550 likes | 987 Views
บทที่ 2 พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม Biological Foundations of Behavior. : กลไกการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ด้วยกัน ได้แก่ 1) ระบบกล้ามเนื้อ 2) ระบบต่อม 3) ระบบประสาท. ระบบกล้ามเนื้อ ( Muscles). กล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ มี 3 ชนิด คือ
E N D
บทที่ 2พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม Biological Foundations of Behavior :กลไกการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3ระบบ ด้วยกัน ได้แก่ 1)ระบบกล้ามเนื้อ 2)ระบบต่อม 3)ระบบประสาท
ระบบกล้ามเนื้อ (Muscles) กล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ มี 3 ชนิด คือ • กล้ามเนื้อลาย(striated or skeletal muscles) • กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth or Unstriated muscles) • กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscles)
กล้ามเนื้อลาย(striated or skeletal muscles) ลักษณะลายๆ ประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อที่บางเป็นเส้นยาวๆ เป็นอิสระจากกัน มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ประมาณ 7,000 มัด ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทโซมาติกและสมอง ตามเจตนาของมนุษย์ มักอยู่ติดกับกระดูกทำหน้าที่ยืดและหดตัวขณะเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth or Unstriated muscles) ลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า หัวท้ายเล็กและเรียวป่องตรงกลาง มักอยู่อวัยวะภายในอันอ่อนนุ่ม เช่น มดลูก รังไข่ ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ
กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscles) คล้ายกล้ามเนื้อลายแต่ไม่แยกกันเป็นอิสระ อยู่เป็นมัดๆ อยู่บริเวณหัวใจเท่านั้น ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำหน้าที่ประสานการทำงานของหัวใจให้ทำงานมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบบต่อม(Gland Systems) มี 2จำพวก ใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ต่อมมีท่อ และ 2)ต่อมไร้ท่อ • ต่อมมีท่อ(Duct glands) ส่งสารเคมีที่ขับออกมา เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำย่อย
2. ต่อมไร้ท่อ(Ductless glands) มีบทบาทสำคัญในการคงสภาพความคงที่ของสิ่งแวดล้อมในร่างกาย สร้างสารเคมีชื่อว่า “ฮอร์โมน” จะถูกขับสู่สายเลือดหรือน้ำเหลืองโดยตรง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมไทมัส ต่อมเพศ เป็นต้น
หน้าที่ของต่อมไร้ท่อ • มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย • มีผลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพ • ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัติโนมัติอย่างเดียว
ต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญทางจิตวิทยาต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญทางจิตวิทยา คือ ต่อมใต้สมองต่อมหมวกไตต่อมเพศ มีความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะมีบทบาท ต่อพฤติกรรมเชิงปัญญา พฤติกรรมเชิงสังคมและ อารมณ์ รวมถึงบุคลิกภาพ
1.ต่อมไทรอยด์ • อยู่ตรงคอหอย แบ่งออกเป็น 2กลีบ ซ้าย/ขวา • ผลิตฮอร์โมน “ไทรอกซิน” (thyroxin)ทำหน้าที่ ในการควบคุมการเผาผลาญอาหารภายในร่างกาย • “ไทรอกซิน” มากเกินไป เรียก “Hyperthyroidism” : น้ำหนักลด เพลีย ใจสั่น การเผาผลาญในร่างกายเร็ว
ต่อมไทรอยด์(ต่อ) • “ไทรอกซิน” น้อยเกินไป เรียก “Hypothyroidism” :หัวใจเต้นช้า ต้านทานอากาศหนาวได้น้อย การเผาผลาญในร่างกายช้า • ต่อมไทรอยด์ จะต้องอาศัย “ธาตุไอโอดีน” ในการผลิตฮอร์โมน หากขาดไอโดดีนจะทำให้เป็น “คอหอยพอก” • นอกจากนั้น ยังผลิตฮอร์โมน“thyrocalcitonin” ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้ระดับแคลเซี่ยมในเลือดสูงเกินไป
2.ต่อมพาราไทรอยด์ • ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ 4 ต่อม อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ • ผลิตฮอร์โมนชื่อ “ พาราทรอโมน” ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมสารประกอบของแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสในเลือดให้ได้สัดส่วนกัน • “พาราทรอโมน” มากเกินไป เรียก “Hyperparathyroidism”
ต่อมพาราไทรอยด์(ต่อ) : จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดกระดูก กล้ามเนื้อไม่มีแรง อาจเกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ • “พาราทรอโมน” น้อยเกินไป เรียก “Hypoparathyroidism”” :อาการกล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กระสับกระส่าย เป็นตะคริวที่มือและเท้า เลือดออกง่ายหยุดยาก
3.ต่อมไทมัส • จะอยู่บริเวณช่วงอก เหนือขั้วหัวใจ • ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดขาว เพื่อสร้างความต้านทานเชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย
4.ต่อมไพเนียล • ลักษณะคล้ายรูปไข่ ฝังอยู่ส่วนกลางของสมอง • ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ “เมลาโทนิน” เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของคนและการเจริญเติบโตตามวัย • หากต่อมไพเนียลถูกทำลาย จะเป็นผลทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าวัยอันควร • หากต่อมไพเนียลสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะทำให้การเป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าเวลาอันควร
5.ต่อมในตับอ่อน • เป็นกลุ่มเซลล์ที่ตั้งอยู่หลังกระเพาะอาหารทอดขวางท้องอยู่ แทรกอยู่ในเนื้อตับอ่อนเรียกว่า “Islets of Langerhands” • สร้างฮอร์โมน “อินซูลิน และ กลูคากอน” • “อินซูลิน” ทำหน้าที่ เปลี่ยนน้ำตาลที่เกินความต้องการของร่างกายให้เป็นไขมันเพื่อป้องกันไม่ให้คนเป็นโรคเบาหวาน • “กลูคากอน” ทำหน้าที่ เพิ่มปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดเมื่อร่างกายต้องการหรือขาดน้ำตาล
5.ต่อมในตับอ่อน(ต่อ) • ถ้า อินซูลิน น้อยกว่าปกติ : จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไตจะช่วยขับน้ำตาลออกมาภายนอกร่างกายทางปัสสาวะเพื่อลดปริมาณน้ำตาลในเลือด กลายเป็น “โรคเบาหวาน” • ถ้า อินซูลิน มากกว่าปกติ : จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จะอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “hypoglycemia”จะมีอาการชัก เป็นลมหน้ามืด เวียนศรีษะ อาจถึงหมดสติได้
6.ต่อมเพศ แบ่งออกเป็น 1.ต่อมเพศชาย2.ต่อมเพศหญิง • ต่อมเพศชาย • กระตุ้นให้อวัยวะเพศชายหรืออัณฑะผลิตตัวอสุจิ • ผลิตฮอร์โมน “แอนโดรเจน และ เทสโตสเตอโรน”จะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของความเป็นชาย เช่น มีหนวด เครา ขน เสียงแตกหนุ่ม เป็นต้น
6.ต่อมเพศ(ต่อ) 2. ต่อมเพศหญิง • กระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่เพื่อสืบพันธุ์ • ผลิตฮอร์โมน “เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน”จะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของความเป็นหญิง เช่น หน้าอก สะโพกผาย เอวคอด มีประจำเดือน เป็นต้น
1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า 7.ต่อมใต้สมอง : แบ่งออกเป็น 3ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนหน้า2.ส่วนกลาง3.ส่วนหลัง ผลิตฮอร์โมน 6ชนิด ได้แก่GH/TSH/ACTH /LTH/LH/ FSH
1. GH(Growth hormone): ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายทั่วๆไป ให้มีความเหมาะสมในแต่ละวัย หากมีการหลั่ง GHน้อยกว่าปกติ: จะทำให้ร่างกาย เตี้ยแคระแกรน หากมีการหลั่ง GHมากกว่าปกติ: หากเกิดกับเด็กจะทำให้มีรูปร่างสูงใหญ่ยักษ์ เติบโตผิดคนธรรมดา หากเกิดในผู้ใหญ่จะมีการเติบโตผิดส่วน เรียกว่า “Acromegaly”
2. TSH(Thyroid stimulating hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้มีการทำงานเป็นไปโดยปกติ 3. ACTH (Adreno corticotropic hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการขับฮอร์โมนและการเจริญของต่อมหมวกไตส่วนนอก 4. LTH (Luteotropic hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนมหลังคลอดและพฤติกรรมความเป็นแม่ในเพศหญิง
2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง 5. LH (Luteinizing hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกและสร้างไข่ที่รังไข่ในหญิงและสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย 6. FSH (Follicular stimulating hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและรังไข่เพื่อสร้างอสุจิและไข่ :ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน MSH (Melanocyte stimulating hormone)เพื่อสร้างเม็ดเมลานินให้ผิวเข้มขึ้น
3.ต่อมใต้สมองส่วนหลัง :ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด • ADH(Antidiuretic hormone): ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการทำงานของไตเพื่อขับปัสสาวะออกมา • Oxytocin :ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ และการทำงานของหลอดเลือดแดง
7.ต่อมหมวกไต : อยู่บริเวณเหนือไตทั้ง 2ข้าง แบ่งเป็น 2ส่วน คือ • ส่วนใน สร้างฮอร์โมนAdrenalin ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดและกล้ามเนื้อลายให้มีพลังงานมากทำให้เราสามารถยกวัตถุหนักได้เวลาอยู่ในสภาวะตกใจ ตื่นเต้น เครียด สร้างฮอร์โมนNoradrenalinควบคุมอัตราการเน้นของหัวใจ • ส่วนนอก สร้างฮอร์โมน steroid hormoneทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน และเอนโดรเจน
ระบบประสาท(Nervous system) ประกอบด้วย 2ระบบ ใหญ่ๆ ดังนี้ • ระบบประสาทส่วนกลาง ไขสันหลัง สมอง 2. ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทโซมาติค ระบบประสาทอัตโนมัติ
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาทองค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาท • เซลล์ประสาท(Neuron):เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของประสาทในร่างกายมีเซลล์ประสาทนับล้านเซลล์ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน หน้าที่ของเซลล์ประสาท • ทำหน้าที่รับความรู้สึกไปยังสมองและไขสันหลัง • ทำหน้าที่เป็นตัวสั่งการโดยนำข้อมูลจากสมองและไขสันหลังส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
“ประเภทของเซลล์ประสาท”“ประเภทของเซลล์ประสาท” • เซลล์ประสาทรับความรู้สึก(sensory neurons) : นำข้อมูลจากอวัยวะรับสัมผัสไปยังสมองและไขสันหลัง • เซลล์ประสาทมอเตอร์(motor neurons): นำข้อมูลจากสมองและไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อและต่อมเพื่อแสดงการเคลื่อนไหว • เซลล์ประสาทเชื่อมโยง(interneurons): เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเซลล์รับความรู้สึกและเซลล์ประสาทมอเตอร์
1 เซลล์ประสาท ประกอบด้วย เดนไดรท์(Dendrites): เป็นเส้นใยงอกจากตัวเซลล์ อาจมีหลายเส้นในแต่ละเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ แอกซอน(Axon): เป็นเส้นใยเดี่ยวๆ งอกออกจากตัวเซลล์ทำหน้าที่นำกระแสประสาทจาก cell bodyส่งไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งจะมีเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทอื่นออกมารับข้อมูลข่าวสาร ตัวเซลล์(Cell body): มีนิวเคลียสซึ่งทำหน้าที่รักษาสภาพการคงชีวิตของเซลล์
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาท(ต่อ)องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาท(ต่อ) 2. เส้นประสาท(Nerve):กลุ่มของแอกซอนและเดนไดรท์รวมตัวเป็นมัดเดียวกัน เรียกว่า “เส้นประสาท 1 เส้น” 3. เกลียเซลล์(Glial cells):เป็นเซลล์เล็กๆ อยู่รอบเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ ลำเลียงอาหารให้เซลล์ประสาทและเส้นเลือด 4. ไซแนปส์(Synapse):ช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ในการส่งข่าวสารข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลได้ทั่วถึงกัน 5. กระแสประสาท(Neural impulses): เป็นตัวส่งข่าวสารในรูปของกระแสประสาท
ระบบประสาทส่วนกลางcentral nervous systemหรือ cns ประกอบด้วย “ไขสันหลัง” กับ “สมอง” หน้าที่ที่สำคัญของไขสันหลัง • รับข้อมูลด้านความรู้สึกไปยังสมองและกล้ามเนื้อ • ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย • แสดงปฏิกิริยาสะท้อนอัตโนมัติ
“สมอง”ประกอบด้วย 3ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ • สมองส่วนหน้า • สมองส่วนกลาง • สมองส่วนหลัง
สมองส่วนหน้า แบ่งได้เป็น 3ส่วน 1. Thalamus 2. Hypothalamus 3. ซีรีบรัม
1.ทาลามัส(Thalamus) • อยู่เหนือสมองส่วนกลางมีรูปร่างคล้ายไข่ ทำหน้าที่เสมือนเป็นสถานีจำแนกประสาทไปยังศูนย์ต่างๆ ที่ cerebrum 2.ไฮโปทาลามัส(Hypothalamus) • เป็นเนื้อเยื่อขนาดเท่าน้ำตาลก้อน อยู่ใต้ทาลามัส มีหน้าที่สำคัญ 2ประการ
ไฮโปทาลามัส(Hypothalamus)(ต่อ) ควบคุมการปรับตัวของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล เช่นควบคุมการหายใจ ความดันโลหิต สมดุลของน้ำในร่างกาย ความหิวกระหาย การนอนหลับ ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองและพฤติกรรมเรื่องเพศ ประสานการทำงานของต่อมเพศ
3. ซีรีบรัม(Cerebrum) : มีความสำคัญต่อการรับรู้ของมนุษย์ แบ่งหน้าที่การทำงานออกเป็น 4ส่วน • ส่วนหน้า:ทำหน้าที่รับรู้ด้านการคิด เช่น ความมีเหตุผล ความจำ การเรียนรู้ การวิเคราะห์ • ส่วนกลาง:ทำหน้าที่รับรู้สัมผัสของร่างกาย หนาว ร้อน เย็น • ส่วนข้าง: ทำหน้าที่รับรู้การได้ยิน เช่น เสียงสูง ต่ำ • ส่วนหลัง:ทำหน้าที่รับรู้ด้านการมองเห็น
สมองส่วนกลาง ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลางและสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมการมองเห็นและการได้ยิน เช่น ความสามารถในการกลอกตาตามวัตถุที่เคลื่อนที่
สมองส่วนหลัง ประกอบด้วย 4ส่วน 1. เมดุลลา 2. ซีรีเบลลัม 3. พอนส์ 4. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น .
1. เมดุลลา(Medulla) : ทำหน้าที่ควบคุมการมีชีวิต เช่น การควบคุมการหายใจ การไหลเวียนโลหิต และการเต้นของหัวใจ 2. ซีรีเบลลัม(Cerebellum) : ทำหน้าที่ควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อลาย ควบคุมการทรงตัวของร่างกายให้สมดุล รวมถึงควบคุมให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วดี
3. พอนส์(Pons) : ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างซีรีเบลลัมซีกซ้าย-ขวา เชื่อมสู่สมองส่วนหน้า และยังทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วย 4. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น(Reticular formation) : ทำหน้าที่ควบคุมการหลับการตื่น เหมือนสวิทซ์เปิดรับความรู้สึก และเป็นศูนย์กลางการจัดลำดับก่อนหลังของข้อมูลในการรับรู้ข่าวสารจากภายนอก
ระบบประสาทส่วนปลายperipheral nervous systemหรือ PNS แบ่งเป็น 2ประเภท • ระบบประสาทโซมาติค • ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทซิมพาเธติค ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค
1. ระบบประสาทโซมาติค …ทำหน้าที่… รับความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น เจ็บ ร้อน หนาว ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย
2. ระบบประสาทอัตโนมัติ : ทำหน้าที่เป็นระบบสั่งการ มีบทบาทสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ ...ประกอบด้วยเส้นประสาท 2ชุด… ระบบประสาทซิมพาเธติค: ควบคุมการทำงานเมื่ออยู่ในสภาวะเครียดหรือภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ม่านตาขยาย
ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค: จะทำงานเมื่อคนเราอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย เพื่อเก็บรักษาพลังงานไว้ เช่น เมื่อนอนฟังเพลงเบาๆ ดูโทรทัศน์ อัตราการเต้นของหัวใจจะปกติ ต่อมน้ำลายปกติ
ซิมพาเธติค รูม่านตาขยาย ยับยั้งการหลั่งน้ำลาย กระตุ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดลมขยาย ขับฮอร์โมนอะดรีนาลีนและนออะดรีนาลีน หักห้ามการปัสสาวะ พาราซิมพาเธติค รูม่านตาหรี่ลง กระตุ้นให้น้ำลายไหล หัวใจเต้นช้าลง กระตุ้นน้ำย่อยและอินซูลิน กระตุ้นน้ำดี กระเพาะปัสสาวะหดตัว หลอดลมตีบ เปรียบเทียบการทำงานอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายเมื่อระบบสาททั้ง 2ชุดทำงาน