1 / 27

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ มังสิงห์ จารุวรรณ มณฑิราช 26 ตุลาคม 2555

การศึกษา ความต้องการทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ และการ สื่อสารของผู้สูงอายุ ใน เขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร An Empirical Investigation of Needs for Information and Communication Technology of Senior Citizens in Bangkok Area. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ มังสิงห์ จารุวรรณ มณฑิราช

aren
Download Presentation

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ มังสิงห์ จารุวรรณ มณฑิราช 26 ตุลาคม 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครAn Empirical Investigation of Needs for Information and Communication Technology of Senior Citizens in Bangkok Area ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ มังสิงห์ จารุวรรณ มณฑิราช 26 ตุลาคม 2555

  2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่มาและความสำคัญของปัญหา • โครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องโดยเป็นผลมาจากการเกิดที่ลดลง • ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขี้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4 และพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มมากขึ้นจนเกือบจะเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรวัยเด็กคือ ร้อยละ 47.7 • ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี 2548

  3. ที่มาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) • แม้ประชากรผู้สูงอายุในประเทศจะเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนผู้สูงอายุที่มีการใช้หรือเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังน้อยอยู่มาก • ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาความต้องการ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปโดยเริ่มทำการศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

  4. สนองตอบยุทธศาสตร์ที่ 3 (แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสิ่อสาร ฉบับที่ 2) ของกระทรวง ICT กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการสร้างนโนบาย เพื่อส่งเสรืมและผลักดันโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก่ประชาชน ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน สตรี พระภิกษู - สามเณร ผู้พิการ และรวมถีงกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ

  5. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษาความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร • เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารของประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร • เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอาชีพกับความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุ

  6. ขอบเขตของการวิจัย ศึกษาความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึง เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารของประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานกับความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  7. สมมติฐานของงานวิจัย • ผู้สูงอายุต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือทางด้านสุขภาพ • ผู้สูงอายุต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • ผู้สูงอายุต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเข้าใช้งานให้ • ผู้สูงอายุต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมลํ้าในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้ข้อมูลความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการคิด วิเคราะห์ พิจารณาวางกรอบแนวทางเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงสร้าง กลไก หรือแผนงานโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริม อำนวยความสะดวก และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรผู้สูงอายุในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • หน่วยงานต่างๆ สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาการบริการและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย

  9. รูปแบบการวิจัย • ใช้วิธีการสำรวจ (Survey) • การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) • ประชากรที่ทำการศึกษาได้แก่ ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 692,654 คน (ข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ.2553) • กลุ่มตัวอย่างขนาด 120 (คำนวณโดยใช้สูตร Taro Yamane)

  10. เครื่องมือการวิจัย: แบบสอบถาม (Questionnaire) • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม • ส่วนที่ 2 ข้อคำาถามเกี่ยวกับการมีและการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • ส่วนที่ 3 ข้อคำถามเกี่ยวกับความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลักษณะการตอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) • ส่วนที่ 4 ข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า • ส่วนที่ 5 ข้อคำถามปลายเปิด

  11. การรวบรวมข้อมูล • ผู้วิจัยทำการแจกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานครด้วยตนเอง และจัดส่งแบบสอบถามเพื่อขอความอนุเคราะห์ไปยังหน่วยงานต่างๆ ในการแจกและรวบรวมแบบสอบถามหน่วยงานที่ได้จัดส่งแบบสอบถามไปให้ ได้แก่ • ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ที่ได้กระจายติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร • ชมรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้สูงวัย (OPPY Club) • สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

  12. กราฟแสดงข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม (จำนวน 120 คน)

  13. กราฟแสดงข้อมูลพิ้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม(ต่อ) (จำนวน 120 คน)

  14. กราฟแสดงด้านการมีและการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกราฟแสดงด้านการมีและการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  15. กราฟแสดงด้านการมีและการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ต่อ)

  16. กราฟแสดงด้านการมีและการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ต่อ)

  17. ด้านความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยรวมที่ 2.99 • เมื่อพิจารณาความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับที่สูง จำานวน 3 ด้าน

  18. ด้านปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • จากการศึกษาด้านปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญ หาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 2.94) • เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับสูง คือ การขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้งาน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.74 รองลงมาเป็นปัญหาอุปสรรคในระดับปานกลาง คือ การใช้งานมีความยุ่งยากซับซ้อน (มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.46)

  19. การทดสอบการแจกแจงแบบไคสแควร์ (Chi-Square) ของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ จากการทดสอบแบบไคสแควร์ระหว่างลักษณะอาชีพในปัจจุบันกับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือทางด้านสุขภาพ พบว่า ลักษณะอาชีพในปัจจุบันส่งผลต่อความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือทางด้านสุขภาพ โดยมีค่าความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .002

  20. การทดสอบการแจกแจงแบบไคสแควร์ (Chi-Square)ของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ (ต่อ) จากการทดสอบแบบไคสแควร์ระหว่างอายุกับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า อายุส่งผลต่อความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีค่าความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003

  21. การทดสอบการแจกแจงแบบไคสแควร์ (Chi-Square) ของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ (ต่อ) จากการทดสอบแบบไคสแควร์ระหว่างอายุกับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า อายุส่งผลต่อความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโยโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีค่าความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .029

  22. สรุปผลการศึกษา • กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นรายด้าน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับสูง จำานวน 3 ด้าน ได้แก่ (1) มีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2) มีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเข้าใช้งานให้ (3) มีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT

  23. สรุปผลการศึกษา (ต่อ) จากการศึกษาด้านปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่อยู่ในระดับสูง คือ การขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้งานรองลงมาเป็นปัญหาอุปสรรคในระดับปานกลาง คือ การใช้งานมีความยุ่งยากซับซ้อน

  24. สรุปผลการศึกษา (ต่อ) จากการศึกษาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันของผู้ตอบแบบสอบถามด้วยไควสแควร์พบว่า • ปัจจัยพื้นฐานทางด้านลักษณะอาชีพมีความสัมพันธ์กับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ • ปัจจัยพื้นฐานทางด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผุ้สูงอายุ • ปัจจัยพื้นฐานทางด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุ

  25. ผลจากการทดสอบสมมุฐาน • สมมุติฐานที่ 1 ผู้สูงอายุต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือทางด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือทางด้านสุขภาพ ในระดับปานกลาง ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ซึ่งถือว่าเป็นระดับความต้องการปานกลางที่ค่อนข้างไปทางสูง • สมมุติฐานที่ 2 ผู้สูงอายุต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำาคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำาคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับสูง ที่ค่าเฉลี่ยรวม

  26. ผลจากการทดสอบสมมุฐาน (ต่อ) • สมมุติฐานที่ 3 ผู้สูงอายุต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเข้าใช้งานให้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเข้าใช้งานให้ ในระดับสูง ที่ค่าเฉลี่ยรวม 3.93 • สมมุติฐานที่ 4 ผู้สูงอายุต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับสูง ที่ค่าเฉลี่ยรวม 4.03

  27. Q&A

More Related