200 likes | 670 Views
Anaphylaxis. สมพงษ์ ชลคีรี พบ. Anaphylaxis. ภาวะที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันและรุนแรง มีผลต่อการล้มเหลวระบบอวัยวะที่สำคัญได้ โอกาสเกิด ๑-๓ % ตลอดช่วงชีวิต อัตราตายประมาณ ๑ %. ปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้น. มีสิ่งกระต้นทำให้เกิด anaphylaxis มากมาย ที่พบบ่อย ๓ อันดับแรกคือ อาหาร
E N D
Anaphylaxis สมพงษ์ ชลคีรี พบ.
Anaphylaxis • ภาวะที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันและรุนแรง มีผลต่อการล้มเหลวระบบอวัยวะที่สำคัญได้ • โอกาสเกิด ๑-๓ % ตลอดช่วงชีวิต • อัตราตายประมาณ ๑ %
ปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้นปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้น • มีสิ่งกระต้นทำให้เกิด anaphylaxis มากมาย • ที่พบบ่อย ๓ อันดับแรกคือ • อาหาร • ยา • แมลงสัตว์กัดต่อย
อาการ • ผิวหนัง: ร้อนวูบวาบ คัน ร่วมกับผื่นลมพิษ • ทางเดินหายใจ: คัดจมูก จาม มีน้ำมูกน้ำตามาก ไอ เหนื่อย แน่นหน้าอก มีเสียงหวีด เสียงแหบ กลืนลำบาก ระบบการไหลเวียน: ใจสั่น เวียนศีรษะ เป็นลม • ระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องแบบบิด ๆ ท้องเดิน กลั้นอุจจาระไม่ได้
อาการแสดง • เยื่อบุปากจมูกและคอหอยบวม, หายใจเร็ว, เสียง Stridor, เสียงแหบ wheezing, • ผิวหนังมีผื่นลมพิษ หรือแดงร้อน • ชีพจรเร็วและเบา, ความดันโลหิตตก, จังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ • ซึมลง
อาการและอาการแสดง • ปรากฏอาการหลังสัมผัสหรือได้รับสารกระตุ้น ตั้งแต่ ๕ นาที ถึง หลายชั่วโมง • ความรุนแรงขึ้นกับ • ความไวต่อสารกระตุ้นของแต่ละคน • ปริมาณ, ช่องทางที่รับ และอัตราที่ได้รับสารกระตุ้น • ชนิดของอาการแพ้ • ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งกลับมีอาการรุนแรงขึ้นมาใหม่หลังจากรักษาดีขึ้นแล้วภายในเวลา ๑ - ๗๒ ชั่วโมง (Biphasic Anaphylaxis) • ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการรุนแรงต่อเนื่อง ตั้งแต่ ๕ – ๓๒ ชั่วโมงแม้ได้รับการรักษา (Protracted Anaphylaxis)
การวินิจฉัย • ใช้ประวัติอาการ และอาการแสดงในการวินิจฉัย • ตั้งแต่ ๒ ข้อ ของอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นหลังได้รับสารหรือสิ่งกระตุ้น • อาการทางผิวหนังหรือเยื่อบุ • อาการทางระบบทางเดินหายใจ • ความดันโลหิตต่ำ หรือลดลงมากกว่า ๓๐ % ของความดันพื้นฐาน • อาการของระบบทางเดินอาหาร
การดูแลรักษา • มาตรการทั่วไปเบื้องต้น • กำจัดสาร/สิ่งกระตุ้นออกจากร่างกาย • ลดอัตราการดูดซึมสารกระตุ้น เช่น รัดหรือขันชะเนาะ วางแขนขาต่ำ ๆ • นอนหงายราบ • เปิดทางเดินหายใจและ ให้ออกซิเจนเสริม • jaw-thrust, oropharyngeal airway, endotracheal intubate • เปิดเส้นขนาดใหญ่ ให้สารน้ำ : NSS ให้ Load ในกรณีที่ความดันตก • ติดตามสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการหายใจ) ทุก ๕ นาที
การดูแลรักษา • การรักษาเฉพาะ • Epinephrine (Adrenaline) • IM or Subcutaneous : 0.3-0.5 ml (0.01 ml/kg) ของ adrenaline 1:1,000 ทุก ๕-๑๕ นาที • IV : 10 ml ของ adrenaline 1:100,000 ช้า ๆ ใน ๑๐นาที ทุก ๕-๑๕ นาที • Antihistamine : • Chlopheniramine 10 mg IV • Ranitidine 50 mg IV • Steroid • Dexamenthasone 5-10 mg IV
การดูแลรักษา • ส่งต่อโดยรถพยาบาลฉุกเฉินทันที • จัดท่าหนอนหงายราบตลอดเวลาจนกว่าความดันโลหิตจะปกติและความรู้สึกตัวดี • ติดตามสัญญาณชีพ และประเมิน ABCs ขณะรอ และระหว่างส่งต่อ • กรณี Cardiopulmonary Arrest แนะนำให้ adrenaline ขนาดสูง และพยายาม CPR ให้นานที่สุด
การป้องกันและลดความเสี่ยงการป้องกันและลดความเสี่ยง • ซักประวัติการแพ้อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น • ต้องมีฉลากยาทุกครั้งที่จ่ายยา • ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ยากินมากกว่ายาฉีด • หลีกเลี่ยงการฉีดยาทางเส้นเลือดดำใหญ่ ให้ฉีดยาในส่วนปลายแขนขา • เตรียมอุปกรณ์สำหรับแก้ไข และรักษาให้พร้อม • ให้ผู้ป่วยพักรออย่างน้อย ๓๐ นาทีหลังจากฉีดยา
การป้องกันและลดความเสี่ยง (ต่อ) • การใช้ serum จากสัตว์ต้องทำ skin test ก่อน • หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่รู้ว่าแพ้ • ให้ผู้ป่วยถือบัตรซึ่งแสดงรายการสิ่งที่แพ้ • สอนให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงสูง ใช้และพกพา adrenaline pen • ส่งปรึกษาทำ skin test และ desensitization ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพ้พิษของแมลง
การเตรียมอุปกรณ์เพื่อแก้ไข anaphylaxis • เครื่องวัดความดันโลหิต และ หูฟัง • อุปกรณ์เปิดเส้น (สายรัดแขน เข็มขนาดใหญ่ IV set) • อุปกรณ์ให้ออกซิเจน • Oral airway • สารน้ำ 0.9% NSS • ยา Adrenaline 1:1,000 • ยาต้าน Histamine เช่น CPM, Ranitidine • ยาฉีด Steroid เช่น Dexamethasone • ยาเพิ่มความดัน เช่น Dopamine