหตุผลสำหรับการใช้การประเมินทางเลือก • ครูจะต้องประเมินในการสอนแต่ละครั้ง ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นทางการทุกครั้ง ครูจะตัดสินใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้แบบการประเมินเป็นระยะ หรือในบางครั้งใช้การตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดคะแนนของนักเรียน
การประกันคุณภาพ (Accountability) • ความกดดันของโรงเรียนในปัจจุบันคือ ต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า (progress) และการเรียนรู้ (learning) และยังต้องแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของระดับชาติอย่างไร
ดังนั้นประสิทธิภาพของนักพลศึกษาก็คือแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน นักพลศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรม พลศึกษาในโรงเรียน แนวทางหนึ่งก็คือการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินที่ fair, objective, accurate ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
Weakness of Standard Testing Practices • ทำไมแบบทดสอบมาตรฐานในการวัดทักษะ (standardized skill tests) จึงไม่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการนำมาประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งก็มีเหตุผลหลายประการ
ประการแรก แบบทดสอบมาตรฐานที่มีเกณฑ์มาตรฐาน (norms) เที่ยงตรงสำหรับเฉพาะกลุ่ม เช่น AAHPER Football Skills Test, 1966 สำหรับนักเรียนชาย อายุ 10-18 ปี ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานอาจจะไม่เหมาะกับเพศ อายุของนักเรียนที่ครูต้องการประเมิน
ประการที่ 2 แบบทดสอบมาตรฐานอาจจะวัดเนื้อหา สาระที่ครูสอน แบบทดสอบอาจจะวัดเพียงทักษะเดียว ในขณะที่ครูต้องการประเมินในการเล่นทั้งหมด
ประการที่ 3 แบบทดสอบมาตรฐานใช้เวลาในการดำเนินการ ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ ครูที่มีชั่วโมงสอนมาก อาจจะมีเวลาไม่มากระหว่างห้องเรียนในการจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการดำเนินการทดสอบ ทำให้ผลการทดสอบขาดความเที่ยงตรง
ประการสุดท้าย แบบทดสอบมาตรฐานจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้น เพื่อนนักเรียนจะเป็นคนโยนลูกบอลหรือกลิ้งลูกบอลในขณะที่อยู่กับที่ไม่ใช่จากการตีด้วยแร็กเกต การเล่นเกิดจากสภาพจริงแบบทดสอบส่วนใหญ่ไม่ใช่
ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า แบบทดสอบมาตรฐานมีประโยชน์สำหรับการประเมินแบบเป็นระยะ (formative feedback) สำหรับทักษะเฉพาะอย่าง หรือในการประเมินตนเอง (self-testing)
การประเมินตามสภาพจริง (Authenticity) • นักพลศึกษาเห็นด้วยที่ว่า เป้าหมายสูงสุดของการสอนกีฬาประเภททีม และประเภทเดี่ยว คือให้นักเรียนมีทักษะเพื่อความสนุกสนานในการเล่นเกมในกีฬานั้น ๆ
ถ้านักพลศึกษาต้องการที่จะรู้ว่านักเรียนสามารถเล่นเกมได้ดีแค่ไหน ครูก็ต้องใช้วิธีการสังเกตที่เป็นระบบ ในการประมินการเล่นเกม ครูอาจจะสนใจองค์ความรู้ด้านเจตพิสัย เช่น ความมีน้ำใจนักกีฬา ความร่วมมือ หรือความรู้เกี่ยวกับกติกา และยุทธวิธี จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือ
ความเป็นปรนัย (Objectivity) • นักพลศึกษาต้องการประเมินความชำนาญในการเล่นเกมจริง ๆซึ่งอาจจะใช้การสังเกตอย่างง่าย ๆและสร้างการตัดสินแบบอัตนัย (subjective judgment) วิธีการดังกล่าวไม่มีความยุติธรรมในการตัดสินระดับคะแนน
การเฝ้าดูนักเรียนเล่มเกม ซึ่งเรียกว่า “eyeballing” วิธีดังกล่าวถือว่าขาดความเป็นปรนัย ขาดความเชื่อถือได้ และไม่สามารถประกันได้ว่านักเรียนทุกคนมีโอกาสในการแสดงทักษะของตัวเอง
เช่น สมมติว่า ครูประเมินความสามารถในการเล่นฟุตบอลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ทีมที่ 1 มีนักเรียนที่มีทักษะและประสบการณ์สูง ซึ่งมีเกมรุกที่ดีตลอดเกม นักเรียนในทีมนี้จะได้คะแนนดีในการเล่มทีม แม้ว่านักเรียนเหล่านั้นมีทักษะดีจริง ๆหรือไม่
ในขณะที่นักเรียนในอีกกลุ่มหนึ่งที่มีทักษะน้อยกว่า อาจจะไม่สามารถแสดงทักษะ ถ้าขาดการสังเกตอย่างมีระบบ นักเรียนที่ขาดทักษะคงเคลื่อนไหวไปตามเกม แต่การทุ่มเทให้กับทีมมีน้อย นักเรียนกลุ่มนี้ได้รับการประเมินที่ขาดความเป็นปรนัย
ความถูกต้อง (accuracy) • ถ้าครูต้องการประเมินทักษะส่วนบุคคลมากกว่าการเล่นเกม การประเมินผลทางเลือกจะมีประสิทธิภาพในประเด็นนี้ ครูสามารถปรับการประเมินในสภาพการเคลื่อนที่มากกว่า closed environment ซึ่งมีความถูกต้องมากกว่า
เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้มีหลากหลาย เช่น แบบประมาณค่า (rating scales) หรือตรวจสอบรายการ (checklists) สามารถใช้ได้ทั้งในการประเมินทักษะและการเล่นเกม • ส่วน แฟ้มสะสมงาน (portfolio) หรือ Log ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในกิจกรรมนั้น ๆลึกซึ้งมากขึ้น
ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ (Validity และ Reliability) • แม้ว่าการประเมินทางเลือกดูจะทำให้การประเมินนักเรียนน่าตื่นเต้น แต่มีประเด็นสำคัญ 2 ประการที่ควรได้รับการพิจารณา
ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ต้องรักษาไว้ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ต้องรักษาไว้ • ในการใช้การประเมินทางเลือกครูต้องให้ความสำคัญทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าว
ประเด็นของความเที่ยงตรงประเด็นของความเที่ยงตรง • จากที่กล่าวมาแล้วว่าแบบทดสอบมาตรฐานอาจจะไม่วัดเนื้อหา/สาระจริง ๆที่ครูสอน ประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ ความเที่ยงตรงนั่นเอง วิธีทีง่ายที่สุดในการตรวจความเที่ยงตรงของการประเมิน คือเปรียบเทียบกับจุดประสงค์ของการสอน
ตัวอย่าง จุดประสงค์ของการเรียนรู้คือ นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการตีลูกหน้ามือ (groundstroke) ไปยังสนามด้านตรงข้ามด้วยฟอร์มที่ดี • เพื่อที่จะวัดว่านักเรียนสามารถตีลูกหน้ามือ (groundstroke) ได้หรือไม่เครื่องมือที่สารถนำมาใช้ เช่น แบบตรวจสอบรายการ หรือแบบประมาณค่า
เกณฑ์ในแบบประเมินควรสอดคล้องกับส่วนประกอบของการตีลูกหน้ามือที่เน้นในชั้นเรียน ในลักษณะเช่นนี้จะเป็นการประเมินที่เที่ยงตรง เพราะว่าวัดตามจุดประสงค์การสอน (instructional objectives)
หรือนักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการตีลูกหน้ามือ (groundstroke) ไปยังสนามด้านตรงข้ามด้วยฟอร์มที่ดีและใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสมในการเล่นประเภทคู่ ในกรณีนี้เครื่องมือในการประเมินต้องควรสอดคล้องกับส่วนประกอบที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การสอน
ความสามารถในการตีลูกหน้า(groundstroke) มีฟอร์มที่ดี และใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถใช้ได้ระหว่างการเล่นประเภทคู่
ประเด็นของความเชื่อถือได้ประเด็นของความเชื่อถือได้ • ความเชื่อถือได้เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับเครื่องมือในการประเมินทางเลือก เช่นเดียวกับแบบทดสอบอื่น ๆคือ “แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรง แบทดสอบนั้นจะมีความเชื่อถือได้”
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือความเป็นปรนัย – is as free bias as possible
Types of Alternative Assessments • Students Projects • Portfolios • Even Tasks • Student Logs and Journals • Observations
แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) • ใช้เมื่อต้องทราบว่า ใช่ หรือไม่ใช่เท่านั้น • ใช้มากในการประเมินแบบเป็นระยะ (formative assessment) • และใช้เมื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ไว้ว่า “ผู้เรียนมีทักษะ...........................”
แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) • การใช้แบบตรวจรายการ ครูต้องแน่ใจว่านักเรียนมีการฝึกซ้อมอย่างเพียงพอในทักษะนั้น ๆ • กำหนดขุ้นตอนในการสร้าง
แบบตรวจสอบรายการ (Checklist):การวิ่ง ลงสู่พื้นด้วยส้นเท้า-ปลายเท้า Yes No วิ่งอย่างเต็มฝีเท้า Yes No โน้มตัวไปข้างหน้า Yes No แขนแกว่งในระดับไหล่และ สวิงตัดเข้าหาลำตัว Yes No เท้าทั้งสองรับน้ำหนัก Yes No
แบบตรวจสอบรายการ (Checklist):ควบม้า(Gallop) เกณฑ์ (Criteria): หันหน้าไปยังทิศทางที่เคลื่อนที่ Yes No • เคลื่อนที่ไปข้างหน้า Yes No • วิ่งโหย่งด้วยเท้าหลัง Yes No • เท้านำเป็นเท้าเดิมตลอด Yes No