1.09k likes | 1.5k Views
วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหา ของสังคมมนุษย์. สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ 28 พฤศจิกายน 2552.
E N D
วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหาของสังคมมนุษย์วิชาเศรษฐศาสตร์กับการเข้าใจปัญหาของสังคมมนุษย์ สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ 28 พฤศจิกายน 2552 งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น
หัวข้อบรรยาย • พื้นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์ • การเติบโตทางเศรษฐกิจ • พื้นฐานเรื่องระบบตลาด • พรมแดนของเศรษฐศาสตร์ • การบริหารจัดการทรัพยากร: ที่ดินในศรีลังกา • แนะนำเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
1. พื้นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์
“โจทย์ใหญ่” ของเศรษฐศาสตร์ • มนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด • แต่ทรัพยากรมีจำกัด • ทุนธรรมชาติ (ที่ดิน ฯลฯ) • ทุนมนุษย์ (แรงงาน ปัญญา ฯลฯ) • ทุนเงินตรา • ทุนทางสังคม ฯลฯ • ควรใช้และจัดสรรทรัพยากรแต่ละชนิด “อย่างไร”? • เรามี “ทางเลือก” อะไรบ้าง?
สมมุติฐานเบื้องต้นของเศรษฐศาสตร์สมมุติฐานเบื้องต้นของเศรษฐศาสตร์ • คนเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” 100%? • คน “มีเหตุมีผล” 100%? • ถ้าสมมุติฐานเหล่านี้ไม่เป็นจริง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อาจอธิบาย “โลกแห่งความจริง” ไม่ได้ • บริบท และ เงื่อนไข เป็นสิ่งสำคัญ
เศรษฐศาสตร์ศึกษาโจทย์ในหลายระดับเศรษฐศาสตร์ศึกษาโจทย์ในหลายระดับ สิ่งแวดล้อม การเมือง สถาบัน พัฒนา โลก / ประเทศ ข้อมูล การเงิน อุตสาหกรรม เครือข่าย การคลัง องค์กร ชื่อเสียง สวัสดิการ ปัจเจก
คำถามใหญ่ของเศรษฐศาสตร์คำถามใหญ่ของเศรษฐศาสตร์ • ระบอบเศรษฐกิจควรผลิตสินค้าและบริการประเภทใดบ้าง? – เน้นการผลิตในภาคเกษตร หรืออุตสาหกรรม หรือบริการ หรือข้อมูล หรือ ฯลฯ? หรือควรเน้นกิจกรรมด้านกีฬา การพักผ่อน หรือที่อยู่อาศัย? • ระบอบเศรษฐกิจควรผลิตสินค้าและบริการอย่างไร? – ใช้แรงงานเป็นหลัก, ที่ดินเป็นหลัก, หรือทุนเป็นหลัก? ทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ? • ใครควรได้ใช้สินค้าและบริการที่ผลิต? – แบ่งให้ทุกคนได้เท่าๆ กัน? ให้คนรวยได้มากกว่า? ให้คนทำงานหนักได้มากกว่า?
Positive Statements: สามารถพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือเท็จได้ ด้วยการเช็คข้อมูลหรือค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม Normative Statements: เป็น “ความเห็น” หรือ “ความรู้สึกส่วนตัว” ที่พิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือเท็จไม่ได้ด้วยการค้นคว้าวิจัย Positive & normative economics องค์ความรู้จากเศรษฐศาสตร์แขนงใหม่ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ความสุข และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม กำลังช่วยขยับขยาย “ขอบเขต” ของสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ ศึกษา แปลง Normative เป็น Positive economics
“นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?“นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?
S0 S1 S2 D0 “นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?
S0 D2 D1 D0 “นักเศรษฐศาสตร์พูดอะไรก็ได้”?
บัญญัติพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์บัญญัติพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์
บัญญัติ #1: ภาวะได้อย่าง-เสียอย่าง • บัญญัติที่ 1: คนทุกคนเผชิญภาวะ “ได้อย่าง-เสียอย่าง” (tradeoffs) เสมอ • ประสิทธิภาพ vs. ความยุติธรรม - แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามสองคำนี้อย่างไรด้วย • เรียน vs. เล่น, บริโภค vs. ลงทุน • “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” (there is no free lunch)– เพราะอะไร?
บัญญัติ #2: ต้นทุนคือสิ่งที่เรายอมเสีย • บัญญัติที่ 2: ต้นทุนของอะไรก็ตามคือสิ่งที่คุณยอมเสียไปเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา • “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” (there is no free lunch) เพราะอย่างน้อยเราทุกคนก็มี “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (opportunity cost) • ตัวอย่างต้นทุนเช่น เวลา เงิน ความสุข ความสบาย ฯลฯ
บัญญัติ #3: คิดทีละหน่วย (margin) • บัญญัติที่ 3:คนที่มีเหตุมีผลคิดแบบ “เพิ่มทีละหน่วย” (margin) คือคำนึงถึงประโยชน์และต้นทุน “ที่เพิ่มขึ้น” ไม่ใช่ค่าเฉลี่ย • สมมติว่าต้นทุนในการบินของเครื่องบินขนาด 200 ที่นั่ง เท่ากับ $100,000 • ถ้าเที่ยวบินเหลือที่นั่ง 10 ที่ ผู้โดยสารอยากจ่ายแค่ $300 สายการบินควรขายให้หรือไม่?
บัญญัติ #4: คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ • บัญญัติที่ 4:คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ • “เช็คช่วยชาติ” • มาตรการภาษี • ซื้อ 2 แถม 1 • ราคาศูนย์บาท = “emotional hot button”
วิธีวิทยาของเศรษฐศาสตร์(economic methodology)
เศรษฐศาสตร์เล่าเรื่องด้วยแผนภาพเศรษฐศาสตร์เล่าเรื่องด้วยแผนภาพ สิ่งบันเทิง อาหาร ค่าใช้จ่ายในการบริโภค (บาท) O รายได้ต่อเดือน (บาท)
เศรษฐศาสตร์เล่าเรื่องด้วย Time Series พันล้าน บาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและอัตราการส่งออกของไทย ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, ธนาคารแห่งประเทศไทย
อัตราส่วนก็ใช้ “เล่าเรื่อง” ได้ อัตราส่วนการใช้เชื้อเพลิงต่อรายได้ต่อหัว ปี 2548 (จำนวนตันหรือเทียบเท่า ต่อรายได้ 1 USD) ที่มา:British Petroleum Statistical Review of World Energy 2006, World Bank
ข้อมูล cross-section “เล่าเรื่อง” ได้ดีกว่า ชั้นรายได้ของครัวเรือน (percentile) ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ
scale ของกราฟ มีผลทางจิตวิทยา การบริโภคอาหารต่อปี (ต่อคน) รายได้ของ ผู้บริโภค (บาท) ปริมาณที่ซื้อ ต่อปี (กิโลกรัม) ปริมาณที่ซื้อต่อปี (กิโลกรัม) 0 5,000 10,000 15,000 20,000 10 25 45 70 100 รายได้ของผู้บริโภคต่อปี (บาท) fig
scale ของกราฟ มีผลทางจิตวิทยา (ต่อ) รายได้ของ ผู้บริโภค (บาท) ปริมาณที่ซื้อ ต่อปี (กิโลกรัม) 0 5,000 10,000 15,000 20,000 10 25 45 70 100 ปริมาณที่ซื้อต่อปี (กิโลกรัม) การบริโภคอาหารต่อปี (ต่อคน) รายได้ของผู้บริโภคต่อปี (บาท) fig
เมื่อไหร่ที่ “ข่าวดี” เป็นข่าวดีจริงๆ? อัตราการว่างงาน (%) Unemployment fig 1989 1990 1991 1992
เมื่อไหร่ที่ “ข่าวดี” เป็นข่าวดีจริงๆ? (ต่อ) Rate of change in unemployment อัตราการว่างงาน (%) อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราการว่างงาน (%) Unemployment fig 1989 1990 1991 1992
มูลค่า = ปริมาณ x ราคา • การ “แยกส่วน” ตัวเลขต่างๆ ออกเป็นองค์ประกอบ จะทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่า ใครได้หรือเสียประโยชน์จากตัวเลขที่สูงขึ้นหรือลดลง • ยกตัวอย่างมูลค่าการส่งออกข้าวเปรียบเทียบ 2545 เทียบกับ 2548: • จะเห็นได้ว่ามูลค่าส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากราคาขายที่สูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่ (93%) มาจากปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นส่วนน้อย (7%) • เมื่อเทียบตัวเลขนี้กับราคาที่รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือก จะพบว่าคนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากมาตรการนี้คือพ่อค้าคนกลาง ไม่ใช่เกษตรกร มูลค่าส่งออกข้าว ส่วนต่างมูลค่าส่งออก พันล้านบาท 23 ส่วนต่างที่เกิดจากปริมาณข้าว 7% 93 70 ส่วนต่างที่เกิดจากราคาข้าว 93% ที่มา: กรมส่งเสริมการส่งออก
2. การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์โดยมากเชื่อว่า... • การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้เราผลิตทุกอย่างได้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภค • สินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้น มาตรฐานความเป็นอยู่ดีกว่าเดิม คุณภาพชีวิตดีขึ้น • เศรษฐกิจโต รัฐเก็บภาษีได้มาก โครงสร้างและสวัสดิการพื้นฐานดีขึ้น (ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ) • ความมั่งคั่งที่สร้างนั้นจะ “ไหลริน” ลงมาสู่คนจนโดยอัตโนมัติ เช่น ผ่านการจ้างงาน และเมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจากคนรวยได้มากขึ้น ก็จะช่วยคนจนได้มากขึ้น
“ต้นทุน” ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“ต้นทุน” ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างต้นทุนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ • คนรวยรวยขึ้น คนจนอาจจนลงหรือลำบากกว่าเดิม “รวยกระจุก จนกระจาย” • “ผลไหลริน” ในความเป็นจริงไม่ค่อยไหล • คอร์รัปชั่นบั่นทอนการกระจายรายได้และลดทอนคุณภาพของบริการภาครัฐ • องค์ประกอบของการเติบโตบางอย่างอาจไม่เป็นผลดีต่อประชาชน เช่น เพิ่มงบประมาณทางทหารเกินจำเป็น • องค์ประกอบ(composition) สำคัญกว่า ผลรวม(sum)
ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม
ค่าเสียโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจค่าเสียโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจ • เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด เราจึงมักจะต้องเลือกว่าจะเน้นการผลิตอะไรมากกว่ากัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ระหว่าง • สินค้าทุน (capital goods) กับ • สินค้าอุปโภคบริโภค (consumer goods) • การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวต้องอาศัยการลงทุนในสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร ถนนหนทาง ทรัพย์สินทางปัญญา อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็น “ปัจจัยการผลิต” ที่ผลิตสร้างการเติบโตในระยะยาว • แต่ก็ละเลยสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ได้ เพราะรวมปัจจัยสี่ + เครื่องอำนวยความสะดวก + ปรับปรุงคุณภาพชีวิต
ภาวะได้อย่าง-เสียอย่างของการเติบโตภาวะได้อย่าง-เสียอย่างของการเติบโต ค่าเสียโอกาสของสินค้าทุน K2-K1 = สินค้าอุปโภคบริโภค C1-C2 ที่ต้อง “เสียสละ” (ไม่ได้ผลิต) ปริมาณสินค้าทุน K2 ประโยชน์ K1 ต้นทุน ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1
การเติบโตและศักยภาพในการผลิตการเติบโตและศักยภาพในการผลิต เมื่อประเทศยังใช้ศักยภาพในการผลิตไม่เต็มที่ เศรษฐกิจจะขยายตัวจากจุด A ไป B ได้ ทั้งสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าทุน B K2 A K1 ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1
ในระยะยาว ต้องเพิ่มศักยภาพในการผลิต ปริมาณสินค้าทุน เมื่อประเทศผลิตเต็มศักยภาพแล้ว การเติบโตต้องอาศัยการเพิ่มศักยภาพ เช่น เพิ่มทรัพยากร (ค้นพบน้ำมัน, แรงงานต่างด้าว) หรือปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต (เทคโนโลยี, ปรับปรุงการศึกษา) B K2 A K1 ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1
การเพิ่มศักยภาพที่ดีระยะสั้นแต่อาจไม่ยั่งยืนการเพิ่มศักยภาพที่ดีระยะสั้นแต่อาจไม่ยั่งยืน ปริมาณสินค้าทุน การเพิ่มศักยภาพที่เอียงไปข้างสินค้าอุปโภคมากกว่าสินค้าทุน เช่น เงินลงทุนจากต่างชาติอาจเน้นผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อส่งออก ประเทศเติบโตในระยะสั้น แต่ยั่งยืนหรือเปล่า? (อย่าลืมว่าสินค้าทุนเสื่อมตามกาลเวลา) B A K2 K1 ปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภค C2 C1
วิวัฒนาการ (?) ของระบบเศรษฐกิจ ระดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ของประชาชน ทุนนิยมเสรีมีเพียงบางธุรกิจในบางประเทศ ในระดับโลกยังเป็นทุนนิยมสามานย์อยู่ “ทุนนิยมธรรมชาติ” “ทุนนิยมก้าวหน้า” ทุนนิยมเสรี (แนวคิด กระแสหลัก) ทุนนิยมผูกขาด/ ทุนนิยมสามานย์/ ทุนนิยมพวกพ้อง ทุนนิยมในไทยยังเป็น “ทุนนิยมสามานย์” อยู่ สาเหตุหลักๆ อาจเป็นเพราะ: • ธนกิจการเมืองยังเฟื่องฟู • โครงสร้างศักดินา/อำนาจนิยมยังอยู่ • กฎหมายป้องกันการผูกขาดไม่มีผล • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค สังคม ฯลฯ ยังใช้ไม่ได้จริง เศรษฐกิจผูกขาด โดยรัฐ ระดับความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจ
ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (1) มายาคติ ข้อเท็จจริง • เงินซื้อได้ทุกอย่าง • GDP วัด ‘สุขภาพสังคม’ ได้ • ประโยชน์จากทุนนิยมเสรี จะ ‘ไหล’ ลงมาสู่คนทุกระดับชั้นเอง โดยที่รัฐไม่ต้องแทรกแซงตลาด – “The rising tide lifts all boats” • รัฐไม่ควรแตะ “ส่วนเกิน” ของคนรวย เพราะส่วนเกินเหล่านั้นมาจากการทำงานหนักซึ่งก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นประโยชน์ • เงินซื้อความสุข, ความปลอดภัย, ฯลฯ ไม่ได้ ถ้ากลไกต่างๆ ไม่ทำงาน • Human Development Index (Amartya Sen) วัดระดับ ‘ความสุข’ ของประชาชนได้ดีกว่า GDP • ความมั่งคั่งของคนจำนวนมากมาจากมรดกหรือการเก็งกำไร ไม่ใช่การทำงานหนัก • “In the long run, we’re all dead”(John M. Keynes)
ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (2) มายาคติ ข้อเท็จจริง • ทุกภาคส่วนควรมุ่งเน้นการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเดียว • เนื่องจากระบบตลาดเป็นระบบที่ดีที่สุดในการสร้างประสิทธิภาพ รัฐจึงควรปล่อยให้ระบบตลาดทำงานด้วยตัวของมันเอง • ประสิทธิภาพอย่างเดียวอาจไม่ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม (หรืออย่างน้อยก็สังคมที่มีมนุษยธรรม) : สถานการณ์ที่มีเศรษฐีไม่กี่คนในขณะที่คนหลายล้านคนต้องอดอาหารตายอาจ “มีประสิทธิภาพสูงสุด” (Pareto optimal) แล้ว หากไม่มีทางที่จะช่วยให้ใครรอดชีวิตโดยไม่ทำให้เศรษฐีเสียประโยชน์ • มีแนวโน้มสูงที่จะเกิด “ทุนนิยมสามานย์” หากรัฐไม่ควบคุมตลาดอย่างแข็งขันและเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากภาคธุรกิจ
ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (3) มายาคติ ข้อเท็จจริง • สมองมนุษย์มีศักยภาพพอที่จะเข้าใจการทำงานของธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ • ธรรมชาติเปรียบเสมือนเป็น ‘เครื่องจักร’ ที่เดินอย่างเที่ยงตรงตามกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว • ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถเอาชนะและควบคุมธรรมชาติได้ • ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น โลกร้อน กำลังบ่อนทำลายโลก และชัดเจนว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ • กฎวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น Relativity, Uncertainty, Incompleteness พิสูจน์ชัดเจนว่า ความไม่แน่นอนและความไม่สัมบูรณ์เป็นสัจธรรมของโลก และพรมแดนความรู้ของมนุษย์แปลว่าไม่มีวัน ‘เอาชนะ’ ธรรมชาติได้
ปัญหาของสังคม:‘มายาคติ’ ที่ไม่เป็นจริง (4) มายาคติ ข้อเท็จจริง • ทุกบริษัทควรตั้งเป้าหมายที่“ผลตอบแทนสูงสุดต่อผู้ถือหุ้น” เพราะผู้ถือหุ้นย่อมคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอยู่แล้ว • ดังนั้น บริษัทที่มุ่งเน้นเป้าหมายนี้จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมโดยอัตโนมัติ • ปัญหาข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน (asymmetric information) ระหว่างผู้บริหารบริษัทกับผู้ถือหุ้น และระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค/สังคม ทำให้เกิดการหลอกลวงและฉ้อฉลง่ายและปกปิดง่ายด้วย • ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน • แนวโน้มที่จะได้กำไรสูงกว่าจากการเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้น เทียบกับเงินปันผลในระยะยาวทำให้ผู้ถือหุ้น ‘มักง่าย’ กว่าที่ควร • ผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สมัยใหม่ไม่กระจุกตัวเหมือนในอดีต – ‘ความเป็นเจ้าของ’ ลดลง