1 / 28

การควบคุมคุณภาพเชิงรวม Total Quality Control ( TQC )

การควบคุมคุณภาพเชิงรวม Total Quality Control ( TQC ). วิจิตรา โคตรบัญชา. มารู้จักกับ TQC. ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร TQC คือกิจกรรมที่พนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกหน่วยงานทําหรือ ร่วมกันทําเป็นประจํา เพื่อปรับปรุงงานอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง

jacoba
Download Presentation

การควบคุมคุณภาพเชิงรวม Total Quality Control ( TQC )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การควบคุมคุณภาพเชิงรวมTotal Quality Control(TQC) วิจิตรา โคตรบัญชา

  2. มารู้จักกับ TQC • ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร • TQC คือกิจกรรมที่พนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกหน่วยงานทําหรือ ร่วมกันทําเป็นประจํา เพื่อปรับปรุงงานอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง โดยทํ าอย่างมีระบบ ทําอย่างเชิงวิชาการ อิงข้อมูล และมีหลักการที่สมเหตุ สมผล เพื่อจุดมุ่งหมายที่ทํ าให้ลูกค้าพึงพอใจในคุณภาพสินค้าและบริการ • T = TOTAL หมายถึง ทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงาน และทุกวัน • Q = QUALITYหมายถึง คุณภาพสินค้า คุณภาพบริการ และคุณภาพ ของงานประจํ าวันทุกชนิด (DAILY WORK)

  3. QUALITY ตามความหมาย TQC มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ 1. คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ และคุณภาพของงานระหว่างทำ 2. ต้นทุน (Cost = C) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงาน ซึ่งจะมีผลต่อราคาสินค้า และบริการนั้น 3. การส่งมอบ (Delivery = D) หมายถึง การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง ไปในสถานที่ที่ถูกต้อง และตรงตามเวลาที่นัดหมาย 4. ความปลอดภัย (Safety=S) ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ 5. ขวัญของพนักงาน (Morale = M) หมายถึง การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีความเชื่อว่าขวัญและกำลังใจของพนักงานมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน และการปรับปรุงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

  4. ความหมายของ TQC ในมุมมองต่างๆ (ต่อ) • ดร. เฟเกนบาม ( Dr. Feigenbaum ) กล่าวไว้ว่า TQC คือ ระบบหรือวิธีการที่รวบรวมความพยายามของกลุ่มต่างๆในองค์กร ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในอันที่จะให้การผลิตและการบริการอย่างประหยัดที่สุด โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าอย่างรอบคอบ • ดร. จูแรน ( Dr. Juran ) ผู้ศึกษาและพัฒนา TQC อีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า TQC เป็นกิจกรรมทุกกิจกรรมที่สมเหตุสมผล ที่ทำให้คุณภาพเป้าหมายสัมฤทธิ์ผล *

  5. ความหมายของ TQC ในมุมมองต่างๆ • อิชิโร มิยาอูชิ ( Ichiro Miyauchi ) ให้คำจำกัดความของ TQC คือ กิจกรรมที่จะสร้างระบบควบคุมคุณภาพเชิงรวมหรือที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการร่วมมือกันทั้งบริษัททำการพัฒนาผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่มีความเชื่อถือได้สูง เพื่อที่จะให้ผู้ใช้สินค้านั้นมีความพอใจในสินค้าในระยะยาว *

  6. ในอดีตผู้ผลิตสินค้าจะเน้นความพอใจของผู้ผลิตเป็นสำคัญ นั่นคือ ยึดถือคุณภาพของสินค้าตามที่ผู้ผลิตกำหนดเป็นมาตรฐานในการผลิตเท่านั้น

  7. ต่อมาในปัจจุบัน ความหมายตามแนวความคิดดั้งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปคำจำกัดความของคุณภาพคือ ความพอใจของผู้ใช้หรือคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน

  8. ความหมายของการควบคุมคุณภาพเชิงรวมความหมายของการควบคุมคุณภาพเชิงรวม มีความหมาย 3 ประการ 1. เป็นการรวมกิจกรรมทุกๆ อย่างในองค์กรเข้าด้วยกัน 2. เป็นการร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายในองค์กร 3. เป็นการร่วมมือกันของทุกคนในองค์กร *

  9. TQC วิวัฒนาการของการควบคุมคุณภาพ • TQC เป็นวิวัฒนาการอีกชั้นหนึ่งของการควบคุมคุณภาพ (QC) • เริ่มเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 • โดยที่ญี่ปุ่นได้แรงจูงใจมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา • เริ่มแรกนั้นเป็นการใช้ QC ในเชิงสถิติ SQC( StatisticalQualityControl ) แล้วก็เกิดกลุ่ม QCC( QualityControlCircle ) *

  10. จุดบกพร่องในกิจกรรม QC มีสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. คิดว่า เมื่อได้แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ QC แล้วก็ถือว่าการทำ QC นี้สมบูรณ์ 2. คิดว่า ตัวเองไม่จำเป็นต้องไปสนใจในเรื่อง QC มากนัก 3. คิดว่า บริษัทได้ทำกิจกรรม QC มาตั้งเกือบ 10 ปีถือว่าเพียงพอแล้ว 4. คิดว่าได้ส่งพนักงานบริษัทไปรับการอบรมเรื่อง QC ก็เป็นสิ่งเพียงพอแล้ว 5. คิดว่า ไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าและงานที่ทำก็ได้หากต้นทุนลดต่ำลง *

  11. หลักการของ TQC (ต่อ) TQC ได้วิวัฒนาการมาจาก QCC กิจกรรมกลุ่ม QCC เป็นพื้นฐานที่ค้ำจุน TQC ดังนั้น TQC จะต้องมีกิจกรรมกลุ่ม QCC อยู่ด้วยเสมอ โดยมีหลักการดังนี้ 1. เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ภายใต้ความสำนึกที่ว่ากิจการที่ทำอยู่ในองค์กรเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกิจการของตนเอง ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีหน้าที่พัฒนาปรับปรุงงานต่างๆ ภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ภายใต้การปฏิบัติงานที่มีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานอย่างเปิดเผย *

  12. 2. รับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยให้ความเคารพในความคิดเห็นของบุคคลอื่น พูดจาด้วยเหตุและผล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นหลัก ตัดเรื่องปัญหาภูมิหลังต่างๆ ของเพื่อนร่วมงานออกไป เสริมสร้างให้มีการแสดงออกอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดี และจะเป็นผลทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่น่าอยู่ น่าสนุกสนาน * . หลักการของ TQC

  13. ผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ (ต่อ) 1. ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน เสริมสร้างความเข้าใจให้พนักงาน รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ 2. ก่อให้เกิดความรู้ ความสามารถมากขึ้น 3. ทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น เป็นการแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ เป็นการยกระดับจิตใจของพนักงานก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงานของสำนักงาน 4. เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน 5. สามารถนำความรู้ในการสร้างคุณภาพมาใช้ประโยชน์ต่อตนเอง *

  14. ผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ 6. ทำให้ทุกคนมีความสบายใจในการทำงาน ไม่มีความขัดแย้งกันในการ ปฏิบัติงาน หันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษา 7. ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงาน 8. ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เข้าสู่คำว่า “คุณภาพ” อย่างแท้จริง 9. ลดความสูญเสียของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ 10. ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 11. ลดค่าใช้จ่ายการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ 12. ก่อให้เกิดระบบการควบคุมคุณภาพทั้งองค์กร สร้างความเจริญให้กับ องค์กรที่ตนเองปฏิบัติอยู่ *

  15. ขั้นตอนการปฏิบัติการสร้างกลุ่มสร้างคุณภาพขั้นตอนการปฏิบัติการสร้างกลุ่มสร้างคุณภาพ วัฏจักรของเดมิ่ง (Deming Cycle) คือ 1. การวางแผน ( plan : P ) 2. การปฏิบัติ ( do : D ) 3. การตรวจสอบ ( check :C ) 4. การปรับปรุงแก้ไข ( action : A ) *

  16. 1. ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มสร้างคุณภาพ กลุ่มสร้างคุณภาพจะเกิดขึ้นได้สิ่งสำคัญ คือ จะต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติกลุ่มสร้างคุณภาพ ด้วยการจัดอบรมปูพื้นความคิด พื้นฐานในหลักการปฏิบัติกลุ่มสร้างคุณภาพ และขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมการสร้างคุณภาพ ชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกลุ่มสร้างคุณภาพ *

  17. 2. ขั้นตอนการปฏิบัติในกลุ่มสร้างคุณภาพ • ขั้นวางแผน • ขั้นการปฏิบัติ • ขั้นการตรวจสอบ • ขั้นการปรับปรุง *

  18. ขั้นการวางแผน ก. ระบุถึงปัญหาต่างๆ ที่ต้องการปรับปรุง ข. เก็บรวบรวมข้อมูล ค. กำหนดหัวข้อและแสดงภาพของปัญหา ง. กำหนดเป้าหมายที่แน่นอน จ. เลือกวิธีการแก้ไขปรับปรุง *

  19. ขั้นการปฏิบัติ หลังจากได้ดำเนินการวางแผนขั้นต่าง ๆ แล้ว ในขั้นไปนี้จะเป็นขั้นของการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สาเหตุของแต่ละสาเหตุ *

  20. ขั้นการตรวจสอบ เมื่อทำในขั้นที่2 แล้ว จะต้องตรวจติดตามผลงานที่ปฏิบัติไปด้วย *

  21. ขั้นการปรับปรุง เป็นผลจากขั้นตอนการตรวจสอบจากที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 3 ที่ว่าถ้าได้ผลตามเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายก็ได้นำผลการปฏิบัติต่างๆ มาจัดทำเป็นมาตรฐาน และถ้าได้ผลต่ำกว่าเป้าหมายก็ให้รีบแก้ไขปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น แล้วจึงจัดทำเป็นมาตรฐานงานการปฏิบัติเพื่อเสนอรายงานผลงานให้กลุ่มอื่นได้ทราบต่อไป *

  22. ประโยชน์และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม TQC เมื่อมีการดำเนินกิจกรรม TQC กันแล้ว ก็จะเกิดผลที่ดีคือ ทำให้ 1. มีความสามารถในการค้นหาปัญหา 2. เห็นความสำคัญของการวางแผนงาน 3. เห็นความสำคัญของงานที่เป็นกระบวนการ 4. สามารถมุ่งสู่จุดหลักที่สำคัญได้ 5. พนักงานทุกคนรู้ซึ้งถึงความเป็นระบบ *

  23. ข้อควรคำนึงในการดำเนินกิจกรรมข้อควรคำนึงในการดำเนินกิจกรรม 1. กำหนดจุดยืนและแนวความคิดในเรื่องการทำกิจกรรม TQC 2. กำหนดแนวทางให้แน่ชัด 3. การดำเนินการไปทั้งโครงสร้างนั้นจำเป็นจะต้องจัดสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบที่ดี 4. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างแน่นอนและมีประสิทธิภาพ จำเป็น จะต้องให้การศึกษากับพนักงานทุกคนในเรื่องของความคิดเกี่ยวกับ TQC รวมทั้งเทคนิควิธีด้วย *

  24. ขั้นตอนการทำ TQC 1. จะต้องกำหนดระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน 2. ให้ทุกๆ ฝ่ายในบริษัททำความเข้าใจความคิด PDCA 3. ทำงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และทำให้พร้อมเพรียงทั้งบริษัท 4. ใช้เทคนิคทางสถิติ ( เครื่องมือ 7 อย่างของ QC ) ทั่วทั้งบริษัท 5. สร้างบริษัทให้มีระบบที่สามารถหาข้อบกพร่องได้อยู่เสมอ 6. พนักงานทุกคนในบริษัทจะต้องเข้าใจเรื่อง QCC ได้อย่างถูก 7. แม้จะอยู่ในบริษัทเดียวกันก็ตาม ให้คิดว่าผู้ที่ทำงานในขั้นตอนต่อไปคือลูกค้าที่ต้องให้ความสำคัญอย่างที่สุด *

  25. เทคนิคการวิเคราะห์ 7 อย่าง 1. ใบตรวจสอบ ( check sheet ) 2. ฮีสโตแกรม ( histogram ) 3. แผนภูมิพาเรโต ( Pareto diagram ) 4. ผังก้างปลา ( fish – bone diagram ) หรือผังเหตุและผล ( Cause – Effect diagram ) 5. กราฟ ( graph ) 6. แผนภูมิกระจาย ( scatter diagram ) 7. แผนภูมิควบคุม ( controlchart )

  26. ปัจจัยสำคัญในการบริหารงาน TQC • องค์กรมีนโยบายและเขียนเป็นนโยบายชัดเจน • มีอุดมการณ์ที่เน้นเรื่อง “คน” / ทํ าความเข้าใจอย่างชัดเจนในกลุ่ม พนักงานทุกระดับ • วางระบบบริหารคุณภาพทั้ง TOP-DOWN & BOTTOM-UP • เน้นการฝึกอบรม ให้ความรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง • TOP MGMT เป็นผู้นํ าในการปฏิวัติแนวความคิดใหม่ที่จะนํ าไปสู่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร • TQC ต้องทํ างานเป็นทีม ทํ าอย่างต่อเนื่อง

  27. อ้างอิงจาก • http://www.itech.lpru.ac.th/jakkit/iqm/4%E0%BE%D2%E0%C7%CD~1.PPT • http://www.isothai.com/Webboard/question.asp?QID=663

More Related