740 likes | 1.94k Views
โรคนิวคาสเซิล และการ ควบคุมป้องกันโรค. จารุณี สาตรา นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตรวจสอบ ชีว วัตถุสำหรับสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298.
E N D
โรคนิวคาสเซิลและการควบคุมป้องกันโรคโรคนิวคาสเซิลและการควบคุมป้องกันโรค จารุณีสาตรา นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298
สาเหตุของโรคนิวคาสเซิลสาเหตุของโรคนิวคาสเซิล • เกิดจากเชื้อไวรัส avian paramyxovirus type 1 (APMV-1) • ตระกูลอาวัลลาไวรัส (Avulavirus) • ครอบครัวพารามิกโซไวริดี (Paramyxoviridae) ซึ่งมี 9 ซีโรไทป์ คือ APMV-1 ถึง APMV-9
ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • มีการตรวจพบเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิล(NDV) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 (1926) • โรคนิวคาสเซิลได้แพร่ระบาดไปหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย • ในหลายประเทศมีการใช้วัคซีนในการป้องกันโรค • แต่มีน้อยประเทศที่ผลิตไก่ในเชิงอุตสาหกรรม ได้แก่ ประเทศไทย บราซิล อเมริกา
ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • ความแตกต่างสเตรนของ NDV ทำให้พยาธิสภาพที่เกิดในไก่เปลี่ยนแปลงไป • จึงมีการจัดกลุ่มของเชื้อ NDV ตามที่ทำให้เกิดอาการในไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม (pathotypes) คือ 1. Viscerotropic velogenic 2. Neurotropic velogenic 3. Mesogenic 4. Lentogenic or respiratory 5. Asymtomatic enteric
ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) 1. Viscerotropicvelogenic: เป็นฟอร์มที่มีวิการรุนแรง มักพบวิการเลือดออกตามลำไส้ (haemorrhagic intestinal lesion) 2. Neurotropicvelogenic: เป็นฟอร์มที่มีอัตราการตายสูง มักตามด้วยอาการทางระบบหายใจและอาการทางประสาท 3. Mesogenic: เป็นฟอร์มที่มีอาการทางระบบหายใจ บางรายอาจมีอาการทางประสาท แต่มีอัตราการตายต่ำ 4. Lentogenic or respiratory: เป็นฟอร์มที่มีการติดเชื้อทางระบบหายใจ แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ 5. Asymtomatic enteric: เป็นฟอร์มที่มีการติดเชื้อทางระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่แสดงอาการ
ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • การจัดกลุ่ม Pathotypeไม่ได้ตัดกันชัดเจน ถึงแม้จะใช้การติดเชื้อในไก่ปลอดเชื้อโรคตามระบุ (SPF) แต่ก็ยังมีการข้ามกันอยู่ • อาจเกิดอาการในไก่ที่ให้ NDV สเตรนที่รุนแรงน้อย (mild strain) ถ้ามีการติดเชื้อร่วมกับเชื้อ (organisms) อื่น หรือมีการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อม • เชื้อ NDV สามารถติดคนได้ (human pathogen): มีรายงานว่ามีอาการ 1-2 วัน และหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ส่วนใหญ่พบว่าติดเชื้อทางตา โดยมีอาการตาแดง น้ำตาไหล ตาบวม ตาอักเสบ หรือมีเลือดออก(sub-conjunctivalhaemorrage) ถึงแม้ว่าอาการที่ตาอาจรุนแรงแต่มักจะไม่มีผลต่อ cornea
ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • การติดเชื้อแบบ generalised infection ในบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่น ปวดหัวและมีไข้ อาจมีหรือไม่มีอาการตาอักเสบ • มีหลักฐานว่าทั้งสเตรนของวัคซีนและสเตรนที่รุนแรงต่อไก่ อาจติดเชื้อและทำให้มีอาการในคน • ไม่มีหลักฐานว่ามีการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน
การควบคุมและป้องกันโรคนิวคาสเซิลการควบคุมและป้องกันโรคนิวคาสเซิล • 1. การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว • 2. การทำลายสัตว์ป่วย • 3. การควบคุมการเคลื่อนย้าย • 4. การควบคุมพาหะของโรค • 5. การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส • 6. การเลือกใช้วัคซีนที่เหมาะสม • 7. การตรวจติดตาม
เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรคเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค • การตรวจพิสูจน์เชื้อ ในหลายประเทศโรคนิวคาสเซิลต้องควบคุมโดยทางการ และเชื้อไวรัสมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายจากห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาระดับความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยและการแยกชนิดของเชื้อไวรัส Facility ที่กำหนดสำหรับระดับความปลอดภัยที่ใช้ ขึ้นกับผลการประเมินความเสี่ยง และข้อกำหนดโดย OIE Chapter 1.1.2 Biosafety and biosecurity in the veterinary microbiology laboratory and animal facilities.
เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค(ต่อ)เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค(ต่อ) 1.1 ตัวอย่างที่ใช้แยกเชื้อไวรัส การตรวจวินิจฉัยโรคนิวคาสเซิลจากฝูงสัตว์ปีกที่ป่วยรุนแรงและมีอัตราการตายสูงมักใช้การตรวจแยกเชื้อจากสัตว์ปีกที่ตายหรือฆ่าให้ตาย ตัวอย่างจากไก่ตาย ใช้ swab จากช่องคอ (oro-nasal swab) รวมทั้งเนื้อเยื่อจากปอด ไต ลำไส้ ม้าม สมอง ตับและหัวใจอาจเก็บรวมกันหรือแยกกัน แต่ตัวอย่างจากลำไส้มักเก็บแยกจากตัวอย่างอื่น ตัวอย่างจากไก่เป็น ควรทำ swab จากหลอดลม (tracheal swab) และจาก cloaca
การตรวจแยกเชื้อ • ใช้สำลีพันปลายไม้ป้ายที่โคนลิ้น (tracheal swab) หรือป้ายจากก้น (cloacal swab) หรืออุจจาระของไก่ที่มีชีวิต หรือจากการรวมเอาอุจจาระและอวัยวะต่างๆ ของไก่ที่ตาย • นำมาใส่ลงในสารละลายที่มีแอนติไบโอติก ได้ซัสเพนชั่นเพื่อนำไปฉีดเข้าไข่ไก่ฟัก อายุ 9-11 วัน แล้วบ่มในตู้ฟักไข่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 4-7 วัน • นำน้ำไข่ฟัก (allantoic fluid) ไปตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (HA test) แล้วตรวจความจำเพาะของเชื้อโดยใช้ซีรั่มต่อเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิล ( HI test)
การตรวจความรุนแรงของเชื้อการตรวจความรุนแรงของเชื้อ • สามารถตรวจความรุนแรงของเชื้อที่แยกได้ใหม่โดยการฉีดเข้าสมองลูกไก่ปลอดเชื้อโรคตามระบุ (SPF eggs) เพื่อหาค่า ICPIหรือตรวจทางเทคนิคโมเล็คคิวล่า เช่น พีซีอาร์(PCR) เชื้อพิษทับที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลสเตรนรุนแรง (virulent strain) ซึ่งแยกได้จากไก่ป่วยในประเทศไทย และผ่านเชื้อในไก่ SPF ตรวจหาค่า ICPI 2 ครั้ง ได้เท่ากับ1.86และ1.875ตามลำดับ
วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นและชนิดเชื้อตาย แบ่งตามสเตรนของเชื้อไวรัสที่ใช้ผลิต Lentogenic strain: low virulence ; Hitchner-B1, La Sota, V4, NDW, B1B1, QV4, 12 และ F Mesogenic strain: moderate virulence ; Roakin, Mukteswar, Komrmarov, MP ข้อกำหนดของ EU วัคซีนชนิดเชื้อเป็นต้องมีค่า ICPI ≤ 0.4 วัคซีนชนิดเชื้อตายต้องมีค่า ICPI ≤ 0.7
ประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น สเตรนลาโซต้า ในลูกไก่ SPF อายุ 1 สัปดาห์Efficacy of live Newcastle disease vaccine, La-sota strain, in one day old SPF chicks จารุณีสาตรา1ฐิตวัฒน์จันทวร1 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 และ 5/54 ต่อเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง สเตรนลพบุรี (NDV1) และสเตรนบางเขน (NDV3)
อุปกรณ์และวิธีการ การทดสอบความคุ้มโรค (Potency test) ในแต่ละชุดการทดลอง แบ่งลูกไก่ SPF (White leg horn) อายุ 1 สัปดาห์ ออก เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Live Newcastle disease vaccine, La-sota strain กลุ่มที่ 2 จำนวน 10 ตัว ไม่ให้วัคซีนเป็นกลุ่มควบคุม
อุปกรณ์และวิธีการ (ต่อ) ให้วัคซีนโดยการหยอดตาตัวละประมาณ 30 ไมโครลิตร ให้เชื้อพิษทับด้วยไวรัส โรคนิวคาสเซิลสเตรนรุนแรง ในปริมาณ 10 4.5 LD50/ มล. โดยการฉีดเข้ากล้าม ตัวละ 1 มล. กลุ่มที่ 1 และ 2 หลังให้วัคซีน 14 วัน สังเกตอาการหลังฉีดพิษทับ 14 วัน เจาะเลือดก่อนให้วัคซีน ก่อนให้เชื้อพิษทับ และหลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน เพื่อนำไปตรวจวัด HI titer เมื่อครบ 14 วัน ปลดไก่ทุกตัว และผ่าซากเพื่อตรวจดูวิการ
ตารางที่ 1ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV1) ในไก่ SPF
ตารางที่ 2ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น สเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง(NDV3) ในไก่ SPF
ตารางที่ 3ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่ฟาร์ม (Lohmann breed)
สรุปและวิจารณ์ ➨วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 และ 10/54 สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ SPF ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV1) 100% และ 95% ตามลำดับ ➨ วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 และ 5/54 สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ SPF ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) 90% และ 100% ตามลำดับ ➨ดังนั้นวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดย กรมปศุสัตว์ สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ SPF ตามมาตรฐาน OIE และ ASEAN กำหนด
สรุปและวิจารณ์ ➨วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 เมื่อให้วัคซีนโดยการหยอดตา 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ฟาร์ม (Lohmann breed) ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) 70% และ80% ตามลำดับ
ประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนต่างๆ ต่อเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงในไก่กระทงEfficacy of various vaccination programs against virulent Newcastle disease virus in broiler chickens จารุณีสาตรา1ฐิตวัฒน์จันทวร1 สวนีย์ ตระการรังสี 1 วิลาสินี ท้าวเพชร 1 Macelo T Paniago2 1 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298, jaruneesatra@hotmail.com 2 CEVA Animal Health Asia Pacific
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ โปรแกรมวัคซีนต่างๆ ต่อเชื้อไวรัสโรค นิวคาสเซิลที่รุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันจากแม่
การทดลอง ใช้ไก่กระทงสายพันธุ์ Lohmann อายุ 1 วัน จำนวน 140 ตัว แบ่งไก่ออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม A, B, C, D, E, F และ G กลุ่มละ 20 ตัว กลุ่ม H เป็นไก่ SPF อายุ 1 วัน จำนวน 10 ตัว
การทดลอง กลุ่ม A ให้ CEVAC Broiler ND K SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วัน กลุ่ม B ให้ CEVAC Broiler ND K SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วันแล้วให้ B1 (oral) ที่อายุ 10 วัน กลุ่ม C ให้ CEVAC Broiler ND K SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วันแล้วให้ Lasota (oral) ที่อายุ 10 วัน
การทดลอง (ต่อ) กลุ่ม D ให้ Vectormune HVT-NDV (SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วัน กลุ่ม E ให้ Vectormune HVT-NDV (SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วัน แล้วให้ B1 (oral) ที่อายุ 10 วัน กลุ่ม F ไม่ให้วัคซีน และไม่ให้เชื้อพิษทับ (Broiler Negative Control)
การทดลอง (ต่อ) กลุ่ม G ไม่ให้วัคซีน แต่ให้เชื้อพิษทับ (Broiler Positive Control) กลุ่ม H ไม่ให้วัคซีน แต่ให้เชื้อพิษทับ (SPF-Positive Control)
ตารางที่ 1ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)
ตารางที่ 2ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)
ตารางที่ 3ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)
ตารางที่ 4ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)
สรุปและวิจารณ์ ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ให้ความคุ้มโรค 70% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ B1 (oral ) ให้ความคุ้มโรค 100% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ Lasota (oral ) ให้ความคุ้มโรค 95% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Vector HVT-NDV + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ให้ความคุ้มโรค 100% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Vector HVT-NDV + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ B1 (oral ) ให้ความคุ้มโรค 100%
สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨ ที่อายุ 20 วัน ภูมิคุ้มกันจากแม่ลดต่ำมากและไม่ให้ความ คุ้มโรคต่อเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ B1 (oral ) หรือ Lasota ที่ Day 10 ก็ให้ ความคุ้มโรคต่อเชื้อ NDV3 ได้ดี (95-100%) ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Vector HVT-NDV + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 หรือใช้ร่วมกับ B1 ที่ Day 10 ให้ความคุ้มโรคต่อเชื้อ NDV3 ได้ 100%
ประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด ในลูกไก่ SPF อายุ 1 วันEfficacy of three types of live Newcastle disease vaccine in one day old SPF chicks จารุณีสาตราฐิตวัฒน์จันทวร กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด คือ • ชนิดแช่แข็ง(frozen) สเตรน QV4 • ชนิดดูดแห้ง(freeze dried) สเตรน La Sota • ชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลสเตรน B1B1 และหลอดลมอักเสบติดต่อ(combined ND+IB)
อุปกรณ์และวิธีการ การทดสอบความคุ้มโรค (Potency test) แบ่งลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน ออก เป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Frozen, QV4 strain กลุ่มที่ 2 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Freeze dried, La Sota strain กลุ่มที่ 3 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Combined ND+IB, B1B1 strain กลุ่มที่ 4 จำนวน 10 ตัว ไม่ให้วัคซีนเป็น Control group 1 กลุ่มที่ 5 จำนวน 10 ตัว ไม่ให้วัคซีนเป็น Control group 2
อุปกรณ์และวิธีการ (ต่อ) ให้วัคซีนโดยการหยอดตาตัวละประมาณ 30 ไมโครลิตร ให้เชื้อพิษทับด้วยไวรัส โรคนิวคาสเซิลสเตรนรุนแรง ในปริมาณ 10 4.5 LD50/ มล. โดยการฉีดเข้ากล้าม ตัวละ 1 มล. กลุ่มที่ 1, 2 และ 4 หลังให้วัคซีน 14 วัน กลุ่มที่ 3 และ 5 หลังให้วัคซีน 21 วัน สังเกตอาการหลังฉีดพิษทับ 14 วัน เจาะเลือดก่อนให้วัคซีน ก่อนให้เชื้อพิษทับ และหลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน เพื่อนำไปตรวจวัด HI titer เมื่อครบ 14 วัน ปลดไก่ทุกตัว และผ่าซากเพื่อตรวจดูวิการ
ตารางที่ 1ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด โดยการตรวจหาปริมาณไวรัสในวัคซีนและทดสอบความคุ้มโรคต่อเชื้อพิษทับไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงในลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน
รูปที่ 1 ค่าเฉลี่ยระดับแอนติบอดีในซีรั่ม (Geometric Mean HI titer) ในไก่แต่ละกลุ่ม ที่ให้วัคซีนชนิดแช่แข็งสเตรน QV4 (Frozen) ชนิดดูดแห้งสเตรน La Sota (Freeze deied) และชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลสเตรน B1B1 และหลอดลมอักเสบติดต่อ (Combined ND+IB)ทั้งก่อนให้วัคซีน(Pre-vaccinated) ก่อนให้เชื้อพิษทับ (Pre-challenge) และหลังให้เชื้อพิษทับ (Post-challenge)
สรุปและวิจารณ์ ➨วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นทั้ง 3 ชนิด สามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีในซีรั่มก่อนให้เชื้อพิษทับ ดังนี้ • วัคซีนชนิดแช่แข็งสเตรนQV4, GMHI titer = 30.91±1.35 • วัคซีนชนิดดูดแห้งสเตรน La Sota, GMHI titer = 118.60±1.32 • ชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลและหลอดลมอักเสบติดต่อสเตรนB1B1 GMHI titer = 64.00±1.05 ➨ดังนั้นวัคซีนชนิดดูดแห้งสเตรน La Sota สามารถกระตุ้น HI titer ได้สูงสุด
สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨ ไก่กลุ่มที่ 1 และ 3 ซึ่งได้รับวัคซีนชนิดแช่แข็งสเตรน QV4 และชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลสเตรนB1B1 และหลอดลมอักเสบติดต่อ มีค่าเฉลี่ย HI titer หลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน เท่ากับ 92.41±0.84 และ 330.84±1.21 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย HI titer ก่อนให้เชื้อพิษทับ แสดงว่าเชื้อไวรัสพิษทับสามารถเข้าไปร่างกายไก่ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด(HIR) ให้สูงขึ้น
สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨ ในขณะที่ไก่กลุ่มที่ 2 ซึ่งได้รับวัคซีนชนิดดูดแห้ง สเตรน La Sotaมีค่าเฉลี่ย HI titer หลังให้เชื้อพิษทับเท่ากับ 118.60±1.49ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ย HI titer ก่อนให้เชื้อพิษทับแสดงว่าอาจเนื่องจากเชื้อไวรัสพิษทับไม่สามารถเข้าไปในร่างกายไก่เพื่อกระตุ้น HIR ดังนั้นวัคซีนดูดแห้งชนิดเดี่ยวสเตรน La Sota จึงเป็นวัคซีนที่ต้านเชื้อพิษทับได้ดีที่สุด
สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨การทดลองใช้ไก่ SPF ซึ่งเป็นไก่ที่ไม่มีภูมิต้านทาน ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลในการทดสอบคุณภาพวัคซีน แต่เมื่อนำวัคซีนออกไปใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นไก่ ที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อนหรือเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิด จากการติดเชื้อตามธรรมชาติ อาจทำให้มีแอนติบอดีไปฆ่าฤทธิ์(neutralized)ไวรัสในวัคซีนบางส่วนได้ จึงควรทำการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นในไก่ฟาร์มและไก่พื้นบ้านด้วย
ศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัย ความคุ้มโรคแรกเริ่ม และระดับความคุ้มโรค ของวัคซีนนิวคาสเซิลสเตรนไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ 3 สเตรนComparison of safety, onset and level of protection afforded by three apathogenic enteric vaccine strains against Newcastle disease จารุณีสาตรา1ฐิตวัฒน์จันทวร1 สวนีย์ ตระการรังสี 1MACELO T PANIAGO 2 1 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298, JARUNEESATRA@HOTMAIL.COM 2 CEVA ANIMAL HEALTH ASIA PACIFIC
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความคุ้มโรคแรกเริ่มและระดับความคุ้มโรค ที่ถูกกระตุ้นโดยวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 สเตรน ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ คือ • สเตรน PHY.LMV.42 • สเตรน VG/GA • สเตรน Ulster 2C
การทดลอง ใช้ไก่ SPF อายุ 1 วัน จำนวน 210 ตัว แบ่งไก่ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม A ให้วัคซีน สเตรน PHY.LMV.42 กลุ่ม B ให้วัคซีน สเตรน VG/GA กลุ่ม C ให้วัคซีน สเตรน Ulster 2C กลุ่ม D ไม่ให้วัคซีน เป็นกลุ่มควบคุม
การทดลอง (ต่อ) แต่ละกลุ่ม แยกออกเป็น 3 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยที่ 1 ให้เชื้อพิษทับหลังให้วัคซีน 3 วัน กลุ่มย่อยที่ 2 ให้เชื้อพิษทับหลังให้วัคซีน 7 วัน กลุ่มย่อยที่ 3 ให้เชื้อพิษทับหลังให้วัคซีน 10 วัน สังเกตและบันทึก อาการ การตายของไก่ทดลอง นาน 14 วัน
การทดลอง (ต่อ) สุ่มเจาะเลือดไก่เมื่ออายุ 1 วัน หลังให้วัคซีน 3 วัน, 7 วัน และ 10 วัน และหลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน แล้วนำไปตรวจทางซีรั่มวิทยาเพื่อหาค่า HI titer และ ELISA titer
ตารางที่ 1ผลการทดสอบความคุ้มโรคแรกเริ่ม ของวัคซีนนิวคาสเซิลสเตรนไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ 3 สเตรน ต่อเชื้อพิษทับไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง ในลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน