310 likes | 572 Views
วิชา 000 156 พหุวัฒนธรรม หน่วยที่ 9 การเรียนรู้วัฒนธรรมกับชีวิตโดยใช้โครงงาน ( Project - Based - Learning ) หัวข้อ 9.1 การเขียนรายงานโครงงาน จำนวนชั่วโมงเรียน 1.5 ชั่วโมง โดย รศ.สุภาพ ณ นคร ผู้รับผิดชอบวิชา 000156 พหุวัฒนธรรม.
E N D
วิชา 000 156 พหุวัฒนธรรมหน่วยที่ 9 การเรียนรู้วัฒนธรรมกับชีวิตโดยใช้โครงงาน(Project - Based - Learning)หัวข้อ 9.1 การเขียนรายงานโครงงาน จำนวนชั่วโมงเรียน 1.5 ชั่วโมงโดย รศ.สุภาพ ณ นครผู้รับผิดชอบวิชา 000156 พหุวัฒนธรรม
Project-based learning is a dynamic approach to teaching in which students explore real-world problems and challenges. With this type of active and engaged learning, students are inspired to obtain a deeper knowledge of the subjects they're studying. Project-Based Learning
1. โครงการหรือโครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบริบทจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2. การให้ผู้เรียนทำโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบเสาะ (process of inquiry) ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการคิดขั้นสูง 3. การจัดการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา 4.การแสดงผลงานต่อสาธารณชน สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียนได้ แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
5. การให้ผู้เรียนทำโครงงานสามารถช่วยดึงศักยภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ 6. ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนใจ 7. ผู้เรียนเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง 8. ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ ที่เป็นระบบ 9. หาคำตอบภายใต้คำแนะนำของครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ 10. สอนได้ทุกชั้น เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ ทั้งในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ของตนเองในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ 2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพลังความอยากรู้อยากเห็น 3. เพื่อให้ผู้เรียนตัดสินใจว่าจะทำอะไร กับใคร อย่างไร และเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่เขาต้องการค้นหาคำตอบ 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ผู้สอนบรรยายเกี่ยวกับหลักการเขียนรายงานโครงงาน 2. กลุ่มผู้เรียนนำเสนอโครงร่างของโครงงาน ครั้งที่ 1 (งานนี้กลุ่มผู้เรียนได้จัดทำแล้วในหน่วยที่ 3.2) 2. ผู้สอนเสนอแนะ เพื่อให้ได้โครงงานที่สมบูรณ์ 3. ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานโครงงานอย่างเป็นกระบวนการและมีระบบ โดยใช้เวลาทำงานนอกชั้นเรียนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 11-12) 4. ผู้เรียนเสนอผลการเรียนรู้ในรูปแบบ Power Point และ Video พร้อมส่งรายงานในวันนำเสนอผลงาน (สัปดาห์ที่ 13-14)
ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา ส่วนประกอบตอนท้าย ส่วนประกอบของรายงานโครงงาน
ส่วนประกอบตอนต้น - ปก - ใบรองปก - กิตติกรรมประกาศ - บทคัดย่อ - สารบัญ (สารบัญเนื้อหา สารภาพตาราง สารบัญภาพ) ส่วนประกอบของรายงานโครงงาน
ส่วนประกอบของรายงานโครงงานส่วนประกอบของรายงานโครงงาน • ส่วนเนื้อหา • - บทนำ • - บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • - บทที่ 3 วิธีดำเนินโครงดาร • - บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงการ • - บทที่ 5 การอภิปรายผลการดำเนินโครงการ • - บทที่ 6 สรุปผลและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ
ส่วนประกอบตอนท้าย - เอกสารอ้างอิง - หลักฐานประกอบอื่นๆ (เช่น ภาพกิจกรรมต่างๆ) ส่วนประกอบของรายงานโครงงาน
1. ปก ประกอบด้วย ชื่อโครงงาน ชื่อวิชา ชื่อคณะผู้ทำโครงงาน ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 2. ใบรองปก ประกอบด้วย ชื่อโครงงาน ชื่อวิชา หลักการเขียนรายงาน (ส่วนประกอบตอนต้น)
3. บทคัดย่อ หมายถึง ข้อความสรุปโครงงานทั้งเรื่อง ที่จะบอกว่า โครงงานเรื่องนี้ทำอะไร (What) ให้บอกชื่อเรื่องโครงงาน และเพราะเหตุใดจึงทำโครงงานเรื่องนี้ (Why) ให้บอกวัตถุประสงค์ มีวิธีการทำอย่างไร (How) ให้บอกวิธีการดำเนินงาน ได้ผลอย่างไร ให้เขียนสรุปผลการดำเนินงาน หลักการเขียนรายงาน
4. กิตติกรรมประกาศ หมายถึง ให้เขียนขอบคุณ โดยเฉพาะบุคคลที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำโครงงาน 5. สารบัญ หมายถึง ให้นำหัวข้อสำคัญ มาจัดเรียงลำดับในสารบัญเนื้อหา สารบัญตารางและสารบัญรูปภาพ หลักการเขียนรายงาน
บทที่ 1: บทนำ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ในการทำโครงงาน ขอบเขตของโครงงาน ซึ่งสามารถแยกเป็นขอบเขตด้านเนื้อหา ขอบเขตด้านสถานที่และขอบเขตด้านประชากร หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
บทที่ 1: บทนำ วิธีการเขียน บทนำ: ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน ในส่วนนี้มีเป้าหมายในการเขียนเพื่อสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาและแนวคิดทฤษฏีที่เชื่อถือได้ มีแหล่งอ้างอิงข้อมูลและแหล่งอ้างอิงข้อมูลให้ใช้ระบบ ชื่อ..., ปี พร้อมกันนั้นให้เขียนเพื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นโครงงานที่มีประโยชน์และคุ้มค่าในการทำโครงงานเรื่องนี้ หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
บทที่ 2: เอกสารและทฤษฏีพื้นฐานที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ในส่วนนี้คือการทบทวนเอกสาร (Review Literature) ซึ่งหมายถึงการรวบรวมข้อมูล หรือแนวคิด/ทฤษฎีพื้นฐานที่นำมาใช้ในการทำโครงงานและเอกสารทุกรายการ ใบบทนี้จะถูกนำไปเขียนไว้ในเอกสารอ้างอิง หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
บทที่ 3: วิธีดำเนินโครงงาน ในส่วนนี้ให้อธิบายถึงรูปแบบวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ให้ใส่รายละเอียด พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา และแผนการดำเนินโครงการ การประเมินผลโครงการ รวมทั้งจริยธรรมในการทำโครงงาน หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
บทที่ 4: ผลการดำเนินงาน ในส่วนนี้ให้อธิบายถึงผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ผลการดำเนินงานดังกล่าวต้องเป็นผลที่ได้จาการวิเคราะห์ เพื่อนำไปแปลผล สรุปผลและอภิปรายผล ซึ่งจะต้องเขียนในบทที่ 5 และบทที่ 6 หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
ทั้งนี้ ความเชื่อมโยง สรุปได้ ดังนี้ หลักการเขียนรายงาน วัตถุประสงค์ ของโครงการ เปรียบเทียบ สรุปผล ทฤษฎี อภิปราย • สอดคล้อง/ • ไม่สอดคล้อง • อย่างไร • เพราะอะไร ผลที่ได้จาก การวิเคราะห์ แปลผล ที่มา: ผศ.อัจฉรา ธรรมถาวร
บทที่ 5: การอภิปรายผลการดำเนินโครงงาน ในส่วนนี้ให้อธิบายเพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลสรุปที่ได้จากการดำเนินโครงงาน เปรียบเทียบกับแนวคิดทฤษฎีว่าสอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกันอย่างไร เพราะอะไร หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
บทที่ 6: สรุปผลและข้อเสนอแนะในการทำโครงงาน ในส่วนนี้ให้กลุ่มผู้ทำโครงงานร่วมกันมองหาภาพรวมของโครงงาน แล้วสรุปผลพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการทำโครงงาน หลักการเขียนรายงาน (ส่วนเนื้อหา)
เอกสารอ้างอิง หลักฐานประกอบอื่นๆ หลักการเขียนรายงาน (ส่วนประกอบตอนท้าย)
เอกสารอ้างอิง 1.1 บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์. ตัวอย่าง กิติกร มีทรัพย์. (2544). จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์. หลักการเขียนรายงาน (ส่วนประกอบตอนท้าย)
เอกสารอ้างอิง 1.2 บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อสกุล, / อักษรย่อชื่อต้น. / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์. ตัวอย่าง Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill. หลักการเขียนรายงาน (ส่วนประกอบตอนท้าย)
เอกสารอ้างอิง 1.3 บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ ชื่อมหาวิทยาลัย. ตัวอย่าง ภัคพร กอบพึ่งตน. (2540). การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หลักการเขียนรายงาน (ส่วนประกอบตอนท้าย)
เอกสารอ้างอิง 1.3 บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี). ตัวอย่าง พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546). หลักการเขียนรายงาน (ส่วนประกอบตอนท้าย)