360 likes | 1.13k Views
ประวัติผู้บรรยาย. พล.ท . ยศนันท์ หร่าย เจริญ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน วุฒิการศึกษาก่อนเข้ารับราชการ - รร .สาธิต ปทุมวัน วุฒิการศึกษาเมื่อเข้ารับราชการ - รร .เตรียมทหาร รุ่นที่ 16 - รร .นายร้อย จปร .รุ่นที่ 27 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 63
E N D
ประวัติผู้บรรยาย พล.ท.ยศนันท์หร่ายเจริญ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน วุฒิการศึกษาก่อนเข้ารับราชการ - รร.สาธิต ปทุมวัน วุฒิการศึกษาเมื่อเข้ารับราชการ - รร.เตรียมทหาร รุ่นที่ 16 - รร.นายร้อย จปร.รุ่นที่ 27 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 63 - หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 48 - รร.สธ.ทบ.รุ่นที่ 67 - วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 44 - ปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ ม.ธรรมศาสตร์
วุฒิการศึกษาต่างประเทศวุฒิการศึกษาต่างประเทศ - DRAGON GUNNER, FT.BRAGG N.C.USA. - ANTIARMOR LEADER COURSE, FT.BRAGG N.C.USA. - INFANTRY MORTAR PLATOON COURSE, FT.BENNING G.A.USA. - RANGER, FT.BENNING G.A.USA. - COMMUNITY DEVELOPMENT & VOLUNTARY ORGANIZATION, ISRAEL - INTERMEDIATE OPERATION COURSE LWC.AUS.
ตำแหน่งราชการที่สำคัญตำแหน่งราชการที่สำคัญ • - พ.ศ.2523 ผบ.มว.ปล.ร้อย อวบ.ร.1 พัน.1 รอ. • พ.ศ.2529 ผบ.ร้อย.อวบ.ร.1 พัน.1 รอ. • พ.ศ.2535 รอง ผบ.ร.1 พัน.1 รอ. • พ.ศ.2538 ผบ.ร.31 พัน.2 รอ. • พ.ศ.2539 ผบ.พัน.ร.มทบ.11 • พ.ศ.2543 รอง ผบ.ร.1 รอ. • พ.ศ.2546 ผบ.ร.1 รอ. • พ.ศ.2548 รอง ผบ.มทบ.11 • พ.ศ.2550 รอง ผอ.สวพ.ทบ. • - พ.ศ.2552 ผบ.พล.ร.11 • - พ.ศ.2555 รอง ผบ.นรด. • พ.ศ.2535 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นราชองครักษ์เวร ถึงปัจจุบัน ตำแหน่งราชการพิเศษ
กองทัพแห่งคลื่นลูกที่ ๓ กับการเป็น “ กองทัพประจำการอาสาสมัคร ” The Armed Forces of the Third Wave as “ The Volunteer Army ”
สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) การดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ “วิธีการผลิตอย่างไร : วิธีการรบอย่างนั้น”
สองแนวคิด สองมุมมอง แนวคิดที่ ๑ : อัลวิน และ ไฮดี้ ทอฟเลอร์ (Alvin and Heidi Toffler) เรื่อง สังคม ๓ แบบ ในหนังสือ คลื่นลูกที่ ๓ (The Third Wave) - คลื่นลูกที่ ๑ การปฏิวัติการเกษตร - คลื่นลูกที่ ๒ การปฏิวัติอุตสาหกรรม - คลื่นลูกที่ ๓ การปฏิวัติสารสนเทศ แนวคิดที่ ๒ : คาร์ล มาร์กซ์ และ ฟรีดิช เองเกลส์ (Karl Marx and FreidrichEngles) เรื่อง วิวัฒนาการของสังคมแนวลัทธิมาร์กซ์ ๖ ชั้น ในหนังสือ คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
สองแนวคิดสู่ “วิธีการผลิตอย่างไร วิธีการปกครองวิถีการรบอย่างนั้น” ประเด็นแรก “วิธีการผลิตอย่างไร วิธีการปกครองอย่างนั้น” ประเด็นสอง “การปฏิวัติ หรือวิวัฒนาการในรูปแบบต่างๆ เกิดจากการ ปฏิบัติทางการผลิต หรือกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ที่เปลี่ยนไป” คลื่นลูกที่ ๑ ยุคการปฏิวัติการเกษตร วิธีการผลิต : ใช้กล้ามเนื้อคน และสัตว์ในการเพาะปลูก มีปัจจัยการผลิต เครื่องมือการเกษตร ที่ดิน และแรงงาน สังคมการผลิตแบบวรรณะ วิธีการปกครอง : แบบศักดินา ผู้ปกครอง คือ ผู้ที่มีกำลังมากและเป็น ผู้ครอบครองอำนาจ รัฐมีวิวัฒนาการจากแคว้นหรือนครรัฐ เป็น ราชอาณาจักร หรือจักรวรรดิ วิถีการรบ คือการทำสงครามครอบครอง ที่ดินและประชากร
วิธีการรบ : ใช้กล้ามเนื้อแขนขา จับหอกดาบ ยิงธนูบนหลังม้า ใครมี กำลังคน ช้าง ม้ามาก ใช้ศักยภาพของกำลังมาก กองทัพนั้นคือผู้มี ชัยชนะอำนาจอยู่ที่นักรบที่มีพละกำลัง กองทัพที่โต้คลื่นลูกที่ ๑ ได้ มีรูปแบบการจัด การฝึก การยุทธ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เช่น กองทัพม้ามองโกล หรือต้องล้ำยุคสมัยสามารถ โต้คลื่นลูกที่ ๒ ในยุคต้นได้ จึงจะประกันชัยชนะ ซึ่งก็คือ กองทัพ ประจำการแบบ Labour Intensive Army ของรัสเซียและอังกฤษ ในต้นศตวรรษที่ ๑๘
คลื่นลูกที่ ๒ ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิธีการผลิต : ใช้โรงงานอุตสาหกรรมผลิตออกมาเป็นจำนวนมากๆ วิธีการปกครอง : แบบทุนนิยม เสรีนิยมประชาธิปไตย ผู้ปกครองหรือ อำนาจอยู่ที่ผู้มีทุนหรือเงินตรามาก วิธีการรบ คือ การทำสงครามล่า อาณานิคม วิธีการรบ: ใครมีเรือรบ รถถัง เครื่องบิน ระเบิดมาก ก็จะประสบชัย ชนะ อำนาจอยู่ที่นักรบที่มีทุน เงินตรา อาวุธ จำนวนมากและมี มาตรฐาน กองทัพที่โต้คลื่นลูกที่ ๒ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพราะมีวิธีการฝึก การจัด การยุทธ หรือวิถีการรบแบบทุนนิยม ซึ่งก็คือกองทัพ ประจำการแบบ Capital Intensive Army ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และพันธมิตรที่ประสบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒
คลื่นลูกที่ ๓ ยุคการปฏิวัติสารสนเทศ วิธีการผลิต : ใช้ดาวเทียมสื่อสารแบบดิจิตอล สารสนเทศ คอมพิวเตอร์ สิ้นยุคอุตสาหกรรมปล่องควัน การติดต่อสื่อสารในเวลาจริง (Real Time) โลกแคบลงเป็นหมู่บ้าน วิธีการปกครอง : แบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ผู้ปกครองหรือ อำนาจเริ่มย้าย (Power Shift) ไปสู่ผู้ที่มีสติปัญญา (Wisdom) ประเทศต่างๆ เริ่มเข้าสู่เสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้น สิ้นสุดยุคการล่า อาณานิคมพร้อมกับการปิดตัวลงของโรงงานอุตสาหกรรมปล่องควัน ขนาดใหญ่ ต้องการประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยวัตถุดิบ จากทรัพยากรที่ลดน้อยถอยลง
วิธีการรบ: ใครมีสติปัญญา (Wisdom) มีความรู้ (Knowledge) เท่า ทันเวลาจริง (Real Time) และข่าวกรอง (Intelligence) กองทัพนั้น จึงจะประสบชัยชนะ อำนาจที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ ความรู้ กองทัพที่โต้คลื่นลูกที่ ๓ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ กองทัพที่มีการฝึก การจัด และวิถีการรบ หรือการยุทธแบบทุนนิยมสารสนเทศ กองทัพ ประจำการแบบ Capital Intensive Army ซึ่งมีลักษณะแบบ Information Technology Intensive Army หรือ Smart Army คือกองทัพที่มีพลังพลวัต (Dynamic) ไปได้ไกล (Range) มีความเร็ว (Speed) และอำนาจการทำลายล้างที่แม่นยำ (Lethality) ต้องการ “ทหาร” หรือ “นักรบที่ชาญฉลาด” ถึงจะโต้คลื่นลูกที่ ๓ หรือเผชิญ กระแสโลกาภิวัตน์ได้
สิ่งสำคัญที่สุด ในการเลือกใช้ “วิถีการรบ” ที่ผิดยุคสมัย อาจนำมาซึ่งความพ่าย แพ้ของกองทัพอันเกรียงไกร บทสรุปสำหรับกองทัพไทย การโต้คลื่นลูกที่ ๑ : กองทัพประจำการแบบ Labour Intensie Army เช่น กองกำลังทหารพราน ตำรวจตะเวนชายแดน และกองอาสารักษา ดินแดน การโต้คลื่นลูกที่ ๒ : กองทัพประจำการแบบ Capital Intensive Army เช่น กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ หรือ กองพลทหารม้า ที่ ๒ รักษาพระองค์ การโต้คลื่นลูกที่ ๓ : กองทัพแบบเคลื่อนที่เร็ว Rapid Deployment Force (RDF) เช่น กรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์
ทัศนะเพิ่มเติม ความรู้ คือ อำนาจ Knowledge is power
ในการโต้คลื่นลูกที่ ๓ นั้น แม้นว่าการมีข่าวกรอง (Intelligence) และเท่าทันเวลาจริง (Real time) จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในยุคปฏิวัติสารสนเทศ แต่สิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมให้กองทัพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นคือการพัฒนากำลังพลให้เป็น “นักรบที่ชาญฉลาด” มีสติปัญญา (Wisdom) และมีความรู้ (Knowledge) อันเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพส่งเสริมให้กองทัพนั้น เป็นกองทัพที่เกรียงไกรและประสบชัยชนะในสมรภูมิ
การพัฒนาบุคลากรทางทหารเป็นสิ่งสำคัญการพัฒนาบุคลากรทางทหารเป็นสิ่งสำคัญ ที่กระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพให้ความสำคัญ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน รับผิดชอบงานหลัก ๔ ด้าน ๑. กิจการกำลังพลสำรอง ๒. กิจการนักศึกษาวิชาทหาร ๓. กิจการสัสดี ๔. กิจการอาสารักษาดินแดน
กิจการนักศึกษาวิชาทหารกิจการนักศึกษาวิชาทหาร
กิจการอาสารักษาดินแดนกิจการอาสารักษาดินแดน
การฝึกกำลังสำรองทั้ง ๔ กลุ่ม เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากที่เป็นเพียงประชาชนคนธรรมดา (People) ให้เป็นพลเมือง (Citizen) ที่มีความสามารถในการรบ และมีจิตสำนึกรักชาติ พร้อมเสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อปกป้อง เอกราชของชาติเคียงข้างกำลังประจำการ
มุ่งสู่การเป็นกองทัพประจำการมุ่งสู่การเป็นกองทัพประจำการ อาสาสมัคร (Volunteer Army) การทำให้กองทัพยุคใหม่ กองทัพแห่งคลื่นลูกที่ ๓ มีความเข็มแข็งสดชื่น สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่กองทัพต้องการ คือคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถ มีความต้องการเป็นทหารและเป็นพลเมืองยุคดิจิตอล และวิธีการที่จะได้คนเหล่านี้มีโครงการ ดังนี้.-
โครงการ “Contract Army”เป็นการนำผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ หรือ ชั้นปีที่ ๕ ที่มีความสมัครใจเข้ารับราชการทหารเป็นการชั่วคราว ระยะเวลา ๒ ปี โครงการ “Enlisted Man”เป็นการรับกำลังพลสำรองที่มีความสมัครใจเข้ารับราชการในตำแหน่งของกำลังพลสำรองตามบัญชีบรรจุกำลังของหน่วย เพื่อตรวจสอบและฝึกวิชาทหารประจำปี และทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา ๑ ปี “การเรียน รด. เพื่อเป็นทหาร”
โครงการ “ รับสมัครทหารกองเกิน อายุ ๑๘ – ๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าเป็น ทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ” เป็นการพัฒนาการเข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยระบบอาสา สมัคร เพื่อให้ได้ทหารกองประจำการ ทหารกองหนุน และกำลังสำรองที่มีคุณภาพในการจัดเตรียมกำลัง ให้รับสมัครทหารกองเกินที่มี อายุ ๑๘ - ๒๐ ปีบริบูรณ์ ด้วยความสมัครใจเข้ารับราชการเป็นเวลา ๒ - ๓ ปี
แนวคิดการส่งคนเข้ากองประจำการ ๓ ผลัด เป็นการแก้ปัญหากำลังพลของหน่วยทหารไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ รวมถึงการพิทักษ์รักษายอดกำลังพล ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน จึงมีแนวทางให้การส่งทหารเข้ากองประจำการจากเดิม ๒ ผลัด/ปี เป็น ๓ ผลัด/ปีดังนี้.- ผลัดที่ ๑ ส่งคนเข้ากองประจำการในวันที่ ๑ มิ.ย. ผลัดที่ ๒ ส่งคนเข้ากองประจำการในวันที่ ๑ ต.ค. ผลัดที่ ๓ ส่งคนเข้ากองประจำการในวันที่ ๑ ก.พ.
เพื่อให้การฝึกทหารใหม่ไม่ประสพปัญหาในเรื่องสภาพ อากาศร้อน ลดการสูญเสียกำลังพลและเพื่อสมรรถภาพมรการฝึกให้เข้มแข็ง รวมทั้งทหารกองประจำการหมุนเวียนอยู่ในหน่วยทหารมีเปอร์เซ็นต์ความพร้อมรบสูงขึ้นด้วย
การพัฒนาระบบทหารกองเกิน ทหารกองประจำการ ทหารประจำการ ทหารกองหนุน ต้องการทำร่วมกันทั้งระบบ โดยมีแนวทางตามนโยบายระดับกระทรวงกลาโหม และการปฏิบัติภารกิจของเหล่าทัพประสานสอดคล้องกัน
ทหารประจำการ ทหารประจำการ ทหารกองประจำการ กำลังพลสำรอง หน่วยสนับสนุนกำลังรบหลัก (หน่วยที่เหลือ 5 ส่วน) รร.นส.ทบ. ทหารกองประจำการ ทหารกองเกิน หน่วยกำลังรบหลัก (หน่วยในส่วนกำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบ) (กำเนิด นนร.) (กำเนิด นศท.(น.และ ส.)) (กำเนิด นนส.) อาสาสมัคร (อัตรา พลฯ ) นศท. (อัตรา จ.ส.อ.และ ส.อ.) (หมุนเวียน) • นายทหารสัญญาบัตร • นายทหารประทวน ร่าง แผนภูมิการจัดเตรียมกำลังยุคทศวรรษหน้า กำลังทหารประจำการ, กำลังทหารกองประจำการและกำลังพลสำรองต้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แหล่งผลิตหลัก รร.จปร. • นายทหารสัญญาบัตร • นายทหารประทวน ทหาร กองประจำการ กำลังพลสำรอง อาสาสมัคร แบบเต็มเวลา “Enlisted Man” (อัตรา ร.ท.) • แบบเต็มเวลา • แบบไม่เต็มเวลา กำลังพลสำรอง อาสาสมัคร แบบเต็มเวลา “Contract Army” (อัตรา ร.ท.) (อัตรา จ.ส.อ.และ ส.อ.)
จบการบรรยาย สวัสดี