940 likes | 1.88k Views
พันธุศาสตร์ ( Genetic ). ครูจุมพล คำ รอต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี. เกรเกอร์ เมน เดล “บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์”. สาเหตุที่ “เมน เดล ” เลือกทดลองกับต้นถั่วลันเตา. 1. อายุสั้น , ปลูกง่าย , เจริญเติบโตเร็ว , มีหลายพันธุ์.
E N D
พันธุศาสตร์ (Genetic) ครูจุมพล คำรอต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี
เกรเกอร์ เมนเดล “บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์”
สาเหตุที่ “เมนเดล” เลือกทดลองกับต้นถั่วลันเตา 1.อายุสั้น , ปลูกง่าย , เจริญเติบโตเร็ว , มีหลายพันธุ์ 2.มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน 3.เป็นดอกสมบูรณ์เพศ(perfect flower) 4.สามารถควบคุมการผสมให้เป็นแบบ self-pollination หรือ cross-pollination ได้
เมนเดล สรุปว่า ลักษณะต่างๆของถั่วลันเตาถูกควบคุมด้วย “แฟคเตอร์”(factor)ซึ่งจะอยู่เป็นคู่ ลักษณะที่แสดงออกในรุ่น F1 จะเป็น “ลักษณะเด่น”(dominant trait) ลักษณะที่ไม่แสดงออกในรุ่น F1 จะเป็น “ลักษณะด้อย”(recessive trait) วิดีโอ
ต่อมาเปลี่ยนคำว่า “แฟคเตอร์” เป็นคำว่า “ยีน”(gene) ยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น เรียกว่า “ยีนเด่น”(dominant gene) เขียนแทนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น G แทนยีนที่ควบคุมฝักสีเขียว ยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย เรียกว่า “ยีนด้อย”(recessive gene) เขียนแทนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก เช่น g แทนยีนที่ควบคุมฝักสีเหลือง
การควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งมักมียีนควบคุมเป็นคู่ ซึ่งอยู่ตำแหน่งเดียวกันบนโครโมโซม เรียกว่า “ฮอมอโลกัสโครโมโซม”(homologous chromosome)
จีโนไทป์(Genotype) และฟีโนไทป์(Phynotype)
ฮอมอไซกัส โดมิแนนท์(Homozygousdominant)
ฮอมอไซกัส รีเซสสีพ(Homozygousrecessive)
การอธิบายอัตราส่วนฟีโนไทป์ในรุ่น F2 ของถั่วลันเตา (3:1) อธิบายโดยใช้ กฎของเมนเดล2 ข้อ กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยก (Law of segregation) กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ(Law of indepentassortment)
กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยก (Law of segregation) ยีนที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์ จะได้รับเพียงแอลลีลใดแอลลีลหนึ่ง
กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (Law of independent assortment) ยีนที่เป็นคู่กัน เมื่อแยกออกจากกันแล้ว จะจัดกลุ่มอย่างอิสระกับยีนอื่นซึ่งแยกออกจากคู่เช่นกันเพื่อเข้าไปยังเซลล์สืบพันธุ์
จากตาราง ใช้กฎข้อที่ 2 ของเมนเดลทำนายอัตราส่วนของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีกลุ่มของยีนต่างๆได้ เช่น จีโนไทป์ GgYy จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 4 ชนิด คือ GY , Gy, gY และ gy ในอัตราส่วน 1:1:1:1 เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ 4 ชนิดของทั้งพ่อและแม่มารวมกัน รุ่น F2 จึงมีฟีโนไทป์ในอัตราส่วน 9:3:3:1
1 ) ในการผสมถั่ว 2 ชนิด คือ ถั่วพันธุ์สูง ซึ่งเป็น dominant กับถั่วพันธุ์เตี้ย ซึ่งเป็น recessive ปรากฏว่าได้รุ่นลูก F1 เป็นสูง:เตี้ย = 1:1 genotype ของถั่วรุ่นพ่อแม่คือ 1.TT x tt 2.Tt x Tt 3.Tt x tt 4.TTx Tt
2 ) TTBbCcมี gamete กี่ชนิด 1.4 ชนิด 2.6 ชนิด 3.8 ชนิด 4.10 ชนิด
3 ) ในการผสมถั่วเมล็ดเรียบสีเหลืองพันธุ์แท้กับถั่วเมล็ดขรุขระสีเขียวพันธุ์แท้ (สีเหลืองและเมล็ดเรียบ เป็น dominant) ได้รุ่นลูก F1 มี genotype 1.YYRR 2.YyRR 3.Yyrr 4.YyRr
4 ) จากข้อ 3. phenotype ของรุ่นลูก F1 คือ 1.เมล็ดเรียบสีเขียว 2.เมล็ดเรียบสีเหลือง 3.เมล็ดขรุขระสีเหลือง 4.เมล็ดขรุขระสีเขียว
5 ) จากข้อ 4. ถ้านำรุ่นลูก F1 ทำ test cross จะได้อัตราส่วน phenotype ของลูกเท่าไร 1.เมล็ดเรียบสีเหลือง : เมล็ดเรียบสีเขียว : เมล็ดขรุขระสีเหลือง : เมล็ดขรุขระสีเขียว = 1:2:2:1 2.เมล็ดเรียบสีเหลือง : เมล็ดเรียบสีเขียว : เมล็ดขรุขระสีเหลือง : เมล็ดขรุขระสีเขียว = 1:1:1:1 3.เมล็ดเรียบสีเหลือง : เมล็ดเรียบสีเขียว : เมล็ดขรุขระสีเหลือง : เมล็ดขรุขระสีเขียว = 1:1:2:2 4.เมล็ดเรียบสีเหลือง : เมล็ดเรียบสีเขียว : เมล็ดขรุขระสีเหลือง : เมล็ดขรุขระสีเขียว = 2:1:1:2
6 ) ในการผสมต้นไม้ดอกสีแดง กับต้นไม้ดอกสีขาวปรากฏว่าได้ลูกเป็นดอกสีขมพูหมดแสดงว่า 1.การผสมนี้เป็น co-dominant 2.การผสมนี้เป็น complete dominant 3.การผสมนี้เป็น Incomplete dominant 4.การผสมนี้เป็น no dominant
7 ) พันทางตรงกับภาษาพันธุศาสตร์ว่า 1.genotype 2.Phenotype 3.Homozygote 4.heterozygote
8 ) ในการผสมแบบ test cross พ่อหรือแม่ต้องมี genotype เป็น 1.RRTT 2.Rrtt 3.RrTt 4.rrTT
9 ) ข้อใดเป็น homozygous ทั้งหมด 1.TTYy 2.TTRR 3.ttYy 4.ttRr
10 ) DNA นอกจากจะพบในนิวเคลียสแล้วยังพบได้ใน 1.mitochondria และ endoplasmic reticulum 2.mitochondria และ chloroplast 3.chloroplast และ endoplasmic reticulum 4.endoplasmic reticulum และ ribosome
โจทย์ กระต่ายขนสีดำเป็นลักษณะเด่น(B) ขนสีน้ำตาลเป็นลักษณะด้อย (b) และขนสั้นเป็นลักษณะเด่น (S) ขนยาวเป็นลักษณะด้อย (s) ในการผสมระหว่างกระต่ายฮอมอไซกัสขนยาวสีดำ และฮอมอไซกัสขนสั้นสีน้ำตาล 3.1 • จงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์ต่างๆ ในรุ่นF1 และอัตราส่วนของ • ฟีโนไทป์ต่างๆ ในรุ่น F2
การผสมเพื่อทดสอบ (test cross) การนำสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่น ไปผสมพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะด้อย ถ้ารุ่นลูกมีลักษณะเด่นทั้งหมด แสดงว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเป็น “ฮอมอไซกัส” แต่ถ้ารุ่นลูกมีลักษณะเด่น : ลักษณะด้อย เท่ากับ 1:1 แสดงว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเป็น “เฮเทอโรไซกัส”
ลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดลลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล การข่มไม่สมบูรณ์ หรือ เด่นไม่สมบูรณ์(incomplete dominance) ดอกลิ้นมังกร
ลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดลลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล การข่มร่วมกันหรือ เด่นร่วมกัน(co-dominance)
มัลติเปิลแอลลีล(multiple allele) ยีนที่มีมากกว่า 2แอลลีล ใน 1โลคัส เช่น หมู่เลือด ABO ประกอบด้วย แอลลีลIA , IB , i
พอลียีน(polygene) ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่(พอลียีน) เป็นลักษณะที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยและลดหลั่นกันไป ฟีโนไทป์จึงมีการกระจายอย่างต่อเนื่องหรือกระจายแบบโค้งปกติ
ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง(continuous variation) และ ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง(discontinuous variation)