240 likes | 533 Views
Effect of temperature on the moisture sorption isotherm in marinated dried giant snake head fish. ผลของอุณหภูมิที่มีต่อซอพชันไอโซเทอมของความชื้นในผลิตภัณฑ์ปลาชะโดสวรรค์. นาย ภิญโญ โอวาสิทธิ์ และ อ.ดร. ยงยุทธ เฉลิมชาติ. ที่มาและความสำคัญ.
E N D
Effect of temperature on the moisture sorption isotherm in marinated dried giant snake head fish ผลของอุณหภูมิที่มีต่อซอพชันไอโซเทอมของความชื้นในผลิตภัณฑ์ปลาชะโดสวรรค์ นาย ภิญโญ โอวาสิทธิ์ และ อ.ดร. ยงยุทธ เฉลิมชาติ
ที่มาและความสำคัญ ปัญหาอย่างหนึ่งที่สำคัญในผลิตภัณฑ์อาหารแห้งได้แก่ การที่ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะอาหารดังกล่าวจะดูดซับน้ำในบรรยากาศที่มีความชื้นสูงไว้ ส่งผลให้ความชื่นในผลิตภัณฑ์จะเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาในการเก็บ ดังนั้นปริมาณน้ำอิสระ(water activity, aw) จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมคุณภาพของปลาชะโดสวรรค์ให้ได้มาตราฐาน และไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้าทราบ moisture adsorption isotherm ที่สภาวะต่างๆ จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำอิสระได้
วัตถุประสงค์ของโครงงานวัตถุประสงค์ของโครงงาน เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นของปลาชะโดสวรรค์กับความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิในการเก็บรักษา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการหาค่าคงที่และสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ moisture sorption isotherms ของปลาชะโดสวรรค์ที่เหมาะสม
Modified Henderson equation : Modified Chung Pfost equation : Modified Oswin equation : Modified Halsey equation : GAB equation : BET equation :
การเตรียมปลาชะโดสวรรค์การเตรียมปลาชะโดสวรรค์ นำปลาชะโดมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ หมักกับน้ำปรุง นำไปอบในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 1 วัน ทอดในน้ำมันพืช
ปลาชะโดที่ทอดเสร็จแล้วปลาชะโดที่ทอดเสร็จแล้ว
การเตรียมสารละลายเกลืออิ่มตัวการเตรียมสารละลายเกลืออิ่มตัว
วิธีทดลอง นำปลาชะโดสวรรค์ที่เตรียมไว้มาปั่นแล้วอบที่อุณหภูมิ 50๐C ประมาณ 1 วันแล้วเก็บไว้ในโถดูดความชื้นประมาณ 3 วัน หาปริมาณความชื้นมาตรฐานแห้งของปลาชะโดสวรรค์นี้ แบ่งปลาชะโดสวรรค์ที่เตรียมได้มาใส่ไว้ในภาชนะหาความชื้น จำนวน 30 ภาชนะ ภาชนะละประมาณ 4 กรัม โดยนำไปวางไว้เหนือสารละลายเกลืออิ่มตัว 5 ชนิด ได้แก่ LiCl, MgCl2, Mg(NO3)2, NaCl และ BaCl2โดยนำไปวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 50 ๐C, อุณหภูมิห้อง(26 ๐C) และ 9 ๐C
วิธีทดลอง ชั่งน้ำหนักของตัวอย่างที่เตรียมไว้เป็นระยะๆ วิเคราะห์หาปริมาณความชื้น จนกระทั่งความชื้นคงที่ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของ Handerson, Chaung-Pfost, Halsey, Oswin, Guggenheim-Anderson-de Boer(GAB) และ Brunauer-Emmett-Teller(BET)
วิธีทดลอง เปรียบเทียบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดในการทำนายและติดตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณความชื้นของปลาชะโดสวรรค์
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง% ความชื้นมาตรฐานแห้ง ที่สมดุล กับ Water Activity
สรุปผลการทดลอง จากการศึกษาพฤติกรรมการดูดซับความชื้นของปลาชะโดสวรรค์พบว่าเมื่อค่า water activity เพิ่มขึ้น การดูดซับความชื้นของปลาชะโดสวรรค์ก็มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย และจะสังเกตได้ว่าในช่วงที่ water activity มีค่าต่ำๆ ( 0.1 - 0.5) ความชื้นเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ขณะที่ในช่วง water activity สูงๆ การเพิ่มขึ้นของความชื้นจะมีอัตราที่เร็วกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อทำการทดลองที่อุณหภูมิ 9 ๐C 26 ๐ C และ 50 ๐ C พบว่า อุณหภูมิไม่มีผลต่อการดูดซับความชื้นของปลาชะโดสวรรค์ จากการวิเคราะห์หาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมพบว่า แบบจำลองของ GAB และ Modified Halsey ให้ผลที่สอดคล้องกับการทดลองมากที่สุด