380 likes | 1.01k Views
ภาษา ( Language ). บรรยายโดย พระมหาเผื่อน กิตฺ ติ โสภโณ. โครงสร้างภาษา ( Structure of language ). การศึกษาภาษา.
E N D
ภาษา(Language) บรรยายโดย พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
โครงสร้างภาษา(Structureof language)
การศึกษาภาษา • หน่วยเสียงพื้นฐาน(Phonemes) หน่วยเสียงเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษา (ทางภาษาศาสตร์) หน่วยพื้นฐานของเสียง (ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา) เช่น ม อา ล อี การศึกษาเกี่ยวกับการสร้างคำหน่วยเสียงของแต่ละภาษาเรียกว่า morphology • หน่วยคำ(morpheme) หน่วยที่เล็กที่สุดของคำที่มีความหมายในตนเอง เช่น มาลี โรงเรียน ไป การศึกษาการรวมกันของหน่วยเสียงจนเกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า Morphology • วากยสัมพันธ์(Syntax) การสร้างประโยค รูปแบบของประโยคตามไวยากรณ์ภาษานั้นๆ เช่น มาลี ไป โรงเรียน • อรรถศาสตร์(Semantics) คือ การศึกษาความหมายของคำ • วจนปฎิบัติศาสตร์(Pragmatics) คือ การวิเคราะหภาษาโดยอาศัยผูพูดและผูฟงเปนผูกำหนดความหมายของภาษา • นักภาษาศาสตร์และนักจิตวิทยาแยกศักยภาพทางภาษา(Linguistic competence)ออกจากสมรรถนะทางภาษา(LinguisticPerformance) โดยอธิบายว่า ศักยภาพทางภาษา หมายถึง ความรู้ทางภาษาที่ทำให้สร้างและเข้าใจภาษาได้ ส่วนสมรรถนะทางภาษานั้นเป็นผลจากศักยภาพทางภาษาและปัจจัยอื่นๆ
สัทวิทยา(Phonology) สัทวิทยา อธิบายทุกภาษาจะมีหน่วยเสียงพื้นฐาน(Phonemes)ที่เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของหน่วยคำที่ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา หน่วยเสียงพื้นฐานเหล่านี้เมื่อหากออกเสียงผิด หรือใช้ผิดมีผลให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป เช่น go กับ no สัทวิทยาใช้สิ่งที่เรียกว่า Phonetics ในการศึกษาและระบุว่า Phonemes แต่ละตัวในแต่ละภาษามีวิธีการออกเสียงอย่างไร
วากยสัมพันธ์(Syntax) คำว่า syntax(วากยสัมพันธ์)หมายถึง ลักษณะของคำภายในประโยคหรือส่วนต่างๆและวิธีการส่วนต่างๆของประโยคมารวมกันเจ้า จะเรียกว่า โครงสร้างประโยค ก็ได้ กฎวากยสัมพันธ์คล้ายกันกับกฎของของโฟนีมคือควบคุมให้คำหรือวลีต่างๆมารวมกันเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษานั้นๆ
เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชาย วิหรติ S NP NP VP Ad.j. N. V. N. Pro.N N. เวรญฺชาย ที่เมื่อเวรัญชา เตน นั้น สมเยน สมัย ภควา ผู้นำแนกธรรม วิหรติ ทรงประทับอยู่ พุทฺโธ พระพุทธเจ้า
อรรถศาสตร์(Semantics) อรรถศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของคำซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการใช้ภาษา เสียงที่เราเปล่งออกมาเพื่อสื่อถึงแนวคิดที่เราต้องการสื่อสาร และเมื่อการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ฟังต้องรับรู้ความหมายที่ผู้สื่อสารถ่ายทอดออกมาในแง่ใดแง่หนึ่ง. ซึ่งทฤษฎีว่าด้วยความหมายของคำยังคงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีว่าด้วยความหมายมักจะอธิบายสิ่งต่อไปนี้ • ความผิดปกติ(Anomaly)ตัวอย่างเช่น ทำไม่เราจึงพูดว่าไม่ได้ว่า “เก้าอี้ตายแล้ว” • ความขัดแย้งกันในตัว(Self-contradiction) เช่น ทำไมความหมายจึงเปลี่ยนไปเมื่อเราสลับประโยคว่า “สุนัขเป็นสัตว์สี่เท้า” • ความคลุมเครือ(Ambiguity) ทำไมคำว่า “กระต่ายยังไม่แก่พอ”จึงมีความหมายว่า “กระต่ายยังอ่อนเกินไป” • ความเกี่ยวข้อง(Entailment) ทำไมคำว่า “นายมีเป็นลุงของฉัน” มีความหมายว่า นายมีเป็นผู้ชาย
ทฤษฎีด้านอรรถศาสตร์ยังอธิบายว่าเพราะเหตุใดเราจึงใช้ความหมายของคำเพื่อจัดการกับประโยคและการอภิปรายโดยรวม. นักจิตวิทยาด้านการรู้คิดหลายสนใจในอรรถศาสตร์ในแง่ที่ว่า ความรู้ถูกจัดระเบียบและจัดเก็บอย่างไร และทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีที่บุคคลสร้างแนวคิดและจัดระเบียบสิ่งต่างๆ
วจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) ในการสื่อสารด้วยวาจา ผู้พูดต้องพูดให้ถูกหลักสัทวิทยา(phonology) วากยสัมพันธ์(syntax)และอรรถศาสตร์(semantics) นอกจากกฎ ๓ ประการข้างต้นแล้ว การสื่อสารจะประสบสำเร็จได้ต้องถูกต้องตามกฎวจนปฏิบัติศาสตร์อีกด้วย ซึ่งหมายถึง มารยาทหรือธรรมเนียมในการสนทนา เช่น การไม่พูดแทรกคู่สนทนา หรือการทักทายก่อนเริ่มการสนทนา เซียร์ล(Searle (1979)กล่าวว่า ในฟังคู่สนทนา มิใช่แค่เพียงใช่แค่เสียง คำหรือโครงสร้างประโยคเท่านั้นที่ผู้ฟังต้องเข้าใจประเภทของการพูดอีกด้วย(kind of utterances) โดยเข้าได้แบ่งการพูดออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
การพูดเพื่อบอกความคิดความเชื่อของตน(assertive utterance) เช่น ผมเป็นคนตรง ฉันไม่อยากกิน ฉันเบื่อ • การพูดเชิงบังคับ(Directive utterance) เช่น ปิดประตู ออกไปเดี๋ยวนี้ • การพูดเชิงสัญญา(Commissiveutterance) เช่น ใช้ได้แน่นอนผมรับรอง หรือผมจะหามาให้ • การพูดเชิงแสดงความรู้สึก(Expressive utterance) เช่น ขอโทษจริงๆ ผมจะไม่ทำอีกแล้ว ผมผิดหวังในตัวคุณจริงๆ • คำพูดเชิงบอกแจ้ง(declarative utterance) เช่น ขอประกาศให้ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน คุณถูกไล่ออก
การเข้าใจภาษาและการสร้างภาษา(Language comprehension and production)
การรับรู้คำพูด(Speech perception) • ภาษาก็เหมือนกับข้อมูลอื่นๆคือถูกเปลี่ยนรู้จากข้อมูลดิบไปเป็นการสร้างตัวแทน(representation)ที่มีความหมายในความจำ คำพูด(speech) ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ภาษา การเข้าใจคำพูดที่ใครบางคนกำลังพูดกับเรานั้นไม่ง่ายเว้นแต่ว่าเป็นภาษาต่างประเทศหรือผู้พูดมีปัญหาในการพูดอย่างขั้นรุนแรง นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าใจคำพูดของเด็ก ผู้ใหญ่ คนที่พูดรัวเร็ว หรือคนที่พูดสำเนียงต่างประเทศหรือสำเนียงท้องถิ่น • แม้จะดูเป็นเหตุเป็นผลที่จะสันนิษฐานว่า เราเข้าใจคำพูดเหมือนที่เราเข้าใจตัวหนังสือโดยแยกแยะจากช่องว่างระหว่างคำ แต่โชคร้ายที่น่าพอใจนี้ไม่เป็นความจริง(ความจริงแล้ว การงานวิจัยยังชี้ว่าเราไม่ได้จัดการกับตัวหนังสือแบบรายตัวอักษร
จอร์จมิลเลอร์(Gourge Miller,1990) ได้อธิบายปัญหาพื้นฐานในการรับรู้คำพูดเอาไว้ 2 ประการคือ • คำพูดมีลักษณะต่อเนื่องกันไป มีการหยุดในระหว่างน้อยมากเมื่อวิเคราะห์ด้วย spectrogram จะเห็นได้ว่าช่องๆว่างไม่สอดคล้องกับคำหรือพยางค์ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในเชิงกายภาพไม่มีตรงไหนที่จะชี้ได้ว่าช่องว่างระหว่างคำอยู่ตรงไหน • หน่วยเสียงพื้นฐาน(phoneme)แต่ละตัวออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่บริบทเช่น ลักษณะการพูด เพศ เหตุผลที่เรายังสามารถรับรู้คำพูดได้อย่างถูกต้องแม้คุณภาพเสียงจะแตกต่างกันไปคือการรับรู้คำพูดของเราเป็นแบบจัดหมวดหมู่(categorical) นั้นคือ ในการจัดการกับเสียงพูดเราจัดหมวดหมู่เสียงโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องนำสู่การมีสติระลึกรู้(awareness)เพ่งความสนใจ(Attention)หรือ
Lisker and Abramson (1970) ได้อธิบายการการรับรู้คำพูดแบบจัดหมวดหมู่โดยใช้คอมพิวเตอร์สร้างเสียงพูดที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะที่เกิดจากริมฝีปาก(bilabial) เช่น /b/ /p/ จากนั้นตามด้วยเสีย “ah” ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า พยัญชนะใดก็ตามที่ตามด้วย VOT(Voice onset time) +0.03วินาทีหรือน้อยกว่าจะถูกได้ยินเป็น “ba” และหากมากกว่าจะถูกได้ยินเป็น “pa” ผู้รับการทดลองไม่สามารถแยกแยะได้ความแตกต่างระหว่างพยัญชนะที่มี VOT -0.05 กับ -0.10 ได้ การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเราให้ความสนใจกับคุณสมบัติของด้านเสียงของคำพูดที่มีความหมายและเพิกเฉยกับคุณสมบัติอื่นเช่น ระดับเสียง นั่นคือเหตุผลที่เราสามารถเข้าใจคำพูดต่างระดับเสียงหรือสำเนียงได้
การพูดผิดSpeech Errors in Production นอกจากการใช้คำพูดแล้ว เรายังสร้างคำพูดเพื่อสื่อสารกับคนอื่นอีกด้วย งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างคำพูดส่วนหนึ่งมุ่งให้ความสนใจกับการความผิดพลาดในการสร้างคำพูด(Speech error) ตัวอย่างเช่น • Sue keeps food in her vesk. (Substitution of “v” for “d”) • Keep your cotton-pickin’ hands off my weetspeas. (Shift of “s”) • . . . got a lot of ponsandpatsto wash. (Exchange of sounds) • We’ll sit around the song and sing fires.(Exchange of words and morphemes)
Garrett (1988) ได้ศึกษาความผิดพลาดในการพูดพบว่า ความผิดพลาดในการพูดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ • ความผิดพลาดอันเนื่องความหมายที่เชื่อมโยงกัน เช่น ใช้คำว่า นิ้วมือ(finger)แทนคำว่า นิ้วเท้า(toes) หรือคำว่าเดิน(walk)แทนที่จะใช้คำว่า วิ่ง(run) • ผิดพลาดเนื่องจากรูปศัพท์คล้ายกัน เช่น คำว่า guest แทนที่จะเป็น goat, mushroom แทนที่จะเป็น mustache
การเข้าใจประโยคSentence Comprehension • คนเราเข้าใจความหมายจากประโยคได้อย่างไร? จะเห็นได้ว่า งานดังกล่าวนี้มีความซับซ้อนเพราะนอกจากเราจะต้องเข้าใจความหมายแต่ละคำแล้วเรายังต้องเข้าใจโครงสร้างประโยค(Syntactic structure)อีกด้วย • ในการวิจัยต่อเนื่อง Jarvella(1971) ได้ให้ผู้รับการทดฟังข้อความยาวๆ เสียงแทรกในระหว่างข้อความยาวๆเป็นสัญญาณให้ผู้รับการทดลองนึกย้อนอะไรก็จากประโยคที่เข้าได้ยินให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จาเวลล่าได้สร้างข้อความที่มีวลีคล้ายกันแต่มีองค์ประกอบประโยคแตกต่างกัน โดยจะเห็นได้ว่าอนุประโยคตรงกลางของทั้งสองประโยคเหมือนกัน ดังนี้
With this possibility, Taylor left the capital. After he had returned to Manhattan, he explained the offer to his wife. (ด้วยความเป็นไปได้นี้ เทเลอร์ออกจากเมืองหลวง หลังจากกลับถึงแมนฮัตตัน เขาได้อธิบายข้อเสนอแก่ภรรยาของเขา) • Taylor did not reach a decision until after he had returned to Manhattan. He explained the offer to his wife. (เทเลอร์ยังตัดสินใจไม่ได้จนกระทั่งกลับถึงแมนฮัตตัน เขาได้อธิบายข้อเสนอแก่ภรรยาของเขา)
ผลการวิจัยพบว่า การจำคำต่างๆในอนุประโยคแรกของผู้รับการทดลองคล้ายคลึงกันและเฉลี่ยอยู่ที่ 16% • การจำคำในประโยคที่3 (“he explained the offer to his wife”) ของผู้รับการทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันโดยอยู่ที่เฉลี่ย 85% สันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวยังอยู่ใน ความจำที่กำลังทำงาน(working memory) สำหรับอนุประโยคที่2 (After he had returned to Manhattan) ซึ่งเป็นข้อความเดียวกันในทั้งสองประโยคพบว่า ผู้รับการทดลองจำอนุประโยคที่ 2 ของข้อความที่ 1 ถูกต้อง 54% ส่วนอนุประโยคที่ 2 ข้อความที่ 2 ถูกต้อง 20% จาเวลล่าให้เหตุผลว่า เพราะอนุประโยคที่2ในข้อความที่ 1 กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ จึงยังถูกเก็บไว้ใน working memory ส่วนอนุประโยคที่ 2 ของข้อความที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของประโยคถูกดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว • งานวิจัยนี้ชี้ว่า แม้ปกติแล้วดูเหมือนว่าเราทิ้งคำต่างๆหลังจากที่สร้างตัวแทนขึ้นในความคิดแล้ว ไวยากรณ์ยังมีอิทธิพลต่อความเข้าใจแม้ว่าเราจะไม่ตระหนักรู้
การเข้าใจข้อความตัวหนังสือComprehending Text Passages • Just and Carpenter (1987) ได้พยายามศึกษาว่าคนเรามีอ่านอย่างไรโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดการหยุด(fixation)ของตาการหยุดของตาคือการหยุดการสแกนด้วยสายตาเป็นระยะเวลาสั้นๆก่อนเลื่อนการอ่านต่อไป พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะหยุดการสแกนเป็นเวลา 250วินาทีก่อนเลื่อนต่อไปซึ่งการเปลี่ยนจังหวะดังกล่าวใช้เวลาราว 10-20มิลลิวินาที ซึ่งทั้งสองสันนิษฐานว่า การแปลความหมายคำแต่ละคำเกิดขึ้นในระหว่างนั้น การหยุดจะเป็นตัวบอกว่าการแปลคำยากหรือง่ายแค่ไหน • งานวิจัยของ Kintschand Keenan (1973)ได้ชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบด้านความหมายของคำมีผลต่อการอ่าน โดยให้รับการทดลองอ่านข้อความความยาวเท่ากันเข้าใจได้ยากง่ายแตกต่างกันเนื่องจากความซับซ้อนตำแหน่งของคำ(propositional complexity) พบว่าตำแหน่งคำที่ถูกสร้างขึ้นในใจเป็นแบบลำดับขั้น(hierarchy)โดยจะมีคำที่เป็นแกนกลางและคำที่ช่วยให้รายละเอียดที่มีความสำคัญน้อยกว่า
ไวยากรณ์เรื่องราว(Story Grammars)
หลักการสนทนาของกริเชียนGriceanMaxims of Conversation 1. หลักว่าด้วยปริมาณ(Maxim of quantity). ทำคำพูดของคุณให้มีสาระเท่าที่จำเป็นอย่าทำให้มีสาระเกินความจำเป็น. 2. หลักว่าด้วย(Maxim of quality). ทำคำพูดของคุณให้น่าเชื่อถือ อย่าพูดสิ่งที่คุณเชื่อให้เป็นเรื่องเหลวไหล อย่าพูดโดยไม่มีหลักฐาน. 3. หลักว่าด้วยความสัมพันธ์(Maxim of relation). สร้างความเกี่ยวเนื่องกัน. 4. หลักว่าด้วยมารยาท(Maxim of manner). สร้างความชัดเจน หลีกเลี่ยงการแสดงออกที่ไม่ชัดเจนความคลุมเครือ กระชับและเป็นลำดับ.
ภาษากับการรู้ คิด(Language and cognition)
The Modularity Hypothesis • นักทฤษฎีกลุ่มนี้มองว่า ภาษาเป็นกระบวนการทางการรู้คิดที่เป็นส่วนอิสระ1งานวิจัยของ Swinney (1979)ซึ่งพบว่า เมื่อเกิดพบกับคำที่คลุมเครือ ความหมายต่างขอคำจะถูกตุ้นให้ทำงานโดยอัตโนมัติ
The Whorfian Hypothesis • สมมติฐานที่เรียกว่า สมมติฐานของวอเฟียนว่าด้วยความสัมพันธ์ทางภาษา(Whorfian hypothesis of linguistic relativity) เชื่อว่า ภาษาเกิดจากการรับรู้โลกรอบตัว การจัดหมวดหมูและการคิด ภาษาแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิประเทศของโลก เขายกตัวอย่างเช่น ชาวเอสกิโมมีคำเรียกหิมะหลายคำ ขณะที่ภาษาอังกฤษมีแค่คำเดียว ภาษาอังกฤษมีคำเรียกสีหลายคำ ขณะที่ชนเผ่าดานิในอินโดนิเซียมีแค่ ขาว ดำและสว่าง
Neuropsychological Views andEvidence • ปี 1861 Pierre Paul Brocaแพทย์ชาวฝรั่งเศสค้นพบว่า สมองส่วนที่เรียกว่า Broca area ในปัจจุบันทำหน้าเกี่ยวกับความสามารถในการเปล่งเสียงพูด • 1874 ปีต่อมา Carl Wernicke นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันพบว่า สมองส่วนที่เรียกว่า Wernicke’s area ในปัจจุบันทำหน้าที่เกี่ยวกับการเข้าใจภาษา