210 likes | 826 Views
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 11 . รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รัฐประศาสนศาสตร์กับการปฏิรูประบบราชการ. แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูป.
E N D
33711ชุดวิชาแนวคิดทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์หน่วยที่ 11 รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รัฐประศาสนศาสตร์กับการปฏิรูประบบราชการ
แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูป • Cyert and March เห็นว่าการปฏิรูปเป็นผลที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจในเป้าหมายที่ชัดเจนในการที่จะเลือกทางเลือกต่าง ๆ จากทางเลือกหลาย ๆ ทางที่มีอยู่ โดยที่โครงสร้าง กระบวนการ และอุดมการณ์ (ideology) ขององค์การจะถูกออกแบบสร้างขึ้นมา เพื่อช่วยให้องค์การสามารถดำเนินงานได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
การปฏิรูประบบราชการ กับการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ การปฏิรูปการจัดการภาครัฐ เป็นการมุ่งแสวงหาทางเลือกที่เป็นแนวคิดการบริหารการจัดการใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือออกแบบวิธีการบริหารการจัดการใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งไปสู่การเพิ่มผลผลิตของการบริหารงานของรัฐให้สูงขึ้นและสามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้ดีขึ้น เช่น การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพิ่มมากขึ้น การมุ่งเน้นให้เป็นรัฐบาลที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ชุมชน และประชาชน การนำกลไกตลาดมาใช้ในการบริหารจัดการ เป็นต้น การปฏิรูประบบราชการ เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือออกแบบใหม่อย่างมีเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญต่อโครงสร้าง กลไก และกระบวนการทำงานในระบบราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานของระบบราชการ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก เช่น การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงและส่วนราชการต่าง ๆ การลดขั้นตอนการทำงาน การกระจายอำนาจ เป็นต้น
การปฏิรูประบบราชการ กับการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ
แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูป • ให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปทั้งในเรื่องโครงสร้าง กระบวนการ กลไก การจัดการ • เน้นการนำนำแนวคิดใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ • เน้นบูรณาการ เป็นสหวิทยาการ • มุ่งการเพิ่มผลผลิต • นำไปใช้ในขอบเขตที่กว้างและครอบคลุมทั้งระบบ • การปฏิรูปมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการจัดการภาครัฐปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ • ปัจจัยด้านความคิดของการปฏิรูป • ปัจจัยด้านการเมือง • ปัจจัยด้านการนำแนวคิดไปปฏิบัติ • ปัจจัยด้านการสนับสนุน/ต่อต้าน • ปัจจัยด้านองค์การที่รับผิดชอบการปฏิรูป • ปัจจัยด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป
Reinventing Government David Osborne &Ted Gaebler(1992) 1. ต้องการให้ระบบราชการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงมากกว่าให้ระบบราชการ ลงมือทำงานเอง(a catalytic government) 2. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ชุมชนเป็นเจ้าของมอบอำนาจ ให้กับประชาชนไปดำเนินการเอง(a community-owned government) 3. ต้องการให้ระบบราชการมีลักษณะของการแข่งขันการให้บริการ สาธารณะ (a competitive government) 4. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วยภารกิจมากกว่า ขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบ (a mission – driven government) 5. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ให้ความสำคัญต่อผลของการ ปฏิบัติงาน(a results-oriented government) มากกว่าสนใจถึง ปัจจัยนำเข้าและขั้นตอนการทำงาน
Reinventing Government David Osborne &Ted Gaebler(1992) 6. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่มุ่งสนองตอบต่อการเรียกร้องของ ลูกค้า (a customer-driven government) 7. ต้องการให้ระบบราชการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นแบบรัฐวิสาหกิจ มุ่งการแสวงหารายได้มากกว่าการใช้จ่าย (an enterprising government) 8. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่มีการเฝ้าระวังล่วงหน้า (an anticipatory government) 9. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่มีการกระจายอำนาจ โดยเน้นให้ ข้าราชการระดับปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (a decentralized government) 10. ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ปรับเปลี่ยนไปตามกลไกของ ตลาด (a market-oriented government)
แนวทางของการปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการจัดการภาครัฐแนวทางของการปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ • แนวทางการปฏิรูปที่เน้นโครงสร้างและการกระจายอำนาจ • แนวทางการปฏิรูปที่เน้นการลดบทบาทรัฐ • แนวทางการปฏิรูปที่เน้นระบบราชการทันสมัยหรือการฟื้นฟูระบบราชการ • แนวทางการปฏิรูปที่เน้นให้ความสำคัญต่อการทำงานของราชการ
แนวทางการปฏิรูปที่ให้ความสำคัญต่อโครงสร้างและการกระจายอำนาจแนวทางการปฏิรูปที่ให้ความสำคัญต่อโครงสร้างและการกระจายอำนาจ 1. การปรับภารกิจและโครงสร้าง - วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ โครงสร้าง 2. การกระจายอำนาจ - รัฐธรรมนูญ - พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจแก่องค์การปกครองท้องถิ่น 2542 3. การจัดองค์การแบบเครือข่าย - Community-owned Government - Citizen co-production 4. การจัดองค์การตามกลไกตลาด
แนวทางการปฏิรูปที่ให้ความสำคัญต่อการลดบทบาทรัฐ (State Disengagement) 1. การลดกฎระเบียบ (Deregulation) - Robert Merton - Michael Crozier : Bureaucratic Pathology ที่ระบบ ราชการชอบสร้างกฎระเบียบใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ไข กฎระเบียบเดิมที่ไม่ถูกปฏิบัติตาม 2. การลดจำนวนข้าราชการ (Civil Service Cutbacks) มุ่งไปสู่ Small Government - Early Retirement - Zero Growth - Contract-out - Broad Banding 3. Privatization
แนวทางการปฏิรูปที่เน้นระบบราชการทันสมัยหรือการฟื้นฟูระบบราชการ(MODERNIZATION / PUBLIC SERVICE RENEWAL) 1. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น - e-Government Paradigm (Alfred Tat-Kei Ho) 2. ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและผลสำเร็จของงาน - Result Based Management - Performance Agreement - Benchmarking 3. การปรับปรุงการให้บริการสาธารณะ - PSO (Thailand International Public Sector Standard Management System and Outcomes) 4. การจัดการกลยุทธ์ (Strategic Management) - SWOT - Balanced Scorecard
แนวทางการปฏิรูปที่ให้ความสำคัญต่อการทำงานของราชการแนวทางการปฏิรูปที่ให้ความสำคัญต่อการทำงานของราชการ 1. การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลของภาครัฐ - ลดคน - Open Recruitment - Competency 2. การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ - KPI 3. การเพิ่มอำนาจแก่ข้าราชการ - Empowerment 4. การกำหนดมาตรฐานจริยธรรม - Public Accountability ในรูปของ Code of Conduct
กรณีศึกษาการปฎิรูปในต่างประเทศกรณีศึกษาการปฎิรูปในต่างประเทศ • ฝรั่งเศส - กระจายอำนาจ - ลดบทบาทภาครัฐ - การจัดการตามสัญญา - การบริการสาธารณะ • สหรัฐอเมริกา - NPR(National Performance Review ได้รับอิทธิพล จาก Reinventing Government : - Balanced Scorecard Measure - Blair House Paper - Deliver Great Services - Foster Partnership and Community Solutions - Reinvent to get the Job Done with Cost Less
กรณีศึกษาการปฎิรูปในประเทศไทยกรณีศึกษาการปฎิรูปในประเทศไทย 1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ 2541 2. ให้ความสำคัญต่อการปรับลดกำลังคนภาครัฐ 3. นำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ 4. นำแนวคิดการบริหารราชการแบบบูรณาการมาใช้ 5. นำแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์มาใช้ 6. นำแนวคิด Result Based Management มาใช้ 7. นำแนวคิดเรื่อง Competency มาใช้ 8. นำแนวคิดเรื่อง Knowledge Management มาใช้ 9. นำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการภาครัฐมาใช้ (PMQA)